เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวในปี 2567 จากการท่องเที่ยวและการส่งออก

เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะเติบโต 2.4% ในปีนี้ และขยายตัว 3.2% ในปี 2567 อย่างไรก็ตาม หากคานึงถึงผลกระทบของโครงการกระเป๋าเงินดิจิทัล อัตราการเติบโตในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.8% ลดลงจากประมาณการก่อนหน้านี้ที่ 4.4% โดยได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว และการส่งออกที่ฟื้นตัว การบริโภคภายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาคบริการ ประกอบกับการจ้างงานและรายได้ที่ดีขึ้น ปัจจัยสาคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโต ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งในปี 2567 โดยคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาไม่ต่ากว่า 30 ล้านคน สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มการเติบโตในภาคการบริการ การขนส่ง และการค้าปลีก ภาคการส่งออกคาดว่าจะเติบโต 3.8% ในปี 2024โดยได้รับแรงหนุนจากการขยายตัวปานกลางในเศรษฐกิจโลกการฟื้นตัวของการส่งออกจะแข็งแกร่งเป็นพิเศษในภาคอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ และการบริโภคในประเทศคาดว่าจะยังคงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสาคัญในการเติบโตในปี 2024 การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะเติบโต 3.5% โดยได้แรงหนุนจากค่าจ้างและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การบริโภคของรัฐบาลก็คาดว่าจะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตในเชิงบวกเนื่องจากรัฐบาลยังคงลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานต่อไปแนวโน้มเงินเฟ้อ โดยรวมคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวปานกลางในปี 2567 แนวโน้มยังเป็นบวก แต่มีความเสี่ยงบางประการที่อาจส่งผลต่อการฟื้นตัวได้

ที่มา : https://www.nationthailand.com/more/commentary/40033896

เอกชน ลุ้นดิจิทัลวอลเล็ตเดินหน้าได้ดัน GDP

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2566 เติบโตได้น้อยกว่าที่คาด โดยในช่วง 9 เดือนแรกเติบโตได้เพียง ร้อยละ 1.9 ซึ่งการส่งออกยังชะลอตัวตามทิศทางประเทศเศรษฐกิจหลัก โดยเฉพาะจีน การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่หดตัวอย่างต่อเนื่องและชะลอการผลิตเพื่อเติมสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ รายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 28 ล้านคน แทนที่จะเป็นราว 30 ล้านคน การใช้จ่ายต่อหัวก็ลดลงเหลือเพียง 4.3 หมื่นบาท จากที่เคยประมาณการ 4.55 หมื่นบาท และเศรษฐกิจโลกปี 2567 มีแนวโน้มชะลอตัว จากภาวะการเงินที่ยังตึงตัวต่อเนื่อง ส่วนเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มเติบโตไม่ถึง ร้อยละ 5 เนื่องจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มขยายตัวได้ที่ ร้อยละ 2.8-3.3 และมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยจะโตได้น้อยกว่า ร้อยละ 3 เนื่องจากต้องเผชิญทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และปัจจัยความเปราะบางในประเทศ เช่น หนี้ครัวเรือน หนี้ของภาคธุรกิจโดยเฉพาะ SMEs รวมถึงผลกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อในระบบจากการเริ่มใช้มาตรการการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบของธปท.ที่เน้นเรื่องวินัยการไม่สร้างหนี้เกินกำลัง โดยมีปัจจัยบวกสำหรับปี 2567 ได้แก่ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คาดว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยว 33 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นอีก 5 ล้านคนจากปี 2566 ทั้งนี้ หากนโยบายดิจิทัลวอลเล็ตดำเนินการได้เต็มวงเงิน 5 แสนล้านบาท ประเมินว่าจะช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ได้อีกอย่างน้อย ร้อยละ 1.0-1.5

ที่มา INN News : https://www.innnews.co.th/news/politics/news_650643/

“เศรษฐา” ประกาศ ใส่เกียร์สูงดันเศรษฐกิจไทย ทวงคืนจุดหมายการลงทุนชั้นนำ

ณ โรงแรม St. Regis นครนิวยอร์ก สหรัฐฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวปาฐกถาในงานเลี้ยงอาหารค่ำ (Gala Dinner) โดยสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน (U.S.-ASEAN business Council: USABC) และหอการค้าสหรัฐฯ (U.S. Chamber of Commerce: USCC) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี โดยนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณสำหรับงานเลี้ยงที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ ถือเป็นวาระสำคัญอันหนึ่งของการเยือนต่างประเทศครั้งแรกในครั้งนี้ การเข้าร่วมงานของแขกทุกคนในวันนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสนใจ และความสำคัญที่ภาคเอกชนสหรัฐฯ มีต่อประเทศไทย หวังว่างานในวันนี้จะเป็นพื้นฐาน (platform) ในการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือใหม่ๆ ที่เชื่อมโยงประเทศและเศรษฐกิจของไทยและสหรัฐฯ ถือเป็นหุ้นส่วนธรรมชาติและมีผลประโยชน์ร่วมกัน (natural and mutually-beneficial partners) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจ ที่ในปีนี้ฉลองครบรอบ 190 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ การค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งแม้จะมีการแพร่ระบาดทั่วโลก ด้วยมูลค่ามากกว่า 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีผ่านมา ทำให้สหรัฐฯ กลับมาเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทยเป็นครั้งแรก ในรอบ 15 ปี ในขณะที่การผลักดันเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ “เกียร์สูง” (high gear) อาทิ นโยบาย digital wallet และ Blockchain เป็นต้น รวมถึงการบริโภคที่เพิ่มขึ้นควบคู่กับความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้น อาทิ การเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม เศรษฐกิจสีเขียว และการเปลี่ยนผ่านพลังงาน การสร้างไทยให้เป็นประเทศนวัตกรรม ที่ครอบคลุม และบูรณาการสำหรับลูกหลานในอนาคต (an “Innovative, Inclusive and Integrated (3Is) Thailand”) อาทิ การเปิดตลาดใหม่ เร่งเดินหน้าเจรจา FTA การสร้างกลไกใหม่แห่งการเติบโตแบบครอบคลุม และการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) ทั้งนี้ ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดำเนินการหลายอย่างเพื่อลดข้อจำกัด และข้อห่วงกังวล เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างบรรยากาศที่น่าดึงดูดสำหรับการลงทุนต่างประเทศ

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/politics/1089603

เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวต่อเนื่อง ศุลกากรแหลมฉบังเก็บภาษีครึ่งปีทะลุเป้ากว่า 172,028 ล้านบาท

นายประสิทธิ์ ดีจงเจริญ ผู้อำนวยการส่วนควบคุมทางศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง กรมศุลกากร เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง แถลงผลประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2565 ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ต่อปี โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องนั้น ทั้งนี้ จากความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มกลับมาดีขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจโดยรวมส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ 8 เดือนของปีงบฯ 66 (ต.ค.65 – พ.ค.66) ของสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง สามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 172,028.777 ล้านบาท โดยจัดเก็บเป็นอากรศุลกากร ค่าธรรมเนียมและรายได้เบ็ดเตล็ดรวม 35,069.377 ล้านบาท และจัดเก็บรายได้แทนหน่วยงานอื่นๆ (ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต ภาษีมหาดไทย) รวม 136,959.399 ล้านบาท

ที่มา : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230619142059049

ตลาด“CLMV”โตสวนศก.โลก

เศรษฐกิจไทยในปีนี้ได้รับแรงขับเคลื่อนที่ดีจาก “ภาคการท่องเที่ยว” ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าจะฟื้นตัวได้ดีกว่าคาดการณ์ ขณะเดียวกันการบริโภคภายในประเทศก็เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากมาตรการกระตุ้นจากภาครัฐ โดยเฉพาะช็อปดีมีคืน ส่วน “ภาคการส่งออก” เริ่มส่งสัญญาณแผ่วลง ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชะลอตัว

ทั้งนี้ หนึ่งในแนวทางเพื่อบรรเทาผลกระทบของภาคการส่งออกที่ชะลอตัวลงนั้น รัฐบาลให้ความสำคัญกับการมองหาตลาดส่งออกใหม่ โดยเฉพาะ “ตลาดเพื่อนบ้าน” เนื่องจากยังมีโอกาสและแนวโน้มการเติบโตที่ค่อนข้างสูง สอดคล้องกับมุมมองของ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ EIC ที่คาดว่าเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านอย่าง CLMV (กัมพูชา, สปป.ลาว, เมียนมาและเวียดนาม) ในปี 2566 จะขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น สวนกระแสเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แม้ว่าการเติบโตจะยังต่ำกว่าศักยภาพเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด-19 ก็ตาม

อีกทั้ง คาดว่าเศรษฐกิจ CLMV ในปีนี้ ขยายตัวแข็งแกร่งขึ้น แต่ยังต่ำกว่าศักยภาพการเติบโตในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 โดยมีอัตราการเติบโตที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรายประเทศ โดยประเมินว่าในปีนี้กัมพูชาจะขยายตัวได้ 5.5%, สปป.ลาว และเมียนมา ขยายตัวได้ 3% และเวียดนาม ขยายตัวได้ 6.2%

ที่มา : https://www.thaipost.net/columnist-people/327976/

กสิกรไทย คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโต 3.7% จับตาการค้าโลกไม่สดใสกดดันส่งออกไทยเสี่ยงโตต่ำคาด

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ของปี 2565 ที่ผ่านมา ขยายตัวต่ำกว่าคาดที่ 1.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ทั้งปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวเพียง 2.6% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าคาดการณ์ที่ 3.2% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตัวเลขการเติบโตจีดีพีของไทยในไตรมาส 4/2565 มีปัจจัยกดดันหลักมาจากส่งออกสินค้าที่หดตัวถึง -10.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามโมเมนตัมเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง

นอกจากนี้ การบริโภคภาครัฐก็หดตัวลง ขณะที่การลงทุนภาครัฐก็ขยายตัวต่ำกว่าคาด เนื่องจากการใช้จ่ายและลงทุนที่เกี่ยวข้องกับโควิดนั้นลดลงอย่างมาก

ด้านปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2565 การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้การส่งออกในภาคบริการนั้นขยายตัวในอัตราที่เร่งขึ้นที่ 94.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวก็ได้ส่งผลต่อเนื่องไปยังการจ้างงาน รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดีที่ 5.7% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในไตรมาส 4/2565 แม้จะชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวได้ถึง 9.1%

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ 3.7% ซึ่งสูงกว่าประมาณการของสภาพัฒน์ที่ 2.7-3.7% (ค่ากลางอยู่ที่ 3.2%) จากแรงหนุนของภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงจะเป็นขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยต่อเนื่องไปในปีนี้ แม้การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอาจกดดันการส่งออกไทยให้หดตัวเล็กน้อยในปีนี้

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/feature/2634206

เศรษฐกิจโตน้อยแต่จีดีพีเพิ่มมาก คลังคาดการณ์มูลค่าปีนี้ 18.67 ล้านล้านบาท

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้ประมาณการเติบโตเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดขยายตัว 3.8% และมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) รวมที่ 18.67 ล้านล้านบาท เติบโตมากกว่าปี 2565 ที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ 17.40 ล้านล้านบาท มีการขยายตัว 3% ลดลงจากที่คาดการณ์ที่ 3.2% ส่วนเศรษฐกิจไทยปี 2566 มีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.3-4.3% เป็นผลจากภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจต่อเนื่องฟื้นตัว ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ 27.5 ล้านคน เพิ่มขึ้น 147% ต่อปี ขณะที่ปริมาณการส่งออกสินค้าจะชะลอตัวลงตามสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยการส่งออกสินค้าในรูปเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ จะขยายตัว 0.4% ภายใต้ช่วงคาดการณ์ -0.1 -0.9%

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/finance/2614406

ลุ้นคลังขยับเป้าจีดีพีปี 2566 เพิ่มขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 1-16 ม.ค.ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบดูไบ เฉลี่ยอยู่ที่ 78 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับปีที่แล้ว เฉลี่ยอยู่ที่ 95.4 เหรียญ ดังนั้นในปีนี้อัตราเงินเฟ้อน่าจะลดลงและอยู่ในอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดไว้ในกรอบ 1-3% ขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง จะทบทวนคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2566 ใหม่ และจะประกาศอย่างเป็นทางการวันที่ 27 ม.ค.นี้ โดยคาดว่า สศค.จะปรับเป้าจีดีพีไทยปี 66 ขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าคาดการณ์เดิมไว้ว่าปี 65 จะขยายตัวได้ 3.4% และปี 66 คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.8% ส่วนเงินเฟ้อทั่วไปในปี 65 คาดว่าอยู่ที่ 6.2% และปี 66 อยู่ที่ 2.9% โดยปัจจัยบวกนอกจากเรื่องราคาน้ำมันดิบที่ลดลงแล้วคือ การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับอานิสงส์จากการเปิดประเทศ ของจีน ที่เปิดให้คนจีนออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศได้ ซึ่งก่อนหน้านี้การคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยในปีนี้ อยู่ที่ 21.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก ปี 65 ที่มีนักท่องเที่ยว 10 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวจากจีนประมาณ 2.8 ล้านคน ส่วนปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อคือเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันในการส่งออกสินค้าของไทย ซึ่งมูลค่าการส่งออกของไทยในปี 66 จะขยายตัว 2.5% เท่านั้น เนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว.

ที่มา: https://www.thairath.co.th/business/economics/2609673

Thai economic recovery เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างไร เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน ?

โดย วิชาญ กุลาตี ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC)

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3 เป็นอย่างไร?

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2022 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สี่ติดต่อกันที่ 4.5% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (%YOY) และนับเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 5 ไตรมาส ตามสถานการณ์การระบาดที่รุนแรงน้อยลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาดำเนินเป็นปกติมากขึ้น

โดยหากพิจารณาการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านการใช้จ่าย เศรษฐกิจไทยได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกภาคบริการ (การท่องเที่ยว) การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนเป็นหลัก ในขณะที่กิจกรรมทางด้านการผลิตพบว่า หลายภาคเศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดี นำโดยภาคอุตสาหกรรมที่กลับมาขยายตัวจากเดิมที่หดตัวในช่วงก่อนหน้า รวมถึงภาคบริการที่ฟื้นตัวต่อเนื่องตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นและการขยายตัวของการบริโภคภายในประเทศ (รูปที่ 1) เช่น โรงแรม ร้านอาหาร การขายและการส่งขายปลีก การขนส่ง เป็นต้น

graph01-thailand-economic-recovery.jpg

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 เกาะกลุ่มเพื่อนบ้านแบบรั้งท้าย

การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ปี 2022 ที่ 4.5% ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย (14.2%) เวียดนาม (13.7%) ฟิลิปปินส์ (7.6%) หรืออินโดนีเซีย (5.7%) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากปัจจัยฐานที่เศรษฐกิจแต่ละประเทศได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิดในไตรมาสที่ 3 ของปี 2021 ไม่เท่ากัน

หากหักปัจจัยฐานออกพบว่าเศรษฐกิจประเทศเพื่อนบ้านขยายตัวเกาะกลุ่มกัน โดยเศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 1.2%QOQ_sa (เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าแบบปรับฤดูกาล) ในขณะที่เศรษฐกิจของมาเลเซีย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ขยายตัว 1.9, 0.9, 2.9 และ 0.6%QOQ_sa ตามลำดับ สะท้อนถึงการฟื้นตัวที่สอดคล้องกันภายในกลุ่ม

แม้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 จะขยายตัวได้เกาะกลุ่มเพื่อนบ้าน แต่เมื่อพิจารณาการฟื้นตัวในภาพรวมพบว่า เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤติโควิดได้ช้าที่สุดในกลุ่ม โดยเศรษฐกิจของเวียดนามขยายตัวได้ต่อเนื่องและยังไม่เคยถดถอยลงไปอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติ สำหรับเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ แม้จะหดตัวลงแต่สามารถฟื้นตัวกลับไปเทียบเท่าก่อนวิกฤติได้แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจไทยยังอยู่ต่ำกว่าระดับก่อนเกิดวิกฤติในปี 2019 อยู่ราว 2.6% (GDP 4 ไตรมาสล่าสุดเทียบกับปี 2019)

สาเหตุที่เศรษฐกิจแต่ละประเทศในภูมิภาคฟื้นตัวได้รวดเร็วไม่เท่ากันมีหลายประการ เช่น เวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ รวมถึงมาเลเซียและฟิลิปปินส์ที่เป็นผู้ส่งออกแผงวรจรไฟฟ้าได้รับอานิสงส์จากความต้องการสินค้าเทคโนโลยีเพื่อรองรับกระแสการทำงานหรือเรียนที่บ้าน จึงทำให้การผลิตและการส่งออกสินค้าในกลุ่มดังกล่าวยังขยายตัวได้ดี

ด้านเศรษฐกิจของอินโดนีเซียได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความต้องการจากตลาดโลกสูงแม้จะมีการส่งออกสินค้าเทคโนโลยีน้อย สิงคโปร์สามารถฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างรวดเร็วจากการได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค ในขณะที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ช้าเนื่องจากพึ่งพาภาคการท่องเที่ยวสูง อีกทั้งมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ต่ำเมื่อเทียบกับ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย เมื่อการเดินทางระหว่างประเทศถูกควบคุมเข้มงวดจึงทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซบเซา ผู้ประกอบการและแรงงานขาดรายได้หรือมีรายได้ลดลงเป็นจำนวนมาก

graph02-thailand-economic-recovery.jpg

แล้วเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติได้เมื่อไร?

ในปีหน้าประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างไม่ทั่วถึง (Uneven) ภายใต้ความไม่แน่นอนสูง โดยภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการเดินทางท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นจากอุปสงค์คงค้าง (Pent-up demand) และการทยอยลดมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทั่วโลก ส่งผลให้ภาคบริการ โดยเฉพาะที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และการขนส่ง ปรับตัวดีขึ้น

อีกทั้ง การบริโภคภาคเอกชนที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานกลับมาเป็นปกติมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกที่เป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงโควิดมีแนวโน้มชะลอตัวลงมากตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวภายใต้ความไม่แน่นอนสูง อีกทั้งแรงส่งจากทางภาครัฐจะลดลงตามงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดมากขึ้นหลังจากเม็ดเงินกระตุ้นพิเศษภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงิน 1 ล้านล้าน และ 5 แสนล้าน ที่หมดลง

นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจากปัญหาทางภูมิรัฐศาสตร์ในโลกที่ยังเป็นประเด็นอยู่มาก เช่น สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ข้อพิพาทระหว่างจีน-ไต้หวัน นโยบาย Zero-COVID ของจีนที่อาจส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกและการผลิตของไทย รวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองจากการเลือกตั้งในปี 2023 ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคการผลิตและลงทุน

ในภาพรวม SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.2% ในปี 2022 และ 3.4% ในปี 2023 เร่งตัวขึ้นจาก 1.5% ในปี 2021 (เทียบกับ Asia Pacific Consensus ที่ 3.2% ในปี 2022 และ 3.6% ในปี 2023) ซึ่งยังคงเติบโตรั้งท้ายเพื่อนบ้านในปี 2022 และเกือบรั้งท้ายในปี 2023 รองจากสิงค์โปร์ที่ 2% SCB EIC ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติได้ในช่วงกลางปี 2023 และจะกลับสู่แนวโน้มระดับศักยภาพการเติบโตเศรษฐกิจเดิม (Potential GDP) ได้ภายในสิ้นปี 2024

graph03-thailand-economic-recovery.jpg

บทสรุปข้อเท็จจริงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

  1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ของปี 2022 ขยายตัวได้ดีเกาะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน
  2. ไทยเป็นประเทศเดียวในกลุ่มที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤติในปี 2019 ได้
  3. เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่โตช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นสิงคโปร์ที่เป็นเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว เนื่องจากแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก จะมีเพียงภาคการท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ตามด้วยการบริโภคภาคเอกชนที่ยังมีหนี้ครัวเรือนไทยสูงเป็นปัจจัยกดดันอยู่ แนวโน้มเศรษฐกิจไทยจะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤติโควิดได้ในช่วงกลางปี 2023 และจะกลับสู่แนวโน้มการเติบโตเดิมได้ภายในสิ้นปี 2024  และ
  4. ภาครัฐควรเร่งผลักดันการลงทุนในประเทศและดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนจากต่างชาติพร้อมกระแส Deglobalization รวมถึงเร่งสนับสนุนการปรับตัวของธุรกิจเอกชนตามเทรนด์ดิจิทัลและความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมในโลก โดยเฉพาะการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการลงทุน จ้างงาน การผลิต และการส่งออก เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติมในระยะต่อไป

ที่มา : https://www.scbeic.com/th/detail/product/8764

ซิตี้แบงก์ มองเศรษฐกิจไทยรับอานิสงส์จีนเปิดประเทศ ปีนี้ขยายตัว 4.3%

นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารซิตี้แบงก์ได้คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยอยู่ที่ราว 25.5 ล้านคน โดยคิดเป็นนักท่องเที่ยวจีนราว 3.9 ล้านคน (หรือร้อยละ 35 ของนักท่องเที่ยวจีนปี 2562) อันเป็นผลจากการที่ประเทศจีนเปิดประเทศเร็วกว่าความคาดหมาย ทำให้มีนักเดินทางชาวจีนเดินทางเข้าประเทศเกินกว่าการประมาณการไว้ในเบื้องต้น 1.7 ล้านคน (หรือร้อยละ 15 ของปี 2562) อย่างไรก็ตาม ด้านยอดการใช้จ่ายต่อคนของนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มลดลงกลับคืนสู่ระดับใกล้เคียงปี 2562 หรือ 1,562 ดอลลาร์สหรัฐ หลังข้อมูลล่าสุดชี้ว่ากำลังการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวได้ลดลงต่ำกว่าในปี 2563 (ที่ 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ) และ 2564 (ที่ราว 12,000 ดอลลาร์สหรัฐ) หรือในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่จะต้องมาระยะยาวหรือเป็นการเดินทางเพื่อเจรจาธุรกิจมากกว่าการมาพักผ่อนระยะสั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ซิตี้แบงก์จึงได้ปรับการคาดการณ์ดุลบัญชีเงินสะพัดของปี 2565 มาอยู่ที่ -3.3% ของ GDP จากเดิมที่ -1.6% รวมถึงปรับลดดุลบัญชีสะพัดปี 2566 ที่น่าจะกลับมาเกินดุล มาอยู่ที่ 2.4% ของ GDP ในปี 2566 จากเดิมที่ 3.8% (โดยใช้ประมาณการค่าใช้จ่ายต่อหัวที่ 1,590 ดอลลาร์สหรัฐ)

ที่มา : https://www.prachachat.net/finance/news-1174004