อาเซียน FMs หารือการรับมือโควิดและความพยายามฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาด

การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเริ่มต้นขึ้นที่กรุงพนมเปญเมื่อวันพฤหัสบดี ในรูปแบบไฮบริดเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ ตั้งแต่การตอบสนองของโควิด-19 ต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่าง 10 ประเทศกับคู่เจรจาในอาเซียน ผู้นำอาเซียนหารือถึงความจำเป็นในการรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนเพื่อประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ตลอดจนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิสัยทัศน์หลังปี 2568 ของประชาคมอาเซียน การพัฒนาที่ยั่งยืน และความสัมพันธ์ของอาเซียนกับพันธมิตรภายนอก นอกจากนี้บรรดาผู้นำยังได้หารือถึงแนวทางในการเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน การบูรณาการระดับภูมิภาค และความเจริญรุ่งเรืองในระยะยาวในภูมิภาค นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณค่า ความรู้ และอัตลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การสร้างขีดความสามารถสำหรับสตรี ประเด็นด้านสุขภาพ และการปกป้องสังคมอาเซียน

 

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Asean34.php

บริษัทในสหรัฐฯ ยืนยันการขยายธุรกิจในกัมพูชา

บริษัทในสหรัฐฯ ยืนยันที่จะขยายธุรกิจและอัดฉีดการลงทุนเพิ่มเติมในกัมพูชา ซึ่งคาดว่าจะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของกัมพูชาในระยะถัดไป รายงานโดยรองประธานอาวุโสและกรรมการผู้จัดการระดับภูมิภาคของ U.S.-ASEAN Business Council ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการประชุมเสมือนจริงระหว่าง รมว.พาณิชย์กัมพูชา นอกจากนี้ การเข้าร่วมการประชุมยังมีตัวแทนจากสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกัมพูชาและบริษัทในสหรัฐอเมริกาได้แก่ConocoPhillips, FordMotor, Amazon, Walmart, Pernod Ricard, Visa และ Jhpiego โดยปัจจุบันการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯ มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 5.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50964563/u-s-companies-confirm-business-expansion-in-cambodia/

เอดีบีลงขันมูลค่า 665 ล้านเหรียญ ฟื้นฟูเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม

กลาสโกว์ สหราชอาณาจักร (2 พฤศจิกายน 2564) พันธมิตรทั้ง 4 ได้ให้คำมั่นร่วมกันในการจัดตั้งกองทุนจำนวน 665 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับแพลตฟอร์มที่บริหารจัดการโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank) หรือ เอดีบี ซึ่งมีเป้าหมายที่จะระดมเงินทุน 7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อใช้สำหรับโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานที่มีคาร์บอนต่ำและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งเร่งการฟื้นตัวของภูมิภาค จากเชื้อโคโรนาไวรัส (COVID-19) การระดมทุนดังกล่าว ซึ่งได้ประกาศในการประชุมครั้งที่ 26 ของการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) ณ เมืองกลาสโกว์ โดยความร่วมมือดังกล่าวนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์มการพัฒนาเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของอาเซียน (ASEAN Green Recovery Platform) เพื่อสนับสนุนกองทุนการเงินสีเขียวของอาเซียน Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) Catalytic Green Finance Facility (ACGF) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN Infrastructure Fund) ที่บริหารจัดการโดยเอดีบี

ที่มา : https://www.posttoday.com/finance-stock/news/667142

CLMVT+Forum 2021 ฟื้นฟูเศรษฐกิจฝ่าโควิด

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจประเทศกลุ่มกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และไทย หรือ CLMVT ในปี 2563 โดยเฉพาะเวียดนาม ไทย และกัมพูชา มีการชะลอตัวลงอย่างชัดเจน ในขณะที่เศรษฐกิจลาวและเมียนมาเผชิญการหดตัวจากปัจจัยด้านลบรายประเทศด้วย ในปีนี้การฟื้นตัวในภาพรวมจะยังคงเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไปและไม่ทั่วถึง โดยจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 และความคืบหน้าของการกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศจะต้องอาศัยขนาดและประสิทธิภาพของมาตรการภาครัฐในการบรรเทาผลกระทบจากแผลเป็นทางเศรษฐกิจ (scarring effects) ระหว่างรอการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ภายในภูมิภาค (herd immunity) นับได้ว่า CLMVT Forum เป็นเวทีหารือสำคัญที่รวบรวมสุดยอดผู้นำทางความคิด เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าการลงทุนในภูมิภาค CLMVT ซึ่งเป็นทั้งฐานการผลิตที่เข้มแข็งตลาดที่กำลังเติบโต ประชากรรวมกว่า 244 ล้านคน ให้สามารถฝ่าวิกฤตกลับมาเป็นภูมิภาคแห่งการค้าและการลงทุนที่เข้มแข็งกว่าเดิมได้

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-741200

ไทยเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนบวกสาม ผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืน

รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนบวกสาม โดยผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุข การฟื้นฟูเศรษฐกิจ ความเชื่อมโยง การพัฒนาที่ยั่งยืนและการดำเนินการตามรูปแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) พร้อมแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ย้ำถึงความสำคัญของอาเซียนบวกสามในฐานะที่เป็นกลไกหลักในการส่งเสริมความร่วมมือเฉพาะด้านในเอเชียตะวันออก และหารือแนวทางเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภูมิภาคในการรับมือกับความท้าทายในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังได้ผลักดันให้ขยายความร่วมมือในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ เศรษฐกิจดิจิทัล ความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทาน ข้อตกลงระเบียงการเดินทางของอาเซียน และให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อการฟื้นฟูที่ยั่งยืน

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/mfa/3234144

‘ผู้ว่าธปท.’คาดเศรษฐกิจฟื้นเท่าก่อนโควิด อาจรอไตรมาสแรก’66

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผย สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอกสามตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา คาดเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลาถึงไตรมาสแรกของปี 66 กว่าจะกลับมาสู่ระดับเดิม ขณะเดียวกันต้องเร่งแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องของเอสเอ็มอี โดยรัฐและ ธปท ได้ออกมาตรการฟื้นฟู ส่วนสถาบันการเงิน มีบทบาทในการเชื่อมต่อข้อมูลจากผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ในการประสานความช่วยเหลือกับคู่ค้ารายย่อย และปรับแนวทางการปล่อยสินเชื่อ ทั้งนี้ธุรกิจเอสเอ็มอีควรปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและยกระดับการจัดการธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นเพราะนอกจากจะนำมาใช้บริหารต้นทุน กำไร ยังสร้างความน่าเชื่อถือให้กับสถานะทางการเงินธุรกิจอีกด้วย

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/economic/846888

ความพยายามร่วมกันของเอเชียในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

ประธานาธิบดีสปป.ลาว Mr.Thongloun Sisoulith กล่าวกับที่ประชุมนานาชาติซึ่งจัดโดย Nikkei ผ่านการประชุมทางไกล ในหัวข้อการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังยุคโควิด : บทบาทของเอเชียในการฟื้นตัวของโลก โดยประธานาธิบดีกล่าวว่า “ความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิดต้องอาศัยความพยายามร่วมกันดังนั้นจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ ที่อาจนำไปสู่สงครามหรือความรุนแรงต่อกันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” ยุคหลังโควิดจะเป็นยุคที่ใช้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม 4.0 โลกจะได้สัมผัสกับเศรษฐกิจดิจิทัลและ AI (ปัญญาประดิษฐ์) อีคอมเมิร์ซและการใช้สื่อออนไลน์เพื่อเข้าถึงข้อมูล เอเชียซึ่งมีประชากรมากที่สุดจึงทำให้เป็นภูมิภาคฐานข้อมูลที่สำคัญ เอเชียจะมีส่วนสำคัญในการฟื้นตัวของโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากการมีส่วนร่วมจากประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ประธานาธิบดีสปป.ลาว กล่าวเสริมว่า “อาเซียนซึ่งเป็นกลุ่มภูมิภาค 10 ประเทศที่ลาวเป็นสมาชิกจะส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างจริงจังมากขึ้นและเศรษฐกิจดิจิทัลและสีเขียวหรือเศรษฐกิจอัจฉริยะ”

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Collective_98.php

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

รัฐบาลกัมพูชาวางแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสิ้นสุดวิกฤตโควิด-19 ที่คาดว่าจะทุเลาลงในช่วงปี 2021-2023 ในการประชุมนานาชาติครั้งที่ 26 ว่าด้วยอนาคตของเอเชียภายใต้หัวข้อ “การจัดการยุคใหม่หลังวิกฤตโควิด: บทบาทของเอเชียภายใต้การเปลี่ยนแปลงโลก” ซึ่งนายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่ารัฐบาลกัมพูชามุ่งมั่นที่จะพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสในการปฏิรูปเชิงลึกที่มุ่งสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมที่เข้มแข็งและยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต โดยรัฐบาลได้เตรียมและวางแผนที่จะเปิดตัวแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตโควิด-19 สำหรับปี 2021-2023 เพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจกลับมาใกล้เคียงกับศักยภาพการเติบโตที่ยั่งยืนมากขึ้นนอกจากนี้รัฐบาลยังว่างแผนพัฒนาโดยนำมาตรการปฏิรูปที่สำคัญในด้านโครงสร้างการลงทุนและธุรกิจ ไปจนถึงการส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลในภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างความยืดหยุ่นโดยการเสริมสร้างความพร้อมและการตอบสนองในอนาคต โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบการคุ้มครองสุขภาพและสังคมที่เข้มแข็ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50859901/reform-at-heart-of-govt-plans-for-economic-recovery/

NA เปิดการประชุมสามัญสมัยสามหารือวาระการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (NA) ได้เปิดการประชุมสมัยสามัญสามโดยมีการอภิปรายในเรื่องการมุ่งเน้นไปที่มาตรการในการฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งในปี 2564 จะเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2564-2568)ในที่ประชุมยังหารือพิจารณาและอนุมัติการวางผังเมืองสำหรับเวียงจันทน์เพื่อให้กลายเป็นเมืองที่มีศักยภาพในทุกๆด้านรวมถึงการตรวจสอบงบประมาณของรัฐสำหรับปี 2020 อีกด้วยการเปิดประชุมสามัญสมัยสามรัฐบาลคาดหวังจะนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สปป.ลาวกำลังเผชิญ

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_210.php

เมียนมาหนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์และดนตรีท่ามกลางวิกฤติ COVID-19

กระทรวงวางแผนและการเงินประจำย่างกุ้งเผยรัฐบาลเมียนมาจัดสรรเงินสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพลง การแสดงและการสื่อมวลชนหลังจากวิกฤติ COVID-19 ในระหว่างการประชุมวันที่ 9 กันยายน 63 ที่ประชุมโดยคณะทำงานเพื่อแก้ไขผลกระทบของ COVID-19 ต่อเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเงินกู้ครั้งที่ 3 เพื่อสนับสนุนธุรกิจที่ได้ผลกระทบ แผนในครั้งแรกและครั้งที่สองมุ่งเน้นไปที่ภาคการผลิตการท่องเที่ยวและเกษตรกรรมเป็นหลัก และกำลังพิจารณาจัดหาเงินจำนวน 1.5 หมื่นล้านจัตโดยร่วมมือกับธนาคารในการจัดหาเงินกู้ยืม จนถึงขณะนี้มีการจัดสรรเงินจำนวน 1.9 ล้านล้านจัตเพื่อจัดการกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการแจกเงินสดให้ครัวเรือนผู้สูงอายุและค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) เกษตรกรผู้เกษตรกร ชาวประมง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์ตลอดจนนักเดินเรือ ทั้งนี้รัฐบาลยังอุดหนุนค่าไฟฟ้ามากกว่า 10,000 ล้านจัตตั้งแต่เดือนเมษายน 63  ในขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุขและการกีฬาได้จัดสรรงบ 268 พันล้านจัต เพื่อจัดซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ และปรับปรุงโรงพยาบาล

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-support-film-music-industry-amid-covid-19.html