กัมพูชา กระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่าง ปากีสถานและบังกลาเทศ

กระทรวงพาณิชย์ (MoC) ได้ลงนามในข้อตกลงร่วมกันกับปากีสถาน เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อยกระดับความร่วมมือทางการค้า นำโดย Cham Nimul รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ Zaheeruddin Babar Thaheem เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามปากีสถานประจำกัมพูชา นอกจากนี้ กระทรวงฯ ยังอยู่ระหว่างการเตรียมบันทึกความเข้าใจ (MOU) ฉบับอื่นที่จะลงนามกับบังกลาเทศ เพื่อส่งเสริมการค้าข้าว ซึ่งในการกล่าวปาฐกถาในพิธีลงนาม รัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะด้านการค้าและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ โดยรัฐมนตรีกล่าวต่อไปว่ากัมพูชาและปากีสถาน มุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันกับภาคเอกชน รวมถึงหอการค้าและสมาคมธุรกิจในทั้งสองประเทศ ความริเริ่มนี้มุ่งเน้นที่การส่งเสริมกิจกรรมทางการค้าและเศรษฐกิจ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้า ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างมาตรฐาน ระเบียบทางเทคนิค ตลอดจนขั้นตอนการประเมินความสอดคล้องสำหรับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) เพื่อให้การส่งออกราบรื่นยิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501496424/cambodia-strengthens-trade-ties-with-pakistan-bangladesh/

‘ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ’ ทะลุ 7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ช่วง 5 เดือน

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าเมียนมามียอดการค้าข้ามพรมแดนกับบังกลาเทศ อยู่ที่ 7.86 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านเส้นทางเมืองสำคัญอย่างมองดอว (Maungdaw) และซิตเว (Sittwe) ในช่วง 5 เดือนของปีงบประมาณ 2566-2567 ทั้งนี้ การค้าผ่านมองดอว มีมูลค่า 5.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการค้าผ่านซิตเว อยู่ที่ประมาณ 1.61 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าทั้งสองประเทศมีระยะทางเพียง 70 ไมล์ทะเล แต่การขนส่งของเรือบรรทุกสินค้าขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในฤดูมรสุม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-border-trade-values-cross-us7-mln-over-past-five-months/#article-title

บังกลาเทศ ยื่นเสนอ 3 โมเดลการค้าแบบนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา

สมาคมผลิตภัณฑ์น้ำตาลและอ้อยของเมียนมา (MSCA) เปิดเผยว่าบังกลาเทศได้ยื่นข้อเสนอให้มีการนำเข้าน้ำตาลจากเมียนมา ภายใต้รูปแบบระหว่างรัฐบาลกับหน่วยงานภาครัฐ (G2G), หน่วยงานรัฐกับภาคธุรกิจ (G2B) และธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ซึ่งผลปรากฎว่าทางสมาคมฯ พร้อมที่จะส่งออกน้ำตาลไปยังบังกลาเทศ เนื่องจากมีสต็อกเพียงพอในปีงบประมาณนี้ นอกจากนี้ ยังมีการยื่นข้อเสนอให้ซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดี

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bangladesh-proposes-three-commercial-models-for-importing-sugar-from-myanmar/#article-title

‘เมียนมา’ มุ่งเจาะตลาดบังกลาเทศ ขายข้าวแบบจีทูจี

สำนักงานส่งเสริมการค้าของเมียนมา เปิดเผยว่าบังกลาเทศยื่นข้อเสนอให้มีการซื้อข้าวจากเมียนมา เนื่องจากข้าวมีคุณภาพดีและจะทำการขายข้าวรูปแบบของรัฐบาลต่อรัฐบาล (G-to-G) ในปีนี้ โดยข้อตกลงในครั้งนี้จะกำหนดราคาขึ้นอยู่กับคุณภาพเมล็ดข้าว นอกจากนี้ หลังจากอินเดียระงับการส่งออกข้าว ส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงสุด ด้วยเหตุนี้ ประเทศในภูมิภาคเอเชียต่างจับตาทิศทางตลาดข้าวของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-rice-aimed-for-bangladesh-market-under-g-to-g-pact-2/#article-title

Q4 ปี 65 ค้าชายแดนเมียนมา-บังคลาเทศ ทะลุ! 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากข้อมูลของหอการค้ารัฐยะไข่ ของเมียนมา เผย ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ปี 2565 มูลค่าการส่งออกของเมียนมาผ่านชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ อยู่ที่ 5.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประกอบด้วยชายแดนซิตเวย์และหม่องดอ ซึ่งเป็นการส่งออกสินค้าประมงเป็นหลัก เช่น ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา และปลากะตัก ส่วนสินค้าเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภค มีการส่งออกบ้างเล็กน้อย นอกจากนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เมียนมาได้ส่งออก ข้าวพันธุ์ Emata จำนวน 2,500 ตัน ไปยังบังกลาเทศผ่านท่าเรือซิตเวย์ อีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-ships-5-mln-worth-of-exports-in-q4-2022/#article-title

MoC ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวภายใต้ MoU ไปบังกลาเทศ

ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมกราคม 2566 กระทรวงพาณิชย์เมียนมา (MoC) ได้อนุญาตส่งออกข้าวจำนวน 191,700 ตันที่จะส่งไปบังกลาเทศตามบันทึกข้อตกลงระหว่าง 2 ประเทศ (MoU) โดยจะมีการส่งออกข้าวจำนวน 200,000 ตันด้วยการชำระเป็นเงินหยวนของจีน ตามสัญญา ข้าวขาว (ATAP) พันธุ์ GPCT Broken STX ราคา FOB ที่ส่งออกจะอยู่ที่ 2,788.56 หยวนต่อตัน ซึ่งกรมการค้าของเมียนมาได้ออกใบอนุญาตส่งออกข้าวกว่า 191,700 ตัน มูลค่ากว่า 534 ล้านหยวน ให้กับบริษัทส่งออกข้าว 41 แห่ง ซึ่ง MOU ฉบับนี้ บังคลาเทศได้ตกลงที่จะซื้อข้าวขาว 250,000 ตันและข้าวนึ่งอีก 50,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2565-2570 ทั้งนี้ กรมอาหารของบังกลาเทศและสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้ลงนาม MoU ร่วมกัน โดยได้ส่งข้าวเป็นครั้งแรกในปี 2560 จำนวน 100,000 ตัน และในปี 2564 เป็นครั้งที่ 2

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/moc-issues-export-licence-for-rice-to-be-shipped-to-bangladesh-under-mou/

ในช่วง 7 เดือนของปีงบ 65-66 เมียนมาโกยรายได้กว่า 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออกสินค้าไปบังกลาเทศ

การส่งออกของเมียนมามากกว่าการนำเข้าของการค้าชายแดนกับบังกลาเทศ พบว่าระหว่างเดือนเมษายนถึงตุลาคม 2565 ในปีงบประมาณ 2565-2566 มีการส่งออกสินค้าไปบังคลาเทศ 8,620.7 ตันอยู่ที่ประมาณ 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออกสินค้าประมงร้อยละ 65 และสินค้าอุปโภคบริโภคคิดเป็นร้อยละ 35 ผ่านชายแดนซิตเวย์และมองดอ ซึ่งสินค้าประมงที่ส่งออก ได้แก่ ปลายี่สกเทศ ปลาตะลุมพุกฮิลซา ปลาแมคเคอเรล ปลากะตักแห้ง และเนื้อปลาอบแห้ง ที่ผ่านมาสินค้าประมงที่ส่งออกไปบังคลาเทศ พบว่า ในปีงบประมาณ 2562-2563 มีมูลค่า 6.318 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (7,093.413 ตัน) ปีงบประมาณ 2563-2564 มีมูลค่า 4.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (5,010.7 ตัน) และปีงบประมาณย่อย 2564-2565 (เดือนตุลาคม 2564 -เดือนมีนาคม 2565) มีมูลค่า 13.987 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (11,362.97 ตัน) ทั้งนี้ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา เมียนมามีรายได้รวม 10.733 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 8,620 ตันไปยังบังกลาเทศ และยังมีรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาติในการให้เรือของบังคลาเทศเข้าจอดเทียบท่าจำนวน 26 ลำ คิดเป็นมูลค่า 24,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-10-733-mln-from-exports-to-bangladesh-in-7-months/#article-title

การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ เดือนพ.ค.65 เงินสะพัดกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย การค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ได้แก่ ชายแดนซิตต์เวย์ และชายแดนหม่องตอ มีเงินหมุนเวียนกว่า 3.56 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพ.ค. 2565 สูงกว่าเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา เป็นการส่งออกมูลค่า 3,565,708 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (จำนวน 7,310 ตัน) และนำเข้ามูลค่า 9,540 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าทางทะเลมูลค่า 1.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และคิดเป็นร้อยละ 55 ของเดือนพ.ค. ทั้งนี้ มีการส่งออกปลายี่สกเทศกว่า 1,500 ตันจากฟาร์มในย่างกุ้งและอิรวดีมูลค่า 1.81 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อีกทั้งสินค้าจากรัฐยะไข่ เช่น ถั่วหมาก มะพร้าว และอื่น ๆ รวมถึงสินค้าจากภูมิภาคและรัฐอื่นๆ เช่น แยมผลไม้ ปาล์ม ขิง หัวหอม และพืชอื่นๆ ก็ส่งออกไปยังบังกลาเทศด้วยเช่นกัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us3-56-million-at-myanmar-bangladesh-border-trade-camps-in-may/

ค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ พุ่ง 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งรัฐยะไข่ เผย เดือนเม.ย. 2565 มูลค่าการค้าชายแดนเมียนมา-บังกลาเทศ 2 แห่ง ทั้งที่ท่าเรือชเวมิงกันในซิตต์เวย์และท่าเรือกันยินชวงในเมืองหม่องตออยู่ที่ 2.863 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดย 51% ของสินค้าส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ประมงมูลค่า 1.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนการนำเข้ามีเพียง 0.3% นอกจากสินค้าประมงแล้วยังส่งออกหัวหอม ขิง ลูกพลัมแห้ง เมล็ดมะขาม ถั่วลันเตา น้ำตาลโตนด ลูกเนียง มะพร้าว ถั่ว มะม่วง พริกแห้ง แยมลูกพลัม และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/us2-863-million-worth-of-trade-volume-handled-on-myanmar-bangladesh-border/

 

การค้าเมียนมา-บังกลาเทศ ดิ่งลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณนี้

ข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ เผย การค้าผ่านด่านชายแดนระหว่างเมียนมาและบังกลาเทศ ณ วันที่ 22 ต.ค.64 ในปีงบประมาณย่อย ของปีงบประมาณ 2564-2565 หรือช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเดือนต.ค. ถึงเดือน มี.ค.64 มีมูลค่า 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 2.39 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการส่งออก 1.19 ล้านดอลลาร์ และการนำเข้า 0.01 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเมียนมาส่งออกสินค้าไปยังบังกลาเทศทั้งทางทะเลและทางบก การค้าชายแดนส่วนใหญ่ค้าขายผ่านเมืองซิตต์เวย์และเมืองมองตอ สินค้าที่ซื้อขายระหว่างสองประเทศ ได้แก่ ไม้ไผ่ ขิง ถั่วลิสง กุ้งน้ำเค็มและปลา ลูกพรุนนแห้ง กระเทียม ข้าว ถั่วเขียว ผ้าห่ม ลูกอม แยมลูกพรุน รองเท้า อาหารแช่แข็ง สารเคมี หนัง ผลิตภัณฑ์จากปอกระเจา ยาสูบ พลาสติก ไม้ เสื้อถัก และเครื่องดื่ม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-bangladesh-bilateral-trade-drops-by-2-39-mln-this-fy/