6 เดือนแรกของงบประมาณย่อย 64-65 การค้าชายแดนเกาะสอง แตะ 170 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย ปีงบประมาณย่อย 2564-2565 การส่งออกจากชายแดนเกาะสองกับประเทศไทยในช่วง 6 เดือนแรกอยู่ที่ 161.695 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 21.249 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 163.564 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลต่อการค้าระหว่างเมียนมาและไทยในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่าเพียง 5,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2561-2562 โดยมีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 5,117.913 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://news-eleven.com/article/229173

การค้า กัมพูชา-ไทย ในช่วง 2 เดือนแรก แตะ 1.3 พันล้านดอลลาร์

การค้าระหว่างกัมพูชาและไทยในช่วงสองเดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่าอยู่ที่ 1.12 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามรายงานทางสถิติอย่างเป็นทางการของกระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทย ซึ่งสินค้าส่งออกหลักของกัมพูชาไปยังประเทศไทย ได้แก่ สิ่งทอ สินค้าเกษตร อัญมณี วัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป ในขณะที่สินค้านำเข้าสำคัญจากไทย ได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผัก รถยนต์ ปุ๋ยอินทรีย์ อาหาร และวัสดุก่อสร้าง โดยทั้งสองประเทศตั้งเป้าหมายทางด้านการค้าทวิภาคีไว้ที่ 15 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501054340/cambodia-thailand-jan-feb-trade-tops-1-3-billion/

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาเตรียมเปิดตัว E-Marketplace

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาเตรียมเปิดตัว ตลาดออนไลน์ (E-Marketplace) อย่างเป็นทางการในวันนี้ (31 มี.ค.) โดยตลาดออนไลน์จะให้บริการผ่าน cambodiatrade.com เชื่อมต่อกับบริการชำระเงินและจัดส่งภายในเว็บไซต์เดียว ซึ่งได้รับการสนับสนุนและพัฒนาโดย Enhanced Integrated Framework for Trade-Related Assistance for Trade-Related Assistance for Least-Developed Countries ของสวิตเซอร์แลนด์ โดยภายในแพลตฟอร์มมีสินค้ามากกว่าพันรายการที่ผลิตในท้องถิ่น รองรับสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการช้อปปิ้งผ่านช่องทางออนไลน์ ตามคำแถลงของรัฐมนตรี Pan Sorasak หลังการประชุมร่วมกับภาคเอกชน สมาคม และพันธมิตรด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทางการกัมพูชาเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซภายในประเทศ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของกัมพูชาเป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501050099/cambodia-e-marketplace-set-to-go-online-today/

‘พาณิชย์’ เตรียมนำสินค้าดาวเด่นทั่วไทย โชว์ศักยภาพในงาน FTA Fair พร้อมจัดเวทีเสวนา-จับคู่ธุรกิจ-คลินิกให้คำปรึกษา หนุนใช้เอฟทีเอขยายส่งออก

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมจัดงาน “FTA Fair นำสินค้าไทย สู่ตลาดการค้าเสรี” นำเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการทั่วประเทศ ร่วมจำหน่ายสินค้ากว่า 40 บูธ ทั้งสินค้าเกษตร Future Food สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ พร้อมจัดเวทีเสวน า จับคู่ธุรกิจ และคลินิกให้คำปรึกษา สร้างแต้มต่อสินค้าไทยขยายส่งออกด้วยเอฟทีเอ 25 ก.พ. – 3 มี.ค. นี้ ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา แกรนด์ พระราม 9 ด้านนายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งส่งเสริมเกษตรกรและผู้ประกอบการไทย ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสร้างแต้มต่อทางการค้าในการส่งออกสินค้าไปตลาดต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการไทย มีโอกาสและช่องทางขยายส่งออกสินค้าไทยไปตลาดโลกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอ

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3300082

การส่งออกทางทะเลของเมียนมา เดือน ม.ค.65 พุ่ง 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าทางทะเลระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 64 ถึง 28 ม.ค 65 ของงบประมาณย่อยปี 2564-2565 พุ่งขึ้นเป็น 7.64 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 485 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากมูลค่าการค้าทางทะเล 7.159 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อน ในขณะเดียวกัน มูลค่าการค้าชายแดนในปีงบประมาณนี้อยู่ที่ 2.107 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดิ่งลงจาก 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณที่ผ่านมา ซึ่งการค้าทางทะเลสร้างรายได้ถึง 19,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากมูลค่าการค้ารวมที่ 29,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยการส่งออกส่วนใหญ่จะเป็น สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง แร่ธาตุ ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากป่า สินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน สินค้าอุปโภคบริโภค และวัตถุดิบอุตสาหกรรม ปัจจุบันเมียนมามีท่าเรือ 9 แห่งโดยท่าเรือย่างกุ้งถือเป็นประตูสู่การค้าทางทะเลของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-maritime-trade-tops-us7-64-bln-as-of-28-january/

ค้าข้ามแดน “ไทย-กัมพูชา” โตร้อยละ 16.63 สู่มูลค่า 1.449 แสนล้านบาท

การค้าข้ามพรมแดนในปี 2021 ระหว่างไทยและกัมพูชาขยายตัวร้อยละ 16.63 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.449 แสนล้านบาท รายงานโดยกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งการค้าข้ามพรมแดนของไทยเติบโตถึงร้อยละ 30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยในปี 2022 ไทยตั้งเป้าเติบโตไว้ที่ร้อยละ 5-7 ด้านการค้ารวมในปี 2021 ของไทยแตะ 1.71 ล้านล้านบาทในปี 2021 เพิ่มขึ้นร้อยละ 30.03 คิดเป็นการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.6 หรือคิดเป็นมูลค่า 1.03 ล้านล้านบาท และการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.7 คิดเป็นมูลค่า 684 พันล้านบาท

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501020980/cross-border-trade-with-cambodia-jumps-16-63-percent-to-144-9-billion-baht-in-2021/

ค้าชายแดนเมียนมา ลดฮวบ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค 64 ถึง 7 ม.ค. 65 ของปีงบประมาณรายย่อยปัจจุบัน (2564-2565)  มูลค่าการค้าชายแดนรวมทั้งสิ้นอยู่ที่ 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ 2.88 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยแบ่งเป็นการส่งออก 1.13 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้า 493 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งประเทศเพื่อนบ้านที่ทำการค้าขายกับเมียนมา เช่น จีน ไทย บังคลาเทศ และอินเดีย มีด่านชายแดนที่ทำการค้าขายทั้งหมด 19 แห่ง โดยชายแดนเมียวมีมูลค่าการค้าสูงสุดประมาณ 656 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ ด่านตีกี 444 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และด่านมูเซ 324 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ เกษตร สัตว์ ทางทะเล ป่าไม้ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ส่วนการนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน วัตถุดิบ สินค้าส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์ CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-down-nearly-1-3-bln/

พณ.เผยโอไมครอนฉุดส่งออก65โตชะลอ4%

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การส่งออกของประเทศ ในปี 2565 นี้เชื่อว่ายังคงสามารถเติบโตได้แบบชะลอตัวที่ 3-4% เนื่องจากยังคงมีปัจจัยเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ที่ทำให้ประเทศคู่ค้าหลักหลายประเทศมีมาตรการในการนำเข้าสินค้าที่เข้มข้นมากขึ้น แต่เชื่อว่าสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ประกอบกับค่าเงินบาทของไทยเวลานี้ยังส่งผลดีกับการส่งออกของประเทศ

ในขณะที่การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกา (ASF) ในหมูนั้น ไม่ได้มีนัยยะสำคัญต่อการส่งออกสินค้าเนื้อหมูแปรรูปรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูของไทย โดยการส่งออกเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์ถือว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากโดยได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ทั่วโลกชี้แจงสถานการณ์ มาตรฐานสินค้าไทยให้ประเทศผู้นำเข้าได้รับทราบเพื่อไม่ให้กระทบกับการส่งออกในภาพรวม

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_275429/

MEODA เริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มให้ร้านค้าปลีก

กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับสมาคมผู้ค้าน้ำมันพืชแห่งเมียนมา (MEODA) จะเริ่มทยอยขายน้ำมันปาล์มในราคาถูกให้กับผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบการรถโมบายขายสินค้าและสมาคมต่างๆ ในภูมิภาคและรัฐต่างๆ โดยผู้มีสิทธิซื้อน้ำมันปาล์มต้องปฏิบัติตามกฎที่กำหนดเพื่อชำระเงินเพื่อซื้อน้ำมันพืช ถ้าไม่ชำระเงินตามระยะเวลาที่กำหนดจะไม่สามารถซื้อน้ำมันผ่านสมาคมฯ ได้อีก ปัจจุบัน ราคาน้ำมันปาล์มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 4,800 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) การบริโภคน้ำมันพืชภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี การผลิตน้ำมันเพื่อประกอบอาหารมีประมาณ 400,000 ตัน เพื่อความเพียงต่อการบริโภคภายในประเทศ เมียนมาต้องนำเข้าน้ำมันปรุงอาหารจากมาเลเซียและอินโดนีเซียประมาณ 700,000 ตันต่อปี

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/meoda-to-sequentially-sell-palm-oil-to-retailers/

 

งบประมาณย่อย 64-65 ค้าชายแดนเมียนมา ดิ่งลง 966 ล้านเหรียญดอลลาร์หรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าชายแดนทั้งหมดจากด่านชายแดน 18 แห่งมีมูลค่าเกิน 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงงบประมาณย่อย 64-65 ลดลง 966 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 2.409 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 24 ธ.ค.ของปีงบประมาณ 64-65 แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 1.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้าเป็น 427.7 ล้านดอลลาร์ โดยด่านเมียวดีติดอันดับชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงสุด 581.36 ล้านดอลลาร์หรัฐฯ ตามมาด้วยด่านทิกิที่ 402.06 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ทางทะเล แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ สินค้าการผลิต และอื่นๆ ในขณะที่การนำเข้าจะเป็นสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/total-border-trade-value-decreases-by-us966-mln-this-mini-budget-period/#article-title