EIB ได้รับเงินสนับสนุน 12.7 ล้านยูโรสำหรับโรงผลิตน้ำประปาในบาเค็งประเทศกัมพูชา

ธนาคารเพื่อการลงทุนของยุโรปได้รับเงินสนับสนุนจากสหภาพยุโรป 12.7 ล้านยูโร สำหรับการก่อสร้างโรงผลิตน้ำประปาในบาเค็งและเครือข่ายการจ่ายน้ำ 500 กม. ในเมืองหลวงของกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ โดยโครงสร้างพื้นฐานนี้จะนำน้ำดื่มที่ปลอดภัยและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้คนกว่า 700,000 คน จากชุมชนที่ยากจนที่สุดในเมือง เป็นการลงทุนระยะยาวในความยืดหยุ่นของประเทศต่อการแพร่ระบาดของโรคเช่น Covid-19 เพราะให้การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการบรรเทาวิกฤติอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสริมการลงทุนก่อนหน้านี้ที่มีมูลค่าราว 185 ล้านยูโรจากธนาคารเพื่อการลงทุนยุโรป (EIB) และ Agence Française de Développement (AFD) ซึ่งการผสมผสานของ EIB, AFD และการจัดหาเงินทุนของสหภาพยุโรปจะให้น้ำดื่มที่ผ่านการบำบัดแล้วไปยังพนมเปญที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยความต้องการน้ำประปาคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากความต้องการในปัจจุบันภายในปี 2573

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/eib-secures-eur-12-7m-grant-for-bakheng-water-treatment-plant-in-cambodia-164271/

Covid-19 ส่งผลให้ภาคการผลิตน้ำมันของกัมพูชาชะงัก

การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัส Covid-19 คาดว่าจะชะลอการพัฒนาของแหล่งน้ำมันอัปสรา ซึ่งตั้งอยู่ที่แปลง A ของฝั่งกัมพูชาของลุ่มน้ำเขมรในอ่าวไทย โดยได้รับการพัฒนาโดย KrisEnergy Ltd. บริษัทจากทางสิงคโปร์ ซึ่งกระทรวงเหมืองแร่และพลังงานกล่าวว่าโรคระบาดทั่วโลกกำลังดำเนินไปอย่างช้าๆ แต่ปัจจุบัน บริษัท ยังคงพัฒนาโครงการอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทยังคงทำงานหนักเพื่อให้งานสำเร็จ แต่มันยากสำหรับบริษัทเนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 แม้แต่การส่งช่างไปยังการก่อสร้างแพลตฟอร์มขั้นต่ำก็พิสูจน์ให้เห็นได้ยากและการดำเนินงานในไซต์ก็หยุดชะงักลง

ที่มา : https://english.cambodiadaily.com/business/virus-puts-cambodia-oil-production-into-question-164258/

เศรษฐกิจสปป.ลาวต้องมีการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ

Mr.Daovone Phachanthavong รองประธานหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของสปป.ลาวได้ให้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์แห่งชาติสปป.ลาวว่า “ ควรมีการปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำให้กับ SMEs ซึ่งเงินจะเป็นแหล่งเงินทุนที่จำเป็นมากสำหรับธุรกิจในการรับมือกับผลกระทบของการระบาดของ COVID-19 ซึ่งถือเป็นวิธีการอัดฉีดเงินเข้าสู่เศรษฐกิจที่ดีที่สุด ณ ขณะนี้ ” ปัจจุบันหอการค้ามีสมาชิกมากกว่า 4,000 คนทั่วประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยธุรกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดของ COVID-19 ได้แก่ สายการบิน ภาคการท่องเที่ยว โรงแรม ผู้ประกอบการขนส่งร้านอาหาร ร้านนวด สนามกอล์ฟและโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า การช่วยเหลือดังกล่าวมีสถาบันการเงินระหว่างประเทศเสนอเงินช่วยเหลือ 80 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แก่สปป.ลาว รวมถึงรัฐบาลจีนเสนอเงินให้กู้ยืมแก่ SMEs 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  นอกจากนี้ Mr.Daovone ยังกล่าวเสริมอีกว่ารัฐบาลควรให้การสนับสนุนและเร่งพัฒนาภาคการเกษตรเพื่อให้สามารถส่งออกได้มากขึ้นเพราะจีนมีความต้องการผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก ดังนั้นการส่งออกผลผลิตเกษตรของสปป.ลาวจะช่วยทำให้เศรษฐกิจของสปป.ลาวกับมาดีขึ้น

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Lao94.php

บริษัทวิเคราะห์ในท้องถิ่นของกัมพูชาใช้ BIG DATA ในการช่วยธุรกิจ

บริษัท วิเคราะห์ในท้องถิ่นกำลังเริ่มใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) พร้อมกับเทคโนโลยีการทดสอบทางการแพทย์ใหม่ เพื่อช่วยให้ธุรกิจยังคงดำเนินต่อไปได้ รวมถึงยังช่วยให้พนักงานของบริษัททำงานได้อย่างปลอดภัยในช่วงการระบาดของ COVID-19 โดย Mekong Big Data กล่าวว่าในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมาทีมของเขาได้ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสถานพยาบาลท้องถิ่น Institut Pasteur du Cambodge เพื่อตอบสนองต่อสถานะการณ์ COVID-19 ในประเทศ ซึ่งในการตอบสนองบริษัทได้พัฒนา SurePass ซึ่งเป็นบริการตรวจสอบความถูกต้องแบบ ePassports โดยใช้การทดสอบแอนติบอดีและการติดตามปริมาณไวรัสเพื่อตรวจสอบว่าใครติดเชื้อไวรัสหรือไม่ ซึ่งการใช้ระบบ SurePass สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าสถานะไวรัสภายในบริษัท เพื่อตัดสินใจได้อย่างมั่นใจและถูกต้องเกี่ยวกับการเปิดทำการใหม่ของธุรกิจ โดยระบบ SurePass ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการทางซีรัมวิทยา (การตรวจเลือดด้วยปลายนิ้ว) เพื่อตรวจตัวอย่างเลือดเพื่อทำการทดสอบและวิเคราะห์ การทดสอบเหล่านี้จะถูกนำไปใช้งานโดยใช้ทีมตัวแทนภาคสนามที่ผ่านการฝึกอบรมและผ่านการรับรองแล้ว ซึ่งจะทำการเก็บผลการทดสอบถึงที่บ้านหรือที่ทำงานของพนักงาน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50723991/local-analytics-firm-uses-big-data-to-keep-employees-safe-at-work/

กัมพูชาพิจารณาถึงวิธีรับมือกับปัญหาครั้งแรกในด้านการท่องเที่ยว

กระทรวงการท่องเที่ยวกำลังหาข้อเสนอแนะจากธุรกิจการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อเตรียมแผนช่วยเหลือสำหรับภาคธุรกิจ โดยธุรกิจต่างๆเช่นโรงแรม เกสต์เฮาส์ รีสอร์ท นวด สปา และร้านอาหาร รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวอื่นๆ สามารถนำเสนอคำแนะนำของพวกเขาเพื่อให้กระทรวงสามารถกำหนดขนาดของผลกระทบและหาวิธีแก้ไขปัญหาหลังจากวิกฤตสิ้นสุดลง ซึ่งประธานสมาคมตัวแทนการท่องเที่ยวกัมพูชากล่าวกับรัฐบาลว่ามาตรการของกระทรวงจะเป็นปัจจัยสำคัญในการฟื้นฟูภาคการผลิตให้มีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นจากก่อนหน้านี้ โดยสถานการณ์ในครั้งนี้มากถึง 99% ของธุรกิจการท่องเที่ยวจำเป็นต้องปิดตัวลงจากข้อมูลของ Sivlin มีเพียง 1% ของธุรกิจที่เปิดอยู่ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงพนมเปญและพวกเขาให้บริการเฉพาะชาวต่างชาติคือที่พำนักระยะยาวและสำหรับนักลงทุน ข้อมูลกระทรวงการท่องเที่ยวแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมด 6.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.61% จากปี 2561 โดยคิดเป็นนักท่องเที่ยวจีน 2.36 ล้านคนเพิ่มขึ้น 16.7% ชาวเวียดนามอันดับสองอยู่ที่ 908,803 เพิ่มขึ้น 13.6%

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50724126/cambodia-considers-how-to-cope-with-its-first-tourism-catastrophe/

GDP เมียนมาคาดลดลงเล็กน้อย

จากการคาดการณ์ GDP ของปีงบประมาณปัจจุบันของปี 2562-2563 จะลดลงเล็กน้อย ประมาณการ GDP เบื้องต้น ได้รับการแก้ไขเป็น 118.9 ล้านล้านจัตมากกว่า 119 ล้านล้านจัตจากกปีก่อนหน้าเนื่องจากการถดถอยของเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมัน และผลกระทบของ COVID-19 ส่งผลให้ขาดดุลการคลังต่อ GDP จะลดลงเป็น 5.5% จาก 5.7% รายได้จากภาษีคาดว่าในอีกสี่เดือนข้างหน้าคาดว่าจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 5050 พันล้านยูโรส่งผลให้รายได้ภาษีต่อจีดีพี 7.1% จาก 6.7%

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-gdp-estimate-be-slightly-reduced.html

ส่องภาคเกษตรในฮานอย ส่งสัญญาฟื้นตัวหลังโควิด-19

ภาคเกษตรกรรมในเมืองฮานอย เผชิญกับความยากลำบากจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ต้องปรับโครงสร้างใหม่และหันไปเพาะปลูกพันธุ์พืชใหม่ ผู้อำนวยการสำนักเกษตรและพัฒนาชนบท กล่าวว่าในช่วงไตรมาสแรกปีนี้ การเติบโตของภาคเกษตรลดลงร้อยละ 1.17 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา สำหรับปริมาณสุกรมีเพียง 1.1 ล้านตัว ลดลงร้อยละ 31.25 เมื่อเทียบกับปีก่อน พืชฤดูหนาวลดลงร้อยละ 10 อย่างไรก็ตาม ผลผลิตประมงอยู่ที่ 27,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.25 ในขณะเดียวกัน จำนวนสัตว์ปีกรวมอยู่ที่ 33.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.54 ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการพรรคฯ เรียกร้องให้จำนวนฝูงผสมพันธุ์สุกร เพิ่มขึ้นแตะอยู่ที่ 1.8 ล้านตัว เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของดัชนี CPI และยังได้เสนอแนวทางในการผลิตอุตสาหกรรมและไม่ใช้ที่ดินเพาะปลูก เพื่อดึงดูดความต้องการอาหาร อีกทั้ง ประเด็นการใช้กลไกเครื่องจักรในการผลิตและการออกนโยบาย เพื่อปรับปรุงการใช้ที่ดินทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/hanois-agriculture-sector-looks-to-grow-postcovid19/173482.vnp

เกาหลีใต้ขยายวงเงินกู้ 30 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการรับมือ COVID-19 ของเมียนมา

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศเกาหลีจะให้เงินกู้ยืมอุปกรณ์ฉุกเฉินสำหรับ COVID-จำนวน 19 รายการ คิดเป็นเงิน 30 ล้านเหรียญสหรัฐ จากกองทุนสหกรณ์เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (ECDF) ระยะเวลาเงินกู้ 40 ปีและอัตราดอกเบี้ยอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.01% เงินทุนจะเป็นไปตามแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจ COVID-19 ของเมียนมา (CERP) ทั้งนี้เมียนมาและเกาหลีใต้ยังอยู่ในระหว่างการหารือเพื่อดำเนินโครงการอีก 9 โครงการด้วยเงินลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์จาก ECDF สัปดาห์ที่ผ่านมาสมาพันธ์การค้าและอุตสาหกรรมแห่งสหภาพเมียนมา (UMFCCI) คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัวมากกว่า 50% นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นเวลาอย่างน้อย 18 เดือน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/korea-extends-30-million-support-myanmars-covid-19-relief-plan.html

สศช.ประเมินพิษ “โควิด” ฉุดจีดีพีไทยทั้งปีติดลบ 5-6%

สศช.เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 63 ติดลบ 1.8% ส่วนแนวโน้มปี 63 คาดว่า ติดลบ 5-6% เป็นผลมาจากการระบาดของโควิด-19 เป็นหลัก พร้อมคาดไตรมาส 2 น่าจะหนักที่สุดหลังจากทุกกิจการหยุดหมด นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 63 และแนวโน้มปี 63 ว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2563 ปรับตัวลดลง 1.8% เทียบกับการขยายตัว 1.5%  ในไตรมาสก่อน หลังจากได้รับผลกระทบโควิด-19 และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ส่วนไตรมาสที่ 2 ประเมินว่า น่าจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด เพราะเกิดการล็อคดาวน์ ทำให้ธุรกิจต่างๆ และการท่องเที่ยวหยุดชะงัก อย่างไรก็ตามทั้งปี 63 สศช. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวลดลงในช่วงลบ 5-6% เนื่องจากการปรับตัวลดลงรุนแรงของเศรษฐกิจ และปริมาณการค้าโลก ,การลดลงรุนแรงของจำนวน และรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ,เงื่อนไขและข้อจำกัดที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 ในประเทศ และ ปัญหาภัยแล้ง โดยคาคว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าจะปรับตัวลดลง 8% การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลง 1.7% และ 2.1% ตามลำดับ

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/775078

อัพเดท สถานการณ์ COVID-19 เวียดนาม วันที่ 15.05.2563

เวียดนามมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ 24 ราย – นายกรัฐมนตรีเวียดนามหารือกับ 5 ประเทศ แนวทางการการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

พัฒนาการที่สำคัญในวันนี้

  • เวียดนามไม่พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในระดับชุมชน (Local Transmission) เป็นวันที่ 29 แต่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่กลับจากต่างประเทศ 24 ราย
  • วันนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามแถลงผลการประชุมคณะกรรมการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ดังนี้
    • ที่ประชุมได้หารือแนวทางการรับมือชาวเวียดนามที่เดินทางกลับจากต่างประเทศจำนวนมาก เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นคนกลุ่มดังกล่าว
    • ขอให้ทุกฝ่ายเฝ้าระวังความเสี่ยงของการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด ทั้งในระดับชุมชน และหากมีการเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศและชายแดนทางบกในอนาคต
    • ผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลเวียดนามจะอำนวยความสะดวกการเดินทางกลับเข้าเวียดนาม สำหรับผู้เชี่ยวชาญ แรงงานที่มีทักษะสูง และนักลงทุน

มาตรการสำคัญที่ยังบังคับใช้

  • ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการป้องกันอย่างต่อเนื่องเพื่อมิให้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
  • แนะนำให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สวมหน้ากาก
  • งดกิจกรรมเฉลิมฉลอง พิธีกรรมทางศาสนาและมหกรรมกีฬา
  • บุคคลที่เดินทางเข้าเวียดนามจะถูกกักตัว 14 วัน

ประเด็นอื่นๆ

  • ผู้นำเวียดนามได้หารือกับสหรัฐฯ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อแสดงหาแนวทางในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 โดยร่วมมือกับอาเซียน สหประชาชาติ และกลไกต่างๆ

ที่มา : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย