จับตา SME เริ่มขาดสภาพคล่องสูงหลังแรงซื้อทั้งในและ ตปท.ดิ่งหนัก

นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.มีความกังวลถึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นหลังจากต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิต และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่รายได้กลับสวนทางลดต่ำลงเนื่องจากแรงซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศปี 2566 ภาพรวมต่างชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้นรัฐบาลใหม่จำเป็นจะต้องหามาตรการมาช่วยเหลือในการให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพยุงเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยปัจจุบันภาคการผลิตและส่งออกของไทยถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และธุรกิจส่วนใหญ่มี SMEs อยู่ในห่วงโซ่การผลิตจำนวนมากที่ต้องยอมรับว่าภาคส่งออกของไทยครึ่งปีแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและแม้แต่การค้าชายแดนเองก็ปรับตัวลดลงจึงกระทบต่อ SMEs ภาพรวมที่บางส่วนต้องปรับลดกำลังการผลิตลงตามคำสั่งซื้อที่ลดต่ำ และหากปัญหานี้ยังคงมีมากขึ้นอาจต้องปิดตัวลงซึ่ง ส.อ.ท.กำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9660000074361

อัตราเงินเฟ้อกัมพูชาลดลงต่ำสุดในรอบ 9 ปี แตะ 0.48%

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รายงานถึงอัตราเงินเฟ้อ ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ ลดลงอย่างมากเหลือร้อยละ 0.48 ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำที่สุดในรอบ 9 ปีที่ผ่านมา หลังจากเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.1 ในช่วงเดือนเมษายน และจากร้อยละ 0.7 ในเดือนมีนาคม แสดงให้เห็นว่าราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการ 6 ใน 10 รายการ มีการปรับตัวลดลงในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะด้านการขนส่งและร้านอาหาร ขณะที่ที่อยู่อาศัย น้ำ ไฟฟ้า ก๊าซ และเชื้อเพลิงอื่นๆ ก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลกัมพูชามีความพยายามเป็นอย่างมาก ที่จะรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รวมถึงการควบคุมอัตราเงินเฟ้อ การรักษากำลังซื้อของประชาชน เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501321914/inflation-drops-lowest-to-0-48-says-nbc/

อัตราเงินเฟ้อกัมพูชา ณ เดือนพฤษภาคม พุ่งสูงสุดในรอบทศวรรษ

อัตราเงินเฟ้อในประเทศกัมพูชาปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7.2 ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีนี้ ซึ่งสูงที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวเสริมว่า ได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อและปกป้องกำลังซื้อของท้องถิ่น ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจาก สงครามระหว่าง รัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อและการคว่ำบาตรรัสเซียได้ผลักดันราคาน้ำมันและต้นทุนอาหารโลกพุ่งสูงขึ้น ควบคู่ไปกับราคาปุ๋ยและผลผลิตทางการเกษตรที่น้อยลง โดยกัมพูชาได้กำหนดกรอบนโยบายการเงินของธนาคารกลาง รวมถึงการดำเนินการทางด้านหลักประกันสภาพคล่อง (LPCO) ซึ่งเป็นเครื่องมือทางการเงินที่อนุญาตให้ NBC ปล่อยกู้ให้กับสถาบันการเงินในสกุลเงินท้องถิ่น และวงเงินสินเชื่อส่วนเพิ่ม (MLF) นอกเหนือจากเงินกู้ข้ามคืนที่เป็นสกุลเงินเรียล เพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางด้านสภาพคล่องระยะสั้นของธนาคาร

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501116556/may-records-decades-highest-inflation-in-cambodia/

พิษเงินเฟ้อลาวพุ่ง-กีบอ่อนค่าทุบค้าชายแดน7หมื่นล.หงอย

เศรษฐกิจลาวฝืดหนัก ปม “เงินเฟ้อพุ่ง-กีบอ่อนค่า” ต่อเนื่อง ทำการค้า 7 หมื่นล้าน สะเทือน “ทูตพาณิชย์ สปป.ลาว” หวั่น สินค้าไทย รถยนต์-อุปโภคบริโภค โดนหางเลข ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ชี้ปัญหาลามกระทบค้าขายชายแดนเงียบเหงา “ตั้งงี่สุ่น” ค้าปลีกค้าส่งรายใหญ่อุดร ลูกค้าลดวูบ เศรษฐกิจของประเทศลาวที่ชะลอตัวลงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2560 และถูกซ้ำเติม จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตลอดช่วงกว่า 2 ปีที่ผ่านมา และล่าสุดผลพวงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้น ขณะที่ค่าเงินกีบกลับอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ยิ่งทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของลาวมีอาการที่หนักขึ้น อีกด้านหนึ่งก็ส่งผลให้ธุรกิจการค้าชายแดนลาว-ไทย ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ทั้งนี้ ปัญหาเงินกีบที่อ่อนค่า เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อกำลังซื้อและทำให้ผู้บริโภคระวังการใช้จ่ายมากขึ้น ล่าสุดพบว่า ส่งผลต่อการส่งออกสินค้าของไทย โดยเฉพาะรถยนต์ ขณะที่สินค้าอุปโภคบริโภคแม้จะยังมีความต้องการ แต่ผู้บริโภคระวังการจับจ่าย ทำให้ผู้นำเข้าระวังมากขึ้นและสต๊อกสินค้าตามความต้องการ

ที่มา : นสพ.ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 25 – 27 พ.ค. 2565

หอการค้าแนะขยายช้อปดีมีคืน เพิ่มเงินคนละครึ่ง สู้วิกฤตของแพง

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สิ่งที่หอการค้าไทยอยากส่งสัญญาณไปยังรัฐบาล เพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนและภาคธุรกิจในระยะสั้นนี้ คงต้องเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะน้ำมันดีเซลและแก๊สหุงต้ม เพื่อไม่ให้กระทบต่อต้นทุนการผลิต และจำเป็นต้องจัดแพคเกจมากระตุ้นการบริโภคภาคเอกชน (Private Consumption ) ในระยะสั้นนี้ควบคู่กันไปด้วยส่วนมาตรการเสริมกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ โครงการคนละครึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาเฟส 4 ได้อนุมัติเงินเพิ่มเติมเป็นคนละ 1,200 บาท ซึ่งมองว่าน้อยเกินไป และควรพิจารณาเฟส 5 เพื่อกระตุ้นกำลังซื้อให้เกิดขึ้นต่อเนื่องด้วย ส่วนโครงการช๊อปดีมีคืน ที่ได้เริ่มต้นเมื่อ 1 มกราคม และจะสิ้นสุดใน 15 กุมภาพันธ์นี้ จึงเสนอขยายเวลาช๊อปดีมีคืนออกไป รวมถึงพิจารณาเพิ่มวงเงินให้ด้วย

ที่มา : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3170849

BAY มองศก.ไทย H2/64 เผชิญความเสี่ยงขาลงหลังโควิดยังหนักคาดคลี่คลายกลางต.ค.

วิจัยกรุงศรี คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มเผชิญกับความเสี่ยงขาลงและยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยเฉพาะจากการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาด การจัดหาและการกระจายวัคซีน การส่งออกที่เติบโตดีในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาช่วยหนุนการผลิตภาคอุตสาหกรรม แต่การใช้จ่ายในประเทศทรุดลงต่อเนื่องจากการระบาดโควิด-19 ระลอก 3 โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือน พ.ค. 64 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (-3.1% MoM sa) ตามการลดลงในทุกหมวดการใช้จ่าย ผลกระทบจากการระบาดรอบสามของโควิด-19 มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวด จำกัดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นทรุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยพยุงกำลังซื้อภาคครัวเรือนได้บางส่วน เช่นเดียวกับดัชนีการลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงมาที่ -2.3% จากเดือนก่อนหน้า ตามอุปสงค์ในประเทศและความเชื่อมั่นภาคธุรกิจที่ทรุดลง ทำให้การลงทุนลดลงทั้งในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ และหมวดก่อสร้าง

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/103978

ลิ้นจี่พร้อมออกขาย ที่ตลาดกะตา เขตซะไกง์

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 64 ลิ้นจี่ที่ปลูกในเมืองกะตาเขตซะไกง์พร้อมวางขายในตลาดเมืองซะไกง์ และมีการส่งไปขายที่เมืองมัณฑะเลย์และเมืองที่-กไหย่ง์ (Htigyaing) โดยราคาจะอยู่ที่ ตะกร้าละ 45,000 จัต สำหรับแพ็กเกจขนาดใหญ่และ 35,000 จัต สำหรับแพ็กเกจขนาดเล็ก แม้ลิ้นจี่ที่ปลูกในเขตเมืองกะตาจะไม่ได้ราคาดีเหมือนปีที่แล้ว แต่ยอดขายยังพอไปได้ ทั้งจากกำลังซื้อของผู้ซื้อและผลผลิตลิ้นจี่ที่ลดลงจากปีก่อน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/lychee-for-sale-in-markets-in-katha-sagaing-region/