2023 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า ผ่าน SSEZ กัมพูชา แตะ 3.36 พันล้านดอลลาร์

ปริมาณการนำเข้าและส่งออกรวมของเขตเศรษฐกิจพิเศษสีหนุวิลล์ (SSEZ) มีมูลค่า 3.36 พันล้านดอลลาร์ สำหรับในปี 2023 เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการค้าผ่าน SSEZ คิดเป็นประมาณกว่าร้อยละ 7.18 ของปริมาณการค้าทั้งหมดของกัมพูชา สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ SSEZ ถือเป็นโครงการเรือธงภายใต้โครงการริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ซึ่งร่วมลงทุนโดยนักลงทุนจีนและกัมพูชา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัดพระสีหนุ โดยเป็นเขตอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศในแง่ของขนาดและจำนวนผู้ประกอบการในเขต ซึ่งปัจจุบันมีองค์กรและบริษัทเอกชนรวมกว่า 180 แห่ง จากทั้งทางฝั่งจีน ยุโรป สหรัฐฯ และจากภูมิภาคอื่นๆ สร้างการจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นเกือบ 30,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501435871/ssezs-export-import-valued-at-3-36-billion-in-2023/

นายกฯนั่งหัวโต๊ะเตรียมเจ้าภาพจัดประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกปี 69

นายพรชัย  ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในวันนี้(7ก.พ.)ได้มีการประชุมคณะกรรมการระดับชาติครั้งแรกเพื่อเตรียมการจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (คณะกรรมการฯ) ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี 2569 โดยมีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน ทั้งนี้ กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์สำหรับการประชุมประจำปีฯ เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการเตรียมการดำเนินการในด้านต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีฯ ของไทยให้กับคนในประเทศและนานาชาติได้ทราบ นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการเตรียมการจัดการประชุมประจำปีฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จลุล่วงด้วยดี คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านสารัตถะ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา  จีนะวิจารณะ) เป็นประธานอนุกรรมการ คณะอนุกรรมการ ด้านพิธีการและอำนวยการ มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายจุลพันธ์  อมรวิวัฒน์) เป็นประธานอนุกรรมการ และคณะอนุกรรมการด้านการรักษาความปลอดภัย การจราจร และสาธารณสุข มีผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติเป็นประธานอนุกรรมการ อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีได้มีดำริให้มีการรายงานความคืบหน้าและประชาสัมพันธ์การเป็นเจ้าภาพการประชุมประจำปีฯ ของประเทศไทยอย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยการประชุมประจำปีฯ เป็นการประชุมระดับโลกที่จัดขึ้นนอกสหรัฐอเมริกาเพียงครั้งเดียวทุก 3 ปี โดยการเป็นเจ้าภาพของประเทศไทยในปี 2569 จะเป็นเพียงครั้งที่ 2 ต่อจากการประชุมประจำปีฯ 2534 ที่ไทยจะได้รับโอกาสในการแสดงศักยภาพและความสามัคคีของทุกภาคส่วนในการร่วมเตรียมความพร้อมและต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารกลาง และผู้บริหารของสถาบันการเงินที่สำคัญและคณะเดินทางของประเทศสมาชิกของธนาคารโลกทั้ง 189 ประเทศอีกด้วย

ที่มาภาพจาก : เว็ปไซต์สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1112177

‘เวียดนาม’ เผย ม.ค.67 โทรศัพท์สินค้าส่งออกอันดับ 1 ยอดโต 6.7%

กรมศุลกากรเวียดนาม รายงานว่าการส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนในช่วงครึ่งแรกของเดือน ม.ค.67 มีมูลค่า 2.86 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และโทรศัพท์ยังคงเป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 ในแง่ของมูลค่าการส่งออก รวมถึงเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การส่งออกโทรศัพท์และชิ้นส่วนในปี 2566 ทำรายได้สูงถึง 52.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่ในอันดับที่ 2 รองจากคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ ในขณะเดียวกันตลาดส่งออกหลักของเวียดนาม ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้

ที่มา : https://en.vneconomy.vn/phone-exports-rank-top-in-1h-january.htm

‘นายกฯ’ เรียกร้องให้มีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรของเวียดนาม

นายฝ่าม มิงห์ จิญ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ออกแถลงการณ์ที่จะมุ่งส่งเสริมการเชื่อมโยงด้านโลจิสติกส์ เพื่อขับเคลื่อนการบริโภคและการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้และประมง โดยถือว่าเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญของเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบท

ทั้งนี้ บทบาทภาระดังกล่าว ทางกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท (MARD) ได้รับทำหน้าที่สำคัญในการประสานงานกับกระทรวงและหน่วนงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมมือโครงการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ ปรับปรุงคุณภาพและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าเกษตรเวียดนาม

นอกจากนี้ยังต้องร่วมมือกับท้องถิ่นในการตรวจสอบและพัฒนาศูนย์บริการโลจิสติกส์ให้มีความเหมาะสมกับสินค้าเกษตร ตลอดจนจัดหลักสูตรฝึกอบรมด้านโลจิสติกส์ โดยเฉพาะผู้บริหารของรัฐฯ ภาคธุรกิจและสหกรณ์ในภาคเกษตรกรรม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/pm-urges-logistics-connectivity-for-vietnamese-farm-produce/279364.vnp

เมียนมาให้ข้อมูลเชิงลึกถึงสถานการณ์ปัจจุบันในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 24

กระทรวงการต่างประเทศเมียนมา รายงานว่า เมียนมาเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป ครั้งที่ 24 โดยมี U Soe Lin Han เอกอัครราชทูตเมียนมาประจำเบลเยียมเข้าร่วมและเข้าร่วมการประชุมที่จัดขึ้นที่ SQUARE Brussel Meeting Centre กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ โดยมีการพูดถึงสถานการณ์การโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่เกิดขึ้นในเมียนมา และมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่การกำหนดการปกครองตนเอง และการจัดการการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยหลายพรรคที่เสรีและยุติธรรม ทั้งนี้ ในการประชุมเอกอัครราชทูตเมียนมาแสดงความขอบคุณสำหรับโครงการยกเว้นภาษีการค้าพิเศษ (GSP/EBA) ของสหภาพยุโรป และการตระหนักรู้ของประเทศเกี่ยวกับสิทธิแรงงานของคนงานในเมียนมา ซึ่งสอดคล้องกับการตรวจสอบสถานะที่กำหนดภายใต้โครงการ GSP/EBA และ การดำเนินการของรัฐบาลตามกฎหมายที่มีอยู่ อย่างไรก็ดี สาเหตุของการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในเมียนมาร์ ได้แก่ แก๊งฉ้อโกงออนไลน์และปัญหาการค้ายาเสพติด ดังนั้น 3 ประเทศ เมียนมาร์-จีน-ไทย จึงประสานงานเพื่อปราบปรามและแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ด้านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศลาวและประธานอาเซียนหมุนเวียน นายสะเหลิมไซ คมมะสิด กล่าวว่าเขาจะมุ่งมั่นที่จะค้นหาแนวทางที่ยั่งยืนในระยะยาวตามกระบวนการดำเนินงานของเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-provides-insight-into-current-situation-at-24th-asean-eu-ministerial-meeting/