‘ธุรกิจเวียดนาม’ ร้องนายกฯ หวังแก้ปัญหา หลังจีนระงับทุเรียนปนเปื้อนสารแคดเมียม

บริษัทสัญชาติเวียดนาม ‘Vinacam Group’ ผู้นำเข้าและผู้จำหน่ายปุ๋ย ได้ยื่นคำร้องถึงนายฝั่ม มิงห์ จิ๋งห์ นายกรัฐมนตรีว่าด้วยการชี้แจงความรับผิดขอบต่อจีนที่ระงับการส่งออกทุเรียนเวียดนาม เนื่องจากพบสารปนเปื้อนแคดเมียม

ทั้งนี้ บริษัทสัญชาติเวียดนาม ระบุว่าปัญหาดังกล่าว เกิดมาจากผู้ปลูกทุเรียนใช้ปุ๋ย DAP ที่นำเข้าจากจีน ออสเตรเลีย รัสเซีย และเกาหลีใต้ โดยเชื่อว่าสารปนเปื้อนดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับปุ๋ย DAP ที่ผลิตโดยบริษัท Namhae Chemical Corporation ของเกาหลีใต้

อย่างไรก็ตาม การทดสอบแสดงให้เห็นว่าผลิตภัณฑ์จากเกาหลีใต้มีปริมาณแคดเมียมเกินขีดจำกัดที่ได้รับอนุญาต และจากข้อมูลของผู้นำเข้าปุ๋ยรายใหญ่ พบว่าปริมาณแคดเมียมใน DAP ของเกาหลีใต้ สูงถึง 28 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งมากกว่าเกณฑ์ที่อนุญาตที่ 12 มิลลิกรัมถึงสองเท่า

ที่มา : https://news.tuoitre.vn/vietnam-firm-seeks-pms-intervention-after-cadmium-tainted-durians-rejected-by-china-10325052816310284.htm

‘เวียดนาม – จีน’ เร่งแก้ปัญหาการส่งออกสินค้าเกษตร

คณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรและสิ่งแวดล้อม นำโดยนายโด ดึก ซุย (Do Duc Duy) ตัวแทนของรัฐบาลเวียดนาม ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการกับสำนักงานศุลกากรของจีน ระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม โดยการหารือในครั้งนี้มุ่งหวังที่จะหาแนวทางแก้ไขปัญหาการส่งออกสินค้าการเกษตรและสินค้าประมงของเวียดนาม โดยเฉพาะทุเรียน ไปยังตลาดจีน ในขณะเดียวกันยังได้หารือที่จะส่งเสริมการค้าและเปิดตลาด สำหรับสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมงของเวียดนามไปยังตลาดจีน ซึ่งจะเร่งการเจรจาและดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้มีการลงนามพิธีสารฯ ว่าด้วยการส่งออกสินค้าเหล่านี้อย่างเร็วที่สุด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-china-seek-to-solve-difficulties-in-agricultural-exports-post320029.vnp

‘ทุเรียนเวียดนาม’ เผชิญคู่แข่งรายใหม่ในตลาดจีน อินโดนีเซียรุกตลาดส่งออก

ตามรายงานของสำนักข่าว Channel News Asia (CNA) เปิดเผยว่าอินโดนีเซีย มีแผนที่จะส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังตลาดจีนในปีนี้ โดยตั้งเป้าเป็นคู่แข่งทุเรียนเวียดนามและทุเรียนไทยในตลาดจีน ภายหลังจากอินโดนีเซียบรรลุข้อตกลงการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังจีน ทางบริษัท PT Silvia Amerta Jaya เป็นหนึ่งใน 14 โรงงานแปรรูปทุเรียนในเขตการปกครองปารีจีมูตง (Parigi Moutong) ที่ได้รับการอนุญาตในการส่งออกทุเรียนแช่แข็งไปยังจีนโดยตรง อย่างไรก็ดี ตลาดจีนมีข้อกำหนดที่เข็มงวดในการส่งออกทุเรียน ทำให้ผู้ประกอบการอินโดนีเซียต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวด เพื่อควบคุมคุณภาพและจะต้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงการบรรจุหีบห่อ และการขนส่ง

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnamese-durian-faces-new-competition-in-china-as-indonesia-eyes-export-market-2383786.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกทุเรียน ดิ่งลง 80%

กระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (MARD) เปิดเผยว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามไปยังตลาดจีน ลดลง 80% ในช่วงครึ่งแรกของเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ด้วยปริมาณการส่งออกเพียง 3,500 ตัน ส่งผลกระทบต่อยอดการส่งออกผักและผลไม้รวมของเวียดนาม โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกลดลง เนื่องมาจากมาตรการที่เข้มงวดในการตรวจสอบสารปนเปื้อน “Basic Yellow 2” ของทุเรียนที่มีการนำเข้า ซึ่งความเข้มงวดในการตรวจสอบดังกล่าว สำหรับการขนส่งทุเรียน จำเป็นที่จะต้องได้การรับรองจากการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทำให้ขั้นตอนการส่งออกมีความล่าช้าอย่างมาก และเกิดความแออัดที่ประตูชายแดน ผู้ค้าบางรายหันไปส่งออกในตลาดมืด แต่แนวทางนี้ไม่ยั่งยืน สำหรับอุตสาหกรรมทุเรียนของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-s-durian-exports-to-china-plummet-by-80-2373158.html

‘ศึกทุเรียน’ เวียดนาม-ไทย แข่งเดือดชิงตลาดส่งออกจีน

จีนยังคงเป็นผู้บริโภคทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยสัดส่วนสูงถึง 91% และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนนำเข้าทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้ส่งออกหลายราย รวมถึงเวียดนาม ฟิลิปปินส์และมาเลเซีย เข้ามาแข่งขันสูงขึ้นในการส่งออกทุเรียนไปยังจีน อย่างไรก็ดี ทุเรียนไทยที่เป็นผู้นำตลาดนี้ เผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนาม

ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติ พบว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนามไปยังตลาดจีนในกลางปี 2565 เติบโตอย่างก้าวกระโดด เป็นผลมาจากการลงนามข้อตกลงระหว่างเวียดนาม-จีน ทำให้มูลค่าการส่งออกในปี 2565 อยู่ที่ 421 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาอยู่ที่ 2.24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีหน้า ด้วยเหตุนี้ ส่วนแบ่งตลาดทุเรียนของเวียดนามในตลาดจีน เพิ่มขึ้นจาก 5% ในปี 2565 ขึ้นมาอยู่ที่ 35% ในปี 2566

นอกจากนี้ ทางการไทยได้เตือนว่าทุเรียนไทยเผชิญกับความท้าทายในอนาคต เนื่องจากการส่งออกทุเรียนเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ว่าการส่งออกทุเรียนเวียดนาม มีแนวโน้วที่จะเท่ากับทุเรียนไทยในระยะเวลาไม่ถึง 1-2 ปีข้างหน้า

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-thailand-in-fierce-competition-exporting-durian-to-china-2369200.html

‘จีน’ เพิ่มมาตรการความเข้มงวด เวียดนามเจอศึกหนักส่งออกทุเรียน

สำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) รายงานว่าได้รับแจ้งทุเรียนที่ส่งออกไปจีนพบสารย้อมสี “Basic Yellow 2 (BY2)” ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งที่องค์กรอนามัยโลกจัดให้อยู่ในประเภทสารก่อมะเร็งกลุ่ม B2 ในทุเรียนส่งออกของไทย การตรวจสอบดังกล่าว มีผลทำให้ทุเรียนส่งออกของเวียดนามถูกส่งคืนหรือรอพิธีการศุลกากรที่ด่านชายแดน

ทั้งนี้ ตัวแทนของบริษัทส่งออกทุเรียน เปิดเผยว่าเป็นครั้งแรกที่ผลไม้ของบริษัทถูกส่งคืน เนื่องจากไม่มีใบรับรองการตรวจสอบ BY2 ในขณะที่คุณ Phùng Văn Ba รองผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรด่านสากลหูหงิ (Huu Nghi) กล่าวว่าความล่าช้าของพิธิการศุลกากรส่วนใหญ่นั้นมาจากจีนเข้มงวดมาตรการส่งออกทุเรียน และอนุญาตให้ผ่านเฉพาะสินค้าที่เป็นไปตามกฎระเบียบใหม่เท่านั้น

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1691153/viet-nam-s-export-durians-face-stricter-regulation-in-china-market.html

‘เวียดนาม’ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำในตลาดทุเรียนโลก

เวียดนามได้ก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดทุเรียนโลก โดยในปี 2567 มีมูลค่าส่งออกทุเรียนถึง 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  การส่งออกทุเรียนของเวียดนามเพิ่มขึ้นถึง 7.8 เท่าเมื่อเทียบกับปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของมูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ทั้งหมด ความสำเร็จครั้งนี้ส่วนใหญ่เกิดจากความต้องการที่แข็งแกร่งจากประเทศจีน ซึ่งถือว่าทุเรียนเป็นผลไม้หรูหราและเป็นส่วนประกอบในการทำอาหารที่สร้างสรรค์

ทั้งนี้ ในเดือนพฤศจิกายน 2567 จีนนำเข้าทุเรียนรวม 1.53 ล้านตัน มูลค่า 6.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และเวียดนามครองส่วนแบ่งตลาดนี้ถึง 47% ตามหลังประเทศไทย ซึ่งยังคงเป็นผู้นำในตลาดทุเรียน

นอกจากนี้ ความสำเร็จของเวียดนามมาจากกลยุทธ์ที่หลากหลาย ทั้งการปรับปรุงคุณภาพ นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และการขยายตลาดระหว่างประเทศ ขณะที่เวียดนามมีพื้นที่ปลูกทุเรียนประมาณ 150,000 เฮกตาร์ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขงและภูมิภาคที่ราบสูง

ที่มา : https://www.nationthailand.com/news/asean/40045143

‘ไทย’ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของเวียดนาม

ประเทศไทยกลายมาเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก ด้วยมูลค่าการส่งออกรวมสูงถึง 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ และขึ้นแท่นเป็นผู้นำเข้าทุเรียนรายใหญ่ อันดับ 2 ของตลาดเวียดนามในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ ในขณะที่ช่วงเวลาเดียวกัน ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนาม 22.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 82% เมื่อเทียบเป็นรายปี

ทั้งนี้ นาย ดัง ฟุก เหงียน เลขาธิการสมาคมผักและผลไม้เวียดนาม (Vinafruit) ได้อธิบายไว้ว่าเมื่อเร็วๆนี้ ไทยนำเข้าทุเรียนจากเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างมาก ถึงแม้ไทยจะเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดของโลก แต่ทุเรียนของไทยได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้หันมาสั่งซื้อทุเรียนจากประเทศอื่นๆ เพื่อตอบสนองกับความต้องการในประเทศและนักท่องเที่ยว

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจีนจะเป็นผู้นำเข้าทุเรียนสดจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด แต่ไทยก็เป็นผู้นำเข้าทุเรียนแช่แข็งรายใหญ่ของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1656753/thailand-becomes-viet-nam-s-second-largest-durian-importer.html

การส่งออกชายแดนและผ่านแดน 4 เดือนแรกปี 2024 หดตัว 1.5%YoY คาดทั้งปียังโตต่ำ 0.6%

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

การส่งออกชายแดนและผ่านแดน 4 เดือนแรกปี 2024 หดตัว 1.5%YoY คาดทั้งปียังโตต่ำ 0.6%

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ทั้งปี 2024 การส่งออกชายแดนและผ่านแดนของไทยขยายตัวต่ำที่ 6% หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 9.86 แสนล้านบาท แม้มีแรงหนุนจากการฟื้นตัวในตลาดหลัก
  • ในช่วงครึ่งหลังของปี คาดว่า การส่งออกชายแดนและผ่านแดนจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งปีแรก 2024 จากผลของฐานสูงที่ทยอยลดลง การส่งออกไปเมียนมากลับมาดีขึ้นจากการเปิดด่าน การส่งออกทุเรียนไปจีน ได้อานิสงส์จากราคาที่ปรับตัวขึ้น รวมถึงการส่งออกสินค้าสำคัญอย่าง HDDs กับยางพารายังดีได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/BorderTrade-CIS3498-FB-27-05-2024.aspx

ราคาทุเรียนไทยสูงครองตลาด

ทุเรียนจากประเทศไทย ปัจจุบันครองตลาดทุเรียนในประเทศเมียนมา เนื่องจากมีราคาสูง ซึ่งมีราคาโดยทั่วไปอยู่ที่ 40,000-50,000 จ๊าดต่อลูก ทั้งนี้ ในตลาดย่างกุ้ง ราคาทุเรียนไทยตอนนี้มีตั้งแต่ขั้นต่ำ 20,000 จ๊าดต่อลูกไปจนถึงมากกว่า 100,000 จ๊าดต่อลูก ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ดี พ่อค้าในตลาดย่างกุ้งยังระบุว่า แม้ทุเรียนไทยมีจะได้รับความนิยมมากในตลาดทุเรียนในประเทศ แต่เนื่องจากมีราคาแพงเมื่อเทียบกับทุเรียนเมียนมา จึงทำให้ยอดขายทุเรียนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ ทุเรียนของเมียนมามีราคาถูกกว่าและจะเริ่มมีผลิตมากขึ้นในเดือนมิถุนายน ซึ่งคาดว่ายอดขายทุเรียนพันธุ์เมียนมาจะสูงขึ้น เนื่องจากในตลาดเมียนมาผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมทานทุเรียน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/expensive-grafted-durians-dominate-the-market/#article-title