World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html

อินเดียขยายโควตานำเข้าถั่วเพื่ออุ้มเกษตรกรในเมียนมา

ภายหลังการเจรจา 2 เดือน อินเดียได้อนุมัติการนำเข้าถั่วเขียว 150,000 ตัน ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 มีนาคม 2564 ตามประกาศของรัฐบาลเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563 ซึ่งจะขยายจากกรอบเวลาเดิมคือสามเดือนระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม นอกจากนี้ยังจะผลักดันราคาและเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ค้าในท้องถิ่นสร้างรายได้เพิ่มขึ้น อินเดียเริ่มกำหนดโควต้าการนำเข้าถั่วในเดือนสิงหาคม 2560 โดยปีนี้กำหนดโควต้าไว้ที่ 400,000 ตัน สำหรับถั่วที่จะส่งออกระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม อย่างไรก็ตามเกษตรกรเมียนมาสามารถส่งออกได้เพียง 100,000 ตันเท่านั้น ซึ่งเมียนมาถือเป็นผู้ผลิตถั่วและพัลส์รายใหญ่ที่สุดให้กับอินเดีย ขณะนี้อินเดียได้ให้โควต้าการนำเข้าถั่วเขียวไปแล้ว 150,000 ตัน ไปจนถึงเดือนมีนาคม 2564 ในขณะเดียวกันเมียนมาส่งออกถั่วและพัลส์ไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บังกลาเทศ และเนปาล ความต้องการที่สูงขึ้นมีแนวโน้มทำให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย ราคาถั่วเขียวได้พุ่งสูงถึง 1.12 ล้านจัตต่อตันเมื่อเทียบกับ 1.08 จัตล้านต่อตันก่อนการประกาศในวันที่ 1 ตุลาคม 2563

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/india-extension-bean-import-quota-benefit-myanmar-farmers.html

INFOGRAPHIC : CPI เวียดนามขยับตัวสูงขึ้น 3.85% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ได้เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเวียดนาในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2563 ขยายตัวร้อยละ 3.85 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

สาเหตุอะไรที่ทำให้ดัชนี CPI เพิ่มขึ้น? มาจากปัจจัยเหล่านี้

  • อาหาร (+14.31%YoY)
  • กลุ่มอาหาร (+4.03%YoY)
  • เครื่องดื่มและบุหรี่ (+1.58%YoY)
  • ยาและเวชภัณฑ์ (+1.43%YoY)
  • เครื่องนุ่งห่ม (+0.73%YoY)

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cpi-in-first-9-months-of-2020-up-385/187948.vnp

INFOGRAPHIC : เศรษฐกิจเวียดนามโต 2.12% ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ได้เปิดเผยว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัวร้อยละ 2.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ GDP ณ ราคาปี 2010 อยู่ที่ 2,578.1 ล้านล้านด่อง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnams-economy-expands-212-percent-in-nine-months/187876.vnp

Electricite du Laos องค์กรรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาไฟฟ้าใหม่

Electricite du Laos ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจกำลังศึกษาโครงสร้างราคาที่เป็นไปได้สำหรับการใช้ไฟฟ้าในช่วงปี 2564-2568 เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างราคาของไฟฟ้ามีเป้าหมายเพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นภายใต้ต้นทุนด้านไฟฟ้าที่เป็นต้นทุนการผลิตที่สำคัญให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม คุณจันทบุญ สุกะลุนกรรมการผู้จัดการ EDL กล่าวในงานสัมมนาที่จัดขึ้นในเวียงจันทน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “บริษัทกำลังประสบกับภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้น ธุรกิจของเราสูญเสียเงินอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมา จากปัญหาต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงถึง 880 กีบต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง การสูญเสียนี้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและความสามารถในการชำระหนี้ของ EDL” ปัจจุบันผู้บริโภคที่ใช้พลังงานอย่างน้อย 150 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน การศึกษาถึงโครงสร้างราคาเพื่อหาระดับราคาที่เหมาะสมจึงเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะช่วยเหลือภาคธุรกิรวมถึงประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทให้สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Electricity_194.php

กัมพูชามองหาการลงทุนจากไทยเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชาขอให้ไทยช่วยผลักดันการลงทุนของไทยในกัมพูชามากขึ้น โดยปีนี้ครบรอบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัมพูชาและไทย ซึ่งมีการค้าทวิภาคีที่แข็งแกร่งแม้จะอยู่ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 โดยกัมพูชาได้เสนอไทยให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการขนส่งการค้าข้ามพรมแดน เพื่อเพิ่มปริมาณการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น ทั้งรัฐมนตรีจากทั้งสองแสดงความมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อเสริมสร้างสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพอันยาวนาน ซึ่งหลังจากการพูดคุยระหว่างรัฐมนตรีทั้งสองประเทศทางกัมพูชายังขอให้ไทยอนุญาตให้แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาที่ถือบัตรผ่านแดนและแรงงานภายใต้ MoU กลับเข้าทำงานภายในไทยได้ตามปกติ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50769628/cambodia-seeks-more-thai-investments/