การค้าทวิภาคีของกับพูชาและเวียดนามลดลงแต่ระหว่างไทยยังคงทรงตัว

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชากับเวียดนามประสบปัญหาการลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปีที่เกิดจากการระบาดทั่วโลก อย่างไรก็ตามปริมาณการค้ากับไทยยังคงทรงตัว จากเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศอยู่ที่ 1.3 พันล้านดอลลาร์ลดลง 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามข้อมูลจากสถานทูตเวียดนามประจำกัมพูชา โดยเวียดนามระบุว่าในช่วงดังกล่าวเวียดนามนำเข้ากัมพูชามีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 4.4% ในทางตรงกันข้ามปริมาณที่กัมพูชาส่งออกไปยังเวียดนามมาอยู่ที่ 272 ล้านดอลลาร์ลดลงถึง 37% ซึ่งในปี 2019 ปริมาณการค้าระหว่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 5.2 พันล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับปี โดยจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ของประเทศไทยการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาในช่วงสามเดือนแรกมีมูลค่าถึง 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 31% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวยอดส่งออกรวมของกัมพูชาไปยังประเทศไทยอยู่ที่ 612 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 115% ในขณะที่กัมพูชานำเข้าสินค้าจากประเทศไทย 1,891 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50719618/cambodias-bilateral-trade-drops-with-vietnam-yet-thailand-steady/

‘โควิด’ ฉุดเบิกจ่ายงบ 63 ต่ำกว่าเป้า นายกฯ เร่งทุกหน่วยเบิกงบ

“สมคิด” เผยนายกฯสั่งหัวหน้าส่วนราชการ เร่งเบิกจ่ายงบปี 63 ที่ต่ำกว่าเป้าไปมากหลังผลกระทบโควิด และซักซ้อมการทำโครงการเสนอใช้เงินกู้ 4 แสนล้านบาทเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ได้เร่งรัดส่วนราชการให้เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เนื่องจากขณะนี้การเบิกจ่ายตกเป้าและล่าช้าไปมากเพราะติดขัดปัญหาและอุปสรรคในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 และความล่าช้าของการออก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2563

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878986?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

กัมพูชาส่งออกไปยังไทยเพิ่มขึ้น 115%

การส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทยพุ่งสูงขึ้นในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้แม้ว่าทั้งสองประเทศจะมีการขนส่งที่เข้มงวดมากขึ้นสำหรับการค้าข้ามพรมแดนเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคมปีนี้การส่งออกทั้งหมดของกัมพูชาไปยังประเทศเพื่อนบ้านมีมูลค่า 612 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 115% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยข้อมูลจากทางการของกระทรวงพาณิชย์ของกัมพูชาระบุว่ากัมพูชานำเข้าสินค้า 1,891 ล้านดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบเป็นรายปี ข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 31 ในช่วงสามเดือนแรกเป็น 2,503 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการค้าทวิภาคีที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองประเทศสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสองประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลต่อรัฐบาล โดยเป็นสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่ของการส่งออกของกัมพูชาไปยังประเทศไทยในขณะที่การส่งออกของไทยไปยังกัมพูชาส่วนใหญ่ประกอบด้วยแหล่งพลังงาน ปุ๋ยการเกษตร ปูนซีเมนต์ อาหารและเครื่องสำอาง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50717339/cambodias-exports-to-thailand-soar-115-percent/

พาณิชย์ ถอน CPTPP พ้นครม.

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์กรณีการเสนอเรื่อง CPTPP ( comprehensive and progressive agreement for transpacific partnership) หรือ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก สู่การพิจารณาของ ครม. ว่า การเสนอเป็นไปตามมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเมื่อปรากฏว่ายังมีความเห็นแย้งกันอยู่ในระหว่างฝ่ายต่างๆ กระทรวงพาณิชย์จึงได้ถอนเรื่องที่เสนอออกไปแล้ว ทั้งนี้ นายจุรินทร์กล่าวว่าจะไม่เสนอเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมอีก ตราบใดที่ภาคส่วนต่างๆในสังคมยังมีความเห็นขัดแย้งกันอยู่ รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ตามที่กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอผลการศึกษาและระดมความเห็นภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเรื่องการเข้าร่วมความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) เข้าสู่วาระการพิจารณาของครม.ในวันที่ 28 เม.ย.ตามมติของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) ที่มี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2563 นั้นนายจุรินทร์ เห็นว่า ยังมีข้อกังวลบางประเด็นของ CPTPP อาทิ การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ การเปิดตลาดให้กับสินค้าใช้แล้วที่นำมาปรับปรุงสภาพเป็นของใหม่และการจัดซื้อจัดจ้างโดยภาครัฐ และข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โรคระบาดโควิดในปัจจุบัน อาจจะไม่เหมาะสมกับเวลา จึงเห็นขอถอนเรื่องออกไป

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/878089?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

ททท.ชี้อีก 5 เดือนฟื้นแน่ “จีน” เริ่มส่งสัญญาณบวก

ททท.รับโควิด-19 “มหาวิกฤต” คาดอีก 5 เดือนอุตฯ ท่องเที่ยวไทยฟื้นตัว ชี้ “จีน”ส่งสัญญาณบวกแล้ว ยื่นขอกลับบินเข้าไทยอีกครั้ง พร้อมเร่งโมเดลซ่อมสร้างปลุกท่องเที่ยวภายในประเทศ ย้ำ ททท.ทำงานเต็มที่ ไม่ทิ้งผู้ประกอบการ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ประเมินว่า สำหรับประเทศไทยนั้นคาดว่าจะใช้เวลาฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างน้อยอีกประมาณ 5 เดือนนับจากนี้เป็นต้นไป ตอนนี้มีข่าวดีจาก 5 สำนักงานของ ททท.ในจีนที่ได้รับรายงานว่า มีสายการบินในจีนเริ่มติดต่อขอบินกลับเข้าประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมนี้ โดยเชื่อว่าหลังจากนี้การต้อนรับนักท่องเที่ยวก็จะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสุขอนามัยและสุขภาพของนักท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้น  ช่วงนี้จึงเป็นช่วงเวลาที่มีผู้ได้รับผลกระทบมาก แต่ ททท.จะช่วยอย่างเต็มที่ เริ่มจากการช่วยเหลือผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และย่อย และเป็นผู้ประสานงานเพื่อดูแลให้ผู้ประกอบการเข้าถึงมาตรการเยียวยาของรัฐได้ต่อไป โดยส่วนของ ททท.เองก็ได้ทำการปรับแนวทางการทำงานใหม่ตามแนวทางการบริหารงานของรัฐบาล โดยโฟกัสใน3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ 1.ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบตั้งแต่ผู้ประกอบการกลุ่มเปราะบางในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงนักท่องเที่ยวที่ยังตกค้างอยู่ 2.เตรียมความพร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวเมื่อสถานการณ์กลับมาเป็นปกติ และ 3.สนับสนุนรัฐบาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

ที่มา: https://www.prachachat.net/tourism/news-455435

จุรินทร์ เตรียมนัดหารือภาคเอกชนฟื้นเศรษฐกิจหลัง โควิด-19

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีกำหนดการที่จะพบปะกับภาคเอกชนผู้ผลิตสินค้าและธุรกิจบริการ เพื่อหารือถึงการเตรียมพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ทั้งภาคการผลิต การตลาด การค้าในประเทศ และการส่งออกต่างประเทศ ในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยนายจุรินทร์รีจะไปรับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ และแนวทางการทำงานกับภาคเอกชนเป็นรายอุตสาหกรรม ก่อนที่จะนำมาประมวลผลและจัดทำมาตรการเชิงรุกในการขับเคลื่อนต่อไป สำหรับกำหนดการพบปะกับภาคเอกชนครั้งต่อไป กำหนดไว้วันที่ 22 เม.ย. 2563 จะหารือกับกลุ่มผู้ผลิตไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป เช่น สมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร บมจ.เบทาโกร บมจ.จีเอฟพีที และสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การค้าภายในประเทศและ การส่งออก เพราะเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีความต้องการของผู้บริโภค และมีโอกาสในการขยายตลาดส่งออกได้เพิ่มขึ้น การณ์ข้าว ทั้งข้าวสาร ข้าวสารบรรจุถุง และข้าวส่งออก เพื่อบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล ทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออกแล้ว ส่วนสินค้าตัวถัดมา จะนัดหารือกับกลุ่มผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กลุ่มผักผลไม้ เช่น สับปะรด ข้าวโพดหวาน ทูน่า อาหารทะเล เครื่องดื่มและนม ในวันที่ 23 เม.ย.2563 และจะเชิญเกษตรกรจาก จ.ประจวบคีรีขันธ์และสมุทรสงคราม มาร่วมหารือด้วย ที่โรงงานเทพผดุงพร ซึ่งผลิตน้ำมะพร้าวและกะทิ ที่พุทธมณฑลสาย 4 โดยต้องการที่จะประเมินสถานการณ์การผลิตและการส่งออก และต้องการให้กระทรวงพาณิชย์ช่วยเหลือ ในด้านไหน เพื่อที่จะส่งออกได้เพิ่มขึ้น จากนั้น ได้นัดหารือกับสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมอุตสาหกรรมทูน่าไทย และกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้ง ณ ห้องประชุมโรงงานอาหารทะเล Sea Value ณ ต.มหาชัย อ.เมือง จ.สมุทรปราการ เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิต การตลาด และการส่งออก ร่วมกับเกษตรกร ผู้ผลิต และผู้ส่งออก เพื่อที่กระทรวงพาณิชย์จะได้เข้าไปช่วยเหลือและช่วยผลักดันให้มีการส่งออกได้เพิ่มขึ้น เพราะปัจจุบันสินค้าอาหารทะเลของไทย มีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ในวันที่ 27 เม.ย.2563 ได้นัดหารือกับกลุ่มแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งที่ขายสินค้าในประเทศ และต่างประเทศ ที่กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือในการใช้ช่องทางออนไลน์ช่วยเหลือเกษตรกร ผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ผู้ผลิตสินค้าชุมชน สินค้าโอทอป ไปจนถึงผู้ผลิต ผู้ส่งออก ให้มีโอกาสในการขายสินค้าทางออนไลน์ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลังจากเกิดสถานการณ์ไวรัสโควิด-19

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876987?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

จับตา “สภาพัฒน์” ถกข้อเสนอเอกชนสู้โควิด ก่อนดันชงเข้าครม.

จับตา “สภาพัฒน์” เชิญ “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน” จาก 13 หน่วยงาน พิจารณา 12 ข้อเสนอสู้โควิดต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ก่อนดันชงเข้าครม.ต่อไป วันพรุ่งนี้ (20เม.ย.63) ที่สํานักงานเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จะมีการประชุม “คณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน ในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่  2/2563  การประชุมนัดที่ 2 ของที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชน จะนำข้อเสนอของ ทีมฝ่าวิกฤติโควิด  5 ด้าน ที่เคยมี 12 ข้อเสนอไปแล้วมาพิจาณาอีกครั้ง ได้แก่ 1.ปรับลดค่าไฟฟ้า 5% ทั่วประเทศและลดค่า ft ตามราคาน้ำมัน 2. เอกชนสามารถนำค่าใช้จ่ายสำหรับป้องกันโควิด-19 มาหักค่าใช้จ่ายได้ 3 เท่า 3.ขอให้รัฐออกคำสั่งปิดกิจการโรงแรมเพื่อให้ลูกจ้างได้รับเงินช่วยเหลือจากประกันสังคม 4.ขอให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ปีภาษี 2562-2563 กรณี SMEs เหลือไม่เกิน 10% และกรณีผู้ประกอบการอื่น เหลือไม่เกิน 20% 5.รัฐจัดสรรงบประมาณในการจ้างงานและซื้อสินค้าจากผู้ผลิตภายในประเทศ 6.ผ่อนปรนการเข้าถึงสินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการ 7.อนุญาตให้จ้างงานเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 40-41 บาท 4-8 ชม/วัน 8.ลดเงินสมทบประกันสังคมของนายจ้างจาก 4% เหลือ 1% 9. ช่วยเหลือแรงงานที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท รัฐจ่าย 50% บริษัทจ่าย 25% ของค่าจ้าง 10. บริษัทนำค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างแรงงาน ในช่วง COVID-19 มาหักภาษี 3 เท่า 11.การผ่อนปรนมาตรการเคอร์ฟิวสำหรับผู้ประกอบการขนส่งสินค้าในเวลากลางคืน 12.การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนส่งผู้โดยสารระหว่างเมืองให้มีมาตรฐานเดียวกัน ส่วนคณะที่ปรึกษาฯที่แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่  1. กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft loan) ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และธนาคารแห่งประเทศไทย 2.กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ประกอบด้วยหอการค้าไทย 3.กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 4.กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร ประกอบด้วย สภาเกษตรกรแห่งชาติ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ 5.กลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล (Digital Solution) ประกอบด้วยคุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/business/430570?utm_source=homepage&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=corona

‘จีน-ไทย’ เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา ป้องกันการแพร่ระบาด

“จีน-ไทย” เห็นพ้องตั้งกองทุนรับมือโควิด-19 ร่วมแก้ปัญหา วางกลไกเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ช่วยเหลือฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. 63 พล.ต.ไชยสิทธิ์ ตันตยกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทธศาสตร์และการป้องกันประเทศ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ได้ประมวลและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีจีนร่วมการประชุมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) วาระพิเศษ ว่าด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ผ่านระบบทางไกล เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 14 เม.ย.63 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 1.นายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีน ได้กล่าวถึงการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันในอนาคต โดยต้องดำเนินการเพื่อเอาชนะโควิด-19 ให้ได้โดยเร็ว ซึ่งนอกจากจะคุกคามต่อสุขภาพและชีวิตของผู้คนแล้ว ยังทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการหดตัวของอุปสงค์และอุปทาน รวมถึงเกิดความผันผวนในตลาดการเงินและการค้า ตลอดจนการลงทุนที่ซบเซา ดังนั้น อาเซียนและประเทศคู่เจรจาบวกสามจึงควรแก้ไขปัญหาวิกฤติร่วมกัน โดยวางกลไกการเตรียมความพร้อมในกรณีฉุกเฉินสำหรับต่อสู้กับโรคระบาด และเพิ่มบทบาทในเชิงบวกของการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการต่อสู้กับการแพร่ระบาดร่วมกัน และช่วยเหลือกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มความเชื่อมั่นในภูมิภาค

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876140

สศช.ขอเอกชนเคาะข้อเสนอเร่งด่วนใน 1 สัปดาห์

สศช. ประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนนัดแรก ให้แบ่ง 5 กลุ่มกลับไปจัดลำดับความสำคัญข้อเสนอมาคุยอีกครั้ง 20 เม.ย.นี้ ก่อนรวบรวมเสนอรัฐบาล นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนในศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นัดแรก ว่า ที่ประชุมฯ ได้รับทราบข้อเสนอของภาคเอกชนทั้งหมดทุกกลุ่มที่เสนอมาในการประชุมครั้งนี้ แต่เนื่องจากข้อเสนอมีหลายเรื่อง จึงจัดกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องด้นต่างๆ กลับไปกลั่นกรอง และจัดลำดับความสำคัญว่าข้อเสนอนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะทำหรือไม่ หรือมีความคุ้มค่ามากเพียงใด จากนั้นจึงให้รวบรวมข้อเสนอมาหารือกันอีกครั้งในวันที่ 20 เม.ย.นี้ จากนั้น สศช.จะพิจารณาอีกครั้งว่า ข้อเสนอที่เสนอมานั้นเรื่องใดทำได้ทันที หรือเรื่องให้ต้องนำไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน หากข้อเสนอใดมีความพร้อมจะเสนอให้ครม.พิจารณา พร้อมทั้งยังเปิดพื้นที่สาธารณะในการรับฟังความคิดเห็นผ่าน Facebook “ร่วมด้วยช่วยคิด” ซึ่งจะได้รวบรวมประมวลและนำเสนอครม.ต่อไปด้วย. สำหรับการทำงานทั้ง 5 กลุ่ม แบ่งเป็น กลุ่มมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) ,กลุ่มมาตรการเพื่อการกลับมาเปิดธุรกิจใหม่ ,กลุ่มมาตรการเพื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ,กลุ่มมาตรการเพื่อภาคเกษตร และกลุ่มมาตรการเพื่อการแก้ไขปัญหาด้วยดิจิทัล

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/768722

ข้าวถุงปรับขึ้นราคา 20% มากสุดรอบ 10 ปี

ราคาข้าวเปลือก-ข้าวสารพุ่ง ข้าวถุงรั้งไม่อยู่ แห่ปรับราคาขึ้น 20% สูงสุดรอบเกือบ 10 ปี นายกสมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย เปิดเผยว่า จากราคาข้าวเปลือกที่ขยับสูงขึ้นมากในเวลานี้ (ข้าวเปลือกเจ้าตันละ 9,000-10,900 บาท ขึ้นกับคุณภาพและความชื้น สูงสุดในรอบ 7 ปี) ส่งผลถึงต้นทุนข้าวสารที่ใช้ผลิตข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวสูงขึ้น และมีผลให้ราคาข้าวสารบรรจุถุงปรับตัวจากเดิมแล้วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาประมาณ 20% ถือเป็นการปรับราคาสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี สำหรับราคาข้าวสารบรรจุถุงนี้ถือว่ามีการปรับราคาช้ากว่าราคาข้าวที่ขายตามร้านยี่ปั๊ว ซาปั๊ว หรือร้านที่ตักข้าวชั่งกิโลขายทั่วไป ที่เมื่อราคาข้าวจากโรงสีปรับตัวสูงขึ้น เมื่อซื้อมาขายก็สามารถปรับราคาขึ้นได้เลย ขณะที่ผู้ประกอบการข้าวถุงต้องผูกสัญญาไว้กับห้างโมเดิร์นเทรดต้องแจ้งทางห้างฯ ล่วงหน้า 10-15 วันจึงจะปรับราคาได้ เวลานี้มีหลายแบรนด์ที่แจ้งทางห้างฯ เพื่อขอปรับราคาแล้ว อย่างไรก็ดีในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมนี้จะมีข้าวนาปรังเก็บเกี่ยวรอบสองออกสู่ตลาด คาดจะทำให้ราคาข้าวถุงอ่อนตัวลง จากนี้ไปราคาข้าวถุงคงปรับขึ้นอีกไม่มาก ขอให้เห็นใจผู้ประกอบการด้วยเพราะเป็นการปรับขึ้นตามกลไกตลาด ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่มีการปรับเพราะตลาดมีการแข่งขันสูง และการที่ราคาข้าวเปลือกปรับตัวสูงขึ้นทุกฝ่ายควรที่จะยินดีกับชาวนา

ที่มา: https://www.thansettakij.com/content/Macro_econ/429431?utm_source=homepage_hilight&utm_medium=internal_referral