การส่งออกสินค้าประมงทะลุ 675 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 15 มีนาคม

อู ยุนท์ วิน ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอ) กล่าวว่า เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงมากกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีมูลค่า 675.958 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปยัง 45 ประเทศ ณ วันที่ 15 มีนาคม ในปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวมีมูลค่าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ทั้งนี้ สินค้าประมงจะถูกจัดส่งไปยังคู่ค้าต่างประเทศผ่านช่องทางการค้าทางทะเล และทางชายแดน โดยการส่งออกทางทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 หากเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า อย่างไรก็ดี การส่งออกกุ้งในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นอย่างมาก และกุ้งเลี้ยงจากตะนาวศรีเป็นสินค้าซื้อขายที่มีมูลค่ามากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีปลามากกว่า 20 ชนิด รวมถึงฮิลซา ปลากะพง ปลาโรหู ปลาดุกแม่น้ำ และปลาบาร์บัส โดยที่คู่ค้าหลักที่เมียนมาส่งออกไป ได้แก่ ญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย นอกจากนี้ สหพันธ์ประมงเมียนมาและกรมประมงกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนการส่งออกประมงในฐานะความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในขณะที่การส่งออกอาหารทะเลไปยังประเทศต่างๆ เช่น จีน มีการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในห่วงโซ่อุปทานกำลังพยายามปฏิบัติตามนโยบายอย่างเคร่งครัดเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด และไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกประมง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-exports-cross-us675-mln-as-of-15-march/#article-title

MCBA อำนวยความสะดวกในการรับสินค้าออกจากท่าเรือ

สมาคมนายหน้าศุลกากรแห่งเมียนมา (MCBA) จะดำเนินการให้แน่ใจว่าการรับสินค้าออกจากท่าเรือจะไม่เกิดความล่าช้า โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา ด้านกรมศุลกากรของเมียนมาเริ่มมีการใช้เครื่องเอ็กซเรย์ เพื่อช่วยลดเวลาในการตรวจสอบสินค้า รวมทั้ง ท่าเรือ Asia World Port Terminal (AWPT) ก็มีการให้บริการสแกนเอ็กซเรย์เช่นกัน และด้านท่าเรืออุตสาหกรรมของเมียนมา (MIP) ก็เริ่มมีการฝึกปฏิบัติโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยด้วยการเอ็กซเรย์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากร, สมาคมขนส่งตู้คอนเทรนเนอร์เมียนมา (MCTA), การท่าเรือเมียนมา (MPA), สมาคมผู้ส่งสินค้าระหว่างประเทศเมียนมา (MFFA), AWPT, MIP และ MCBA จะอำนวยความสะดวกในการประสานงานเรื่องต่างๆ เพื่อให้การรับคืนสินค้าและการค้าเป็นไปอย่างราบรื่นทันเวลา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mcba-to-facilitate-cargo-retrieval-from-port-terminal/

การส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 8.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคม

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เผยว่ามูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตมีมูลค่า 8.28 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 1 มีนาคมของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งลดลง 1.975 พันล้านดอลลาร์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มีส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปมีมูลค่า 10.255 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมายังคงพลักดันภาคการส่งออก ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคส่วนของผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-from-manufacturing-sector-surpass-us8-2b-as-of-1-march/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออกสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

หนังสือพิมพ์เดอะ ฮินดู (The Hindu) รายงานว่าส่วนแบ่งการส่งออกสมาร์ทโฟนของเวียดนามในปี 2565 สูงถึง 12% ของตลาดสมาร์ทโฟนโลก ในขณะเดียวกัน อินเดียเป็นคู่แข่งของเวียดนามในตลาดสมาร์ทโฟนและอยู่ในอันดับที่ 7 ของโลก ด้วยส่วนแบ่งการส่งออกมากกว่า 2.5% อย่างไรก็ดีจีนยังคงครองส่วนแบ่งการส่งออกสมาร์ทโฟนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดโลก

ทั้งนี้ จากข้อมูลของกรมศุลกากร เปิดเผยว่าการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนของเวียดนามในเดือน ม.ค. มีมูลค่ามากกว่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี และจากรายงานของธนาคาร HSBC แสดงให้เห็นว่าเวียดนามครองส่วนแบ่งทางการตลาดสมาร์ทโฟนโลกถึง 13% ในปี 2564 โดยเป็นผู้ส่งออกสมาร์ทโฟนรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก

ที่มา : https://www.nationthailand.com/world/asean/40036303

เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมูลค่ากว่า 624 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2566-2567

ตามรายงานของ U Nyunt Win ผู้อำนวยการกรมประมง (เนปิดอว์) ระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงกุมภาพันธ์ 2567 ของปีการเงิน 2566-2567 เมียนมาส่งออกผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำมากกว่า 300 รายการไปยัง 45 ประเทศ สร้างรายได้กว่า 624.473 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกเป็นประจำไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในตะวันออกกลาง ประเทศในสหภาพยุโรป มาเลเซีย จีนไทเป และออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี การส่งออกผลิตภัณฑ์ทางทะเลรวมจำนวน 435,000 ตัน มีช่องทางการส่งออกผ่านการขนส่งทางอากาศ และผ่านชายแดนเป็นหลัก ทั้งนี้ เนื่องจากการระงับเส้นทางการค้าชายแดนบางเส้นทางด้วยเหตุผลหลายประการ รายได้ในปีนี้จึงลดลง 52 ล้านเหรียญสหรัฐ หากเทียบกับยอดรวมของปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 676.528 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ กรมและผู้ส่งออกกำลังร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของแต่ละประเทศที่ซื้อผลิตภัณฑ์ทางทะเลจากเมียนมา เพื่อให้มั่นใจว่ามีการส่งออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องสอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตัวอย่างเช่น จีนมีเกณฑ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่เข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับสถานะปลอดเชื้อ COVID-19

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-exports-aquatic-products-worth-over-us624m-in-2023-24-financial-year/

‘เวียดนาม’ ส่งออก ม.ค.67 โตสูงสุด 2 ปี

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (MoIT) เปิดเผยว่าการส่งออกเดือน ม.ค.2567 มีมูลค่า 33.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบเป็นรายปี และถือเป็นตัวเลขการค้าระหว่างประเทศที่ขยายตัวสูงสุดรอบ 2 ปี นับจากเดือนเม.ย.2565 ซึ่งการเติบโตที่แข็งแกร่งของภาคการส่งออก เนื่องมาจากสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง และสินค้าอุตสาหกรรมการ ขยายตัว 97% และ 38% ตามลำดับ โดยเฉพาะการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนที่ทำรายได้สูงกว่า 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 56% เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดตัวกลางเดือน ม.ค. ของซัมซุง Galaxy S24 Series โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-export-turnover-in-january-highest-in-almost-two-years/279508.vnp

‘กัมพูชา’ ส่งออกไปเวียดนาม ม.ค. พุ่ง 116%

กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) เปิดเผยว่ากัมพูชาส่งออกไปยังเวียดนามในเดือน ม.ค.67 อยู่ที่ 373 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 116.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี และเวียดนามเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของกัมพูชา รองจากสหรัฐฯ

ทั้งนี้ นาย ลิม เฮง (Lim Heng) รองประธานหอการค้ากัมพูชา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและการผลิตในประเทศที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่กัมพูชามีข้อได้เปรียบทางด้านภาษีกับคู่ค้าหลายประเทศ ทั้งในรูปแบบข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคีและพหุภาคี

นอกจากนี้ยังเชื่อมั่นว่าการส่งออกของกัมพูชาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2567 จากการที่สินค้าส่งออกของกัมพูชามีความหลากหลายและมีคุณภาพสินค้าที่แข่งขันด้านราคาได้

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/cambodian-exports-to-vietnam-soar-116-in-january-2024-post1076923.vov

รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรแตะ 2.8 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์มีมูลค่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก 3.108 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยลดลงประมาณ 301.79 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-export-earnings-hit-us2-8-bln-in-past-ten-months/

การส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตมีมูลค่าถึง 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว มีรายได้ 9.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วบ่งชี้ว่าลดลงอย่างมากที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคส่วนของผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-from-manufacturing-sector-cross-us7-6-bln-in-10-months/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออก ม.ค. พุ่ง 42%

จากรายงานของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในเดือน ม.ค.67 การส่งออกมีมูลค่า 33.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนเม.ย.65 การนำเข้ามีมูลค่า 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้า 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยการส่งออกที่ขยายตัวอย่างมากนั้น เป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นกว่า 97% และ 38% ตามลำดับ

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ยังคงเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม มีการนำเข้าราว 9.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ตลาดส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ จีน สหภาพยุโรปและอาเซียน มีสัดส่วนการส่งออกที่เติบโตเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ กระทรวงฯ คาดว่าสถานการณ์การส่งออกจะเผชิญกับอุปสรรค เนื่องจากได้รับภาระต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นและความตึงเครียดทางการเมืองโลกที่ทวีความรุนแรงขึ้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650421/viet-nam-s-exports-surge-42-in-january.html