เมืองกัมปอตของกัมพูชาได้รับการลงทุนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) หลายแห่งทั่วกัมพูชากำลังปิดตัวลงแต่บางกลุ่มธุรกิจในกำปอตยังคงเป็นบวกเนื่องจากการลงทุนในท้องถิ่นมีจำนวนมากขึ้นทำให้เมืองชายฝั่งยังคงเติบโตได้ โดยมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมายทั่วเมืองกัมปอตตั้งแต่บาร์ ร้านอาหาร เกสต์เฮาส์ ไปจนถึงบริษัททัวร์ อย่างไรก็ตามกิจการใหม่จำนวนมากมุ่งเป้าไปที่ตลาดในประเทศโดยเฉพาะ เนื่องจากขาดการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติหลังจากได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ซึ่งในช่วงหกเดือนแรกของปี 2020 จังหวัดกัมปอตได้ให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศจำนวน 838,000 คน ในขณะที่ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมีนักท่องเที่ยวมาเยือนยังกัมพูชาถึง 1,090,000 คน ตามข้อมูลของกรมการท่องเที่ยวจังหวัดกัมปอต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50778639/kampot-receives-more-local-investment/

สปป.ลาวจับมืออาเซียนหนุนแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงาน

สปป.ลาวและประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนจะเสริมสร้างการประสานงานในการดำเนินการตามแนวปฏิบัติด้านความปลอดภัยในการทำงานและการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพทั่วทั้งภูมิภาค สปป.ลาวยังแสดงความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนนโยบายและมาตรการด้านแรงงานเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงานและอำนวยความสะดวกในการกลับไปทำงานอย่างปลอดภัยหลังการแพร่ระบาด และส่งเสริมความร่วมมือการเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นของพนักงานในการเตรียมความพร้อมสำหรับวิกฤตสังคมและเศรษฐกิจในอนาคต และขีดความสามารถที่สูงขึ้นสำหรับอนาคตของการทำงาน ข้อมูลนี้ได้รับการถ่ายทอดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมระหว่างการประชุม ALMM + 3 ครั้งที่ 11 ผู้เข้าร่วมได้ใช้ลำดับความสำคัญ 5 ปีของความร่วมมืออาเซียนบวกสามด้านแรงงานในช่วงปี 64-68 ที่ประชุมยังเห็นพ้องกับแผนงานของอาเซียนสำหรับการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด แนวปฏิบัติของอาเซียนว่าด้วยเพศที่เป็นกระแสหลักในนโยบายแรงงานและการจ้างงาน ด้านความปลอดภัยและการบริหารความเสี่ยงอาชีวอนามัยสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการส่งกลับและการกลับคืนสู่สภาพเดิมของแรงงานข้ามชาติและโครงการทำงานของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนปี 64-68 การประชุมคณะทำงานเจ้าหน้าที่แรงงานอาวุโส ปรับปรุงแผนปฏิบัติการของฉันทามติอาเซียนด้านการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานข้ามชาติ  และยังตกลงที่จะขยายการเข้าถึงของคนงานทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ตกงานหรือได้รับรายได้น้อยไปยังโครงการประกันสังคมและความช่วยเหลือทางสังคมเพื่อดำรงชีวิตอยู่

ที่มา :  http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_213.php

“จุรินทร์” เดินหน้าช่วย SMEs ทำตลาด ผลักดันขายออนไลน์-ส่งออกต่างประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยในการเป็นประธานเปิดงาน Smart SME Expo 2020 ว่า กระทรวงพาณิชย์มีแผนที่จะส่งเสริมและผลักดันผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก ที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย คิดเป็น 95% ของผู้ประกอบการทั้งประเทศ ให้มีโอกาสทางการตลาดเพิ่มขึ้นตามยุทธศาสตร์ “ตลาดนำการผลิต” โดยจะเข้าไปช่วยเหลือทางด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลักสูตรของกระทรวงพาณิชย์มีทั้งหลักสูตรพื้นฐาน หลักสูตรธรรมดา ปานกลาง และหลักสูตรเข้มข้น ที่จะอบรมให้เข้าใจจนลึกซึ้ง สุดท้ายจะค้าขายได้และส่งออกได้ และโอกาสการเข้าร่วมการจัดงานแสดงสินค้าในต่างประเทศจะเปิดพื้นที่ 10-15% เป็นโอกาสให้ SMEsจัดแสดงสินค้าในตลาด CLMV และมาเลเซีย เปิดพื้นที่ให้ SMEs ในภาคต่างๆ ได้มีโอกาสมาแสดงสินค้าในงานของกระทรวงพาณิชย์  ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้ทูตพาณิชย์ทำหน้าที่เซลส์แมนประเทศไปเจรจากับผู้นำเข้าในประเทศต่างๆ แล้วจับคู่ธุรกิจในประเทศไทยและลงนามสัญญาซื้อขาย ทำให้ส่งออกได้ นอกจากนี้กระทรวงพาณิชย์ โดยสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการการค้ายุคใหม่ ได้ลงนาม MOU ร่วมกับหัวเว่ย ตั้งเป้าหมายร่วมกันที่จะช่วยนำเทคโนโลยีดิจิทัลทั้งเทคโนโลยี 5G , IoT และระบบคลาวด์ มาพัฒนาภาคการผลิตและภาคการตลาดให้กับ SMEs ของไทย นอกจากนี้ ยังมีนโยบายผลักดันให้เด็ก GenZ เป็น CEO โดยจะช่วยให้มีความรู้ในการทำธุรกิจและการค้าขายออนไลน์ ตั้งเป้าหมายว่าปีนี้จะทำให้ได้ 12,000 คน โดยได้เริ่มต้นไปแล้วมหาวิทยาลัยในภาคเหนือ 7 มหาวิทยาลัย จัดอบรมชุดแรกไปแล้ว 1,500 คน จะทำต่อไปในภาคอื่น เพื่อให้เป็นทัพหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศยุคโควิด-19 และหลังโควิด-19 ในอนาคต และกลุ่มนี้ถ้าไม่ไปทำสตาร์ทอัพ ก็ต้องมาทำ SMEs สุดท้ายก็จะมาเป็นกำลังสำคัญให้แก่ประเทศต่อไปในอนาคต

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000112238

สิงคโปร์ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม หวังเจาะตลาดขนาดใหญ่

ตามคำแถลงการณ์ของการประชุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่นครโฮจิมินห์ จัดโดยศูนย์กลางการลงทุนและส่งเสริมการค้า (ITPC) เปิดเผยว่าสิงคโปร์มีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจภูมิภาค เนื่องจากมีจุดยุทธศาสตร์ในการเป็นศูนย์กลางทางการเดินเรือระหว่างประเทศ นอกเหนือจากนั้นยังมีทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้ ตลาดอีคอมเมิร์ซในสิงคโปร์ยังเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กีปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเวียดนามสามารถเข้าถึงตลาดอีคอมเมิร์ซและนำเสนอสินค้าไปยังตลาดสิงคโปร์ได้ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมาก แต่ธุรกิจในท้องถิ่นยังต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงใส่ใจกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์และใบรับรองอื่นๆ อาทิ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องทาการควบคุม (HACCP) เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาด.

ที่มา : https://vov.vn/en/economy/singapore-helps-vietnamese-smes-penetrate-large-scale-markets-784308.vov

World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

เมียนมาเตรียมตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองสำหรับบริษัทมหาชน

การกระทรวงการวางแผน เมียนมา เผยการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งที่สองเพื่อวัตซื้อขายหุ้นใน บริษัท มหาชนที่ยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ย่างกุ้ง (YSX) จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งเมียนมา (SECM) สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ปัจจุบันมีบริษัท มหาชนมากกว่า 260 แห่งที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายบริษัทของเมียนมาร์ มีบริษัทมหาชนเพียง 6 แห่งเท่านั้นที่จดทะเบียนใน YSX ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมเพื่อเตรียมรายชื่อบริษัทที่พร้อมเข้าจดทะเบียน YSX ในอนาคต โดยคณะกรรมการชุดใหม่นี้จัดตั้งขึ้นโดยความเห็นชอบจากกระทรวงการวางแผนการเงินและอุตสาหกรรมและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ SECM บริษัท มหาชนตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ เพื่อระดมทุนจากประชาชนและแข่งขันกันเพื่อร่วมประมูลงานของรัฐบาล นอกจากนี้ยังต้องได้รับอนุญาตจาก SECM และหน่วยงานอื่น ๆ และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ก่อนที่จะได้รับอนุญาตในการขายหุ้น

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-set-second-stock-exchange-public-companies.html

ตลาดนัด SME ยอดซื้อขายทะลุ 30 ล้านบาท

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลการจัดงาน ตลาดนัด SME “เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน” สร้างยอดขายกว่า 30 ล้านบาท เพิ่มโอกาส สร้างรายได้พร้อมต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่าตลาดนัด SME เราช่วยไทย ไทยช่วยกัน  ซึ่งจัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในช่วงวันที่ 4 – 6 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา มีประชาชนเข้าร่วมงานกว่า 4 หมื่นคน โดยจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่า ผู้ประกอบการกว่า 600 ราย ที่นำสินค้าและบริการมาจำหน่าย สามารถทำยอดขายโดยรวมมากกว่า 30 ล้านบาท โดยเฉพาะในหมวดของอาหาร เกษตรแปรรูป สินค้าแฟชั่นจำพวกสิ่งทอ เสื้อผ้า รวมถึงบริการท่องเที่ยว คิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของยอดขายทั้งหมดในงาน นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมงานมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับสูงมากถึง 86% โดยเฉพาะในด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่นำเสนอในงาน ซึ่งตลอดทั้ง 3 วัน ได้มีกิจกรรมที่เน้นเพิ่มความรู้ด้านการตลาดในยุค New Normal การปรับตัวของธุรกิจและกรณีศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินธุรกิจอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก “แม้ว่าตลาดนัด SME จะเป็นงานในระดับเล็ก แต่สิ่งสำคัญคือการที่ประชาชนได้ออกมาจับจ่ายใช้สอย อุดหนุนสินค้าและบริการของไทย ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจของผู้ประกอบการที่นำสินค้าและบริการมาเสนอในงาน โดย SME และวิสาหกิจชุมชนต้องเรียนรู้ความต้องการผู้บริโภคที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย และทำการปรับปรุงคุณภาพ มาตรฐาน รวมถึงรูปแบบสินค้าใหม่ ๆ ให้เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ยังคงเร่งให้ความช่วยเหลือสนับสนุน SME และวิสาหกิจชุมชนในการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปรับตัวเข้าถึงแหล่งทุน และตลาดทั้งในรูปแบบ Offline และ Online ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป”

ที่มา: https://bit.ly/35B7FOJ

เวียดนามมีอัตราการเติบโตของ SMEs สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากการสำรวจของกลุ่มธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (UOB) จากสิงคโปร์ และ ‘Accenture’ บริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินอย่างมืออาชีพจากไอริช รวมถึง ‘Dun & Bradstreet’ บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าผู้ประกอบการ SMEs ในเวียดนาม ส่วนใหญ่ร้อยละ 63 ตั้งเป้าที่จะลงทุนในเทคโนโลยี ตามมาด้วยร้อยละ 37 ลงทุนในเครื่องจักรและโรงงาน และร้อยละ 49 ส่งเสริมทักษะของพนักงาน อีกทั้ง ธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 46 เลื่อนแผนงานออกไป เหตุโควิด-19 ในขณะที่ ร้อยละ 2 ไม่มีแผนการดำเนินงาน ตามการสำรวจผู้ประกอบการ SMEs ใน 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทยและเวียดนาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งนี้ รายได้ของผู้ประกอบการชาวเวียดนาม SMEs มองว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 90 คาดว่าในปี 2563 รายได้หดตัวลง เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่ ด้านมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของภาครัฐฯ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบว่านักธุรกิจส่วนใหญ่ร้อยละ 68 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของภาครัฐฯ เวียดนาม มากที่สุด รองลงมาไทย (47%) และ อินโดนีเซีย (45%) ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-possesses-the-highest-rate-of-smes-in-southeast-asia-23798.html

ครม. แนะภาคการเงินและธุรกิจปรับปรุงนโยบายที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

การประชุมประจำเดือนสิงหาคมของคณะรัฐมนตรีมีการหารือในหลายประเด็นรวมถึงรับรองกฎหมายเพิ่มเติมต่างๆ ประเด็นที่สำคัญในการประชุมครั้งนี้ครอบคลุมในเรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยคณะรัฐมนตรีสั่งการเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงนโยบายเพื่อส่งเสริม SMEs รวมถึงการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และการปรับปรุงขั้นตอนเข้าถึงกองทุนส่งเสริม SME ได้ง่ายและรวดเร็ว ในส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราและอัตราเงินเฟ้อควรอยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม นอกจากนี้รัฐบาลยังผลักดันการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ การจะทำตามแผนดังกล่าวได้สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือภาครัฐต้องคำนึงถึงประสิทธิด้านการเก็บภาษีเพื่อให้ได้ตรงตามเป้าหมายประจำปี ในที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการร่างกฎหมาย 3 ฉบับซึ่งจะถูกส่งเข้าสู่การประชุมสมัชชาแห่งชาติสมัยสามัญที่กำลังจะมีขึ้น และเศรษฐกิจที่สำคัญอย่างภาคการค้า รัฐบาลพยายามสนับสนุนการผลิตในประเทศเพื่อลดการนำเข้าและส่งเสริมการส่งออกรวมถึงส่งเสริมการแคมเปญการท่องเที่ยวหลังโควิด -19 เพื่อทำให้เศรษฐกิจสปป.ลาวกลับมาเติบโตอีกครั้ง

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Cabinet_163.php

บีโอไอนำผู้ประกอบการไทยจับมือรับช่วงผลิตกับบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

นางสาวซ่อนกลิ่น  พลอยมี ผู้อำนวยการกองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน (BUILD) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) (ที่ 3 จากซ้าย) จับมือกับสมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย และบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นำคณะผู้ประกอบการ SMEs ไทยเข้าเยี่ยมชมสายการผลิต พร้อมรับฟังนโยบายการจัดซื้อชิ้นส่วนจากบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของโลก เช่น อีวี ชาร์จเจอร์ สวิชชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย และให้บริการการจัดการระบบความร้อนและกำลังไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ เป็นต้น โดยกิจกรรมนี้จะก่อให้เกิดการสั่งซื้อชิ้นส่วนระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ไทย กับบริษัทเดลต้าต่อไป

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/444169?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=Macro_econ