จีน-เมียนมา ร่วมส่งเสริมการค้าและเศรษฐกิจในยุคหลัง COVID-19

เมื่อวันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา นายหลี่ เฉินหยาง อธิบดีกรมพาณิชย์มณฑลยูนนานของจีนได้เข้าพบและหารือกับ นาย ออง เนียง อู รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ของเมียนมาเกี่ยวกับการเปิดชายแดนและนโยบายส่งเสริมการค้า ความร่วมมือทางการเงิน และความร่วมมือด้านการเกษตรของทั้งสองประเทศ ต่อมาวันพุธที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 นายหลี่ เฉินหยาง ยังได้เข้าพบกับ นาย ยู เอ วิน ประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งเมียนมา (UMFCCI) เพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาภาคธุรกิจเอกชนของเมียนมาและมณฑลยูนนาน ทั้งนี้ หลังสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย เมียนมาพยายามเพิ่มการส่งออกไปยังจีนโดยเฉพาะมณฑลยูนนานให้มากขึ้นเพื่อให้การค้าระหว่างประเทศกลับมาฟื้นตัวได้อีกครั้ง

ที่มา: https://english.news.cn/asiapacific/20230216/d51ad3ab59524454966ad689bf9eb78e/c.html

คาดเศรษฐกิจกัมพูชาเติบโตแม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19

แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลก รวมถึงกัมพูชาจะยังคงอยู่ในความไม่แน่นอน ในขณะเดียวกันทางการกลับประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง กล่าวโดย Ky Sereyvath นักเศรษฐศาสตร์และผู้อำนวยการของ Chinese Academy of Sciences of the Royal Academy of Cambodia ในขณะที่ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) คาดการณ์ว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ประมาณร้อย 6 ในปี 2023 โดยนักเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 6 ประการ ได้แก่ ปัจจัยทางการเมืองในประเทศ การกลับมาของการท่องเที่ยว การจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชน ปัจจัยนโยบายการคลังของรัฐ และปัจจัยด้านสถานการณ์ค่าเงินเรียลเทียบกับดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501221877/cambodias-economy-to-grow-despite-volatility-of-covid-19/

‘ทองลุน สีสุลิด’ ประธานประเทศลาว ให้แรงบันดาลใจคนทั้งประเทศ ฟันฝ่าความท้าทาย

นายทองลุน สีสุลิด ประธานประเทศลาว กล่าวสุนทรพจน์ปีใหม่ผ่านสื่อตามช่องทางต่างๆ และกระตุ้นให้ประชาชนทั้งประเทศรวมพลังและสามัคคีกัน เพื่อให้สปป.ลาวก้าวข้ามอุปสรรคหรือความท้าทายในปี 2566 และยังได้เน้นย้ำถึงความสำเร็จของลาวในปี 2565 ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะตกต่ำก็ตาม โดยทั้งปี 2565 สปป.ลาวเผชิญกับความยากลำบากและความท้าทายหลายประการ โดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงสถานะทางเศรษฐกิจและการเงินที่เผชิญกับความรุนแรง แต่ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทั้งพรรค รัฐบาลและสังคม ตลอดจนความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ทำให้สปป.ลาว สามารถจัดการกับความท้าทายเหล่านั้นได้ในระดับหนึ่ง และป้องกันไม่ให้ประเทศผิดนัดชำระหนี้ได้

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten01_President_y23.php

รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ก้าวสู่ปีที่ 2 .. เตรียมรับอานิสงส์จีนผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

รถไฟฟ้าความเร็วสูงจีน-สปป.ลาวก้าวเข้าสู่ปีที่ 2 การขนส่งสินค้าระหว่างจีนตอนใต้กับอาเซียนน่ามีพัฒนาการคึกคักขึ้นอีก ประกอบกับสัญญาณบวกของทางการจีนในการทยอยผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ที่คาดว่าน่าจะได้เห็นการเปิดประเทศของจีนในปี 2566 จะยิ่งส่งผลบวกต่อการค้าและการท่องเที่ยวตลอดเส้นทาง

ในช่วงปีที่ผ่านมาเส้นทางนี้มีความสะดวกที่เอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศ ด้วยความร่วมมือของภาครัฐระหว่างประเทศทำให้มีความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าข้ามแดนในการตรวจปล่อยสินค้า พื้นที่รองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้าระหว่างประเทศ พร้อมทั้งแผนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพิ่มอีกแห่งเพื่อรองรับการขนส่งด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในฝั่งของไทยในอนาคต ขณะที่ในฝั่งของภาคภาคเอกชนได้เข้ามาเป็นตัวกลางให้บริการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบการ SMEs ทำให้การค้าด้วยรถไฟสะดวกมากขึ้น

การท่องเที่ยวด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูงปี 2566 ได้อานิสงส์จากการผ่อนคลายมาตรการโควิดเป็นศูนย์ของทางการจีนที่อาจจะได้เห็นการเปิดประเทศในช่วงไตรมาส 2 ปี 2566 หากนักท่องเที่ยวจีนสามารถทยอยออกมาได้จะสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่การท่องเที่ยว สปป.ลาวคิดเป็นไม่น้อยกว่า 0.1%-0.4% ของ GDP ทั้งนี้ ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2565 มีนักท่องเที่ยวมาเยือนหลวงพระบางโดยรถไฟฟ้าความเร็วสูง 335,794 คน (คิดเป็น 85% ของนักท่องเที่ยวที่มาหลวงพระบาง ซึ่งอีก 15% เดินทางมาเที่ยวด้วยเครื่องบิน) โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวไทยและชาวสปป.ลาว อย่างไรก็ดี นับจากรถไฟความเร็วสูงเปิดใช้งานก็ได้รับความนิยมจากการเป็นเส้นทางใหม่ที่รวดเร็วกว่ารถยนต์และประหยัดกว่าการเดินทางโดยเครื่องบิน ซึ่งการเปิดประเทศของจีนอาจทำให้การท่องเที่ยว สปป.ลาว กลับมาใกล้เคียงก่อนเกิดโควิด-19 ซึ่งในเวลานั้นจีนเป็นนักท่องเที่ยวลำดับที่ 2 มีนักท่องเที่ยวประมาณ 1 ล้านคน และหลวงพระบางก็เป็นหนึ่งในปลายทางที่สำคัญ

ความรวดเร็วและต้นทุนการขนส่งที่ลดลงกว่า 30% หนุนให้การค้าผ่านรถไฟฟ้าความเร็วสูงทยอยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการขนส่งสินค้าตลอดเส้นทางในช่วงที่ผ่านมามีปริมาณ 2 ล้านตัน ขนส่งผู้โดยสารรวม 1.26 ล้านคน เป็นสินค้า สปป.ลาว ส่งไปจีน ได้แก่ ยางพารา ข้าวบาร์เลย์ มันสำปะหลัง กาแฟ แร่ ปุ๋ย และสินค้าจากจีน ได้แก่ เครื่องจักร ยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ และของใช้ประจำวัน นอกจากนี้ นักธุรกิจไทยกับจีนก็หันมาใช้เส้นทางนี้มากขึ้นจากในอดีตไม่ได้รับความนิยมนักเพราะการขนส่งทางถนนมีความล่าช้าจากความคดเคี้ยวสูงชันของภูมิประเทศ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2565 มูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 1.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 5.3% ของการค้ารวมผ่านแดนไปจีน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจีนเข้ามาทำตลาดในไทย 1.1 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วยสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โซลาเซลล์ และผลไม้ และการส่งสินค้าผลไม้และวงจรไฟฟ้าจากไทยไปจีน 1.5 พันล้านบาท

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าพัฒนาการขนส่งระหว่างจีนกับอาเซียนมีหลายทางเลือกในการทำตลาดมากขึ้น ซึ่งทุกเส้นทางขนส่งเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะจีน-สปป.ลาว-ไทย ที่มีการเชื่อมโยงทางถนนถนนในปัจจุบัน 4 เส้นทาง ได้แก่ 1) รถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว  2) สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 4 เชื่อมตรงสู่ตลาดมณฑลหยุนหนานผ่านด่านเชียงของ จ.เชียงราย-แขวงบ่อแก้ว  3) เส้นทางขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 2 จ.มุกดาหาร-แขวงสะหวันนะเขต  และ 4) การขนส่งผ่านสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 3 ผ่าน จ.นครพนม-แขวงคำม่วน  และกำลังเตรียมเปิดเส้นทางขนส่งช่องทางที่ 5) ที่อยู่ระหว่างก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงหรือสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว แห่งที่ 5 เชื่อม จ.บึงกาฬ-แขวงบอลิคำไซ คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จพร้อมใช้งานในปี 2567

นอกจากนี้ ในการประชุม APEC 2022 ที่ผ่านมา การมาร่วมประชุมของประธานาธิบดีสี จิ้นผิงได้เน้นย้ำความร่วมมือในการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในฝั่งไทยที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง เพื่อให้เส้นทางนี้สามารถเปิดดำเนินงานได้ตามแผนภายในปี 2571 ซึ่งจะยิ่งทำให้การขนส่งตลอดเส้นทางสมบูรณ์ไร้รอยต่อ เป็นอีกช่องทางที่จีนตอนใต้และ สปป.ลาว สามารถใช้เป็นช่องทางเชื่อมต่อกับเส้นทางขนส่งทางทะเลที่อ่าวไทยได้อีกทางหนึ่ง ถ้าหากเส้นทางในฝั่งไทยสร้างเสร็จ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าทางรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว-ไทย จะลดต้นทุนค่าขนส่งลงอีกโดยเฉพาะการช่วยประหยัดเวลาขนส่งตลอดเส้นทางได้มากกว่า 70%

ที่มา : https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/economy/Pages/Railway-CH-Lao-2022-12-29.aspx

‘เวียดนาม’ ดึงดูดเม็ดเงินลงทุน FDI ทะลุ 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำนักงานส่งเสริมการลงทุนต่างประเทศ (FIA) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) สูงถึง 25.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่หดตัว 5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยเงินทุนจดทะเบียนใหม่ 11.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีการซื้อหุ้นในธุรกิจเวียดนามด้วยมูลค่า 4.08 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัว 18% และ 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามลำดับ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ทุนจดทะเบียนปรับตัวลดลง เนื่องจากมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเข็มงวดในช่วงต้นปีนี้ และสถานการณ์ทั่วโลกที่มีความไม่แน่นอน

อย่างไรก็ตาม โครงการขนาดใหญ่หลายโครงการได้มีการเพิ่มเงินลงทุนสูงขึ้นในช่วง 10 เดือนแรก อาทิเช่น บริษัท ซัมซุง อิเลคทรอ-เมคานิคส์ มีการเพิ่มเงินทุนจำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 920 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ 267 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1399796/viet-nam-lures-over-25-billion-in-foreign-investment-in-11-months.html

“เวียดนาม” อาจไม่ทะลุเป้ายอดนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 ล้านคนในปี 65

นาย Nguyễn Trùng Khánh ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวเวียดนาม (VNAT) เปิดเผยว่าในเดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาประเทศเวียดนาม จำนวน 954,600 คน เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่ยังหดตัว 90.3% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว 15% ของแผนทั้งปี และได้ตั้งเป้าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเวียดนามประมาณ 5 ล้านคน ทั้งนี้ นาย Hoang Nhan Chinh หัวหน้าของคณะกรรมการที่ปรึกษาการท่องเที่ยว (TAB) กล่าวกับสำนักข่าว Vietnamnet ว่าในเดือนพ.ค. เวียดนามจำเป็นต้องเปิดรับนักท่องเที่ยวกว่า 650,000 คนต่อเดือนในช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายของจำนวนนักท่องเที่ยวประจำปี อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องยากมากที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้

ที่มา : https://vietnamnet.vn/en/vietnam-may-not-reach-goal-of-5-million-int-l-visitors-in-2022-2066185.html

หอการค้าเชียงรายวอนรัฐพื้นฟูค้าชายแดน-ท่องเที่ยว

นางสาวผกายมาศ เวียร์ร่า รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย และประธานหอการค้าแม่สาย เปิดเผยว่า ปัจจุบันอำเภอแม่สาย เป็นอำเภอชายแดนเดียวของจังหวัดเชียงราย ที่ยังไม่ได้เปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 1 โดยจุดผ่านแดนถาวรสะพานข้ามแม่น้ำสายแห่งที่ 2 แม้จะเปิดให้ขนส่งสินค้า แต่บุคคลข้ามไม่ได้ ซึ่งการขนส่งสินค้ายังต้องไปแล้วกลับภายในวันเดียว โดยปกติจังหวัดเชียงรายมูลการค้าการค้าชายแดน ทั้ง 3 ด่านชายแดนคือ อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ และอำเภอเชียงแสน  ปีละประมาณ 70,000-80,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้มูลค่าการค้าส่งออกสินค้าหายไปกว่าร้อยละ 80 เนื่องจากด่านชายแดนของจีนปิด ตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ที่มา : https://www.nationtv.tv/news/region/378883182

สื่อดังเยอรมัน ยกย่องเศรษฐกิจเวียดนามฟื้นตัวแข็งแกร่ง

หนังสือพิมพ์สัญชาติเยอรมัน “Junge Welt” เผยแพร่ข่าวที่เป็นประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับการกลับมาฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจเวียดนาม หลังจากใข้ระยะเวลากว่า 2 ปี ในการรับมือการแพร่ระบาดของโควิด-19

ทางฝั่งบทความของนาย Gerhard Feldbauer รายงานว่าในขณะที่เศรษฐกิจจากประเทศตะวันตก เริ่มแสดงสัญญาณของภาวะถดถอย แต่เศรษฐกิจเวียดนามกำลังอยู่ในช่วงเร่งฟื้นตัวอย่างเต็มที่ และยังได้อ้างข้อมูลที่รวบรวมมาจากสำนักงานสถิติแห่งชาติของเวียดนาม (GSO) ระบุว่าเมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 85% มองทิศทางเศรษฐกิจอยู่ในเชิงบวกในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตอุตสาหกรรม 6,500 ราย และธุรกิจก่อสร้าง 6,800 รายที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักของการสำรวจครั้งนี้ ตลอดจนราว 20% จะจ้างแรงงานมากขึ้นในไตรมาส 3

นอกจากนี้ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (HSBC) ยังได้รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจเติบโตเร็วที่สุดในภูมิภาคภายในระยะเวลา 2 ปีติดต่อกันนับตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของโควิด-19

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/junge-welt-hails-strong-vietnamese-economic-recovery-post960574.vov

‘ลาว-อาเซียน’ หารือแนวทางดึงดูด ‘นักท่องเที่ยว’ มากขึ้น

หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ ไทมส์ รายงานว่าทางการลาวกำลังเจรจากับกลุ่มประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียนอื่นๆ เพื่อแบ่งปันแนวคิดในวิธีการดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นและทำให้พวกเขารู้สึกได้รับการต้อนรับ ทั้งกำหนดแผนการมุ่งรับรองสุขภาพและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว ขณะโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ยังระบาดต่อเนื่อง ประเด็นเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญในวาระการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 56 ซึ่งจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ที่นครหลวงเวียงจันทน์ของลาว ระหว่างวันอังคารถึงวันพุธ (5-6 ก.ค.) โดยมีคม ดวงจันทา อธิบดีกรมการตลาดการท่องเที่ยว สังกัดกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาวเป็นประธาน อนึ่ง ลาวรายงานจำนวนนักท่องเที่ยวในประเทศที่เดินทางภายในลาว ราว 626,825 คน และรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติ 35,980 คน ในไตรมาสแรกของปี 2022 โดยมีการคาดการณ์ว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงที่เหลือของปีนี้

ที่มา : https://www.opt-news.com/news/27327

Q1 การขนส่งผู้โดยสารทางอากาศในกัมพูชา เพิ่มขึ้นถึง 244%

จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังกัมพูชาทางอากาศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก หลังจากที่รัฐบาลกัมพูชาได้ยกเลิกข้อจำกัดด้านการป้องกันโควิด-19 สำหรับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา กล่าวว่า สนามบินนานาชาติ 3 แห่ง ของกัมพูชารองรับผู้โดยสาร 131,864 คน ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายนปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 243.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญรองรับนักท่องเที่ยวมากที่สุดจำนวน 113,406 คน เพิ่มขึ้น 261.5% ขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐและท่าอากาศยานนานาชาติกงเก็ง (สีหนุ) รองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 15,171 และ 3,287 คนตามลำดับ โดยในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดกัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากถึง 6.6 ล้านคน ในปี 2019 สร้างรายได้รวม 4.92 พันล้านดอลลาร์ ในขณะเดียวกัน Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว กล่าวเสริมว่า ในปี 2022 กัมพูชาตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างน้อย 800,000 ถึง 1 ล้านคน ภายใต้กรอบกลยุทธ์ของรัฐบาลในการควบคุมสถานการณ์โควิด-19

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501089249/intl-air-tourists-to-cambodia-surge-244-percent-q1/