เวียดนาม-นิวซีแลนด์ ตั้งเป้าการค้า 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2563

สำนักงานการค้าเวียดนามในนิวซีแลนด์ เปิดเผยว่าในปัจจุบัน เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับที่ 16 ของนิวซีแลนด์และมูลค่าการค้าสองฝ่ายเพิ่มขึ้น 3 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากทั้งสองประเทศได้เข้าร่วมความตกลงพันธมิตรทางการค้า จากปี 2552 มูลค่า 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนถึงปี 2561 มาอยู่ที่มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้น 1.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 เป็นผลมาจากทั้งสองประเทศส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและยังเป็นสมาชิก “CPTPP” ทั้งนี้ เศรษฐกิจของเวียดนามและนิวซีแลนด์มีการส่งเสริมซึ่งกันและกันในหลายๆด้าน นิวซีแลนด์เป็นตลาดส่งออกสำคัญและมีศักยภาพของเวียดนาม อาทิ สินค้าเกษตร อาหารทะเล กาแฟ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องนุ่งห่มและวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ เดือนก.พ. 2563 นิวซีแลนด์มีโครงลงทุนโดยตรงในเวียดนามจำนวน 41 โครงการ คิดเป็นมูลค่าจดทะเบียนรวม 209.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกัน เวียดนามมีโครงการลงทุนโดยตรงในนิวซีแลนด์จำนวน 10 โครงการ คิดเป็นมูลค่าจดทะเบียนรวม 32.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมุ่งเน้นไปยังภาคอุตสาหกรรมการแปรรูป การผลิต การค้าปลีกและบริการซ่อมแซมยานยนต์

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/vietnam-and-new-zealand-target-usd-17-billion-of-trade-value-in-2020-21563.html

ศักยภาพการส่งออกกุ้งของเวียดนามในตลาดแคนาดา

จากข้อมูลของสมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) เปิดเผยว่าในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ มูลค่าการส่งออกกุ้งของเวียดนามไปยังแคนาดา อยู่ที่ 49.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ซึ่งในเดือนเม.ย. ชี้ให้เห็นว่ายอดส่งออกกุ้งไปยังตลาดดังกล่าว พุ่งสูงขึ้นร้อยละ 51 คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 13 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ แคนาดานิยมบริโภคกุ้งก้าวกรามที่มาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผลมาจากปริมาณกุ้งแช่เย็นลดลง อย่างไรก็ตาม ผลการสำรวจล่าสุด ชี้ให้เห็นว่าแคนาดามีสัดส่วนการนำเข้ากุ้งครึ่งหนึ่งของปริมาณอาหารทะเลทั้งหมดและมีแนวโน้มในการซื้อกุ้งเพื่อนำมาประกอบอาหารในครัวเรือนแคนาดา นอกจากนี้ เวียดนามเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายใหญ่อันดับที่ 2 ของแคนาดา สำหรับด้านราคาส่งออก พบว่าราคาส่งออกกุ้งของเวียดนามสูงกว่าเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ในขณะเดียวกัน รัฐบาลเวียดนามมีความต้องการสูงสำหรับตลาดหลากหลายประเทศและลดการนำเข้าจากสหรัฐฯ

ที่มา : https://customsnews.vn/potential-of-exporting-shrimp-to-canada-14931.html

ธนาคารในเมียนมาผ่อนปรนนโยบายการชำระหนี้เพื่อช่วยลูกค้า

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) อนุญาตให้ธนาคารในประเทศปรับโครงสร้างและกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายในประเทศ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งCBM คาดว่าผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะรุนแรงที่สุด โดยธุรกิจที่มีประวัติการชำระหนี้ดีสามารถเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ได้ KBZ Bank เป็นหนึ่งในธนาคารในประเทศที่เปิดตัวโครงการช่วยเหลือผู้กู้ ได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยลูกค้าสามารถยื่นขอขยายเวลาเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารจะชะลอการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยออกไป 6 เดือน ธนาคารอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร Yoma, CB Bank และ uab Bank ได้เปิดตัวโครงการที่คล้ายกันคือเลื่อนการชำระคืนเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/banks-myanmar-ease-repayment-policy-help-clients.html

ค่าแรงขั้นต่ำเมียนมาเริ่มบังคับใช้พฤศจิกายนนี้

ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน จากรายงานในวันที่ 18 มิถุนายนของสมาชิกของคณะกรรมการระดับชาติ สมาพันธ์สหภาพแรงงานในเมียนมาและสหพันธ์แรงงานอาคารและไม้แห่งเมียนมากล่าวว่าภูมิภาคและรัฐส่วนใหญ่ในประเทศได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 กำหนดให้มีการทบทวนค่าจ้างพื้นฐานทุก ๆ สองปี การปรับปรุงล่าสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 4,800 จัต ซึ่งการกำหนดค่าจ้างใหม่ควรจะตั้งถูกกำหนดในเดือนพฤษภาคม แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการคัดค้านภายใน 60 วัน อัตรานั้นจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-myanmar-daily-minimum-wage-likely-november.html

การส่งออกสินค้าเกษตรช่วงการระบาดของโควิด-19

มาตรการระงับการส่งออกข้าวในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 ของไทยและหลายประเทศ เพื่อป้องกันวิกฤติขาดแคลนข้าวนั้นเป็นมาตรการที่จำเป็นจริงหรือ เมื่อปริมาณข้าวยังเพียงพอต่อการบริโภคภายใน และการระงับการส่งออกข้าวก็อาจทำให้เกิดการขาดแคลนอาหารในอีกหลายประเทศได้ในส่วนที่เกี่ยวกับการส่งออกข้าวที่เป็นอาหารหลักของประชากรเกือบครึ่งโลก ทาง FAO ก็กังวลว่าผลจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 อาจเกิดวิกฤติขาดแคลนข้าว และทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นและจะมีผลกระทบต่อประชากรที่ยากจนที่พึ่งข้าวเป็นอาหารหลัก เนื่องจากอาจมีประเทศส่งออกข้าวบางประเทศห้ามหรือจำกัดการส่งออกข้าวเพื่อสำรองไว้บริโภคในประเทศซึ่งปรากฏว่าเมื่อเดือน มี.ค.2563 เวียดนามได้ประกาศระงับการส่งออกข้าว เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหารภายในประเทศ เช่นเดียวกับประเทศกัมพูชาก็มีแผนการระงับการส่งออกข้าวไว้เพื่อความมั่นคงด้านอาหารในประเทศเช่นกัน ต่อมาในเดือน เม.ย.2563 เวียดนามได้ประกาศส่งออกข้าวตามปกติ ส่วนกัมพูชาก็มิได้มีการระงับการส่งออกข้าวตามแผนที่กำหนดไว้ ทำให้ข้อวิตกการขาดแคลนข้าวลดลง

ที่มา:https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/885541?utm_source=category&utm_medium=internal_referral&utm_campaign=economic

เวียดนามได้รับสัญญาเชิงบวกจากการส่งออกลิ้นจี่สดไปยังจีน ผ่านชายแดน

ปริมาณการส่งออกลิ้นจี่สดของเวียดนามไปยังประเทศจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ผ่านด่านชายแดนเตินแท็งห์ (Tan Thanh) จ.หลั่นเซิน (Lang Son) ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา นับว่าเป็นสัญญาเชิงบวกแก่ผู้ประกอบการและชาวเกษตรกร เป็นต้น จ.หลั่นเซิน ชี้ว่าจำนวนยานพาหนะขนส่งลิ้นจี่สดเพิ่มขึ้นถึง 6 เท่า ผ่านด่านชานแดนเตินแท็งห์ เมื่อเทียบกับช่วงเริ่มต้นฤดูเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ ข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากร ระบุว่าปริมาณส่งออกลิ้นจี่สดไปยังประเทศจีน อยู่ที่ 13,500 ตัน ตั้งแต่ช่วงต้นฤดูเก็บเกี่ยว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ในปัจจุบันหน่วยงานรัฐบาลได้วางมาตรฐานสำหรับการเพาะปลูกลิ้นจี่แก่คู่ค้าชาวจีน เพื่อที่จะป้องกันการแพร่ระบาคของไวรัสโควิด-19 และให้สอดคล้องกับกฎระเบียบในปัจจุบัน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/positive-signs-for-fresh-lychee-exports-to-china-via-border-gates-415044.vov

ธุรกิจเวียดนาม 8 ราย ได้รับอนุญาตนำเข้าสุกรจากไทย

จากรายงานของกรมอนามัยสัตว์เวียดนาม ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เปิดเผยว่ามีผู้ประกอบการเวียดนาม 8 รายที่ได้รับอนุญาติในการนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทย จำนวนมากกว่า 1.9 ล้านตัว ซึ่งปัจจุบัน มีธุรกิจรายหนึ่งได้ทำการกักกันสุกรที่นำเข้าจากไทย เพื่อเตรียมเชือดเป็นอาหาร อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านั้น ทางกระทรวงอนุญาตให้สามารถนำเข้าสุกรมีชีวิตจากประเทศไทยได้ เพื่อที่จะเพาะพันธุ์และเชือดเป็นอาหาร ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. นอกจากนี้ กรมอนามัยสัตว์ได้ออกแนวทางเกี่ยวกับมาตรการ/กฎระเบียบสุขอนามัยของการนำเข้าสุกร เพื่อป้องกันการแพร่ระบาคของโรคระบาดสัตว์และสร้างความมั่นใจถึงสถานะของฝูงสัตว์ในประเทศ นับว่าเป็นครั้งแรกที่เวียดนามอนุญาติให้มีการนำเข้าสุกรมีชีวิต

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/eight-vietnamese-businesses-eligible-to-import-pigs-from-thailand-415032.vov

ศักยภาพเมียนมาด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19

เนื่องจากเมียนมามาเป็นประเทศเกษตรกรรมจึงมีความเป็นไปได้ที่จะตอบสนองความต้องการด้านอาหารของโลกหลังยุค COVID-19  จากการประชุมทางวิดีโอกับนางอองซานซูจีที่ปรึกษาของรัฐ นาย Sett Aung ผู้กำหนดแผนบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังการวางแผนและอุตสาหกรรมและประธาน หอการค้าเมียนมา (UMFCCI)  ซึ่งเมียนมาเป็นประเทศที่มีความพอเพียงด้านอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเป็นผู้ส่งออกโดยใช้เทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ โดย 70% ของประชากรอยู่ในพื้นที่ชนบทเศรษฐกิจหลักคือการเกษตร ดังนั้นจึงมีนโยบายในการพัฒนาภาคเกษตรที่ครอบคลุมวิสัยทัศน์ในอนาคต

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/myanmar-has-the-potential-to-supply-world-food-requirement-after-covid-19-union-minister