การส่งออกประมงของเมียนมามีมูลค่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐใน 2 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า การส่งออกประมงของเมียนมาเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 102.97 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงสองเดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบันปี 2567-2568 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้น 33.545 ล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับสถิติที่บันทึกไว้ในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ 2023-2024 ซึ่งมีมูลค่าอยู่ที่ 69.425 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ดี เมียนมาส่งสินค้าประมง เช่น ปลา ปู และกุ้ง ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (จีนและไทย) ผ่านด่านชายแดน Muse, Myawady, Kawthoung, Myeik, Sittway และ Maungtaw นอกจากนี้ยังจัดส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น ประเทศในยุโรป จีน ไทย และประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคผ่านช่องทางเดินเรือ ซึ่งสหพันธ์ประมงเมียนมาระบุว่า ปลามากกว่า 20 สายพันธุ์ รวมถึงฮิลซา โรฮู ปลาดุก และปลากะพงขาว ถูกส่งไปยังตลาดต่างประเทศ โดยส่งออกไปยังกว่า 40 ประเทศ และผู้นำเข้าประมงชั้นนำของเมียนมาคือไทย รองลงมาคือจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-fisheries-exports-bag-us100m-in-2-months/#article-title

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาสวาย มีแนวโน้มฟื้นตัว

จากข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม แสดงให้เห็นว่าเวียดนามทำรายได้จากการส่งออกปลาสวาย (Tra fish) ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ราว 725 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะที่จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าสหรัฐฯ ยังคงเป็นผู้นำเข้าปลาสวายจากเวียดนามรายใหญ่ที่สุด รองลงมาจีน สหภาพยุโรปและอเมริกาใต้ โดยเฉพาะสินค้าส่งออกปลาแช่แข็งของเวียดนามที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ทำรายได้มากกว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19% เมื่อเทียบเป็นรายปี หรือคิดเป็นสัดส่วน 98% ของสินค้าส่งออกปลาสวายทั้งหมด

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญ มองว่าแนวโน้มการส่งออกปลาสวายไปยังตลาดยุโรปจะปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการถดถอยของภาวะเศรษฐกิจโลกและความตึงเครียดของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน ทำให้เวียดนามต้องใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรียุโรป-เวียดนาม (EVFTA) เพื่อที่จะเข้าถึงตลาดได้มากขึ้น

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-tra-fish-export-tipped-to-bounce-back-post287558.vnp

‘เวียดนาม’ ส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้ เผชิญกับอุปสรรคทางเทคนิค

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของแห่งเวียดนาม (VASEP) รายงานว่าการส่งออกอาหารทะเลของเกาหลีใต้ไปยังเวียดนาม ได้รับการยกเว้นภาษีหรือปลอดภาษี ในขณะที่ผู้ส่งออกกุ้งของเวียดนามเผชิญกับข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดเกาหลีใต้ โดยเมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา ทางสมาคมฯ เขียนจดหมายถึงนายกรัฐมนตรี กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กระทรวงเกษตรและกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเรียกร้องให้เกาหลีใต้ยกเลิกโควต้าการนำเข้ากุ้งเวียดนาม ภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สาธารณรัฐเกาหลี (VKFTA)  และหากสถานการณ์นี้เดินหน้าต่อไป จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อธุรกิจเวียดนามที่จะส่งออกกุ้งไปยังเกาหลีใต้

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-shrimp-exports-to-south-korea-face-technical-hurdle-vasep/

‘ตะวันออกกลาง’ ผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ากลุ่มประเทศในตะวันออกกลางกลายมาเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ารายใหญ่อันดับ 4 ของเวียดนาม รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรปและกลุ่มตลาด CPTPP และเวียดนามมีสัดส่วนการส่งออกไปยังตะวันออกกลางเพียง 10% ของมูลค่าการส่งออกปลาทูน่าทั้งหมด โดยจากตัวเลขสถิติของกรมศุลกากร ชี้ให้เห็นว่าเมื่อปีที่แล้ว เวียดนามส่งออกปลาทูน่าไปยังกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง มูลค่า 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเฉพาะประเทศอิสราเอล เลบานอน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และตุรกี เพิ่มขึ้น 37%, 17%, 23% และ 73% ตามลำดับ ในขณะที่ตลาดอื่นๆ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อียิปต์และซาอุดีอาระเบีย ลดลง 47% และ 78%

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650464/middle-east-the-fourth-largest-importer-of-vietnamese-tuna.html

‘เวียดนาม’ ส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนของปีนี้ แตะ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลของเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าเวียดนามส่งออกปลาทูน่าในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ อยู่ที่ 693 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้เวียดนามเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างไรก็ดี อาหารทะเลของเวียดนามปรับตัวลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว หากคิดเป็นมูลค่าจะอยู่ที่เพียง 7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ กุ้งของเวียดนามนับเป็นสินค้าทะเลที่ขายดีที่สุด ทำรายได้มากกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รองลงมาปลาดุก 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่หากประเมินยอดขายของสินค้าดังกล่าวจะพบว่าลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว 29% และ 24% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผู้นำเข้าปลาทูน่าเวียดนามรายใหญ่ที่สุด ได้แก่ สหรัฐฯ อิสราเอล ไทย ญี่ปุ่น แคนาดา และเยอรมนี ถึงแม้ว่าการส่งออกไปยังอิสราเอล ไทยและเยอรมนีจะมีการเติบโต  แต่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และแคนาดากลับลดลง โดยตัวเลขดังกล่าวลดลงมากที่สุดในสหรัฐฯ ถึง 41% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1636885/vietnamese-tuna-fetches-693-million-in-the-first-ten-months-of-2023.html

‘เวียดนาม’ เผย 3 เดือนแรกปี 65 ผลผลิตอาหารทะเล แตะ 566,700 ตัน

คณะกรรมการประมง กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) เปิดเผยว่าในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ผลผลิตอาหารทะเลทั้งหมดของเวียดนามอยู่ที่ 566,700 ตัน เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ผู้อำนวยการกล่าวว่าปัจจุบัน เวียดนามมีสหภาพแรงงานประมงจำนวน 86 แห่งใน 16 จังหวัด และจำนวนสมาชิกราว 17,700 คน เรือประมง 6,200 ลำ ในขณะเดียวกัน ห้องเก็บความเย็นมีจำนวน 640 แห่ง สามารถบรรจุได้ 78,700 ตัน ทั้งนี้ เวียดนามได้ให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างเรือประมง การจัดการและติดตามแหล่งที่มาของสินค้า รวมถึงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล นอกจากนี้ เวียดนามได้รับการร้องขอให้จัดการกับการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) อย่างเคร่งครัด

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/seafood-output-hits-566700-tonnes-in-three-months/224285.vnp

‘เวียดนาม’ เผยยอดการส่งออกอาหารทะเลดิ่งลงฮวบ ท่ามกลางมาตรการเว้นระยะทางสังคม

สมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่ามาตรการเว้นระยะทางสังคมที่เข็มงวดในหัวเมืองและจังหวัดทางภาคใต้ 19 จังหวัดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่ออุตสาหกรรมการผลิตและการแปรรูปอาหารทะเล ทำให้ยอดการส่งออกอาหารทะเลลดลงอย่างมาก ตามข้อมูลของสมาคมฯ แสดงให้เห็นว่ายอดการส่งออกอาหารทะเลของเวียดนามไปยังตลาดหลักในเดือนสิงหาคม ได้แก่ สหรัฐฯ และยุโรป ลดลงราว 16-50% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะตลาดเนเธอแลนด์และเยอรมนี ลดลงประมาณ 50% และ 42% ตามลำดับ โดยมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลทั้งสิ้น แตะ 588 ล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว ลดลงราว 28% เมื่อเทียบเป็นรายปี ทั้งนี้ นาย Le Van Quang ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท Minh Phu กล่าวว่าบริษัทอาหารทะเลในจังหวัดทางภาคใต้ดำเนินการตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและผลผลิตลดลง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/seafood-exports-drop-sharply-during-social-distancing/

เวียดนามเผยไตรมาส 2 ยอดส่งออกอาหารทะเล พุ่ง 10%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล คาดว่าจะถึง 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยความคล่องตัวในการสำรวจและกระจายตลาด ทำให้ธุรกิจสามารถที่จะขยายการส่งออกได้ นอกจากนั้นแล้ว คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ยอดการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมถึงปลาสวายและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 7% และ 9.6% เป็นมูลค่า 712 และ 816 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ เลขาธิการทั่วไปของสมาคม VASEP กล่าวว่าความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ช่วยกระตุ้นการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปอย่างมาก ในขณะที่ ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม จะเปิดโอกาสในการส่งออกให้กับธุรกิจอาหารทะเลของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/951729/seafood-exports-to-go-up-by-10-in-q2.html

เวียดนามเผยความต้องการนำเข้าอาหารทะเลที่หรูหราพุ่งสูงขึ้น

เวียดนามนำเข้าอาหารทะเลที่มีมูลค่าสูงเพิ่มขึ้น อาทิ ปูยักษ์ และกุ้งล็อบสเตอร์ เป็นต้น เนื่องมาจากราคาที่ปรับตัวลดลงและคาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองตรุษญวณ (Tết) ทางรองกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาประจำเมืองโฮจิมินห์ กล่าวว่าในปีที่แล้ว การส่งออกอาหารทะเลจากอลาสก้าเพิ่มขึ้น 125% คิดเป็นมูลค่า 19 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ เวียดนามเป็นผู้นำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารทะเลของสหรัฐอเมริกา อันดับที่ 6 ของโลก ด้วยมูลค่าการนำเข้า 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของสถาบันการตลาดอาหารทะเลอลาสก้าในเวียดนาม ระบุว่าความต้องการอาหารทะเลในเวียดนามพุ่งสูงขึ้น และโรงงานแปรรูปหลายแห่งกำลังย้ายออกจากจีนไปยังเวียดนาม สาเหตุมาจากเรื่องภาษีศุลกากร นอกจากนี้ ในช่วงเทศกลาลตรุษญวณ มีความต้องการปูอลาสก้ามากขึ้นเป็นพิเศษ เนื่องจากทำอาหารได้ง่ายและเหมาะสำหรับโอกาสพิเศษ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/860872/demand-for-imported-luxury-seafood-rises.html

การส่งออกทางทะเลไปจีนของเมียนมาหวั่นพบอุปสรรค

อุตสาหกรรมอาหารทะเลของเมียนมาต้องใช้เส้นทางอื่นสำหรับการส่งออกไปยังประเทศจีนเนื่องจากความยากลำบากในการขนส่ง นาย U Tine Kyaw เลขาธิการสมาคมผู้ประกอบการค้าปลาไหลแของเมียนมากล่าวว่าการบริหารงานในจังหวัดต่างๆ ในจีนส่งผลให้ต้องใช้เส้นทางด่านมูเซเป็นเวลาสามเดือนแทนที่จะใช้เส้นทางชินฉ่วยฮ่อ สินค้าทางทะเลไม่สามารถส่งออกได้ ดังนั้นจึงใช้เส้นทาง Muse-Kyin San Kyawt แทน ซึ่งบางรายการต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ทั้งนี้การค้าขายจะหยุดหากประตูด่าน Kyin San Kyawt ถูกปิดลง

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-marine-exporters-face-roadblocks-china.html