สรท.คาดส่งออกไทย ปี 2566 ขยายตัว 3% ไร้แรงหนุน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สรท. คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ขยายตัวที่ 7-8% หรือมีมูลค่า 290,000-293,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ การส่งออกปี 2566 ขยายตัวที่ 2-3% หรือมีมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจัยบวกที่จะสนับสนุนให้การส่งออกขยายตัวได้ คือ จีนผ่อนคลายโควิด-19 สินค่าการส่งออกที่ยังเติบโต การส่งออกอาหาร สินค้าเกษตร เป็นต้น

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-1140385

สรท. คงเป้าส่งออก 6-8% ชี้ยังเสี่ยงจาก เงินเฟ้อ-พลังงาน-ค่าระวางเรือสูง อ้อนขอปรับขึ้นราคาสินค้าตามต้นทุนจริง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สรท. เปิดเผยว่าภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน ก.ค. 65 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 23,629 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 4.3% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 829,029 ล้านบาท ขยายตัว 17.0% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกในเดือน ก.ค.ขยายตัว 4.1%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 27,289 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 23.9% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 968,940 ล้านบาท ขยายตัว 38.7% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือน ก.ค. 65 ขาดดุลเท่ากับ 3,660 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (139,911 ล้านบาท)

ทั้งนี้ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปีนี้ ได้แก่ 1.สถานการณ์อัตราเงินเฟ้อโลกที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง  2.ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง จากสถานการณ์ยูเครนและรัสเซียที่ยังคงยืดเยื้อ 3.สถานการณ์ค่าระวางขนส่งสินค้าทางทะเลยังทรงตัวในระดับสูงและเริ่มมีการปรับลดลงในหลายเส้นทาง 4.ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน นอกจากนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ขอให้ภาครัฐช่วยพิจารณา อนุญาตให้ภาคเอกชนสามารถปรับราคาสินค้าและบริการให้สอดคล้องกับกลไกตลาด และต้นทุนการผลิตที่แท้จริงได้

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_3546578

สรท.หวังส่งออกปีนี้โต 10% อานิงสงส์จากเงินบาทอ่อน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า  สรท.คาดการณ์การส่งออกรวมปี 2565 ทั้งปีที่ 6-8%  โดยมีปัจจัยบวกมาจากค่าเงินบาทมีการเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง ดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (PMI) เดือนมิ.ย.ของประเทศคู่ค้าสำคัญเช่น สหรัฐฯ ยุโรป อังกฤษ ญี่ปุ่น ยังทรงตัวเหนือเส้น Baseline ระหว่าง 50-60 ขณะที่จีนเริ่มฟื้นกลับมาเหนือระดับ Baseline หลังจากก่อนหน้า PMI หดตัวต่ำกว่าที่คาดสะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจโลก

ทั้งนี้ สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญประกอบด้วย 1. ขอให้ธปท. คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เพื่อประคองให้การฟื้นตัวภาคธุรกิจยังคงดำเนินการได้ และขอให้ธนาคารพาณิชย์ เร่งออกแคมเปญเพื่อช่วยเติมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการส่งออกตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต  เร่งสร้างโอกาสทางการในตลาดประเทศเพื่อนบ้านที่สำคัญ เช่น CLMV รวมถึงตลาดที่มีกำลังซื้อสูง

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1018581

สรท.มั่นใจส่งออก Q1/65 โต 5% แม้ยังมีหลายปัจจัยเสี่ยง

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) มั่นใจภาวะการส่งออกของไทยในไตรมาสแรกของปีนี้ขยายตัวต่อเนื่องที่ระดับ 5% และคงคาดการณ์ภาวะการส่งออกทั้งปี 65 โต 5-8% จากปี 64 ที่มีมูลค่า 271,314 ล้านดอลลาร์

ขณะที่มีปัจจัยปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ 1) ราคาพลังงานทรงตัวในระดับสูง ส่วนหนึ่งจากผลกระทบจากข้อพิพาทระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาแก๊สธรรมชาติและถ่านหินน้ำมัน ในยุโรปและของโลกเพิ่มสูงขึ้น

2) แรงงานในภาคการผลิตขาดแคลนต่อเนื่อง ประกอบกับต้นทุนการจ้างงานปรับตัวสูงขึ้น กระทบการผลิตเพื่อการส่งออกที่กำลังฟื้นตัว

3) ปัญหาความหนาแน่นภายในท่าเรือประเทศปลายทาง ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานในการขนถ่ายสินค้า รวมถึงปัญหา Space allocation ไม่เพียงพอ

4) ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ เซมิคอนดักเตอร์, เหล็ก, น้ำมัน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

5) หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในหลายประเทศมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 และเข็มที่ 4 ต่อเนื่อง และเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการสำหรับการเดินทางเข้าประเทศ อาทิ นิวซีแลนด์ (เฉพาะผู้ที่เดินทางในประเทศและมาจากออสเตรเลีย) ขณะที่ นอร์เวย์ เดนมาร์ก ยกเลิกมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เหลืออยู่

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2022/171990

สรท.คาดส่งออกปี 65 ขยายตัว 5% จากปีนี้คาดโตได้ราว 12%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก คาดการณ์ภาวะการส่งออกของไทยในปี 65 จะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 5% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 12% เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 63 จากผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 “จากการประเมินแล้วมั่นใจว่าปีนี้อยู่ในกระเป๋าแล้วอย่างน้อย 12% ส่วนในปีหน้าได้นำข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาประเมินแล้วคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 5%”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/141392

สรท.มั่นใจทั้งปี’64 ปิดจ๊อบส่งออก 12% จับตาปัญหาค่าระวางเรือ-โควิด หวั่นส่งผลระยะยาว

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ระบุภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนสิงหาคม 2564 กับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า การส่งออกมีมูลค่า 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.93% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 715,416.40 ล้านบาท ขยายตัว 12.83% ทั้งนี้ สรท. มั่นใจว่าการส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 12% โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ เศรษฐกิจประเทศคู้ค้าสำคัญฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน และค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไมทั่วถึง 2.ค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 2565 และ 3.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ชิป, เหล็ก ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.matichon.co.th/economy/news_2974556

ส่งออกไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ลุ้นปีนี้ติดลบแค่ 8%

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.94% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  ส่วนการนำเข้าในเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 15,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง19.68 % ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ขณะที่ภาพรวม 8 เดือน (ม.ค.- ส.ค) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 153,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   การส่งออกในเดือนส.ค. กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 13.2% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน  โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ น้ำตาลทราย ยางพารา ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ข้าว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1.กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกที่ยังมีความอ่อนแอ 2.ค่าเงินบาทที่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง 3.International logistics  พบว่าค่าระวางสูง 4.ปัญหาภัยแล้ง 5. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ “ส่งออกไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว หลังมีการเปิดประเทศ  ซึ่งส่งออกเดือน ส.ค.ติดลบ 7.94% ถือว่ามีแนวโน้มติดลบน้อยลง แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาต้นทุนขนส่งและปริมาณตู้สินค้าที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากการส่งออกของจีนขยายตัว 11% จนอาจฉุดการฟื้นตัวส่งออกไทย”

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/634829