‘เวียดนาม’ อนุมัติแผนโครงการพัฒนาข้าวคุณภาพสูงและปล่อยคาร์บอนต่ำ มูลค่า 375 ล้านเหรียญฯ

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบท (MARD) รายงานว่ามีแผนที่จะดำเนินการโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการเพาะปลูกข้าวแบบคาร์บอนต่ำในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง โดยโครงการนี้ริเริ่มมาจากรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายการพัฒนานาข้าวคาร์บอนต่ำและมีคุณภาพสูง และจะเริ่มดำเนินการใน 12 จังหวัดภายในระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2569-2574

ทั้งนี้ Nguyen Thế Hinh รองหัวหน้าคณะกรรมการบริหารโครงการ กล่าวว่าค่าใช้จ่ายของโครงการดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 375 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้เงินกับธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) และจากรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนผู้ผลิตรายย่อยผ่านการพัฒนาและการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเกษตรกรและสหกรณ์ ในขณะเดียวกันก็ระดมทรัพยากรสินเชื่อสำหรับพื้นที่ที่ใช้แนวปฏิบัติคาร์บอนต่ำ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1652331/375-mln-fund-to-boost-high-quality-low-carbon-rice-production.html

‘เวียดนาม’ เผยราคาข้าวตกต่ำ สวนทางโลกขาดแคลน

นาง Bui Thi Thanh Tam ผู้อำนวยการบริษัท Vinafood 1 ยืนยันว่าผู้ส่งออกข้าวของเวียดนามชนะประมูลขายข้าวให้อินโดนีเซีย 4 แสนตัน จากที่ต้องการซื้อราว 5 แสนตัน โดยอินโดนีเซียเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนาม เนื่องจากมีความขาดแคลนข้าวอย่างมาก และจากข้อมูลในเดือน ก.พ.67 พบว่าอินโดนีเซียประสบปัญหาขาดแคลนข้าวเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ทำให้รัฐบาลอินโดนีเซียต้องเพิ่มการนำเข้าข้าวในปีนี้อีก 3.6 ล้านตัน

ทั้งนี้ สมาคมอาหารเวียดนาม (VFA) เปิดเผยว่าราคาข้าวของเวียดนามลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่เดือนก.พ. และจากข้อมูลในวันที่ 5 มี.ค. แสดงให้เห็นว่าราคาข้าวหัก 5% ของเวียดนาม อยู่ที่ 579 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือต่ำกว่าระดับสูงสุดที่ 663 เหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าราคาข้าวที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับที่คาดการณ์ไว้ว่าราคาข้าวจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการขาดแคลนอุปทานในโลก

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/after-half-year-of-rising-prices-rice-prices-start-to-fall-2257559.html

การส่งออกข้าวของเมียนมาทะลุ 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 11 เดือน

ตามข้อมูล สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) การส่งออกข้าวและข้าวหักของเมียนมาร์มีมูลค่า 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปริมาณส่งออกกว่า 1.42 ล้านตันในช่วง 11 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ซึ่งการส่งออกดังกล่าวประกอบด้วยการค้าทางทะเล 1.343 ล้านตัน และการรค้าผ่านชายแดน มากกว่า 85,000 ตัน อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกข้าวในปีงบประมาณดังกล่าวสูงที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 โดยมีการส่งออกรวม 262,116 ตัน เป็นมูลค่า 139 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาคือเดือน มกราคม 2567 และธันวา 2566 ที่มีการส่งออกรวม 213,605 ตัน และ 195,829 ตัน คิดเป็นมูลค่า 111 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ อย่างไรก็ดี ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา กล่าวอีกว่า นโยบายการเงินของธนาคารกลางเมียนมาในการควบคุมรายได้จากการส่งออก ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกข้าวและผลกระทบทางการเงินแก่ผู้ส่งออก นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบด้านสภาพอากาศจากเอลนิลโญอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-exports-surpass-us712-mln-in-11-months/

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 25% สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. 2024

สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) รายงานการส่งออกข้าวของกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ที่ปริมาณข้าวสารรวม 46,221 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 32.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก โดยส่งออกไปยัง 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในช่วงเดือน ม.ค. ด้วยปริมาณ 25,005 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมด ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มอาเซียนปริมาณรวม 11,999 ตัน ขณะที่การนำเข้าของจีนรวมอยู่ที่ 5,171 ตัน โดยข้าวที่ได้รับความนิยมในตลาดสากลของกัมพูชา ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวอินทรีย์ ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวจาโปนิกา ด้านนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเน็ต ได้เสนอกลยุทธ์ในการผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตร ด้วยการปรับปรุงตลาด การขยายตลาดใหม่ ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคอยติดตามระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรจะทำเกษตรกรรมได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501438196/rice-exports-up-25-percent-in-january/

MRF เปิดตัวแพลตฟอร์มออนไลน์ขึ้นทะเบียนโกดังข้าว หนุนเสถียรภาพตลาด

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) รายงานว่าโกดังเกือบ 300 แห่งได้ลงทะเบียนบนแพลตฟอร์ม MyRO (Myanmar Rice Online) ซึ่งช่วยในการคำนวณอุปทานข้าวที่เหลืออยู่ในประเทศ ทั้งนี้ สหพันธ์ระบุว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวจะช่วยรักษาเสถียรภาพราคาข้าวในท้องถิ่นโดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของข้าวสำรอง และยังคาดว่าจะแก้ไขปัญหาการเก็งกำไรราคา อย่างไรก็ตาม ผู้ค้าจะต้องลงทะเบียนใน MyRO หากเก็บข้าวได้มากถึง 50 ตันหรือตะกร้าข้าว 5,000 ตะกร้าเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า ตามประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคมกรมกิจการผู้บริโภคยังได้ออกการแจ้งเตือนไปยังผู้ค้า สั่งให้จดทะเบียนโกดังถ้าขายข้าวในศูนย์การค้า นอกจากนี้ สหพันธ์ได้ประกาศข้อกำหนดให้ลงทะเบียนในวันที่ 12 มกราคม 2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-launches-online-platform-for-rice-warehouse-registration-bolstering-market-stability/

เมียนมาวางแผนส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2567-2568

ตามที่ U Ye Min Aung ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่า MRF ตั้งใจที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ผงข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยว รวมถึงข้าวนึ่งและข้าวหักในปีงบประมาณ 2567-2568 ซึ่งการบริโภคข้าวในประเทศของเมียนมาปัจจุบันอยู่ที่ 10 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ประเทศผลิตได้ 12-14 ล้านตันต่อปี ซึ่งจำกัดความสามารถในการส่งออกเพียง 3 ล้านตันต่อปี ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้มากขึ้นแทนที่จะส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นเป็นตัน อย่างไรก็ตาม ประธานสมาพันธ์ฯ ยังกล่าวอีกว่า MRF จะเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของปีงบประมาณนี้ ในขณะที่ข้าวขาวมีกำหนดส่งออกโดยมีข้อจำกัดเพื่อให้แน่ใจว่าสต๊อกข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2566-2567 รายได้จากการส่งออกข้าวไม่ได้ลดลง ถึงแม้ว่าการส่งออกข้าวจะลดลง 500,000 ตันก็ตาม เนื่องจากราคาข้าวทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศจึงมีรายได้สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบางเดือน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-plans-to-export-more-parboiled-rice-broken-rice-in-2024-25fy/#article-title

‘เวียดนาม-ฟิลิปปินส์’ จับมือลงนามบันทึกข้อตกลงด้านการจัดหาข้าว

ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ เดินทางมาเยือนเวียดนาม เพื่อร่วมหารือที่จะลงนามข้อตกลงการค้าข้าวระหว่างเวียดนามและฟิลิปปินส์ ซึ่งครอบคลุมระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า โดยทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันทำงานเพื่อส่งเสริมการค้าผลไม้และเนื้อสัตว์ ทั้งนี้ กระทรวงการค้า ระบุว่าฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวและธัญพืชรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม นอกจากนี้ ไทยยังคงมองราคาข้าวในเชิงบวก และคาดการณ์ว่าราคาข้าวจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงครึ่งแรกของปีนี้

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/general/2733029

เมียนมาสร้างรายได้กว่า 264 ล้านเหรียญสหรัฐจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์

ตามที่กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) เผยแพร่สถิติ การส่งออกมีมูลค่ากว่า 264 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคม วันที่ 6 ถึง 12 มกราคม โดยมีสินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว ข้าวหัก ถั่วและถั่วพลัสส์ ผลไม้ ยางพารา และงา ทั้งนี้ จากระบบ MyRo ซึ่งเป็นระบบลงทะเบียนออนไลน์สำหรับคลังสินค้าข้าว ดำเนินการโดย กระทรวงพาณิชย์เมียนมา และสมาพันธ์ข้าวเมียนมาร์ เพื่อควบคุมการส่งออกข้าว เผยว่ามีการส่งออกยางทั้งหมด 326 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 10 ล้านเหรียญสหรัฐ รวมทั้ง ยางแผ่นรมควัน (RSS Rubber) และยางผสม อย่างไรก็ดี กระทรวงฯ เรียกร้องให้ขยายการเพาะปลูกและผลผลิตทางการเกษตรตามฤดูกาลและพืชต้นไม้ เช่น ยางพารา เพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ น้ำยางสามารถเก็บได้จากต้นไม้อายุเจ็ดหรือแปดปี และประเทศนี้ก็ได้รับส่วนแบ่งการตลาดทั่วโลกที่สมเหตุสมผลแล้ว สมาคมผู้ปลูกและผู้ผลิตยางแห่งเมียนมาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างต่อเนื่องเพื่อจัดเตรียมการผลิตยางพารา นอกจากนี้ กระทรวงยังระบุด้วยว่าการส่งเสริมการส่งออกยางพาราและการผลิตสินค้าทดแทนการนำเข้า คาดว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ กระทรวงฯ เรียกร้องให้หน่วยงาน ช่างเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันผลิตผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบที่สร้างสรรค์ สร้างสรรค์ และมีคุณภาพ เพิ่มรายการการผลิต และส่งเสริมการลงทุนในภาคการผลิต การผลิต การเกษตร และการส่งออก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-generates-over-us264m-from-exports-of-commodities-in-jans-second-week/

‘ฟิลิปปินส์’ กลายเป็นผู้บริโภคข้าวรายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ปี 66

จากรายงานของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่าในปี 2566 เวียดนามส่งออกข้าวมากกว่า 8 ล้านตัน และฟิลิปปินส์เป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุดจากเวียดนาม โดยจากตัวเลขทางสถิติแสดงให้เห็นว่าเวียดนามส่งออกข้าว 8.34 ล้านตันในปีที่แล้ว ทำรายได้ราว 4.78 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 14.4% และ 35.3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามลำดับ

อย่างไรก็ดี แม้ว่าฟิลิปปินส์จะเป็นผู้นำเข้าข้าวเวียดนามมากที่สุด แต่อินโดนีเซียก็เป็นตลาดขนาดใหญ่ที่มีการเติบโตในระดับสูง ปริมาณการนำเข้าข้าวของอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าทิศทางการส่งออกข้าวของเวียดนามในปีนี้ จะได้รับแรงหนุนมาจากราคาในตลาดโลกที่คงอยู่ในระดับสูง และผลกระทบของปรากฏการณ์เอลนิโญ รวมถึงการซื้อข้าวจากกลุ่มประเทศในเอเชียและแอฟริกา คาดว่าจะผลักดันราคาในตลาดโลกให้สูงขึ้นในปี 2567

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/philippines-is-vietnams-largest-rice-consumer-in-2023-post1072880.vov

MyRO ได้รับการลงทะเบียนโรงเก็บข้าว 193 แห่ง

ตามข้อมูลของสมาพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ขณะนี้ โกดังเก็บข้าว 193 แห่งได้รับการจดทะเบียนบนแพลตฟอร์มการลงทะเบียนออนไลน์ของ Myanmar Rice Online (MyRO) ทั้งนี้ MRF ได้แจ้งให้ผู้ประกอบการคลังสินค้าและผู้ค้าส่งลงทะเบียนบน MyRO ที่ www.myro.com.mm การลงทะเบียนนี้จำเป็นสำหรับการจัดซื้อข้าวเปลือกมากกว่า 5,000 ตะกร้า หรือข้าวมากกว่า 50 ตัน เป้าหมายคือเพื่อให้มั่นใจว่าราคาข้าวมีเสถียรภาพ สร้างแนวทางการส่งออกข้าวอย่างเป็นระบบ ชี้นำตลาดเพื่อหลีกเลี่ยงการปั่นราคา รักษาสต๊อกข้าวในซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้าส่งอย่างเป็นระบบ และพัฒนาระบบการเงินคลังสินค้า อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2566 คลังสินค้า 193 แห่งในย่างกุ้ง อิรวดี พะโค มัณฑะเลย์ และสะกาย รัฐยะไข่ และเขตสภาเนปิดอว์ ได้รับการจดทะเบียนแล้ว นอกจากนี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 มกราคม กรมกิจการผู้บริโภคได้แจ้งให้ MRF สมาคมในเครือ สมาคมย่อยระดับภูมิภาค รัฐ เขต และเมือง ตลอดจนคณะกรรมการและคลังที่เกี่ยวข้อง ให้ดำเนินการเรื่องการลงทะเบียนโดยทันที บริษัทและผู้ประกอบการรายบุคคลควรลงทะเบียนกับ MyRO ตามระเบียบข้อบังคับด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myro-receives-registration-of-193-rice-storage-facilities/#article-title