สปป.ลาว เผย ทางด่วนหลวงพระบาง-วังเวียง ใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว

ความคืบหน้าแผนงานการก่อสร้างทางด่วนเชื่อมต่อระหว่างนครหลวงเวียงจันทน์-บ่อเต็น แขวงหลวงน้ำทา ติดกับชายแดนจีน ที่แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 4 ระยะ ที่ผ่านมาดำเนินงานในระยะที่ 1 เวียงจันทน์-หลวงพระบาง ระยะทาง 109 กม. เสร็จสิ้นแล้วตั้งแต่ปี 2564 คิดเป็นสัดส่วนเพียง 9.3% ของความยาวรวมของทางด่วนเวียงจันทน์-บ่อเต็น 1,097.15 กม. ขณะนี้อยู่ในช่วงระยะที่ 2 คือ การก่อสร้างเส้นทางจากหลวงพระบาง-วังเวียง โดยปัจจุบันสิ้นสุดขั้นตอนการสำรวจและออกแบบเบื้องต้นแล้ว ส่วนระยะที่ 3 จากหลวงพระบาง-แขวงอุดมไซ อยู่ระหว่างการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนากับนักลงทุน สำหรับระยะที่ 4 ตั้งแต่แขวงอุดมไซ-บ่อเต็น ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจด้านการก่อสร้างกับนักลงทุนแล้ว แต่ขณะนี้อยู่ในระหว่างการต่ออายุ สำหรับทางด่วนระหว่างเวียงจันทน์-หลวงพระบาง ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากสามารถลดเวลาการเดินทางระหว่างเมืองหลวงและจุดท่องเที่ยวจาก 3.5 ชั่วโมง เหลือเพียง 1 ชั่วโมง ทำให้สามารถเดินทางกลับได้ภายในวันเดียว ทั้งนี้ เส้นทางด่วนสายนี้รัฐบาล สปป.ลาว ถือหุ้น 5% และกลุ่มบริษัทยูนนานก่อสร้างและการลงทุน (YCIH) ของจีน ถือหุ้น 95%

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_77_Plansfor_y24.php

กัมพูชาจ่อส่งออกมะพร้าวไปยังปักกิ่งปีนี้

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (22 เม.ย.) กัมพูชาจัดพิธีลงนามส่งออกมะพร้าวไปยังจีนอย่างเป็นทางการ หลังคาดว่าจะมีการส่งออกมะพร้าวสดชุดแรกภายในปีนี้ ซึ่งพิธีจัดขึ้น ณ กรุงพนมเปญ นำโดย Sun Chanthol รองนายกรัฐมนตรีและรองประธานสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา ร่วมกับ Wang Yi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของจีน ซึ่งกัมพูชาและจีนเคยได้ลงนามในข้อตกลงด้านสุขอนามัยพืชเพื่อส่งออกมะพร้าวสดจากกัมพูชาไปยังจีนเมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว ปัจจุบันกัมพูชามีสวนมะพร้าวจำนวน 13 แห่ง และโรงงานแปรรูป 5 แห่ง ที่ได้รับสิทธิ์ในการส่งออกมะพร้าวโดยตรงไปยังประเทศจีน ด้านรายงานของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และป่าไม้ แสดงให้เห็นว่าในปี 2022 กัมพูชาได้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่รวม 19,998 เฮกตาร์ โดยสามารถเก็บเกี่ยวมะพร้าวได้ 14,225 เฮกตาร์ หรือร้อยละ 71 สำหรับการผลิตมะพร้าวของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 หรือคิดเป็นจำนวน 258,935 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476326/coconut-exports-to-beijing-to-commence-this-year/

กัมพูชา-เกาหลี ร่วมลงนามในข้อตกลงหวังอำนวยความสะดวกด้านแรงงานระหว่างประเทศ

กระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมวิชาชีพได้ลงนามในข้อตกลงกับหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้การจัดหาแรงงานชาวกัมพูชาภายใต้ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ของเกาหลี เพื่ออำนวยความราบรื่นด้านการจ้างงานระหว่างประเทศ หลัง Heng Sour รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและการฝึกอบรมอาชีวศึกษา เข้าพบ Lee Woo Yong หัวหน้าหน่วยพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ กระทรวงการจ้างงานและแรงงานแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (HRDK) ในการประชุมเมื่อวันที่ 19 เม.ย. โดยเกาหลีกำลังกลายเป็นตลาดแรงงานที่น่าสนใจสำหรับแรงงานกัมพูชา ซึ่งโครงการริเริ่มใหม่นี้ร่วมกับเกาหลีจะไม่เพียงมุ่งเน้นไปที่การสรรหาบุคลากรเท่านั้น แต่ยังเสริมสร้างทักษะการจ้างงานของคนงานชาวกัมพูชาในอนาคตร่วมด้วย ด้านระบบใบอนุญาตการจ้างงานของเกาหลี (EPS) อนุญาตให้นายจ้างในเกาหลีที่ไม่สามารถจ้างคนในท้องถิ่น จ้างแรงงานต่างชาติได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งอุตสาหกรรมบางประเภทในเกาหลีที่กำลังเผชิญกับการขาดแคลนแรงงาน ได้แก่ เกษตรกรรม การประมง การก่อสร้าง และการผลิต เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและป้องกันการทุจริต

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501476322/ministry-signs-agreement-with-korea-for-ease-of-overseas-recruitment/

‘IMF’ ชี้เวียดนาม จุดหมายปลายทางของนักลงทุนต่างชาติ

จากการประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ นายเปาโล เมดาส หัวหน้าฝ่ายการคลังของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประจำประเทศเวียดนาม กล่าวว่าเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดของนักลงทุนต่างชาติ จากปัจจัยหนุนทั้งด้านการเติบโตทางเศรษฐกิจและความมีเสถียรภาพ ตลอดจนตลาดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่และความพร้องทางการศึกษาของคนรุ่นใหม่

โดยจากข้อมูลของ Medas เปิดเผยว่าถึงแม้ในปัจจุบันจะเผชิญกับความไม่มั่งคงทางงภูมิรัฐศาสตร์โลก แต่เศรษฐกิจเวียดนามขยายตัว 5.66% ในไตรมาสแรกของปีนี้ และทิศทางการส่งออกที่เติบโตดีขึ้น

นอกจากนี้ เศรษฐกิจเวียดนามยังได้รับปัจจัยหนุนจากการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เพิ่มขึ้นอย่างมาก ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่อุปทาน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-an-enticing-destination-for-foreign-investors-imf-expert/284911.vnp

‘ธุรกิจพลาสติกเวียดนาม’ ปั้นรายได้พุ่งจากความต้องการตลาดโลก

ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารชั้นนำในตลาดเคมีภัณฑ์ระดับโลก ‘Independent Commodity Intelligence Services’ เปิดเผยผลการรายงาน คาดว่าความต้องการเม็ดพลาสติก (Plastic Resin) ของทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นประมาณ 4.4% ต่อปี ในปี 2566-2568 โดยประเทศจีน กลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป นับเป็นตลาดหลักของเม็ดพลาสติกระดับโลก

ทั้งนี้ ผู้ผลิตพลาสติกรายใหญ่ของเวียดนาม ‘An Thanh Bicsol’ เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์เม็ดพลาสติกชั้นนำของประเทศและส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกไปยัง 70 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีกำลังการผลิตเฉลี่ย 35,000 ตันต่อเดือน ในขณะที่รายได้ส่วนใหญ่ของธุรกิจมาจากโพลีเอทิลีนเรซินและโพรพิลีน ซึ่งตลาดส่งออกสำคัญมาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คิดเป็นสัดส่วน 37% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาเอเชียใต้และตะวันออกกลาง 32% สหภาพยุโรป อเมริกา แอฟริกาและจีน ตามลำดับ

ที่มา : https://vir.com.vn/vietnamese-plastic-firms-to-cash-in-on-global-demand-110578.html

นายกฯ สปป.ลาว จะนำประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อกระตุ้นการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายสอนไซ สีพันดอน นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว กล่าวในระหว่างเข้าร่วมประชุมณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก ครั้งที่ 80 ถึงการนำนวัตกรรมดิจิทัลที่เป็นหัวใจสำคัญในการกระตุ้นความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งปัจจุบันยังดำเนินไปอย่างช้าๆ ตามรายงานขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าปัจจุบันการปฏิบัติตาม SDGs นั้น เป็นไปตามแผนเพียง 15% เท่านั้น ดังนั้น การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลจะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการเร่งการดำเนินการ SDG ในประเทศลาว ตั้งแต่บัดนี้จนถึงปี 2030 เพื่อสร้างขีดความสามารถในด้านนวัตกรรมดิจิทัล เพื่อช่วยพัฒนาเส้นทางการพัฒนาที่ยั่งยืน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_76_PM_y24.php

สปป.ลาว – เอกชนจีน ลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้าลาวไปยังจีน

สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ สปป.ลาว และบริษัท Shanghai Zhe Zhe Qang Co., Ltd และ Lao Konsin International Group สัญชาติจีน ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการส่งออกสินค้าของ สปป.ลาว ไปยังประเทศจีน โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าอุตสาหกรรม และสมุนไพรพื้นบ้าน โดยปลัดกระทรวงฯ กล่าวว่า “การลงนามดังกล่าวนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือในด้านองค์ความรู้โดยเฉพาะด้านการวางแผนการผลิต การฝึกอบรม และการปรับปรุงคุณภาพสินค้าของ สปป.ลาว เพื่อให้สินค้าได้มาตรฐานการส่งออกและสามารถส่งออกไปยังประเทศจีนได้ และในที่สุดจะสามารถจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศในประเทศลาว ผ่านความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าและหัตถกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์”

ที่มา : https://kpl.gov.la/En/Detail.aspx?id=82033