กัมพูชางดการนำเข้าแป้งเด็กปนเปื้อนแร่ใยหินเป็นการชั่วคราว

กัมพูชาระงับการนำเข้าและจำหน่ายแป้งทาตัวสำหรับเด็กหลายยี่ห้อเป็นการชั่วคราว หลังจากตรวจพบแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์เหล่านั้น กล่าวโดยอธิบดีกรมคุ้มครองผู้บริโภค การแข่งขัน และการปราบปรามการทุจริตกัมพูชา (CCF) โดยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแร่ใยหินที่มีการจัดจำหน่ายในกัมพูชายกตัวอย่างเช่น ยี่ห้อจอห์นสัน, ดีนี่, โคโดโม, Bhaesaj และเบบี้มายด์ ซึ่งผลิตในประเทศไทย เช่นเดียวกับ แป้งเด็ก Pureen และ Laffair Be Love ที่ผลิตในมาเลเซีย โดย CCF ยังสั่งให้ผู้นำเข้าและผู้จัดจำหน่ายเรียกคืนผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจากตลาด โดยให้เวลาสองสัปดาห์ในการนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์เข้าตรวจทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของแร่ใยหินในผลิตภัณฑ์ โดยห้องทดลอง (Lab) ต้องเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501137845/cambodia-temporarily-bans-imports-of-asbestos-contained-talc-baby-powder/

จีนให้คำมั่นกัมพูชา สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจต่อเนื่อง

Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ให้คำมั่นต่อกัมพูชาในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ ผ่านการส่งออกและการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างประเทศ โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังจีนมีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 6-10 ทุกปี ในด้านการลงทุน Wang Wentian เอกอัครราชทูตจีนประจำกัมพูชา กล่าวว่า การลงทุนโดยตรงของจีนในกัมพูชาในปัจจุบันสูงถึง 206 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสแรกของปีนี้ ขณะที่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่าง จีน-กัมพูชา ก็เติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและจีนมีมูลค่าถึง 4,990 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต ในขณะที่กัมพูชาส่งออกไปยังจีนมูลค่ารวมอยู่ที่ 519.8 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับการนำเข้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.5 หรือคิดเป็นมูลค่า 4,470 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501106399/china-pledges-continuous-support-for-cambodias-economic-development/

กัมพูชาเปิดพรมแดนแห่งใหม่ระหว่างเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ประกาศจัดตั้งจุดผ่านแดนแห่งใหม่ไปยังเวียดนามในจังหวัดตบยองขุม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและการเดินทางระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามในช่วง มกราคม-พฤษภาคม ปีนี้ มูลค่า 1,079 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้เวียดนามถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับสินค้าของกัมพูชารองจากสหรัฐฯ ตามข้อมูลจากกรมศุลกากร และสรรพสามิต ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเวียดนามมูลค่า 1,710 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501097768/cambodia-to-get-new-border-crossing-to-vietnam-pm/

‘เวียดนาม’ ยกเลิกเรียกเก็บภาษีเหล็กนำเข้าจากจีนและเกาหลีใต้

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ประกาศยกเลิกภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดสำหรับการนำเข้าเหล็กเคลือบโลหะจากสาธารณรัฐเกาหลีและจีน หลังจากจัดเก็บภาษีเป็นระยะเวลา 5 ปี ตามรายงานของกระทรวงฯ เปิดเผยว่ากระทรวงได้เปิดการสอบสวนว่ามีการทุ่มตลาดในเดือนมิ.ย. ปีที่แล้ว ตามที่มีการเรียกร้องจากผู้ผลิตในประเทศ ซึ่งการสอบสวนเป็นไปตามระเบียบขององค์การค้าโลก (WTO) เป็นผลให้กระทรวงฯ รวบรวมเอกสารและข้อมูลต่างๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปประเมินผลกระทบของการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเคลือบโลหะ และการทุ่มตลาดของผู้ผลิตและผู้ส่งออกเกาหลีใต้และจีน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบแสดงให้เห็นว่าหลังจากเรียกเก็บภาษีมาเป็นระยะเวลา 5 ปี ภาคการผลิตเหล็กในประเทศไม่ได้รับผลกระทบสูงมากเหมือนแต่ก่อนและมีความเป็นไปได้ว่าจะนำเข้าเหล็กจากเกาหลีใต้และจีนในอนาคต

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-removes-anti-dumping-duties-on-steel-imports-from-china-rok-post944578.vov

ราคาสินค้านำเข้า สปป.ลาว พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ต้นทุนของสินค้าในครัวเรือนที่นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15-50 ในเดือนเมษายน เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม จากผลการศึกษาล่าสุด จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ รายงานวิจัยระบุว่าราคาที่เพิ่มขึ้นเป็นผลมาจากการอ่อนค่าลงของ kip อย่างต่อเนื่องและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้น ซึ่งเกิดจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในครัวเรือนที่นำเข้ามีส่วนสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อในลาว โดยมีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งเต่เดือนมกราคมที่อยู่ที่ร้อยละ 6.25% ในเดือนกุมภาพันธ์เป็น 7.31% และ 8.54% ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องส่งเสริมการส่งออกเพื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากขึ้น อีกทั้งรัฐบาลควรมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อดึงดูดเงินตราต่างประเทศเข้าสู่ระบบธนาคารรวมึงควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนอย่างเข้มงวด ส่งเสริมธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าส่งออกให้ดำเนินการผ่านระบบธนาคาร และดูแลให้การค้าสินค้าและบริการในลาวใช้ kip เป็นหลัก

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Price75.php

ปีงบประมาณย่อย 64-65 เมียนมานำเข้าสินค้าทุนลดลง

6 เดือนแรกของปีงบประมาณย่อย (2564-2565) ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 เมียนมามีการนำเข้าสินค้าทุน เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ ยานพาหนะ เครื่องจักร และเหล็กกล้า เป็นมูลค่าประมาณ 1.49 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงกว่า2.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2563-2564 จากผลกระทบของ COVID-19 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของประเทศ กระทบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่พึ่งพาชาวต่างชาติเป็นหลัก ที่ลดลงถึง 70% ผู้ประกอบการต้องลดค่าเช่า ตามยอดดารเข้าพักที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน ที่เงินจัตอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นอีกสาเหตุที่ส่งผลให้ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ซีเมนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สูงขึ้น ในทางกลับกัน วัตถุดิบที่ใช้ในการตัดเย็บเสื้อผ้าประเภท Cut-Make-Pack (CMP) มีมูลค่านำเข้า  1.14 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ กลับเพิ่มขึ้นถึง 329 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว โดย 10 ประเทศหลักที่เมียนมานำเข้าสินค้าทุน ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เวียดนาม ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี และสหรัฐอเมริกา

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-records-import-plunge-in-capital-goods-in-past-mini-budget-period/

“อินเดีย” เมิน นำเข้าถั่วเขียวจากตลาดเมียนมา

องค์การส่งเสริมการค้าเมียนมา เผย อินเดียจำกัดการนำเข้าถั่วเขียวจากเมียนมา คาดจะไม่ส่งผลกระทบมากนักต่อตลาดเมียนมา โดยอินเดียเป็นผู้นำเข้าถั่วดำและถั่วแระของเมียนมารายใหญ่ แต่การนำเข้าถั่วเขียวคิดเป็นสัดส่วนเพียง 12% อินเดียจำกัดการนำเข้าเพื่อป้องกันราคาและผลผลิตช่วงเวลาเก็บเกี่ยวของอินเดียและการแทรกแซงราคาที่จะไม่ต่ำไปกว่าราคาขั้นต่ำที่รัฐกำหนดไว้ แม้จะปิดด่านชายแดนแต่ถั่วเขียวส่วนใหญ่ถูกส่งออกทางทะเลไปยังจีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และยุโรป ซึ่งการจำกัดการนำเข้าของอินเดียนี้จะมีผลตั้งแต่หลังวันที่ 11 ก.พ.2565 เป็นต้นไป

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาพร้อมที่จะเจรจากับคู่ค้าอินเดียผ่านรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ นอกจากนี้ สมาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพยามที่จะค้นหาและเจาะตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้นรวมทั้งตลาดใหม่ๆ ในสหภาพยุโรป เพราะได้ราคาได้ดีกว่า ส่วนด้านผลผลิต เมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกเมล็ดถั่วและถั่วพัลส์ต่างๆ ประมาณ 9.9 ล้านเอเคอร์ มีผลผลิตที่ได้ต่อปีอยู่ที่ 4.1 ล้านตัน ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วเขียวประมาณ 700,000 ตันไปยัง 64 ประเทศ ซึ่งระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 2564 ถึง 4 ก.พ. 2565 มีการส่งออกถั่วเขียวไปแล้วจำนวน 147,326 ตัน ในจำนวนนี้ 18,842 ตันถูกส่งไปยังอินเดีย โดยราคาในปัจจุบันเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง 1,900-2,350 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/indias-policy-changes-indifferent-to-myanmar-green-gram-market/

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด

รัฐบาลได้สั่งห้ามการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และปลาบางประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเพาะปลูกพืชผลและสัตว์เหล่านี้ในสปป.ลาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ทั้งนี้สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอาจนำเข้าต่อไปได้ เช่น สเปิร์มของสัตว์เพื่อการเพาะพันธุ์ เมล็ดข้าว วัคซีนและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ ยาสำหรับสัตว์ และอาหารสัตว์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎ ต้องมีการใช้งานเฉพาะและไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ และรวมถึงเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อนกกระจอกเทศระดับพรีเมียมที่เสิร์ฟในร้านอาหารและโรงแรมขนาดใหญ่ สปป.ลาวเผชิญกับการขาดดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง การริเริ่มแนวทางดังกล่าวรัฐบาลสปป.ลาวพยายามลดความพึ่งพาจากต่างประเทศในอีกส่วนหนึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตให้แก่สปป.ลาวอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt13.php

จีนยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากกัมพูชากว่าร้อยละ 90 ของสินค้าทั้งหมด

จีนส่งเสริมภาคการค้าระหว่างกัมพูชา ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปในวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ทุกภาคส่วน อาทิเช่น วิสาหกิจชุมชน ผู้ผลิต ผู้ส่งออก และประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยข้อตกลงการค้าเสรีดังกล่าวกำหนดไว้ว่าทั้งสองประเทศจะต้องยกเว้นการจัดเก็บภาษี หรือกำหนดภาษีการนำเข้าให้เป็นศูนย์ แก่สินค้านำเข้าจากอีกฝั่ง ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมสินค้านำเข้ากัมพูชามากกว่าร้อยละ 90 โดยทั้งสองประเทศวางแผนที่จะกระชับความร่วมมือในด้านต่างๆเพิ่มเติม เช่น สนับสนุนภาคการค้า ภาคบริการ การลงทุน โครงการเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (BRI) และตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งในปัจจุบันปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 45.9 คิดเป็นมูลค่า 10.98 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501001767/china-cambodia-to-promote-free-trade-deal-with-zero-tariff-on-more-than-90-percent-of-imports-from-cambodia/

‘เวียดนาม’ นำเข้าอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เวียดนามกลายมาเป็นผู้นำเข้าข้าวโพดรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่อันดับที่ 5 ของตลาดโลก กรมศุลกากรของเวียดนาม (GDC) เปิดเผยว่าในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มูลค่าการนำเข้าอาหารสัตว์และวัตถุดิบ อยู่ที่ 4.14 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 29% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 63 ซึ่งมูลค่าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ายังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ทำให้เปิดโอกาสอันดีแก่ผู้ส่งออกข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ที่เหลือจากขบวนการผลิตเอทานอลด้วยข้าวโพด (DDGS) ทั้งนี้ แนวโน้มความต้องการนำเข้าข้าวโพดและผลิตภัณฑ์ DDGS ของเวียดนาม จะดันพุ่ง 3 เท่าในอีก 10 ปีข้างหน้า สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1094879/vietnamese-animal-feed-imports-continue-to-rise.html