MIC ไฟเขียวให้ 14 องค์กรลงทุนในเขตมัณฑะเลย์ในปี 2566

ดร. มิน ซอ อู ผู้อำนวยการคณะกรรมการการลงทุนและการบริหารบริษัท (เขตมัณฑะเลย์) ) กล่าวว่า คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (MIC) ไฟเขียวให้รัฐวิสาหกิจในประเทศทั้งหมด 13 แห่งที่พลเมืองเมียนมาร์ลงทุน และโครงการจากต่างประเทศ 1 โครงการในปี 2566 โดยองค์กรทั้ง 14 แห่งนี้จะสร้างรายได้ 1.7 แสนล้านจ๊าด และ 0.858 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งมีการจ้างแรงงานเมียนมาร์มากกว่า 650 คน และลูกจ้างชาวต่างชาติ 11 คน ทั้งนี้ เมื่อปีที่แล้ว คณะกรรมการการลงทุนภูมิภาคมัณฑะเลย์ (MRIC) ได้มีการรับรองธุรกิจในประเทศแล้ว 9 แห่ง และวิสาหกิจต่างประเทศ 1 แห่ง อย่างไรก็ตาม โครงการที่ได้รับอนุมัติและรับรองเหล่านั้นมีเป้าหมายที่จะอัดฉีดการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป การจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และการบริการโรงแรม นอกจากนี้ คณะกรรมการการลงทุนระดับภูมิภาคจะดึงดูดนักลงทุนให้กระตุ้นการลงทุนในการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป ธุรกิจอุตสาหกรรม และบริการโรงแรมในปีงบประมาณ 2566-2567 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/mic-nods-14-enterprises-to-invest-in-mandalay-region-in-2023/#article-title

การค้าชายแดนจีน-เมียนมาเติบโตใน 9 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผยว่า มูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาร์และจีนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-ธันวาคม) ของปีการเงินปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 จาก 2.076 พันล้านดอลลาร์สหรัฐที่บันทึกไว้ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยตัวเลขดังกล่าวสะท้อนถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ 525.6 ล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณที่แล้ว อย่างไรก็ดี เมียนมาร์ดำเนินการค้าขายข้ามพรมแดนกับจีนผ่านทางด่านมูเซ, โลจิ, ชินฉ่วยฮ่อ, กัมปะติ และ เชียงตุง โดยด่านมูเซมีมูลค่าการค้าสูงสุดที่ 1.7 พันล้านดอลลาร์ รองลงมาเป็นด่านชินฉ่วยฮ่อ 703.06 ล้านดอลลาร์, ด่านกัมปะติ  95.546 ล้านดอลลาร์, ด่านโลจิ 70.111 ล้านดอลลาร์ Lweje และ ด่านเชียงตุง 24.086 ล้านดอลลาร์ ตามลำดับ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร ปศุสัตว์ การประมง แร่ธาตุ ป่าไม้ การผลิต และสินค้าอื่นๆ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญได้แก่ สินค้าทุน สินค้าขั้นกลาง สินค้าการผลิต และวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้า CMP

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-border-trade-sees-growth-in-9-months/#article-title

บริษัทข้ามชาติจีน-เวียนดนาม ลงนามข้อตกลง ‘โครงการเวียงจันทน์ โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) เฟส 2’

บริษัทข้ามชาติจีน-เวียนดนาม ได้ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการออกแบบและการก่อสร้างโครงการเวียงจันทน์โลจิสติกส์พาร์ค (VLP) เฟส 2 ซึ่งจะเพิ่มความสะดวก ลดต้นทุนการขนส่งในการค้าขาย และมีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และสร้างรายได้จำนวนมากให้กับรัฐบาล โดยเป็นการลงทุนระหว่างบริษัท Vietnam Logistics Park บริษัท China Construction Science and Industry Corporation., Ltd. โครงการ VLP เป็นโครงการที่มีความสำคัญกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์แห่งชาติของรัฐบาลลาว โดยครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 327 เฮกตาร์ เริ่มตั้งแต่โรงไฟฟ้าดงโพสีบนถนนดงโพธิ์-เชียงดา จนถึงสี่แยกใหม่ในหมู่บ้านนาห้วยเตย และแบ่งออกเป็น 7 โซน ได้แก่ การกักกันพืชและสัตว์ สถานที่จัดเก็บน้ำมัน การผลิตและการแปรรูปเพื่อการส่งออก สวนโลจิสติกส์ การค้าเสรี การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และพื้นที่บริหารจัดการและสำนักงาน คาดว่าเขตโลจิสติกส์ทั้งหมดจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการลงทุนของเอกชนลาวทั้งหมด และคาดว่าการก่อสร้างจะพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบในอีก 2-3 ปีข้างหน้า

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_09_Phase_y24.php

เกาหลีใต้เพิ่มโควตาคนงาน สปป.ลาว ไปทำงานในฟาร์ม

กรมแรงงานและสวัสดิการสังคม นครหลวงเวียงจันทน์ ได้เปิดให้แรงงาน สปป.ลาว มาสมัครงานเพื่อไปเป็นคนงานฟาร์มที่ประเทศเกาหลีใต้ โดยการเปิดรับคนงานครั้งนี้ เป็นการรับแรงงานวัยรุ่นจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน รวมถึง สปป.ลาว เพื่อทำงานให้กับบริษัทเกษตรกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลและมีสัญญาจ้างระยะสั้นเพียง 3-5 เดือนเท่านั้น หลังจากผ่านกระบวนการคัดเลือกภายใต้การดูแลของตัวแทนบริษัทเกาหลีใต้ นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งงานในภาคอุตสาหกรรมเช่นกัน โดยผู้สมัครจะต้องมีอายุ 18-39 ปี ทั้งนี้ โอกาสในการทำงานที่เกาหลีใต้นั้นน่าดึงดูด แต่พนักงานจะต้องสามารถจัดการกับความยากลำบากที่ต้องเผชิญอันเป็นผลมาจากการทำงานในวัฒนธรรมที่แตกต่าง โดยแรงงานจะได้รับค่าจ้างขั้นต่ำเริ่มต้นที่ 1,400ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือน

ที่มา: https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_09_SouthKorea_y24.php

NBC ลงนาม MoU มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยชิงเต่า ดันอุตสาหกรรมกัมพูชา

Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ ร่วมกับศูนย์วิจัยวิศวกรรมแห่งชาติสำหรับยางและยางรถยนต์ (NERCRAT) โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับ การพัฒนาอุตสาหกรรมในกัมพูชา โดยข้อตกลงดังกล่าวลงนาม ณ สำนักงานใหญ่ของ NERCRAT ในเมืองชิงเต่า จากข่าวประชาสัมพันธ์ของ CDC บันทึกความเข้าใจที่ลงนามระหว่าง NERCRAT และรองประธานของ CDC ได้รับการออกแบบมาเพื่อร่วมกันเสริมสร้างและส่งเสริมภาคส่วนที่มีความสำคัญกับทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมการผลิตยางในกัมพูชา ซึ่งศูนย์ NERCRAT ถือเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยางและยางรถยนต์ขั้นสูง ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองชิงเต่า ประเทศจีน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501421100/cdc-sings-mou-worth-1b-with-qingdao-research-centre/

การค้าระหว่างประเทศกัมพูชาลดลงร้อยละ 1.9 ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2023

การค้าระหว่างประเทศของกัมพูชาในช่วงปี 2023 ลดลงร้อยละ 1.9 อยู่ที่ 46.82 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.8 แต่การนำเข้ากลับลดลงร้อยละ 5 ตามข้อมูลการค้าที่เผยแพร่โดยกรมศุลกากร และสรรพสามิต (GDCE) สำหรับการส่งออกรวมของกัมพูชาในช่วงปี 2023 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 22.64 พันล้านดอลลาร์ และการนำเข้ามีมูลค่ารวมอยู่ที่ประมาณ 24.18 พันล้านดอลลาร์ ส่งผลทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้าอยู่ที่ 1.53 พันล้านดอลลาร์ในปีที่แล้ว โดยจีนยังคงเป็นคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของกัมพูชาด้วยมูลค่าการค้าทวิภาคี 12.26 พันล้านดอลลาร์ ภายใต้ความไม่แน่นอนจากภาวะสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ การปะทุของความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ฮามาส และความกดดันด้านเงินเฟ้อที่ตามมา อีกทั้งการไม่ต่ออายุของระบบสิทธิพิเศษทั่วไป (GSP) จากสหรัฐฯ และผลประโยชน์จาก EBA จากสหภาพยุโรป (EU) ก็เป็นส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้ากลุ่ม GFT ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าส่งออกสำคัญของกัมพูชาเป็นอย่างมาก

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501421111/cambodias-trade-declines-1-9-to-46-82-billion-in-2023/

VinFast ของเวียดนามจะสร้างโรงงาน EV มูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์ในอินเดีย

“วินฟาสต์” (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเวียดนามมีแผนลงทุนสูงถึง 2 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดีย ซึ่งเป็นตลาดรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของโลก สื่ออินเดียเผย VinFast และรัฐบาลทมิฬนาฑูลงนาม MOU จัดตั้งโรงงานผลิตแห่งแรกของบริษัทในอินเดียที่ Thoothukudi ซึ่งเป็นไปตามแผนวางจำหน่ายของ VinFast ใน 50 ประเทศทั่วโลกรวมถึงสหรัฐอเมริกาและตลาดสำคัญอื่น ๆ โดยนับว่าเป็นการบุกตลาดครั้งแรกของ VinFast ในอินเดีย และเป็นส่วนหนึ่งของการขยายธุรกิจไปทั่วโลกซึ่งรวมถึงการส่งออกรถยนต์ไฟฟ้าไปยังสหรัฐอเมริกา และกำลังสร้างโรงงาน EV มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์ในนอร์ธแคโรไลนา ซึ่งมีกำหนดเริ่มการผลิตในปีนี้

ที่มา : https://www.mreport.co.th/news/news/industry-movement/117-vinfast-to-build-ev-plant-in-india