รัฐบาลกัมพูชาเพิ่มทุนจัดซื้อข้าวภายในประเทศ 10 ล้านดอลลาร์

รัฐบาลกัมพูชาประกาศเพิ่มวงเงินจัดซื้อข้าวภายในประเทศ 10 ล้านดอลลาร์ ผ่านธนาคารแห่งรัฐเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจัดซื้อข้าวและช่วยรักษาเสถียรภาพราคาข้าวให้กับเกษตรกร โดยรัฐบาลได้พิจารณาอย่างรอบคอบและตัดสินใจที่จะจัดหาเงินทุนเพิ่มเติมให้กับกองทุนจัดซื้อข้าวขั้นต้นมูลค่า 83 ล้านดอลลาร์ ผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทและการเกษตรเพื่อสนับสนุนโรงสีข้าว และผู้ส่งออกข้าวในการจัดหาข้าวจากเกษตรกร ซึ่งในช่วงไม่กี่วันมานี้ราคาข้าวภายในประเทศเกิดความผันผวนในบางจังหวัดที่มีการผลิตข้าว โดยเฉพาะพระตะบองและบันทายมีชัย เนื่องจากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวประจำปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501189189/additional-10-million-released-by-royal-government-for-rice-procurement/

“นายกรัฐมนตรีเวียดนาม” ร้องขอให้มีการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว

นาย ฝ่าม มิงห์ จิ๋ง นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ขอความร่วมมือกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ในปัจจุบันและศึกษาแนวทางในการหาทางออก เพื่อรักษาความมีเสถียรภาพของตลาดและราคาข้าว รวมถึงปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกร หลังจากอินเดียประกาศว่าจะจำกัดการส่งออกข้าว ทั้งนี้ สำนักงานรัฐบาลเวียดนาม เพิ่งออกเอกสารปฏิบัติตามคําสั่งเลขที่ 6263/VPCP-KTTH เกี่ยวกับข้อจำกัดการส่งออกข้าวของอินเดียและผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกข้าวของเวียดนาม ด้วยเหตุนี้ อินเดียจึงออกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวหัก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. ด้วยอัตราภาษีส่งออก 20% สำหรับข้าวขาวและข้าวกล้อง คิดเป็น 60% ของการส่งออกข้าวทั้งหมดของอินเดีย เนื่องจากรัฐบาลอินเดียมีความกังวลเกี่ยวกับอุปทานที่ลดลงและภาวะราคาอาหารเฟ้อ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1338276/prime-minister-asked-to-stabilise-rice-price.html

เกษตรกรตำบลโหโป๊ง ปลื้ม! ราคากล้วยไม้ดินพุ่ง

เกษตรกรจากหมู่บ้านนองสน ตำบลโหโป๊ง เขตปกครองตนเองปะโอ ของรัฐฉาน (ใต้) ประสบผลสำเร็จจากการปลูกกล้วยไม้ดิน ซึ่งแต่ก่อนปลูกตามวิธีธรรมชาติ แต่ต่อมาได้เริ่มเรียนรู้จากการปลูกบนแปลงทดลองจนได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยกล้วยไม้ดินจะใช้เวลาปลูกและออกดอกผลิบานได้ภายในหนึ่งปี ซึ่งกล้วยไม้ดินเป็นพืชที่ระบายน้ำได้ดีและชอบอากาศที่เปียกชื้น ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวเกี่ยหรือตัดขายจะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม โดยราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 1,000 จัตต่อต้น แต่เมื่อได้รับออเดอร์จากเมื่องอื่นๆ  ราคาจะพุ่งไปถึง 1,500 จัตต่อต้น ทั้งนี้แหล่งเพาะปลูกสำคัญจะมาจาก หมู่บ้านนองสน ตำบลโฮปง และจะส่งออกไปขายยังส่งงตลาดโฮปง ตลาดน้ำโกด และตลาดบ้านยินในรัฐฉาน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/growing-of-ground-orchid-in-hopong-township-succeeds/

เกษตรกร ปลื้ม ปีนี้ ขายกะหล่ำปลีได้กำไรงาม

เกษตรกรจากหมู่บ้านในเขตอำเภอวู่นโต และกอลี่น เขตซะไกง์ กำลังปลูกะหล่ำปลีโดยใช้น้ำชลประทานจากลำห้วย Daungmyu กำลังปลื้มกับราคากะหล่ำปลีในปีนี้ โดยทปีที่แล้วขายกะหล่ำปลีหนึ่งหัวได้ในราคา 600 แต่ปีนี้ราคาพุ่งไปถึง 1,500 ต่อหัว แม้ปีนี้ต้นทุนการปลูกจะสูงกว่าปีที่แล้วเล็กน้อยเนื่องจากราคาปุ๋ยและยาฆ่าแมลงที่เพิ่มสูงขึ้น โดยต้นทุนการเพาะปลูกอยู่ที่ประมาณ 70,000 จัตต่อ 2,000 ต้น หากราคากะหล่ำปลีไม่ตกต่ำ เชื่อว่าเกษตรกรจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอย่างแน่นอน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/cabbage-growers-making-handsome-profits-this-year/#article-title

การสำรวจสำมะโนเกษตรกร เปิดเผยเกษตรกรเข้าถึงการศึกษาในระดับต่ำ

การสำรวจสำมะโนเกษตรกรครั้งที่ 3 พบว่าการเข้าถึงการศึกษาของเกษตรกรมีน้อยลง โดยร้อยละ 28 ของเกษตรกรไม่เคยเข้าเรียนในโรงเรียน ร้อยละ 31 เรียนจบแค่ชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 14 จบมัธยมศึกษาตอนต้น และเพียงร้อยละ 6 จบมัธยมศึกษาตอนปลายด้านผู้หญิงยังมีการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยผู้หญิงร้อยละ 32 ไม่เคยไปโรงเรียน สำมะโนเกษตรกรดังกล่าวดำเนินการโดยสำนักสถิติลาวและกระทรวงการวางแผนและการลงทุนโดยความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและป่าไม้ และได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ความร่วมมือครั้งนี้เป็นการรวมตัวกันของผู้เชี่ยวชาญหลายคนในด้านสถิติและการเกษตร เพื่อรับประกันความเกี่ยวข้องของข้อมูลที่ออกมา และยังเป็นการสำรวจสำมะโนการเกษตรแห่งแรกในสปป.ลาวที่ใช้โหมดการสัมภาษณ์ส่วนตัวโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้วิธีนี้แสดงถึงความพยายามของสำนักสถิติลาวและกระทรวงเกษตรและป่าไม้ในการเปลี่ยนไปใช้วิธีดิจิทัลในการรวบรวมข้อมูล ผลการสำรวจสำมะโนเบื้องต้นจะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและชนบทอย่างมีประสิทธิผล เพื่อปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพในพื้นที่ชนบทข้อมูลที่ได้รับยังมีความสำคัญต่อความสำเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้วาระ 2030
ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Farmers250.php

ชวน หารือ ปธ.สภาเวียดนาม เร่งแก้ปัญหาส่งออกผลไม้ไทยไปจีน ช่วยเกษตรกร

นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล เลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า จากรายงานการประชุมหารือทวิภาคีระหว่าง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กับ นายเวือง ดิ่งห์ เหวะ (H.E.Mr.Vung Finh hue) นายเวือง ประธานสภาแห่งชาติสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา มีการหารือเรื่องความร่วมมือและกำจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม โดยนายชวนได้หารือเรื่องความเดือดร้อนของเกษตรกรในการส่งออกผลไม้จากไทยไปจีน เพราะตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา เป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลไม้ของไทยและจะมีการส่งผลไม้จากไทยไปจีนมากกว่าช่วงเวลาอื่นของปี แต่มีปัญหาคือรถบรรทุกผลไม้ติดสะสมที่ด่านจังหวัดหล่าง เชิน (Lang Son) ของเวียดนามที่จะเข้าประเทศจีน จนทำให้ผลไม้เน่าเสียเกษตรกรเดือดร้อน ดังนั้น นายชวน จึงขอให้ประธานสภาแห่งชาติเวียดนามได้พิจารณาหาแนวทางแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าว

ที่มา : https://www.matichon.co.th/politics/news_2927653

แตงโมเขตมะกเว ยอดขาย พุ่ง เกษตรกรเฮ รายได้งาม

ผลผลิตแตงโมเมือง Gangaw Township ในเขตมะกเวเริ่มจำหน่ายในท้องถิ่นและพื้นที่แถบชายแดน เมียนมา-อินเดีย และเมืองกะเลย์ มะละกอในเขตชินวินตอนบน ซึ่งสร้างรายได้อย่างงามให้กับเกษตรกรในท้องถิ่นจากความต้องการที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาอยู่ที่ 700-1,000 จัตต่อลูก ขึ้นอยู่กับขนาด อย่างไรก็ตาม ราคาลูกเล็กราคาอาจถึง 1,200 จัตต่อลูก และ 2,500 จัตสำหรับลูกโตในตลาดกะเล่, ตามู และเมาลาย ในตลาดชายแดนเมียนมา-อินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/watermelon-in-magway-sells-well/#article-title

นักวิจัยกัมพูชาเตรียมเปิดตัวพันธุ์ข้าวใหม่เร็วๆนี้

นักวิจัยข้าวของกัมพูชาเตรียมจะเปิดตัวพันธุ์ข้าวใหม่ ที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ สามารถปลูกได้ในพื้นที่ที่มีน้ำสม่ำเสมอ ให้ผลผลิตสูง ซึ่งให้ผลผลิตได้ดีกว่าพันธุ์ข้าวทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ เช่นเดียวกับความต้องการของตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาการเกษตรแห่งกัมพูชา (CARDI) กล่าวว่าพันธุ์ใหม่นี้เป็นข้าวลูกผสมระหว่างข้าวหอมที่พัฒนาโดยทีมวิจัยตลอดระยะเวลา 10 ปี ซึ่งยังไม่ถูกกำหนดตั้งชื่อ มีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มความหลากหลายทางสายพันธุ์ข้าวให้กับเกษตรกรภายในประเทศ และเป็นการค้นหาตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น โดยนับตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา CARDI ได้พัฒนาและเผยแพร่พันธุ์ข้าวมากกว่า 40 สายพันธุ์ ให้กับเกษตรกร ซึ่งในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2020 มีการส่งออกข้าวสาร 280,450 ตัน ลดลงร้อยละ 29.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 โดยการส่งออกข้าวเปลือกแตะระดับ 1,692,813 ตัน ในปี 2020 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 72 เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50920852/cambodian-researchers-to-launch-new-rice-variety-shortly/

‘เวียดนาม’ ตั้งเป้าเกษตรกร 5 ล้านครัวเรือน เชื่อมโยงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

นาย Pham Anh Tuan รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศและการสื่อสารของเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามพยายามจะเชื่อมโยงครัวเรือนเกษตรกรจำนวนกว่า 5 ล้านครัวเรือน ให้เข้าปรับมาใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในปีนี้ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและเป็นไฮไลท์ของแผนยุทธศาสตร์กระทรวงที่ได้อนุมัติเมื่อปลายเดือนก.ค. ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยฯ เรียกร้องให้หน่วยงานเกษตรและพัฒนาชนบท อุตสาหกรรมและการค้า เข้ามาร่วมมือกับบริษัทไปรษณีย์ 2 แห่ง ได้แก่ ‘Vietnam Post’ และ ‘Viettel Post’ เพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงเกษตรกรกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-aims-to-connect-5-million-farming-households-to-ecommerce-platforms/206400.vnp

กัมพูชานำเข้าสุกรลดลงอย่างมาก เนื่องจากเกษตรกรหันมาเพาะเลี้ยงเอง

กัมพูชานำเข้าเนื้อหมูลดลงเนื่องจากเกษตรกรในท้องถิ่นเริ่มเพาะเลี้ยงหมูมากขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในช่วงของการแพร่ระบาด โดยประธานสมาคมผู้เลี้ยงปศุสัตว์กัมพูชา กล่าวว่าการนำเข้าเนื้อหมูที่ลดลง เนื่องจากอุปทานในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันอุปทานสุกรในตลาดท้องถิ่นจากเกษตรกรและผู้เพาะพันธุ์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 85 ส่วนอีกร้อยละ 15 คือหมูที่ต้องทำการนำเข้า โดยปริมาณเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสุกรในประเทศมากขึ้น เนื่องจากผู้คนจำนวนมากตกงานในช่วงของการระบาดใหญ่ที่ได้หันไปเลี้ยงปศุสัตว์เป็นทางเลือก เนื่องจากราคาสุกรและสัตว์ชนิดอื่นๆ มีราคาสูงในปัจจุบัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50897550/pig-imports-fall-to-15-percent-of-demand-as-more-turn-to-farming/