‘ท่าอากาศเติ่นเซินเญิ้ต’ รองรับผู้โดยสารทะลุ 126,000 คน นับเป็นวันที่สามของเทศกาลเต็ต

ท่าอากาศยานนานาชาติเติ่นเซินเญิ้ต (Tan Son Nhat International Airport) มีเที่ยวบินเกือบ 800 เที่ยวบินในวันที่ 12 ก.พ. นับว่าเป็นวันที่สามของเทศกาลเทศกาลเต๊ด (Tet) และรองรับผู้โดยสารมากกว่า 126,000 คน โดยจากเที่ยวบินที่ให้บริการทั้งหมด 766 เที่ยวบินเมื่อวานนี้ มี 386 เที่ยวบินเป็นเที่ยวบินขาออก และ 390 เที่ยวบินมาถึงสนามบินในนครโฮจิมินห์ จำนวนผู้โดยสารภายในประเทศที่ขาเข้าและขาออก มีจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 63,000 คนต่อเส้นทาง

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/tan-son-nhat-handles-over-126000-passengers-on-third-day-of-tet/

‘เวียดนาม’ เผยผปก. SMEs เติบโตบนแพลตฟอร์มอเมซอน ดันส่งออกโต 50%

จากรายงานของแพลตฟอร์มชื่อดัง ‘อเมซอน (Amazon)’ เปิดเผยว่าผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของเวียดนาม เล็งเห็นถึงประโยชน์จากแพลตฟอร์มอเมซอน ทั้งการเพิ่มยอดขายของสินค้าและการสร้างแบรนด์ให้สามารถตีตลาดต่างประเทศได้ ซึ่งจากข้อมูลสถิติพบว่ายอดการส่งออกของคู่ค้าเวียดนามบนแพลตฟอร์มอเมซอน ขยายตัวกว่า 50% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยเฉพาะสินค้าในหมวดของใช้ในครัว สุขภาพ เครื่องแต่งกายและความงามที่กลายเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้มากที่สุดบนแพลตฟอร์มอเมซอน และมีแนวโน้มที่จะผลิตและส่งออกสินค้าประเภทอื่นๆ ได้แก่ เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น

ทั้งนี้ อีคอมเมิร์ซเป็นปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จในการส่งออกของธุรกิจเวียดนาม โดยจำนวนพันธมิตรการขายบนแพลตฟอร์มของอเมซอน เพิ่มขึ้นมากกว่า 40% และขยายไปสู่ธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่ผู้ค้าปลีกที่มีชื่อเสียงอย่าง ‘Lamer’ ไปจนถึงผู้ผลิตแบบดั้งเดิม ‘Beefurni’ และสตาร์ทอัพอย่าง ‘Tidita’ และ ‘Abera’ ได้ใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์ม เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคต่างประเทศ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1650393/vietnamese-smes-thrive-on-amazon-export-growing-50.html

สมาคมกาแฟเมียนมาเสนอการแปรรูปกาแฟขั้นกลาง ในเมือง PyinOoLwin

สมาคมกาแฟเมียนมา (MCA) จะจัดหลักสูตร Coffee Processing Intermediate Course และชั้นเรียน CQI Intro PHP (Coffee Quality Institute – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระบวนการหลังเก็บเกี่ยว) ที่ MCA Knowledge Center และโรงงานกาแฟ MCG ในเมือง PyinOoLwin  ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งหลักสูตรเร่งรัดเหล่านี้จะนำเสนอความรู้และมาตรฐานของการแปรรูปกาแฟเพื่อให้ตรงตามมาตรฐานสากลสำหรับเมล็ดกาแฟ วิธีการแปรรูป และผลิตภัณฑ์ของกาแฟผ่านแนวทางเชิงปฏิบัติและทางเทคนิค ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองการสำเร็จหลักสูตร CQI Post-Harvest Processing Class ค่าเรียนอยู่ที่ 450,000 จ๊าด และหลักสูตรระดับกลางในการแปรรูปกาแฟรอบที่สองจะเปิดสอนตั้งแต่วันที่ 26 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยมีค่าธรรมเนียม 600,000 จ๊าด โดยสมาชิกที่ชำระค่าสมาชิกรายปีแล้ว จะได้รับส่วนลด 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม หลักสูตรยังครอบคลุมถึงประวัติความเป็นมาของกาแฟ การแปรรูปกาแฟ หลักการพื้นฐานและแนวปฏิบัติของมาตรฐานกาแฟ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการแปรรูปกาแฟ ลักษณะของเมล็ดกาแฟสุก วิธีการเก็บเกี่ยวและคุณประโยชน์ของกาแฟ การวิเคราะห์ตัวอย่างเมล็ดกาแฟและการควบคุมคุณภาพ อุปกรณ์ในการ วัดความชื้นของกาแฟและเครื่องวัดการหักเหของแสงเพื่อทดสอบปริมาณน้ำตาลและทดสอบการสุกของกาแฟ และวิธีการแปรรูปกาแฟตั้งแต่การเก็บเกี่ยว การแปรรูป การคั่ว ไปจนถึงการต้มเบียร์

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-coffee-association-to-offer-intermediate-coffee-processing-cqi-intro-php-class-in-pyinoolwin/#article-title

การส่งออกจากภาคการผลิตทะลุ 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐใน 10 เดือน

สถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเผยว่า มูลค่าการส่งออกจากภาคการผลิตมีมูลค่าถึง 7.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณปัจจุบัน พ.ศ. 2566-2567 โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปในช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่แล้ว มีรายได้ 9.5 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วบ่งชี้ว่าลดลงอย่างมากที่ 1.9 พันล้านดอลลาร์ในปีงบประมาณนี้ อย่างไรก็ดี เมียนมาได้ดำเนินยุทธศาสตร์การส่งออกแห่งชาติ (NES) พ.ศ. 2563-2568 เพื่อสนับสนุนการส่งออก ภาคส่วนที่มีลำดับความสำคัญของ NES ประกอบด้วยการผลิตทางการเกษตร เครื่องนุ่งห่มและเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ ธุรกิจประมง ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ การผลิตและบริการดิจิทัล บริการโลจิสติกส์ การจัดการคุณภาพ บริการข้อมูลการค้า นวัตกรรม และภาคส่วนของผู้ประกอบการ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/exports-from-manufacturing-sector-cross-us7-6-bln-in-10-months/#article-title

‘สปป.ลาว เตรียมจัดทำสำมะโนดิจิทัลครั้งแรก’ ในปี 2568

รัฐบาล สปป.ลาว และองค์กรระหว่างประเทศ กำลังเตรียมการสำหรับสำรวจสำมะโนประชากรและเคหะ (PHC) ครั้งที่ 5 ในปี 2568 ซึ่งจะเป็นการสำรวจสำมะโนดิจิทัลครั้งแรกในประเทศลาว จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งก่อนในปี 2558 สปป.ลาว มีประชากรประมาณ 6.5 ล้านคน โดยการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งใหม่นี้ มีเป้าหมายที่จะรวบรวมข้อมูลคุณภาพสูงที่จำเป็นสำหรับการวางแผนการพัฒนาประเทศ โดยกระทรวงการวางแผนและการลงทุน (MPI) ของ สปป.ลาว ร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) ได้จัดการประชุมปรึกษาหารือ เพื่อระดมการสนับสนุนและทรัพยากรสำหรับการดำเนินการตามการสำรวจสำมะโนประชากร ทั้งนี้ การสำรวจสำมะโนประชากรครั้งที่ 5 วางแผนที่จะครอบคลุมประชากรประมาณ 1.4 ล้านครัวเรือนใน 18 แขวง ให้แล้วเสร็จภายในสามสัปดาห์ โดยใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์พกพา เช่น สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต การสัมภาษณ์บุคคลโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAPI) ซึ่งผู้สัมภาษณ์ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการรวบรวมข้อมูลแบบเห็นหน้ากัน และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เทคโนโลยี (GIS) สำหรับการจัดเก็บ การแสดงภาพ การวิเคราะห์ และการตีความข้อมูลทางภูมิศาสตร์

ที่มา : https://laotiantimes.com/2024/02/13/71134/

รัฐบาล สปป.ลาว จับตานักท่องเที่ยว 6.2 ล้านคน ใช้จ่ายมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2567

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว​ กล่าวในระหว่างการประชุมเพื่อรายงานสรุปงานประจำปี 2566 ของกระทรวง และแผนปี 2567 โดยรับบาล สปป.ลาว คาดหวังว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวลาวและชาวต่างชาติมากกว่า 6.2 ล้านคน เดินทางท่องเที่ยวในประเทศลาวตลอดทั้งปี 2567 โดยคาดการณ์รายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวมากกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ใช้จ่ายเป็นค่าทัวร์ ที่พักแรม อาหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง ในจำนวนนี้คาดว่านักท่องเที่ยวจะเป็นชาวลาวมากกว่า 2.2 ล้านคน ใช้จ่ายประมาณ 368 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่นักท่องเที่ยวเกือบ 4 ล้านคน จะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและจะใช้จ่ายเงินมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freefreenews/freecontent_31_Govt_eyes_y24.php

กัมพูชาส่งออกข้าวเพิ่มขึ้น 25% สำหรับในช่วงเดือน ม.ค. 2024

สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) รายงานการส่งออกข้าวของกัมพูชาในช่วงเดือน ม.ค. 2024 ที่ปริมาณข้าวสารรวม 46,221 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรวม 32.6 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก โดยส่งออกไปยัง 42 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดในช่วงเดือน ม.ค. ด้วยปริมาณ 25,005 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54 ของการส่งออกข้าวสารทั้งหมด ตามมาด้วยประเทศในกลุ่มอาเซียนปริมาณรวม 11,999 ตัน ขณะที่การนำเข้าของจีนรวมอยู่ที่ 5,171 ตัน โดยข้าวที่ได้รับความนิยมในตลาดสากลของกัมพูชา ได้แก่ ข้าวหอม ข้าวอินทรีย์ ข้าวขาว ข้าวนึ่ง และข้าวจาโปนิกา ด้านนายกรัฐมนตรี ฮุน มาเน็ต ได้เสนอกลยุทธ์ในการผลักดันอุตสาหกรรมการเกษตร ด้วยการปรับปรุงตลาด การขยายตลาดใหม่ ผ่านข้อตกลงการค้าเสรี และการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคอยติดตามระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำและระบบชลประทานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าเกษตรกรจะทำเกษตรกรรมได้ต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501438196/rice-exports-up-25-percent-in-january/

EXIM Bank ร่วม CCC ผลักดันการค้าการลงทุนระหว่าง ไทย-กัมพูชา

ความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยและกัมพูชา คาดว่าจะได้รับการส่งเสริมอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง EXIM BANK และหอการค้ากัมพูชา (CCC) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทย ร่วมกับ ฮุน มาเนต นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของบันทึกความเข้าใจคือการอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลและการปรึกษาหารือระหว่าง EXIM BANK และ CCC ในด้านต่างๆ เช่น เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยไทยถือเป็นคู่ค้าสำคัญของกัมพูชา ควบคู่ไปกับจีน สหรัฐฯ และเวียดนาม สำหรับในปี 2022 โดยปริมาณการค้าระหว่างไทย-กัมพูชา ทะลุ 8 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการส่งออกของไทยไปยังกัมพูชามูลค่า 6.4 พันล้านดอลลาร์ ในขณะที่การนำเข้าจากกัมพูชามีมูลค่ารวม 1.6 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501437767/partnership-between-exim-thailand-and-ccc-to-drive-thai-cambodian-trade-and-investment/