พาณิชย์ จับมือสภาเกษตรกรฯ แนะช่องทางขายสินค้าเกษตรไทย ช่วงโควิด-19

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ สั่งการกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศประชุมทางไกลกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ หารือการบรรเทาปัญหาให้ภาคเกษตรที่เผชิญกับวิกฤติจากสถานการณ์โควิด-19 เน้นช่วยหาตลาดให้สินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์การเกษตร และประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ของกระทรวงพาณิชย์ พร้อมแนะใช้ประโยชน์จาก FTA เพิ่มแต้มต่อและขยายส่งออกไปตลาดโลกทั้งนี้หากสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย คาดว่าพฤติกรรมของตลาดจะเปลี่ยนไป โดยผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานและคุณภาพของสินค้าเกษตร อาหารปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์มากขึ้น จึงจำเป็นที่กลุ่มเกษตรกรจะต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว ซึ่งทั้งสองหน่วยงานพร้อมร่วมมือกันให้ความรู้แก่เกษตรกรในเครือข่าย โดยเฉพาะเรื่องการผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและเพื่อส่งออก รวมทั้งแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) เพื่อสนับสนุนการขยายโอกาสส่งออกไปยังตลาดโลก

ที่มา : http://www.thaidailymirror.com/index.php/economy/showcontent/146700.html

กระทรวงพาณิชย์จัดเคมเปญลดราคาสินค้า6กลุ่มสินค้า 72 รายการ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกนะทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุมหารือร่วมกับผู้ผลิต ผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคและห้างค้าปลีกสมัยใหม่ ว่า เป็นการหารือเพื่อหาแนวทางจัดลดราคาจำหน่ายสินค้า เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะวิกฤตที่กำลังเผชิญการระบาดของโควิด-19 ทำให้รายได้ลดลง  ซึ่งผู้ผลิตสินค้า รวมทั้งห้างค้าปลีกพร้อมให้ความร่วมมือลดราคาสินค้า 5-58  % ในสินค้าจำเป็น 6 หมวด จำนวน 72 รายการ ได้แก่  อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งข้าวสาร น้ำมันปาล์ม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป  และนม  หมวดอาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง ลดราคาผ่านเซเว่น-อีเลฟเว่น และซีพีเฟรชมาร์ท  หมวดซอสปรุงรส ทั้งซีอิ้วขาว-ซีอิ๋วดำตราเด็กสมบูรณ์ ซอสหอยนางรม เต้าเจี้ยว  หมวดของใช้ประจำวัน เช่น กระดาษชำระ แป้งเด็ก ยาสีฟัน แปรงสีฟัน และผ้าอนามัย หมวดผลิตภัณฑ์ชำระร่างกาย ทั้งสบู่ แชมพู โฟมล้างหน้า  และหมวดผลิตภัณฑ์ซัก-ล้าง ทั้งน้ำยาทำความสะอาดผ้า น้ำยาล้างขวดนม และน้ำยาทำความสะอาดพื้น รวมแล้ว 72 รายการ ในห้างที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐ ลดราคา 5 – 58 % ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2563

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/876379?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

พาณิชย์เตรียมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนที่เวียดนาม หวังผลักดันการลงนามข้อตกลง RCEP

กระทรวงพาณิชย์ เตรียมเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เร่งพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่จะผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 ติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint พร้อมเตรียมการประชุมรัฐมนตรี RCEP โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ เช่น การพิจารณาเห็นชอบแผนงานด้านเศรษฐกิจที่เวียดนามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2563 การติดตามการดำเนินการตาม AEC Blueprint โดยเฉพาะเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าของอาเซียน การเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี RCEP และการหารือกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนเรื่องการดำเนินงานของอาเซียน เป็นต้น

ที่มา : https://www.trjournalnews.com/16415

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชาร่างนโยบายการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ภายในประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อร่างนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยจะดำเนินการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่การผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งประธานของ Chan Rasy ที่เป็นรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงข้อมูลที่รวบรวมได้จะถูกนำไปใช้ในการร่างนโยบายเชิงกลยุทธ์สำหรับพืชผลในกัมพูชาตามแถลงการณ์ที่ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งหลังจากรวบรวมข้อมูลแล้วร่างนโยบายจะถูกส่งไปยังรัฐบาลเพื่อตรวจสอบและอนุมัติก่อนนำไปใช้เป็นนโยบายระดับชาติด้านการพัฒนาเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในประเทศกัมพูชา โดยกัมพูชาส่งออกเม็ดมะม่วงหิมพานต์จำนวน 202,318 ตัน ในปีที่แล้วสู่ตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้นเกือบ 100% จาก 101,973 ตัน ในปี 2561 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง ราคาปัจจุบันของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ดิบอยู่ที่ 1.25 – 1.5 เหรียญสหรัฐต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่กับคุณภาพของถั่วด้วยการผลิตเม็ดมะม่วงหิมพานต์ยังคงคาดว่าจะเติบโตได้ดีในปี 2020 จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรระบุว่ามีการวางแผนที่จะปลูกต้นมะม่วงหิมพานต์มากกว่า 500,000 เฮกตาร์จากปัจจุบัน 150,000 เฮกเตอร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50695612/ministry-moves-to-implement-draft-policy-for-cashew-nut-production

ภาคการส่งออกของกัมพูชาไปยังไทยเพิ่มขึ้นกว่า 195% ในปี 2562

ข้อมูลล่าสุดจากกระทรวงพาณิชย์แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคมปีที่แล้วกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 2.27 พันล้านเหรียญสหรัฐไปยังประเทศไทยคิดเป็นการเพิ่มขึ้น 195% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งสำหรับการนำเข้าของกัมพูชาอยู่ที่ประมาณ 7.1 พันล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยลดลง 6% เมื่อเทียบกับปี 2561 โดยโฆษกของกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่ารัฐบาลกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อลดการขาดดุลการค้ากับไทย จนถึงตอนนี้รัฐบาลได้ผลักดันการส่งออกในปริมาณที่สูงขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ ซึ่งในปี 2561 การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 8.38 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 6.18 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689838/cambodias-exports-to-thailand-increase-by-195-in-2019

มูลค่าการค้าโดยรวมเพิ่มขึ้นราว 590 ล้านเหรียญสหรัฐ

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.ถึง 15 พ.ย.ของปีงบประมาณนี้มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 4.598 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 587.875 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขาดดุลการค้าเกือบ 20 ล้านเหรียญสหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการส่งออกถึง 2.289 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่มูลค่าการนำเข้าแตะ 2.309 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดุลการค้าขาดดุลลดลงกว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เกษตร, สัตว์, ทะเล, ป่าไม้, เหมืองแร่, ธุรกิจเสื้อผ้าแบบ Cutting Marking Packaging (CMP) และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ สินค้านำเข้า ได้แก่ สินค้าทุน วัตถุดิบ และวัตถุดิบ CMP มูลค่าการค้าโดยรวมคาดว่าจะสูงถึง 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 62-63 การส่งออกสามารถทำรายได้มากถึง 18 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 62-62 มูลค่าการค้ารวมแตะที่ 34,979 ล้านเหรียญสหรัฐสูงกว่าเป้าหมายที่ 31.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/total-trade-value-increases-by-around-590-m

พาณิชย์ กางแผนเร่งด่วนกระตุ้นส่งออก 3 เดือนแรกปีงบ 63 กว่า 50 โครงการ เน้นรักษาตลาดเดิม-เพิ่มตลาดใหม่-ขยายตลาดออนไลน์

ผู้ตรวจราชการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้ติดตามสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าของไทยอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันได้วางกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นการส่งออกของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีงบประมาณ 2563 เน้นการเร่งรัดการส่งออกสินค้าและบริการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์ม ผักและผลไม้ รวมทั้งสินค้าบริการต่างๆ อาทิ สินค้าโอท็อป สินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง แอนิเมชันและดิจิทัลคอนเทนต์ ซึ่งชู 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) รักษาและขยายตลาดเดิม อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน (2) เพิ่มตลาดใหม่ อาทิ เอเชียใต้ (อินเดีย) ลาตินอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง (3) ฟื้นฟูตลาดเก่า เช่น ตลาดข้าวในประเทศอิรัก โลจิสติกส์เพื่อการส่งออกในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ การจัดตั้งแหล่ง Thai Mart เพื่อกระจายสินค้าและศูนย์ค้าส่ง-ปลีกสินค้าสำคัญของไทยในบาห์เรนและ (4) มุ่งเน้นการค้าชายแดนและข้ามแดนมากขึ้น  พร้อมผลักดันเศรษฐกิจยุคใหม่

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/iq03/3055611

11 เดิอนมูลค่าค้าชายแดนเมียนมาสูงถึง 9.4 พันล้านเหรียญ

ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมามีรายได้มากกว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐจากการค้าชายแดนในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมา มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างวันที่ 1 ต.ค.ถึง 6 ก.ย.ในปีงบประมาณปัจจุบัน 61-62 มีมูลค่าถึง 9.464 พันล้านเหรียญสหรัฐในขณะที่ปีที่แล้วมีมูลค่ารวม 8.434 พันล้านเหรียญสหรัฐ ค้าชายแดนส่วนใหญ่จะเป็นจีนคือมีมูลค่ามากกว่า 4.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่ลดลง 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับปีก่อน มูลค่าการค้าชายแดนที่นะบูแหล่ / Htikhee ที่ค้าขายกับไทยมีมูลค่า 2.318 พันล้านเหรียญสหรัฐมีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า เพื่อเป็นส่งเสริมการค้าต้องปรับปรุงทั้งด้านปริมาณและคุณภาพในการนำเข้า ซึ่งจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าทุนที่สามารถสร้างเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/border-trade-value-reaches-over-94-bn-in-11-months

พาณิชย์แนะชิงตลาดข้าวอิรักหลังเวียดนามแชมป์ 2 ปี ซ้อน

“ทูตพาณิชย์” แนะช่องทางส่งออกข้าวไปอิรัก ชี้เป็นตลาดศักยภาพสูงแต่สถิติชี้ 3 ปีย้อนหลังไร้ข้าวไทยในตลาดอิรักสวนทางเวียดนามครองตลาด 2 ปีซ้อน ตามที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ระบุถึงการส่งออกไปยังตลาดอิรักที่เคยเป็นตลาดส่งออกข้าวเดิมของไทยแต่ปัจจุบันหยุดชะงักไปนั้น โดยปัจจุบันอิรักกำหนดการนำเข้าข้าวใน 2 รูปแบบได้แก่ การนำเข้าโดยรัฐบาล หน่วยงาน Grain Board – Ministry of Trade ของรัฐบาลนําเข้าข้าวโดยการประมูล เพื่อใช้ในระบบจัดสรรอาหารภาครัฐเพื่อประชาชน ส่วนรูปแบบที่ 2 ได้แก่ การนำเข้า ข้าวคุณภาพดีนําเข้าโดยเอกชน อิรักนำเข้าข้าวเฉลี่ยปีละ7 แสน – 1 ล้านตัน โดยการนำเข้าสูงสุดเมื่อปี 55 ปริมาณ 1.2 ล้านตัน เป็นการนำเข้าจากประเทศไทย 8.7 แสนตัน รองลงมาคือ สหรัฐ 2.7 แสนตัน ขณะที่สถิตินำเข้าย้อนหลัง 3 ปี พบว่าไม่ได้นำเข้าข้าวจากไทยอีกเลย โดยปี 59 นำเข้ารวม 3.6 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากอินเดียสูงสุด 1.79 แสนตัน ปี 60 ปริมาณรวม 3.07 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 1.2 แสนตัน และ ปี 61 ปริมาณนำเข้ารวม 7.35 แสนตัน เป็นการนำเข้าจากเวียดนามสูงสุด 3.2 แสนตัน จากรายงาน การส่งออกข้าวในช่วงเดือนม.ค.-ก.ค. 62 มีปริมาณรวม 4.9 ล้านตัน โดยปริมาณส่งออกลดลง 21.6% มูลค่า 8.18 ล้านบาท ลดลง 18.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 61 ที่มีการส่งออกปริมาณ 6.3 ล้านตัน มูลค่า 100,826 ล้านบาท ส่วนการส่งออกทั้งปี 61ปริมาณ 11 ล้านตัน ส่วนการส่งออกเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ปริมาณ 5.4 ล้านตัน ลดลงจากเดือนมิ.ย.ที่ส่งออกได้ปริมาณ 5.78 แสนตัน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/845035