รัฐบาลกัมพูชา เห็นชอบร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนินสินค้า

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้อนุมัติร่างกฎหมายว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า โดยมีเป้าหมายเพื่อช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางการค้า นอกจากนี้ยังจะช่วยป้องกันการปลอมแปลงของสินค้าที่มีการผลิตในกัมพูชา ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการอนุมัติในการประชุมระหว่างคณะรัฐมนตรีประจำสัปดาห์ ที่มีนายกรัฐมนตรีฮุน เซน เป็นประธาน ซึ่งร่างกฎหมายนี้มี 9 บท และมี 35 มาตรา ในการกำหนดหลักการและกฎเกณฑ์สำหรับการกำหนดแหล่งกำเนิดของสินค้าที่ส่งออกและนำเข้าระหว่างกัมพูชา

นอกจากนี้ยังช่วยให้กัมพูชาสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้กรอบ WTO และส่งเสริม อำนวยความสะดวกทางการค้ากับภาคเอกชน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้ากัมพูชาที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรจากประเทศผู้นำเข้าที่ให้สิทธิพิเศษทางการค้ากับกัมพูชาและภายใต้การค้าเสรีต่างๆ รวมถึงความตกลงที่กัมพูชาเป็นสมาชิก ซึ่งในปี 2022 กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรที่ได้รับการรับรองรวม 8.6 ล้านตัน ไปยังตลาดต่างประเทศ 74 แห่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501294323/government-approves-draft-law-on-rules-of-origin/

WTO คาดการค้าโลกปี’64 โต 10.8% จี้สมาชิกลดอุปสรรคคอขวดสินค้าโควิด

น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ออกผลการศึกษาฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อการค้าโลก พบว่า การค้าโลก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ขยายตัวถึง 46% และคาดว่าในปี 2564 จะขยายตัวที่ 10.8% โดยการแพร่ระบาดของโควิดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของการค้าโลก และยังมีปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโควิด ทั้งมาตรการจำกัดการส่งออก ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนและขออนุญาตต่าง ๆ ส่งผลให้การผลิตและกระจายวัคซีนโควิดทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีน ส่งผลต่อเนื่องไปยังการค้าและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอัตราอากรขาเข้าสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตวัคซีนยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทย

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-784536

WTO ชมเวียดนามทำ FTA 15 ฉบับ-ลดความยากจน เหลือ 6% ดันจีดีพีโตฝ่าโควิด

สมาชิก WTO ถกทบทวนนโยบายการค้าเวียดนาม ชื่นชมเศรษฐกิจแข็งแกร่ง ฝ่าโควิด ปี 63 โต 2.9% หลังเร่งเครื่องเอฟทีเอ 15 ฉบับ พร้อมลดความยากจนที่จาก 70% เหลือ 6% คาดเข้าขยับเป็นประเทศรายได้สูงที่พัฒนาแล้วได้ ปี 2585 ด้านไทยใช้โอกาสนี้แสดงความกังวลเรื่องขั้นตอนการนำเข้ารถยนต์-การวางตลาดผลิตภัณฑ์ยา ขอยึดมั่นในข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศที่ตนมีส่วนร่วมไว้อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-667895