‘เวียดนาม’ ลดภาษีมูลค่าเพิ่มเหลือ 8% จนถึงสิ้นปีนี้

รัฐบาลเวียดนาม อนุมัติพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้าและบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. – 31 ธ.ค. ตามมติ 142/2024/QH15 ที่สภาแห่งชาติรับรอง โดยการลดภาษีมูลค่าเพิ่มจะไม่สามารถใช้ได้รับการให้บริการและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โทรคมนาคม การเงินการธนาคาร การรักษาความปลอดภัย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ ในวันที่ 1 ก.ค. จะมีการลดค่าธรรมเนียมต่างๆ จนถึงสิ้นปีนี้ เพื่อจัดการปัญหาคอขวดของธุรกิจและส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกรอบของกระทรวงการคลัง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-cuts-vat-to-8-till-year-end-post289405.vnp

‘คลัง’ จี้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย หลังกำลังซื้อร่วง ฉุดจัดเก็บรายได้รัฐ

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาล สุทธิในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2567 (ต.ค.2566-ม.ค.2567) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิจำนวน 824,115 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 8,836 ล้านบาท และเป็นการจัดเก็บรายได้ลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ผลการจัดเก็บบรายได้ของภาครัฐที่ต่ำกว่าเป้าหมาย เป็นสัญญาณที่สะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในสภาวะชะลอตัว โดยส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการซื้อที่ลดลง เนื่องจากการดำเนินนโยบายคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชน โดยเฉพาะการตัดสินใจซื้อรถยนต์ และที่อยู่อาศัย ที่แม้จะยังมีดีมานด์อยู่แต่ประชาชนขาดความสามารถในการผ่อนชำระ เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงจึงทำให้ยอดผ่อนชำระสูงขึ้นด้วย ยอดโอนรถยนต์หรืออสังหาริมทรัพย์ที่ลดลงจึงทำให้การจัดเก็บภาษีซึ่งเป็นรายได้ของรัฐบาลลงตามไปด้วย ทั้งนี้ การลดอัตราดอกเบี้ยในวันนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลต่อเศรษฐกิจในทันที แต่อาจต้องใช้เวลามากกว่า 6 เดือน จึงไม่กังวลประเด็นที่ว่าจะกระทบกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศ รวมทั้งประเด็นที่ว่าจะทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของไทยก็มีความต่างจากอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐมากอยู่แล้วหากธปท. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาระดับหนึ่งก็จะไม่กระทบกับอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตามนายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงส่วนหนึ่งเป็นการจัดเก็บรายได้ที่ลดลงโดยกรมสรรพสามิตจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากมีการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน ขณะที่หน่วยงานที่จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ รัฐวิสาหกิจ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีการนำส่งรายได้เหลื่อมมาจากปีก่อนหน้า และกรมสรรพากร โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษรวม 36,666 ล้านบาท จากฐานการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้รัฐบาลสุทธิจะสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 2.7%

ที่มาภาพ : ประชาชาติธุรกิจ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1118713

‘ก.คลัง’ ปัดข้อเสนอเพิ่ม VAT

กระทรวงการคลัง (MoF) ปัดข้อเสนอขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มของประชาชนและธุรกิจในครัวเรือน มูลค่า 300 ล้านดองเวียดนาม หรือประมาณ 12,500 เหรียญสหรัฐ ต่อปี เนื่องมาจากกังวลว่าหากปรับขึ้นภาษีแล้ว จะส่งผลให้ธุรกิจในครัวเรือนแปรสภาพมาเป็นวิสาหกิจหรือกิจการ โดยจากการร่างกฎหมายภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับนี้ กระทรวงฯ เสนอให้คงอัตราของประชาชนและธุรกิจในครัวเรือนที่มีรายได้เกินกว่า 150 ล้านดองต่อปี จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เพิ่มขึ้น 50 ล้านดองจากระดับเดิม ทั้งนี้ จากการประชุมครั้งล่าสุดเกี่ยวกับการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ทางด้านตัวแทนของจังหวัดกว๋างหงายได้เสนอให้เพิ่มอัตราเป็น 300 ล้านดอง ในขณะที่หน่วยงานอื่นๆ เสนอระดับที่ต่ำกว่า โดยกระทรวงคมนาคมเสนอ 250 ล้านดอง

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1651252/ministry-of-finance-rejects-proposal-to-raise-vat-threshold.html

“สปป.ลาว” เร่งจัดหาเงินในการชำระหนี้ เงินเดือนและโครงการพัฒนาของภาครัฐ

กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการจ่ายเงินเดือนข้าราชการ การพัฒนาโครงการลงทุนและการชำระหนี้ เป็นค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ของรัฐบาลที่ได้จัดสรรในปี 2566 โดยรัฐบาลปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณรายจ่ายจากปีที่แล้ว อยู่ที่ 34.5 ล้านล้านกีบ ขึ้นมาอยู่ที่ 43.49 ล้านล้านกีบในปี 2566 ในขณะที่รายได้ของประเทศตั้งเป้าไว้ที่ 38.44 ล้านล้านกีบ เพิ่มขึ้น 21.7% เมื่อเทียบปีต่อปี และแผนการใช้จ่ายงบประมาณในปีนี้ คิดเป็นร้อยละ 18.58% ของ GDP ทั้งนี้ รัฐบาลได้ทำการปรับปรุงเกี่ยวกับการบริหารรายจ่ายและการพัฒนาระบบการชำระเงิน ซึ่งเป้าหมายที่สำคัญ คือ การจัดการรายได้ในประเทศให้เพียงพอกับการใช้จ่ายได้ หรือทำให้เกินดุลงบประมาณ เพื่อให้รัฐฯ มีเงินสำรองในการชำระหนี้ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินกีบที่อ่อนค่าลง ทำให้รัฐบาลต้องคาดการณ์ว่าจะสามารถชำระหนี้ต่างประเทศได้หรือไม่

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten2023_More14.php

คลังสหรัฐฯ รับทราบความคืบหน้าของทางการเวียดนามชี้ประเด็นค่าเงิน

ธนาคารกลางเวียดนาม (SBV) เปิดเผยว่ากระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยอมรับรายงานความคืบหน้าของทางการเวียดนามเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจมหภาคและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนของคู่ค้าสำคัญของสหรัฐฯ โดยธนาคารกลาวเวียดนามยังคงทำงานอย่างใกล้ชิดกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อที่จะหารือถึงข้อกังวลของทั้งสองฝ่ายและประสานผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้ง ธนาคารกลางเวียดนามจะดำเนินนโยบายการเงินที่มุ่งรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและควบคุมเงินเฟ้อ นอกจากนี้ยังคงมุ่งรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและเป้าหมายของนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังคงทบทวนบัญชีรายชื่อประเทศที่ละเมิดเกณฑ์ 3 ข้อของสหรัฐฯ ได้แก่ ตัวเลขเกินดุลการค้า, ตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และการแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยเวียดนามและไต้หวัน ยังคงจับตาและติดตามผลต่อไป

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1250395/us-treasury-department-recognises-viet-nams-progress-in-addressing-currency-related-concerns.html

‘เวียดนาม’ ชี้งบประมาณ เดือน ม.ค. บรรลุเป้าหมาย 13% ทั้งปี

กระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าการจัดเก็บรายได้งบประมาณของรัฐในเดือน ม.ค. อยู่ที่ 183.5 ล้านล้านดอง บรรลุตามเป้าหมาย 13% ของทั้งปี และหดตัว 3.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยจากรายได้งบประมาณข้างต้น มาจาก 1) รายได้งบประมาณในประเทศ 151.3 ล้านล้านดอง (12.9% ของงบประมาณที่ตั้งเป้าไว้) และลดลง 8% เมื่อเทียบเป็นรายปี 2) รายได้งบประมาณจากรัฐวิสาหกิจ 17.2 ล้านล้านดอง (11.1% ของงบประมาณที่ตั้งเป้าไว้) 3) รายได้งบประมาณจากบริษัทที่ลงทุนในต่างประเทศ 30.6 ล้านล้านดอง (14.9% ของแผนที่ตั้งเป้าไว้) 4) รายได้งบประมาณจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 15 ล้านล้านดอง และภาษีสิ่งแวดล้อม 4.6 ล้านล้านดอง 5) รายได้งบประมาณจากน้ำมันดิบ 3.9 ล้านล้านดอง และ 6) รายได้งบประมาณจากการนำเข้า-ส่งออก 28.3 ล้านล้านดอง

ทั้งนี้ การใช้จ่ายงบประมาณรวมมีมูลค่าทั้งสิ้น 113.9 ล้านล้านดองในเดือน ม.ค. การใช้จ่ายส่วนใหญ่เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ความมั่งคงและการบริหารจัดการภาครัฐ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/budget-collection-in-jan-meets-13-of-full-year-target/

กระทรวงสาธารณะ เร่งการค้าข้ามพรมแดน

รัฐบาลกำลังร่วมมือกันเพื่อให้การดำเนินงานด้านศุลกากรมีประสิทธิภาพมากขึ้นและเร่งการค้าข้ามพรมแดน ในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ว่าด้วยการบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการและกลไกการประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าข้ามพรมแดน MOU จัดให้มีการแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านการใช้ระบบอัตโนมัติสำหรับข้อมูลศุลกากร (ASYCUDA) ระบบจะใช้ระบบนี้ที่จุดผ่านแดนเพื่อให้การตรวจสอบสินค้าที่นำเข้าและส่งออกมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และสม่ำเสมอมากขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงร่วมซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานงานการรวบรวมข้อมูลและพัฒนาโปรไฟล์ความเสี่ยงแบบบูรณาการเพื่ออัปโหลดเข้าสู่ระบบ ASYCUDA ทั้งนี้ MOU ดังกล่าวเป็นความคิดริเริ่มที่สำคัญซึ่งให้กรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานชายแดนเพื่อปรับปรุงการกวาดล้างชายแดนผ่านข้อตกลงการอำนวยความสะดวกทางการค้าขององค์การการค้าโลก (WTO-TFA) ข้อตกลงนี้กำลังดำเนินการภายใต้กองทุน Multi-donors Trust Fund- โครงการการแข่งขันและการค้าของสปป.ลาว ซึ่งได้รับทุนจากธนาคารโลก รัฐบาลของออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Ministries_245_21.php

คลังเตรียมให้สัตยาบันตั้งบริษัทลูกธนาคารในอาเซียน

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า การเปิดเสรีด้านบริการการเงินในอาเซียนมีความคืบหน้ามากขึ้น โดยเตรียมให้สัตยาบัน (Ratification) ข้อตกลงให้ธนาคารของสมาชิกอาเซียน เข้าไปตั้งบริษัทลูกในประเทศสมาชิกอาเซียนอีกประเทศหนึ่งได้ไม่เกิน 49% ซึ่งการจัดทำข้อตกลงเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ดำเนินสืบเนื่องในหลายครั้งผ่านการเจรจาหารือร่วมกันและครั้งนี้ ถือเป็นข้อตกลงฉบับที่ 9  ซึ่งทำให้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสมาชิกอาเซียน มีความลึกและกว้างขึ้น โดยจะเป็นการลดข้อจำกัดของการเข้ามาลงทุนในกิจการธนาคารภายในกลุ่มอาเซียน ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าวซึ่งเรียกว่า ASEAN Framework Agreement on Services ซึ่งกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานหลักในการเจรจาร่วมกับภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องได้เห็นชอบร่างข้อตกลงนี้แล้ว โดยร่างข้อตกลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ใน 180 วัน หลังจากลงนามให้สัตยาบัน สำหรับสาระสำคัญของข้อตกลงฉบับที่ 9 ดังกล่าว เพื่อขยายความร่วมมือด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยลดหรือยกเลิกข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนให้มากกว่าที่เปิดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก และประเทศสมาชิกจะให้สิทธิประโยชน์ตามตารางข้อผูกพันแก่ประเทศสมาชิกอื่น ตามหลักการให้การปฏิบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment: MFN) และการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/965526

‘นครโฮจิมินห์’ เรียกร้องให้ปรับลดภาษีแก่ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

คณะกรรมการประชาชนของเมืองโฮจิมินห์ ให้คำแนะนำหลายประการสำหรับพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 รวมถึงกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 2% โดยในเอกสารที่ส่งไปยังรัฐบาลนั้น ยังเสนอเพิ่มเติมให้ทำการปรับลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าเช่าที่ดิน ตลอดจนขยายเวลาชำระภาษีและเงินอุดหนุนดอกเบี้ย อีกทั้ง เรียกร้องให้ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลลง 50% แก่ธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 2 แสนล้านล้านดอง (8.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีนี้ นอกจากนี้ สำหรับประเด็นการยื่นภาษี ควรขยายออกไปจนถึงไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า โดยไม่มีการปรับการชำระเงินที่ล่าช้า

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1049629/hcm-city-wants-tax-reduction-for-covid-affected-businesses.html

กระทรวงการคลังชี้พิจารณาช่วยซอฟต์โลนคนไทยก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการสายการบิน ตามที่ได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนช่วยเหลือสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำโดยพยายามจะให้ได้ข้อสรุปเร็วที่สุด แต่ต้องพิจารณาสายการบินของคนไทยก่อน ส่วนสายการบินต่างชาติเป็นลำดับถัดไป ซึ่งธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย อยู่ระหว่างพิจารณาแนวทางจะมีความชัดเจนเร็วๆนี้ เช่นเดียวกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) และกรมท่าอากาศยาน และบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทยก็อยู่ระหว่างการพิจารณายกเว้นการจัดเก็บค่าบริการขึ้น-ลงอากาศยาน รวมถึงค่าจอด ค่าปรับด้วย

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2155081