‘ADB’ ช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการหญิงในเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคาร Lien Viet Post (LPBank) ร่วมลงนามข้อตกลงโครงการจัดหาเงินทุนทางการเงินให้กับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจ (WSMEs) ในเวียดนาม มูลค่าเงินทุนสูงถึง 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการจัดหาเงินทุนดังกล่าว ประกอบไปด้วยเงินกู้จากเงินทุนสามัญของธนาคารเอดีบี 30 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินกู้ร่วม 50 ล้านเหรียญสหรัฐที่มาจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน (CEXIM) และความร่วมมือระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ ซูซาน กาบูรี ผู้อำนวยการสำนักปฏิบัติการภาคเอกชน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) กล่าวว่าความร่วมมือกับธนาคาร LPBank ในครั้งนี้ จะช่วยเหลือผู้ประกอบการสตรีในเวียดนามและมีส่วนช่วยผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ตลอดจนยังช่วยสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจในเวียดนามที่มีผู้หญิงเป็นเจ้าของธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/adb-supports-financial-access-for-women-owned-businesses-in-vietnam-post288523.vnp

ADB อนุมัติเงินกู้ 50 ล้านดอลลาร์ หนุนการปรับปรุงการจัดการทางด้านการเงินกัมพูชา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) อนุมัติเงินกู้มูลค่า 50 ล้านดอลลาร์ สนับสนุนการปรับปรุงระบบการจัดการการเงินสาธารณะ (PFM) ของกัมพูชา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและสร้างความร่วมมือทางการเงินร่วมกันในระดับชาติและระดับภูมิภาค นับตั้งแต่ปี 2008 รวมถึงเสริมสร้างการตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกเพื่อให้เกิดความโปร่งใสด้านการดำเนินนโยบายการเงิน ให้เป็นไปตามมาตรฐานในการปฏิรูปเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ส่งเสริมความรับผิดชอบทางการเงิน และเพิ่มการกำกับดูแลการใช้จ่ายสาธารณะ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501397705/adb-approves-50-mln-loan-to-improve-cambodias-financial-management/

ADB คาดการณ์ GDP สปป.ลาว ลดลงเหลือร้อยละ 3.7

ตามข้อมูลจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) การเติบโตทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว จะชะลอตัวลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ในครั้งก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจของจีนยังซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายสำคัญยังคงอ่อนแอ รวมถึงสภาพอากาศที่ไม่เอื้อต่อการทำการเกษตรในประเทศ และความกดดันทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจากหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น ร่วมกับการอ่อนค่าของเงินกีบ โดยการคาดการณ์ทางเศรษฐกิจของ สปป.ลาว ในฉบับประจำเดือนกันยายน ได้ปรับลดลงการเติบโตทางเศรษฐกิจมาอยู่ที่ร้อยละ 3.7 จากการคาดการณ์เดิมที่ร้อยละ 4 สำหรับในปี 2024 สำหรับค่าใช้จ่ายในภาคครัวเรือนลดลงอย่างมากในช่วงครึ่งแรกของปี เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงเดือนกุมภาพันธ์พุ่งไปแตะกว่าร้อยละ 41.3 ร่วมกับการอ่อนค่าของสกุลเงินกีบ โดยเมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์เกิดการอ่อนค่าถึงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นอ่อนค่ากว่าร้อยละ 44 รวมถึงภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะกับประเทศคู่ค้าหลักที่มีการเติบโตด้านการส่งออกที่ลดลง เป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจของ สปป.ลาว เติบโตอย่างชะลอตัว

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/09/21/adb-lowers-economic-growth-rating-for-laos/

ADB อนุมัติเงินกู้ 45 ล้านดอลลาร์ ส่งเสริมภาคบริการสุขภาพ สปป.ลาว

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ได้อนุมัติเงินกู้จำนวน 45 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเสริมสร้างภาคบริการด้านสุขภาพใน สปป.ลาว ให้มีคุณภาพในเขตพื้นที่ 16 อำเภอ ทั่วประเทศ ภายใต้การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ด้าน ADB กล่าวเสริมว่า โครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนประมาณกว่า 1.6 ล้านคนต่อปี ที่ต้องการเข้ารับบริการด้านสุขภาพ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มรายได้เปราะ และกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลและด้อยโอกาส ซึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ADB กล่าวว่า สปป.ลาว มีความก้าวหน้าในการขยายการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพและการประกันภัย นับตั้งแต่มีโครงการประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้เปิดตัวในปี 2015 ที่ให้สิทธิครอบคลุมร้อยละ 94 ของประชากร อย่างไรก็ตาม ADB กล่าวว่า สปป.ลาว ยังคงตามหลังประเทศเพื่อนบ้านในแง่ของการให้บริการด้านสาธารณสุข โดยเป็นเหตุให้ ADB จำต้องสนับสนุน สปป.ลาว ในการพัฒนาภาคส่วนดังกล่าว

ที่มา : https://english.news.cn/20230822/1273f9591bdb4cce9a606291820fdb22/c.html

แรงงานกัมพูชาส่งเงินกลับบ้าน ปี 2022 แตะ 1.25 พันล้านดอลลาร์

แรงงานข้ามชาติชาวกัมพูชาส่งเงินกลับบ้านเพิ่มขึ้นจาก 1.15 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 1.25 พันล้านดอลลาร์ในปี 2022 สูงเป็นอันดับสามในกลุ่มประเทศอาเซียน คิดเป็นร้อยละ 4.4 ของ GDP ประเทศ รองจากฟิลิปปินส์และเวียดนาม รายงานโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ในระหว่างการประชุม “12th Annual ADBI–OECD–ILO Roundtable on Labour Migration: Recovering from Covid-19: What does It Mean for Labor Migration in Asia?” โดยไทยมีแรงงานกัมพูชาเดินทางไปทำงานมากที่สุดอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านคน ในปี 2021 เกาหลีใต้มีแรงงานเกือบ 46,000 คน ตามมาด้วยมาเลเซีย 23,000 คน ญี่ปุ่นเกือบ 12,000 คน และสิงคโปร์ประมาณ 800 คน ซึ่งสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทยเป็นประเทศปลายทางหลักสำหรับแรงงานข้ามชาติในอาเซียน โดยปัจจุบันโลกกำลังเผชิญอยู่กับความไม่แน่นอนหลายประการ อาทิเช่น สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ภัยคุกคามทางด้านสิ่งแวดล้อม การหยุดชะงักของอุปทาน และความไม่มั่นคงทางการเงินระดับโลก ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการย้ายถิ่นฐานของแรงงานไปยังเอเชีย ทั้งแรงงานมีทักษะสูงและทักษะน้อย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501317625/cambodias-remittances-rise-to-1-25b/

“ADB” คงประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจเวียดนาม

รายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียประจำปี 2565 (Asian Development Outlook 2022 : ADO 2022) ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เปิดเผยว่าคงประมาณการการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเวียดนามของปี 2565 อยู่ที่ 6.5% และในปีหน้า 6.7% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของการค้าอย่างต่อเนื่อง การฟื้นตัวของภาคการผลิต การเดินทางในประเทศและการลงทุนของภาครัฐ ในขณะเดียวกัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะราคาน้ำมันในตลาดโลก อย่างไรก็ตาม อุปทานอาหารในประเทศยังคงเพียงพอและจะช่วยบรรเทาภาวะเงินเฟ้อในปีนี้

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/adb-maintains-growth-forecast-for-vietnam/234137.vnp

‘ADB’ หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจมาเลเซียและเวียดนาม

ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปรับลดประมาณการณ์เศรษฐกิจเวียดนามและมาเลเซียในปีนี้ หลังจากเศรษฐกิจหดตัวในไตรมาสที่ 3 ขณะเดียวกันปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียลงมาสู่ระดับ 7.0% ในปีนี้ และ 5.3% ในปี 2565 ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.1% และ 5.4% ตามลำดับ

ทั้งนี้ ตามรายงาน “Asian Development Outlook” ระบุว่าในกลุ่มประเทศเอเชีย จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีแนวโน้มลดลง และระดับการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ดี ไวรัสตัวใหม่ที่มีชื่อว่า “โอมิครอน” เสี่ยงคุกคามเศรษฐกิจโลกอีกครั้ง นอกจากนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม คาดว่าจะปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2.0% ในปีนี้ จากที่คาดการณ์เดิมที่ระดับ 3.8% ก่อนที่จะขยายตัว 6.5% ในปีหน้า ขณะเดียวกัน เศรษฐกิจของมาเลเซีย คาดว่าจะขยายตัว 3.8% ในปีนี้ และ 5.9% ในปีหน้า

ที่มา : https://asia.nikkei.com/Economy/ADB-slashes-Malaysia-and-Vietnam-annual-growth-forecasts