ยอดส่งออกธัญพืชไปไทยเพิ่มขึ้น

ารส่งออกธัญพืชอย่างข้าวฟ่างกำลังทวีความรุนแรงขึ้นในขณะที่รอการส่งออกไปยังไทยของผู้ส่งออกในชายแดนเมียวดี แม้ว่าจะได้รับการยกเว้นภาษีตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ถึง 31 สิงหาคมเพื่อส่งออกไปยังประเทศไทยตามข้อตกลงร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถส่งออกไปได้เนื่องจากรัฐบาลไทยขึ้นภาษีส่งออกข้าวข้าวฟ่างเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร ในช่วงเวลานั้นการส่งออกมายังไทยไทยผู้ส่งออกได้รับความสูญเสียเนื่องจากรถบรรทุกที่ไม่สามารถข้ามสะพานเกียง เนื่องจากการเพิ่มระดับน้ำในแม่น้ำเกียง ทั้งผู้ส่งออกไม่สามารถส่งออกไปยังจีนได้เนื่องจากรัฐบาลจีนขึ้นภาษีเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร ยอดการส่งออกจากการค้าชายแดนเมียวดีคิดเป็น 10% ของการนำเข้าและส่งออกของปีนี้ แม้ว่าไทยจะส่งออกสินค้ารถบรรทุกกว่า 500 คันในทุกๆ วัน แต่เมียนมาก็ไม่ได้ขึ้นภาษีแต่อย่างใด

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/millet-grains-pile-up-to-export-to-thailand

เวียดนามตั้งเป้ายอดส่งออกผักผลไม้ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

จากข้อมูลของสมาคมพืชผักและผลไม้เวียดนาม (VINAFRUIT) เปิดเผยว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามในปีนี้ อยู่ที่ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลมาจากข้อตกลงการค้าเสรีรูปแบบใหม่ (New Generation FTA) ซึ่งข้อตกลงการค้าเสรี EVFTA คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในปี 63 เรื่องภาษีศุลกากรของผักผลไม้เวียดนามอยู่ในระดับร้อยละ 0 ส่งผลให้ยกระดับมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ข้อตกลง CPTPP จะเปิดตลาดใหม่ๆแก่ผลิตภัณฑ์เวียดนาม ทั้งนี้ จากข้อมูลของเลขาธิการสมาคม มองว่าพื้นที่เพาะปลูกผักผลไม้ขนาดใหญ่ควรจะต้องติดฉลากเขียว (VietGAP) และมาตรฐานเอกชน (Global GAP) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดที่เข็มงวด อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกสำคัญของเวียดนามที่มีอัตราการขยายตัวสูง ได้แก่ อาเซียน (26.6%), สหรัฐอเมริกา (10.7%) และสหภาพยุโรป (32.2%) เป็นต้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-targets-5-billion-usd-from-fruit-vegetable-exports-in-2020/167667.vnp

การส่งออกยังคงมีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในปีนี้

จากคำแถลงการณ์ของประธานสมาคมปูนซีเมนต์เวียดนาม เปิดเผยว่าในปีนี้ มีจำนวน 2 โครงการปูนซีเมนต์ใหม่ที่จะเปิดให้ดำเนินการในจังหวัดเหงะอาน ด้วยกำลังการผลิตอยู่ที่ 2-2.5 ล้านตันต่อปี และอีกแห่งอยู่ที่จังหวัดทัญฮว้า ทำการผลิตได้ 4.6 ล้านตัน สิ่งเหล่านี้จะทำให้อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ มีกำลังการผลิตรวมมากกว่า 100 ล้านตัน ขณะที่ ความต้องการในประเทศมีอยู่ประมาณ 70 ล้านตัน ซึ่งการส่งออกยังคงมีความสำคัญต่อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในปีนี้ ทั้งนี้ ยอดขายปูนซีเมนต์ในประเทศยังคงชะลอตัว เนื่องจากการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ซบเซาและการชะลอตัวของตลาดอสังหาฯอีกด้วย สำหรับปริมาณส่งออกปูนซีเมนต์ในปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 34 ล้านตัน แต่ในปี 2564 จะลดลงมาอยู่ที่ 25 ล้านตัน นอกจากนี้ ทางสมาคมมองว่าผู้ผลิตปูนซีเมนต์ควรใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อยกระดับคุณภาพและมูลค่าสินค้า ขณะที่ลดการผลิตทางด้านสิ่งแสดล้อม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/571389/maintaining-exports-critical-to-cement-industry-this-year.html

มูลค่าส่งออกเมียนมาพุ่ง 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 3 เดือน

ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 10 ม.ค.ในปี 62-63 มูลค่าการส่งออกสูงถึง 5.061 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่า 4.009 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้นจึงมียอดเกินกว่า 1.052 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญคือ ผลิตภัณฑ์เกษตร สัตว์ทะเล ป่า เหมืองแร่ การผลิตเสื้อผ้าแบบ CMP ฯลฯ การนำเข้าของเมียนมาส่วนใหญ่เป็นสินค้าทุน วัตถุดิบอุตสาหกรรม ของใช้ส่วนตัว วัตถุดิบเกี่ยวกับ CMP ฯลฯ เพื่อลดการขาดดุลการค้ากระทรวงพาณิชย์ใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การนำแผนยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ ผ่อนคลายขั้นตอนการดำเนินการ สนับสนุนภาคเอกชน การรับมือกับการถูกถอด GSP และขยายตลาดส่งออก ในปี 61-62 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 34.979 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/export-value-over-5-bn-in-over-three-months

สปป.ลาวคาดส่งออกไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้น 20,000 MW ภายในปี 2573

ไฟฟ้าถือเป็นรายได้ที่สำคัญสำหรับสปป.ลาว โดยในเดือนม.ค.-ต.ค. 62 มีมูลค่าการส่งออกไฟฟ้าประมาณ 1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยตลาดที่สำคัญของสปป.ลาวคือประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน โดยมีการคาดการว่าสปป.ลาวจะส่งออกไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 20,000 MW ระหว่างปี 63-72 ปัจจุบันนอกจากความต้องการจากต่างประเทศมีมากแล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าในสปป.ลาวพิ่มขึ้นเนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและจำนวนโรงงานในปี 62 โดยการบริโภคภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,800 เมกะวัตต์ในอีก 5 ปีข้างหน้า จากปริมาณความต้องการที่สูงขึ้นในพลังงานไฟฟ้า ทำให้รัฐบาลสปป.ลาววางแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและรองรับการเกิดโรงงานต่างๆในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเพิ่มปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นอีก เป็นผลให้ในปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของโรงงานพลังงานไฟฟ้าจากทั้งภาครัฐและเอกชนจากทั้งในและนอกประเทศ ส่งเสริมทั้งการลงทุนและเกิดการจ้างงานที่มากขึ้นเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวต่อไป

ที่มา :http://annx.asianews.network/content/laos-export-20000-mw-electricity-2030-112058

เมียนมามีรายรับจากการส่งออกประมง 270 ล้านเหรียญสหรัฐ

เมียนมามีรายรับมากกว่า 270 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกประมงตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึง 3 มกราคมในปีงบประมาณนี้และมากกว่า 37 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว ปัจจุบันเมียนมาจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณการส่งออก 10 เท่าหรือมากกว่านั้น ซึ่งต้องพัฒนาเทคนิคการผสมพันธุ์แทนการจับปลาตามธรรมชาติ โดยจะร่วมมือกับอินโดนีเซีย ไต้หวัน และจีนเพื่อสร้างโรงงานอาหารปลา โรงงานห้องเย็น และโรงงานที่ทันสมัยเพื่อสร้างรายได้ 3 พันล้านเหรียญสหรัฐจากภาคการประมง คาดสามารถสร้างงานได้ถึง 100,000 ตำแหน่ง ซึ่งกระทรวงการวางแผนและการเงินจะให้สินเชื่อเพื่อซื้อที่ดิน สร้างโรงงานสำหรับปลาและกุ้ง

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-earns-us270-m-from-fishery-export

ปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด สร้างสถิติยอดการส่งออกสูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

ในปี 2562 เวียดนามส่งออกปูนซีเมนต์และปูนเม็ดประมาณ 34 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของเวียดนามสร้างสถิติเป็นผู้ส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตัวเลขส่งออกซีเมนต์สูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่สอง สำหรับการจำหน่ายปูนซีเมนต์และปูนเม็ดอยู่ที่ 98-99 ล้านตันและการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 67 ล้านตัน นอกจากนี้ สมาคมปูนซีเมนต์เวียดนามคาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4-5 ในปี 2563 ด้วยปริมาณราว 101-103 ล้านตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cement-clinker-exports-set-record-for-second-consecutive-year/167085.vnp

สองเดือนเมียนมาส่งออกหยกมูลค่ากว่า 420 เหรียญสหรัฐ

420 ล้านเหรียญสหรัฐได้รับจากส่งออกหยกไปต่างประเทศในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาในปีงบประมาณนี้มากกว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึง 419 เหรียญสหรัฐ ซึ่งปีที่แล้วมีมูลค่าเพียง 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การจัดแสดงอัญมณีของเมียนมาเมื่อกลางปีที่ผ่านมาจัดขึ้นที่ หอหยกมณียาดานา ในเนปิดอว์ วันที่ 16-25 ก.ย.62 ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/420-m-earned-from-jade-export-in-two-months

ได้ฤกษ์ปัดฝุ่นเจรจา เอฟตา ไทยส่งออกผลไม้กระหึ่มโลก

อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ผู้แทนของสมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเตนสไตน์ และไอซ์แลนด์ มาเข้าพบ และยื่นหนังสือเพื่อขอเริ่มต้นการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับไทย ที่กรมต้องเดินหน้าเจรจาเอฟทีเอเดิม และเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอกับประเทศใหม่ๆ ซึ่งก็คือการเจรจากับเอฟตาที่ขณะนี้ อยู่ระหว่างนำผลการศึกษาที่เคยทำมาตั้งแต่ปี 2549 มาปัดฝุ่นใหม่ เพื่อดูว่ามีประเด็นใด ที่จะนำเข้าสู่การเจรจาเพิ่มเติมอีก รวมถึงจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องถึงผลดี ผลเสีย มาตรการเยียวยา โดยจะรวบรวมทำเป็นข้อสรุป เสนอนโยบายเพื่อตัดสินใจต่อไป โดยล่าสุด เอฟทีเอ ที่ไทยทำกับประเทศต่างๆ ทำให้ประเทศคู่ค้าเอฟทีเอได้ลด/เลิกเก็บภาษีนำเข้าผลไม้จากไทย ทำให้การส่งออก 10 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-ต.ค.) เพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีมูลค่าการส่งออก 3,213 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก รองจากสเปน เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก สหรัฐฯ ชิลี ขยับขึ้นจากอันดับ 10 เมื่อปี 2561 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น 41% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดส่งออกหลัก ได้แก่ อาเซียน และจีน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/news/business/1729453

เวียดนามเผยยอดส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรหลายรายการของเวียดนามจะขนส่งไปยังตลาดใกล้เคียง ปัจจุบันเวียดนามเผชิญกับความท้าทายในการส่งออกสินค้าไปยังจีน เนื่องมาจากการเข็มงวดของคุณภาพสินค้าและการค้าข้ามพรมแดน อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม ระบุว่าปริมาณส่งออกเม็ดม่วงหิมพานต์ไปยังจีนเพิ่มสูงขึ้นกว่า 58,100 ตัน คิดเป็นมูลค่า 447.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีการเพิ่มขึ้นทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์ เป็นผู้นำเข้าเม็ดมะม่วงหิมพานต์รายใหญ่ของเวียดนาม ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด รองลงมาสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน และญี่ปุ่น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/cashew-nut-exports-to-china-rise-sharply-407644.vov