ผู้บริหาร MRF หารือเรื่องการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้ขายในโครงการข้าวราคาประหยัด

สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) จัดการประชุมประสานงานการทำงานที่ Mingala Hall ของสหพันธ์หอการค้าและอุตสาหกรรมเมียนมา (UMFCCI) เพื่อกระตุ้นให้ผู้ขายเข้าร่วมโครงการราคาที่เอื้อมถึงได้ ซึ่งขายข้าวในราคาอ้างอิงเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม อย่างไรก็ดี การประชุมดังกล่าวเน้นย้ำถึงการประสานงานระหว่างโรงสีข้าว ผู้ค้า และผู้บริหารของสหพันธ์ข้าวเมียนมาเพื่อขายข้าวในราคาอ้างอิงในตลาดขายส่ง และการหารืออย่างต่อเนื่องเพื่อขายข้าวในราคาอ้างอิงในตลาดค้าปลีก นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับการจัดหาข้าว Ayeyawady Pawsan และ Shwebo Pawsan ให้เพียงพอในตลาดย่างกุ้ง เนปิดอว์ และมัณฑะเลย์ โดยมีการวัดและคุณภาพที่เหมาะสม การซื้อข้าวเปลือกในราคาพื้นฐานตามราคาข้าว การจัดประชุมประสานงานเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงทุกเดือนในสัปดาห์ที่สาม และการลงทะเบียนคลังสินค้าบน MyRO

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-executives-discuss-boosting-seller-participation-in-affordable-rice-scheme/#article-title

รายได้จากการส่งออกสินค้าเกษตรทะลุ 1.39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในไตรมาสแรก

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาระบุว่า การส่งออกสินค้าเกษตรของเมียนมามีมูลค่ารวม 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสแรกของปีงบประมาณปัจจุบัน 2024-2025 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน โดย ตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 843.6 ล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว โดยเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 549.426 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ เมียนมาดำเนินการค้าระหว่างประเทศผ่านช่องทางการค้าชายแดนและทางทะเล โดยส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูป ในขณะที่นำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภค เมียนมาส่งออกผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ แร่ธาตุ ผลิตภัณฑ์จากป่า และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปผ่านช่องทางการค้าทางทะเลและชายแดน ในขณะเดียวกันเมียนมายังนำเข้าสินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยวิสาหกิจ CMP และสินค้าอุปโภคบริโภคอีกด้วย อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินการตามกลยุทธ์การส่งออกแห่งชาติ (NES) 2020-2025 เพื่อกระตุ้นการส่งออก ภาคส่วนที่มีความสำคัญของ NES ได้แก่ การผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่า การผลิตและบริการดิจิทัล บริการด้านโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรมและภาคผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/agricultural-export-earnings-cross-us1-39-bln-in-q1/

ตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ขายแอปเปิลจีนดีกว่าแอปเปิลไทย เหตุจากราคาที่ต่างกัน

แอปเปิลนำเข้าจากจีนหรือที่เรียกว่า panlonethee ขายได้ดีในตลาดผลไม้มัณฑะเลย์ เมื่อเทียบกับแอปเปิลนำเข้าจากไทย เนื่องจากราคาต่างกันมาก เฉพาะผู้ที่มีกำลังซื้อเท่านั้นจึงจะสามารถบริโภคแอปเปิลจากไทยได้ และการค้าขายแอปเปิลจากจีนก็ดีขึ้นในปีที่แล้วเช่นกัน อย่างไรก็ดี แอปเปิลจีน มีการบริโภคสูงและมีราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ทุกชนชั้น นอกจากนี้ แอปเปิลไทย เนื่องจากมีราคาแพง จึงมีผู้ค้าเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถขายผลไม้นำเข้าจากไทยในเมืองมัณฑะเลย์ได้ และตลาดผลไม้ส่วนใหญ่พึ่งพาผลไม้นำเข้าจากจีนและผลไม้พันธุ์พื้นเมืองเป็นหลัก

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/chinese-apples-sell-better-than-thailand-apples-in-mandalay-fruits-market-due-to-price-gap/

ภูมิภาคพะโคจะปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์

รัฐบาลภูมิภาคพะโคได้กำหนดพื้นที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า 1,000 เอเคอร์ โดยบริษัท The Light House ซึ่งตั้งอยู่ในตำบล Yedashe อำเภอ Toungoo ภูมิภาคพะโค ที่ทำการรับซื้อเมล็ดกาแฟในท้องถิ่นและส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟที่มีมูลค่าเพิ่ม อย่าไรก็ดี ธุรกิจในกลุ่มผู้ประกอบการด้านป่าไม้จะเพิ่มรายได้ด้วยการปลูกกาแฟโรบัสต้า กาแฟของเมียนมาได้รับชื่อเสียงที่ดีในตลาดกาแฟโลกแล้ว และกำลังพยายามขยายการเพาะปลูกและการส่งออกให้เป็นพืชที่มีมูลค่าเพิ่มที่จำเป็น นอกจากนี้ ยังส่งผลให้รายได้จากต่างประเทศเพิ่มขึ้น จากการปลูกกาแฟโดยรักษาคุณภาพและความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้น และแสงแดด ความทนทานต่อสภาพอากาศและศัตรูพืช ซึ่งให้ผลผลิตถึง 2.82 ตันต่อเอเคอร์ ทั้งนี้ กาแฟโรบัสต้าพันธุ์ที่ปลูกในพื้นที่ราบซึ่งมีมูลค่าในตลาดโลกนั้นเหมาะสำหรับการปลูกในระดับความสูงไม่เกิน 2,500 ฟุตเหนือระดับน้ำทะเล และต้องการปริมาณน้ำฝนระหว่าง 60 ถึง 100 นิ้ว เมียนมาสามารถผลิตกาแฟได้ที่ประมาณ 7,000 ตันต่อปี โดยครึ่งหนึ่งของผลผลิตส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไทย และจีน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/bago-region-to-grow-1000-acres-of-robusta-coffee/

YRIC รับรอง 3 โครงการในประเทศ 4 โครงการต่างประเทศ

ในการประชุมครั้งล่าสุด 6/2567 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคย่างกุ้ง (YRIC) ไฟเขียวแก่วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งที่เป็นของพลเมืองเมียนมา และวิสาหกิจต่างชาติทั้งหมด 4 แห่ง โดยมีทุนจดทะเบียนประมาณ 4.845 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ 4.02 พันล้านจ๊าด อย่างไรก็ดี วิสาหกิจในประเทศ 3 แห่งจะอัดฉีดการลงทุนในภาคโรงแรม และในส่วนของวิสาหกิจต่างชาติทั้ง 4 แห่งจะมีการลงทุนในภาคการผลิตเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย เบาะรองนั่ง การทำผ้านวม และของเล่น โดยพื้นฐานการตัด การผลิต และบรรจุภัณฑ์ (CMP) การผลิตผ้ารองและการทำผ้านวมถูกกำหนดไว้เพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 80 และส่งออกร้อยละ 20 ธุรกิจเหล่านั้นจะสร้างงานมากกว่า 3,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/yric-endorses-3-domestic-projects-4-foreign-projects/

สมาพันธ์ข้าวเมียนมาขยายโครงการข้าวราคาถูกไปยังภูมิภาค/รัฐอื่นๆ

ตามประกาศของสหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน โครงการข้าวราคาไม่แพงของสหพันธ์ข้าวเมียนมาจะเข้าถึงภูมิภาคและรัฐต่างๆ มากขึ้น ปัจจุบัน MRF จำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta ในราคาที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ในภูมิภาค เนปิดอว์, ย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์, พะโค และ Ayeyawady โดยการประสานงานกับโรงสีข้าว ร้านขายข้าว และคลังน้ำมัน โดยโครงการราคาถูกครอบคลุมร้านค้า 58 แห่งในย่างกุ้ง 120 แห่งในมัณฑะเลย์ และ 96 แห่งในเนปิดอว์ ทั้งนี้ ยังมีบริการจัดส่งตรงถึงบ้านที่จะเริ่มในวันที่ 1 กรกฎาคม ในเมืองเนปิดอว์ ย่างกุ้ง และมัณฑะเลย์ อย่างไรก็ตาม สมาพันธ์ฯ จะจัดให้มีสถาบันทางสังคม ศาสนา หน่วยงานราชการ โรงงาน และร้านอาหาร รับซื้อข้าวในราคาที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน เป็นต้นไป ซุปเปอร์มาร์เก็ต มินิมาร์ท และศูนย์การค้า จะกลับมาเปิดจำหน่ายข้าวพันธุ์ Shwebo Pawsan, Ayeyawady Pawsan และ Aemahta แบบแพ็คบริโภค (ถุงเล็ก กล่อง ภาชนะ) ในราคาต่ำกว่าอัตราเดิม

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mrf-extends-affordable-rice-scheme-to-other-regions-states/