“เมียนมา” เผยราคาข้าวในประเทศขยับขึ้น

จากข้อมูลของศูนย์ค้าส่งข้าววาดัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 เปิดเผยว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ประมาณ 72,000 – 90,000 จั๊ตต่อกระสอบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่การผลิต ได้แก่ Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และจากข้อมูลเมื่อวันที่ 3 เมษายน พบว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 75,000 – 93,000 จั๊ตต่อกระสอบ รวมถึงราคาข้าวพันธุ์ต่างๆ ขยับเพิ่มสูงขึ้น 1,000 – 3,000 จั๊ตต่อกระสอบภายในระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-move-upwards-in-domestic-market/#article-title

“ข้าวเวียดนาม” ส่งออกเติบโตแข็งแกร่งในปี 2566

นาย Pham Van Chinh ผู้อำนวยสำนักงานการส่งออกและนำเข้าของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) กล่าวขอบคุณรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนอย่างทันท่วงที ทำให้ในปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกข้าวได้ 7.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 13.8% ในเชิงปริมาณ และ 5.1% ในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้เวียดนามเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก และในปีนี้คาดการณ์ว่าเวียดนามจะส่งออกข้าวประมาณ 6.5 – 7 ล้านตัน เนื่องจากความต้องการข้าวคุณภาพสูงของเวียดนามเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลของสมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่าราคาส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท เปิดเผยว่าการผลิตข้าวเพื่อการส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ในขณะที่ในภูมิภาคอื่นๆ นั้นผลิตข้าวเพื่อการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-rice-sector-expected-to-win-big-with-exports-in-2023-post1003250.vov

“เวียดนาม” จำเป็นต้องสร้างแบรนด์ผลไม้สู่ระดับสากล

เวียดนามจำเป็นต้องพัฒนาแบรนด์ผลิตภัณฑ์ผลไม้ระดับประเทศ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ ถึงแม้ว่าผลไม้จะทำรายได้จากการส่งออกหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี แต่เวียดนามยังไม่มีแบรนด์ผลไม้ที่มีชื่อเสียงเลย ทั้งนี้ หากสอบถามมุมมองของผู้บริหารบริษัท Vina T&T Import – Export Service Trading จำกัด (Vina T&T) กล่าวว่าในกรณีที่พูดถึงแอปเปิ้ล ก็จะนึกถึงสหรัฐฯ หากพูดถึงทุเรียนหมอนทอง ก็จะนึกถึงประเทศไทย และหากเปรียบเทียบกับคุณภาพของทุเรียนเวียดนาม สายพันธุ์ Ri6 กับทุเรียนที่มาจากไทยและมาเลเซีย คิดว่าทุเรียนเวียดนามจะได้รับคัดเลือกให้เป็นสินค้าส่งออกของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดียังคงมีความบกพร่องในเรื่องของเอกลักษณ์และคุณค่าของแบรนด์ ดังนั้น เวียดนามควรสร้างแบรนด์ผลไม้ที่เพิ่มสูงค่าและมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดต่างประเทศไทย แต่สิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ คือ การควบคุมหรือการรับรองมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อย่างเข็มงวด

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1483448/vn-needs-to-build-national-brands-for-fruits.html

สมาคมส่งเสริมพริกไทยกัมปอต รายงานการส่งออกพริกไทยลดลงร้อยละ 30.7 ในปี 2022

พริกไทยกัมปอต หนึ่งในผลิตภัณฑ์ของกัมพูชาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของสหภาพยุโรป ลดลงเกือบหนึ่งในสามในปี 2022 รายงานโดย Nguon Lay ประธานสมาคมส่งเสริมพริกไทยกัมปอต (KPPA) ซึ่งกล่าวเสริมว่ากัมพูชาส่งออกพริกไทยเพียง 79 ตันในปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 30.7 จากปริมาณ 114 ตันในปีก่อนหน้า โดยกว่าร้อยละ 85 ของการส่งออกพริกไทยถูกส่งไปยังยุโรป และอีกร้อยละ 15 ถูกส่งออกไปยังประเทศต่างๆ อาทิเช่น สหรัฐฯ แคนาดา จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ซึ่งปัจจุบันพริกไทยกัมปอตมี 3 สายพันธุ์ ได้แก่ สีดำ สีแดง และสีขาว โดยมีราคาอยู่ที่ 15 ดอลลาร์, 25 ดอลลาร์ และ 28 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ตามลำดับ แต่ถึงอย่างไรกัมพูชาและจีนได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดสุขอนามัยพืชสำหรับการส่งออกพริกไทยไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งเป็นการปูทางสำหรับการส่งออกพริกไทยกัมพูชาไปยังจีนในอนาคต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501231393/kampot-pepper-promotion-association-says-cambodias-pepper-exports-declined-by-30-7-percent-in-2022/

กัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสารแตะ 1 ล้านตัน ภายในปี 2025

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชาตั้งเป้าส่งออกข้าวสารอย่างน้อย 1 ล้านตัน ภายในปี 2025 ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับตัวเลขการส่งออกในปี 2022 โดยภายในปี 2023 กัมพูชาตั้งเป้าที่จะส่งออกข้าวสารให้ได้ 750,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับการส่งออกในปี 2022 ที่ 637,004 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 414 ล้านดอลลาร์ รายงานโดย Chan Sokkheang ประธานสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) นอกจากนี้ CRF ยังร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ผ่านโครงการ Green Trade เพื่อเข้าถึงตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และขยายศักยภาพทางการตลาดด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในโซนตะวันออกกลางและสหภาพยุโรป

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501230991/cambodia-eyes-exporting-1-million-tons-milled-rice-by-2025/

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ในปี 2022

สมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) กล่าวถึงสถานการณ์การส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วงปี 2022 พุ่งแตะ 637,004 ตัน ไปยังตลาดต่างประเทศในปี 2022 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 จากปริมาณ 617,069 ตัน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่งออกไปยัง 59 ประเทศทั่วโลก ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มูลค่ารวมอยู่ที่ 414 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจีนยังคงเป็นผู้นำข้าวข้าวสารรายใหญ่อันดับต้นๆ ของกัมพูชา โดยพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมในการส่งออก ได้แก่ ข้าวหอมพรีเมียม ข้าวหอม ข้าวขาวเมล็ดยาว ข้าวนึ่ง ข้าวอินทรีย์ และข้าวเหนียว ด้าน Dith Tina รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมงของกัมพูชากล่าวเสริมว่าจีนจะยังคงเป็นตลาดส่งออกสำคัญสำหรับสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพของกัมพูชาผ่านข้อตกลงความเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CKFTA)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501213617/cambodias-milled-rice-export-up-3-2-pct-in-2022/

ส่งออกข้าวไทย 11 เดือน โกย 1.2 แสนล้าน โตเกิน 100%

นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยถึง การส่งออกข้าวช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-พ.ย. 2565) มีปริมาณ 6,907,761 ตัน มูลค่า 123,511.3 ล้านบาท (3,552.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โดยปริมาณเพิ่มขึ้น 26.8% และมูลค่าเพิ่มขึ้น 29.2% เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ส่งออกปริมาณ 5,445,810 ตัน มูลค่า 95,591.7 ล้านบาท (3,027.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) การส่งออกเดือน พ.ย. 2565 มีปริมาณ 706,270 ตัน มูลค่า 14,333.3 ล้านบาท ปริมาณลดลง 11.1%แต่มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับเดือน ต.ค. 2565 ที่ส่งออกปริมาณ 794,224 ตัน มูลค่า 13,974.1 ล้านบาท เนื่องจากเดือน พ.ย. ส่งออกข้าวนึ่งและข้าวขาวลดลงจากเดือนก่อนที่มีการเร่งส่งมอบข้าวเพื่อให้ทันใช้ในช่วงเทศกาลคริสมาสต์และปีใหม่ นายเจริญ กล่าวว่าการส่งออกข้าวหอมมะลิ พบว่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นมากจากเดือนก่อนมาก โดยมีปริมาณ 136,435 ตัน เพิ่มขึ้น 102.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่งไปยังตลาดที่สำคัญ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง แคนาดา สิงคโปร์ ออสเตรเลีย เป็นต้น ส่วนการส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 347,473 ตัน ลดลง 17.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังประเทศอิรัก จีน ญี่ปุ่น แองโกล่า โมซัมบิก ฟิลิปปินส์ แคเมอรูน เป็นต้น และข้าวนึ่งมีการส่งออกปริมาณ 118,321 ตัน ลดลง 43.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยส่วนใหญ่ส่งไปยังตลาดหลักในแอฟริกา เช่น แอฟริกาใต้ เยเมน บังคลาเทศ แคเมอรูน เบนิน เป็นต้น

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7444370

กัมพูชาตั้งเป้าส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีน

กัมพูชาตั้งเป้าส่งออกสินค้าเกษตรไปยังจีนเป็นตลาดหลักสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันทางการกัมพูชาได้ลงนามในข้อตกลงการค้าเสรีกัมพูชา-จีน (CCFTA) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา ในขณะที่มูลค่าตลาดจีนในปัจจุบันอยู่ที่มูลค่า 805 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 6.0 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมด แต่หากนับเฉพาะสินค้าเกษตรตลาดจีนครองสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 40 หรือคิดเป็นมูลค่า 281 ล้านดอลลาร์ ของการส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหมดของกัมพูชาที่มูลค่าการส่งออกทั้งหมด 715 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ สำหรับตลาดจีนเน้นไปที่การนำเข้า กล้วย ข้าวสาร และมันสำปะหลังเป็นสินค้าสำคัญ นอกจากนี้ FDI ของจีนยังคงมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าโครงการ FDI ที่ได้รับอนุมัติคิดเป็นมูลค่าโครงการรวมกว่า 4.0 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 260 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2022

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501200944/cambodias-agricultural-commodities-target-china-as-a-key-export-destination/

ตลาดแตงโมและแตงกวาหวานแถบชายแดนเมียนมา-จีน เริ่มกลับมาคึกคัก

ผู้ค้าชายแดน ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซ เผย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ที่ได้มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์แถบชายแดนมูเซของเมียนมา-จีน การค้าแตงโมและแตงกวาหวานฟื้นตัวกลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยราคาของแตงโมอยู่ที่ลูกละ 1.8 หยวน และแตงกวาหวานมีราคาอยู่ที่ 3 ถึง 4 หยวน ในผ่านมา การส่งออกเมล่อนและแตงกวาถูกจำกัดเนื่องจากการการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน ซึ่งในปีงบประมาณ 2651-2562 เมียนมาส่งออกแตงโมมากถึง 800,000 ตัน และแตงกวาหวาน 0.15 ล้านตัน ต่อมาในปีงบประมาณ 2562-2563 มีการส่งออกแตงโมมากถึง 600,000 ตันและแตงกวาหวาน 0.14 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-and-sweet-cucumber-markets-rebound-at-myanmar-china-border/

‘เวียดนาม’ นำเข้าเนื้อสุกร 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 10 เดือนแรก

ตามข้อมูลของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าเวียดนามใช้เงินกว่า 190 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 89,000 ตัน ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าปริมาณและมูลค่าการนำเข้าเนื้อสุกรของเวียดนาม หดตัว 34.4% และ 39.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว (YoY) ตามลำดับ ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคมเพียงเดือนเดียว เวียดนามมีการนำเข้าเนื้อสุกรประมาณ 12,000 คัน หดตัว 5.6%YoY คิดเป็นมูลค่า 26.02 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 22.4%YoY นอกจากนี้ หน่วยงานการค้าต่างประเทศ กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าปริมาณการส่งออกเนื้อสุกร มีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับผลผลิตเนื้อสุกรทั้งหมดของประเทศ เนื่องมาจากข้อจำกัดการแปรรูป การควบคุมและป้องกันโรคในสุกร

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-spends-nearly-190-million-usd-on-importing-pork-in-ten-months/245120.vnp