เมียนมามีรายได้ 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 1.3 ล้านตันใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า เมียนมาจัดส่งถั่วพัลส์มูลค่ากว่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็นปริมาณกว่า 1.3 ล้านตันให้กับคู่ค้าต่างประเทศในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยแบ่งออกเป็นการส่งออกทางทะเล 1 พันล้านดอลลาร์จากการส่งออกถั่วปริมาณกว่า 1.18 ล้านตัน และส่งออกผ่านทางชายแดนไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ประมาณ 139,132 ตัน มูลค่า 119.73 ล้านดอลลาร์ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 รวมมูลค่า 1.123 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากการส่งออก 1,319,203.97 ตัน อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งออกถั่วดำ ถั่วเขียว และถั่วลันเตาไปยังตลาดต่างประเทศเป็นหลัก โดยถั่วดำและถั่วลันเตาจัดส่งไปยังอินเดียเป็นหลัก ในขณะที่ถั่วสีเขียวส่งออกไปยังจีนและยุโรป อินเดียมีความต้องการและการบริโภคถั่วดำและถั่วลันเตาเพิ่มมากขึ้น ตามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมาและอินเดียที่ลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2564 อินเดียจะนำเข้าถั่วดำจำนวน 250,000 ตัน และถั่วลันเตาจำนวน 100,000 ตันจากเมียนมาเป็นเวลาห้าปีติดต่อกัน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2568-2569 สนธิสัญญา G-to-G นี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโควตาประจำปีของถั่วพัลส์ที่อินเดียกำหนด ผู้ส่งออกของเมียนมามีสิทธิที่จะส่งพัลส์ไปยังอินเดียภายใต้โควตาประจำปีนั้น ทั้งนี้ราคาตลาดทั่วไปของถั่วดำอยู่ที่ 3.3 ล้านจ๊าดต่อตัน (urad), ถั่วลันเตา 4.027 ล้านจ๊าดต่อตัน (tur) และถั่วเขียว 2.04 ล้านจ๊าดต่อตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-us1-123-bln-from-over-1-3m-tonnes-of-pulse-exports-in-ten-months/

‘นายกฯ’ เรียกร้องให้มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรของเวียดนาม

นายฝ่าม มิงห์ จิญ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ออกแถลงการณ์ที่จะมุ่งส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ เพื่อขับเคลื่อนการบริโภคและการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง โดยถือว่าเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบท

ทั้งนี้ บทบาทภาระดังกล่าว ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ได้รับทำหน้าที่สำคัญในการประสานงานกับกระทรวงและหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือโครงการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ปรับปรุงคุณภาพและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าเกษตรเวียดนาม

นอกจากนี้ยังต้องร่วมมือกับท้องถิ่นในการตรวจสอบและพัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์ให้มีความเหมาะสมกับสินค้าเกษตร ตลอดจนจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะผู้บริหารของรัฐฯ ภาคธุรกิจและสหกรณ์ในภาคเกษตรกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pm-urges-logistics-connectivity-for-vietnamese-farm-produce/279364.vnp

เมียนมาวางแผนส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2567-2568

ตามที่ U Ye Min Aung ประธานสมาพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) ระบุว่า MRF ตั้งใจที่จะส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น ผงข้าวและเส้นก๋วยเตี๋ยว รวมถึงข้าวนึ่งและข้าวหักในปีงบประมาณ 2567-2568 ซึ่งการบริโภคข้าวในประเทศของเมียนมาปัจจุบันอยู่ที่ 10 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ประเทศผลิตได้ 12-14 ล้านตันต่อปี ซึ่งจำกัดความสามารถในการส่งออกเพียง 3 ล้านตันต่อปี ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงมุ่งเน้นการส่งออกผลิตภัณฑ์ข้าวที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างรายได้มากขึ้นแทนที่จะส่งออกข้าวที่เพิ่มขึ้นเป็นตัน อย่างไรก็ตาม ประธานสมาพันธ์ฯ ยังกล่าวอีกว่า MRF จะเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งออกข้าวนึ่งและข้าวหักเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมของปีงบประมาณนี้ ในขณะที่ข้าวขาวมีกำหนดส่งออกโดยมีข้อจำกัดเพื่อให้แน่ใจว่าสต๊อกข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ นอกจากนี้ ในปีงบประมาณ 2566-2567 รายได้จากการส่งออกข้าวไม่ได้ลดลง ถึงแม้ว่าการส่งออกข้าวจะลดลง 500,000 ตันก็ตาม เนื่องจากราคาข้าวทั่วโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ประเทศจึงมีรายได้สูงถึง 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในบางเดือน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-plans-to-export-more-parboiled-rice-broken-rice-in-2024-25fy/#article-title

‘เวียดนาม-จีน’ ยอดค้าชายแดนพุ่ง โอกาสเติบโตสูงในอนาคต

คณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจประตูชายแดนดงดัง-ลางเซิน เปิดเผยว่าสัปดาห์แรกของปีนี้ มีรถบรรทุกขนส่งสินค้าผ่านด่านชายแดน 6 แห่งในจังหวัดหลั่งเซิน จำนวนมากกว่า 300 คัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และมีรถบรรทุกสินค้าส่งออกเฉลี่ย 400 คัน และรถบรรทุกสินค้านำเข้าประมาณ 800 คัน โดยตัวแทนของคณะกรรมการระบุว่าความต้องการของตลาดจีนสำหรับสินค้าเกษตรและผลไม้สดของเวียดนามมีมากขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน ในขณะที่ผู้ประกอบการเวียดนามจำเป็นที่จะต้องนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและชิ้นส่วนประกอบเพื่อตอบสนองความต้องการในประเทศที่สูงขึ้น ทำให้มูลค่าการค้าชายแดนสูงขึ้นอย่างมาก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-china-see-surge-in-border-trade-with-more-to-come/278112.vnp

สปป.ลาว มีรายได้ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากการส่งออกสินค้าเกษตรในปี 2566

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ สปป.ลาว เผย ลาวมีรายได้มากกว่า 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรในปีที่แล้ว ซึ่งเกินเป้าหมายปี 2566 20.18% โดยมูลค่าการผลิตในภาคเกษตรและป่าไม้ของประเทศลาว ขยายตัว 3.4% ในปี 2566 คิดเป็น 21.4% ของจีดีพี โดยมีการเก็บเกี่ยวพืชผลประมาณ 9.74 ล้านตัน ซึ่งเกินเป้าหมาย 3.7% โดยผลผลิตมันฝรั่งเพิ่มขึ้น 28.62% กาแฟ 7.5% กล้วย 16.7% และอ้อย 10.1% ปัจจุบันมีฟาร์มปศุสัตว์ 2,261 แห่ง ซึ่งมีสัตว์มากกว่า 6.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้น 123 แห่ง เมื่อเทียบกับปี  2565 จำนวนดังกล่าวประกอบด้วยฟาร์มปศุสัตว์ 55 แห่ง ฟาร์มหมู 34 แห่ง และฟาร์มสัตว์ปีก 18 แห่ง ซึ่งผลิตเนื้อสัตว์คิดเป็น 41% ของทั้งประเทศ รัฐบาลยังคงเจรจาเพื่อการส่งออกผลิตผลทางการเกษตรอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถส่งออกสินค้าได้ 64 ชนิด มากกว่าปี 2565 16 ชนิด ในจำนวนนี้ มีการส่งออกไปยังจีน 33 ชนิด ส่งออกไปยังเวียดนาม 16 ชนิด และส่งออกให้ไทย 15 ชนิด

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_24_Laowearns_y24.php

มะม่วงจากกัมพูชากำลังได้รับความนิยมในตลาดรัสเซีย

มะม่วงของกัมพูชากำลังได้รับความนิยมในตลาดรัสเซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดระดับไฮเอนด์ ซึ่งช่วยส่งเสริมภาคเกษตรกรรมของกัมพูชา รายงานโดยตัวแทนของบริษัทผู้ส่งออกมะม่วงในกัมพูชาไปยังรัสเซียและเอเชียกลาง ในบรรดามะม่วงของกัมพูชาหลายชนิด Keov Romeat ถือเป็นมะม่วงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในรัสเซีย โดยผิวของ Keov Romeat มีสีเหลืองทอง มีรสหวาน มีกลิ่นหอมแรง และมีเนื้อที่ล้เอียด สำหรับการส่งออกมะม่วงสดและแห้งของกัมพูชในช่วงปี 2022 ที่ปริมาณรวม 169,658 ตัน ตามการระบุของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) ขณะที่ประเทศผู้นำเข้ามะม่วงรายสำคัญของกัมพูชา ได้แก่ เวียดนาม ไทย จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และออสเตรีย เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501427846/cambodian-mangoes-now-gaining-popularity-across-russian-markets/

นายกฯ สปป.ลาว เสนอแนะให้เพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกมากขึ้นในปี 2567

นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กล่าวในการประชุมด้านการเกษตรและป่าไม้ ให้เพิ่มผลผลิตสินค้าทางการเกษตรเพื่อส่งออกมากขึ้นในปี 2567 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและป่าไม้ และเจ้าหน้าที่จังหวัดเข้าร่วม ในการประชุม ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำถึงความท้าทายบางประการที่ต้องได้รับการแก้ไข เช่น กลุ่มการผลิตทางการเกษตรยังไม่มีการจัดระเบียบที่ดีและไม่ได้มีผลผลิตที่สูง แม้ว่าจะมีที่ดินเพียงพอก็ตาม และกล่าวเสริมว่า วิธีการทำฟาร์มยังคงเป็นขั้นพื้นฐาน ดังนั้น ผลผลิตในฤดูแล้งจึงมีผลผลิคที่ต่ำมาก และเพียงพอกับความต้องการ และได้ตั้งข้อสังเกตว่า เกษตรกรได้รับการศึกษาที่ไม่ดีนักในด้านวิทยาศาสตร์และเทคนิคการเพาะปลูกพืชผล และไม่ได้ใช้เครื่องจักรใดๆ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_17_PMcalls_y24.php

กัมพูชาส่งออกข้าวสารไปยัง UAE เป็นครั้งแรก ปริมาณรวมกว่า 6 หมื่นตัน

Cham Nimul รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานว่าเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (12 ม.ค.) กัมพูชาส่งออกข้าวสารชุดแรกไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) กว่า 60,000 ตัน มูลค่ารวม 54 ล้านดอลลาร์ ส่งออกโดย Oneroad Group ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในท้องถิ่นส่งออกข้าวไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สำหรับการส่งออกเกิดขึ้นหลังจากที่กัมพูชาและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามในข้อตกลงการค้าทวิภาคี ณ เดือนมิถุนายน 2023 สำหรับการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วงปี 2023 มีปริมาณรวมกว่า 656,323 ตัน ไปยัง 61 ประเทศทั่วโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามข้อมูลของสหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF)

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501422304/cambodia-exports-60000-tonnes-of-milled-rice-to-uae-for-1st-time/

เมียนมาร์มีรายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรมูลค่ารวม 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 9 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมาร์สร้างรายได้ 2.313 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวลดลงจาก 2.688 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยลดลง 374.172 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ส่งออกสินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบสำหรับการผลิตสินค้า CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ เมียนมาร์ได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agri-export-earnings-in-myanmar-total-us2-3-bln-in-9-months/

โฆษกรัฐบาลเผย รัฐบาลเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์เห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรม ไทยส่งออกโคเนื้อทางเรือไปยังเวียดนามครั้งแรก 2,000 ตัว คาดเริ่มกุมภาพันธ์ 2567 นี้

นายสัตวแพทย์ชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลยินดีที่การดำเนินการเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ โดยเฉพาะโคและสุกรมีชีวิต ไปยังตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศจีน อาเซียนและตะวันออกกลาง เห็นผลเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน และกล่าวว่าโคเนื้อ เป็นหนึ่งในสินค้าเกษตรที่สามารถสร้างรายได้ โดยประเทศไทยมีปริมาณโคเนื้อที่สามารถทำการส่งออกได้ไม่ต่ำกว่า 500,000 ตัว/ปี โดยตลาดประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเวียดนามมีความต้องการโคเนื้อจากไทยถึงกว่า 2,000 ตัว/เดือน ซึ่งล่าสุด เป็นครั้งแรกของไทยที่ส่งออกโคเนื้อทางเรือจากเพชรบุรีไปยังเวียดนาม เนื่องจากเห็นถึงศักยภาพในการส่งออก มาตรฐานและกระบวนการเลี้ยงโคเนื้อของไทย

ที่มา : https://www.agrinewsthai.com/domestic-animal/105262