การใช้มาตรการควบคุมโควิด -19 ของรถบรรทุกไทยที่เข้ามาในสปป.ลาว

คณะทำงานด้านการป้องกันและควบคุมโควิด -19 ของแขวงสะหวันนะเขตได้เสริมสร้างมาตรการป้องกันไวรัสที่เกี่ยวข้องกับคนขับรถบรรทุกจากประเทศไทยที่เข้ามาในสปป.ลาว โดยกำลังดำเนินมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโควิด -19 ในประเทศไทย รองผู้อำนวยการสำนักงานสาธารณสุขแขวงสะหวันนะเขตกล่าวว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นไปตามคำสั่งของคณะทำงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโควิด -19 ที่เกี่ยวข้องกับทุกแขวงที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทย ซึ่งไม่ได้ห้ามรถบรรทุกไทยส่งสินค้าเข้าไปในสปป.ลาว แต่คนขับรถบรรทุกทุกคนต้องปฏิบัติตามแนวทางของรัฐบาล ได้มีเพิ่มความเข้มแข็งในมาตรการคัดกรองและกักกันช่องทางการเข้า-ออกทุกแห่งทั่วประเทศ มีการตรวจวัดอุณหภูมิของผู้มาเยือทั้งสะหวันนะเขต และจะมีการเสริมสร้างมาตรการป้องกันและควบคุมที่สะพานมิตรภาพสปป.ลาว – ไทยแห่งที่ 2 คนขับรถบรรทุกที่เข้ามาในสปป.ลาวจากประเทศไทยมีทางเลือกในการตรวจสอบไวรัสด้วยตนเองหรือจัดการเปลี่ยนคนขับ อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านที่มีรถบรรทุกทขนส่งสินค้าไปยังสปป.ลาวอาจไม่สามารถเดินทางผ่านจุดผ่านแดนจีน – บ่อเต็นในแขวงหลวงน้ำทา นอกจากนี้คณะทำงานแห่งชาติเพื่อการป้องกันและควบคุมโควิด -19 ได้สั่งการให้หน่วยงานท้องถิ่นในทุกจังหวัดที่ติดกับประเทศไทยบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เข้ามาในสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Controls_13.php

ธนาคารในเมียนมาผ่อนปรนนโยบายการชำระหนี้เพื่อช่วยลูกค้า

ธนาคารกลางของเมียนมา (CBM) อนุญาตให้ธนาคารในประเทศปรับโครงสร้างและกำหนดเวลาชำระคืนเงินกู้ที่มีอยู่เพื่อช่วยเหลือลูกค้าภายในประเทศ จากผลกระทบทางเศรษฐกิจของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งCBM คาดว่าผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะรุนแรงที่สุด โดยธุรกิจที่มีประวัติการชำระหนี้ดีสามารถเลื่อนการชำระคืนเงินกู้ได้ KBZ Bank เป็นหนึ่งในธนาคารในประเทศที่เปิดตัวโครงการช่วยเหลือผู้กู้ ได้มีโครงการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ COVID-19 สำหรับผู้ประกอบการ SMEs โดยลูกค้าสามารถยื่นขอขยายเวลาเงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมซึ่งธนาคารจะชะลอการชำระทั้งต้นและดอกเบี้ยออกไป 6 เดือน ธนาคารอื่น ๆ รวมถึงธนาคาร Yoma, CB Bank และ uab Bank ได้เปิดตัวโครงการที่คล้ายกันคือเลื่อนการชำระคืนเงินกู้และการชำระดอกเบี้ย

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/banks-myanmar-ease-repayment-policy-help-clients.html

ค่าแรงขั้นต่ำเมียนมาเริ่มบังคับใช้พฤศจิกายนนี้

ค่าจ้างขั้นต่ำรายวันคาดจะมีผลบังคับใช้ในเดือนพฤศจิกายน จากรายงานในวันที่ 18 มิถุนายนของสมาชิกของคณะกรรมการระดับชาติ สมาพันธ์สหภาพแรงงานในเมียนมาและสหพันธ์แรงงานอาคารและไม้แห่งเมียนมากล่าวว่าภูมิภาคและรัฐส่วนใหญ่ในประเทศได้ยื่นข้อเสนอเพื่อรับค่าแรงขั้นต่ำใหม่ กฎหมายค่าแรงขั้นต่ำปี 2556 กำหนดให้มีการทบทวนค่าจ้างพื้นฐานทุก ๆ สองปี การปรับปรุงล่าสุดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 อยู่ที่ 4,800 จัต ซึ่งการกำหนดค่าจ้างใหม่ควรจะตั้งถูกกำหนดในเดือนพฤษภาคม แต่ล่าช้าออกไปเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 หากไม่มีการคัดค้านภายใน 60 วัน อัตรานั้นจะมีผลบังคับในเดือนพฤศจิกายนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/new-myanmar-daily-minimum-wage-likely-november.html

บทวิเคราะห์: วัดระดับความสามารถในการแข่งขันการส่งออกของไทยใน CLMV

ประเทศกัมพูชา: https://aiti.thaichamber.org/#/clmv-report/12522

ประเทศสปป.ลาว: https://aiti.thaichamber.org/#/clmv-report/12519

ประเทศเมียนมา: https://aiti.thaichamber.org/#/clmv-report/12516

ประเทศเวียดนาม: https://aiti.thaichamber.org/#/clmv-report/12513

เวียดนามส่งออกไก่แปรรูปไปยังรัสเซีย

โรงงานไก่แปรรูปในเขตจ่วง (Chuong) เมืองฮานอย เป็นธุรกิจแห่งแรกในเวียดนามที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไก่แปรรูปไปยังรัสเซีย ซึ่งจากข้อมูลของกรมปศุสตว์เวียดนาม ภายใต้กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทในวันที่ 8 มีนาคม ระบุว่าหน่วยงานปศุสัตว์รัสเซียได้ส่งหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการ เพื่ออนุญาตให้นำเข้าไก่ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูปจากบริษัท C.P. Vietnam Corporation ทั้งนี้ บริษัทเวียดนามจำเป็นต้องมีมาตรฐานที่เข็มงวดในการเลี้ยงสัตว์ ฆ่าสัตว์และแปรรูป รวมไปถึงความปลอดภัยทางชีวภาพและความปลอดภัยทางอาหาร อีกทั้งการตรวจสอบย้อนกลับและปลอดสารพิษ ซึ่งธุรกิจจะต้องผ่านเกณฑ์หรือมาตรฐานและเทคนิคจากสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย (EAEU) โดยในปัจจุบัน เวียดนามได้รับอนุญาตส่งออกไก่แปรรูปไปยังรัสเซียได้ แสดงให้เห็นว่าเวียดนามยังสามารถส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอื่นๆในสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย อาทิ เบลารุส คาซัดสถาน อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/vietnam-exports-processed-chicken-to-russia-411093.vov

กัมพูชาเผชิญกับปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานจากไวรัส COVID-19

ซัพพลายเออร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จากกัมพูชา เมียนมาและเวียดนามมีความสำคัญต่อแบรนด์แฟชั่นระดับโลกสูงขึ้นเกือบ 20% โดยซัพพลายเออร์เหล่านี้เผชิญกับปัญหาในด้านห่วงโซ่อุปทานเนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมาจากประเทศจีน ซึ่งได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 โดยเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้าในประเทศกัมพูชาอ้างโดย Nikkei Asian Review กล่าวว่าวัตถุดิบมากกว่า 60% สำหรับอุตสาหกรรมเสื้อผ้าของประเทศกัมพูชามาจากประเทศจีน ซึ่งโฆษกกระทรวงแรงงานกล่าวกับสื่อมวลชนท้องถิ่นว่ามีคนงานมากกว่า 90,000 คน ในโรงงานกว่า 200 แห่งในกัมพูชา ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในครั้งนี้

ที่มา :  https://www.khmertimeskh.com/50694492/cambodia-faces-supply-chain-crunch-no-thanks-to-covid-19

การค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐฯแตะ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อมูลการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 เพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐขยายตัวสูงขึ้น 40% คิดเป็น 5,356 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าของกัมพูชาจากสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้น 15% ที่ 513 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งกัมพูชาได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าในรูปแบบปลอดภาษีสำหรับการส่งออกสินค้าด้านการท่องเที่ยว เช่นกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าเป้ กระเป๋าถือและกระเป๋าสตางค์ภายใต้โครงการ Generalized System of Preferences (GSP) โดยรองประธานหอการค้ากัมพูชาชื่นชมการเติบโตของการค้าและคาดว่าจะมีสินค้ามากขึ้นที่จะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐรวมถึงเสื้อผ้า ซึ่งในปีที่ผ่านมาการค้าระหว่างกัมพูชาและสหรัฐอเมริกามีมูลค่าอยู่ที่ 4.26 พันล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้น 23% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมูลค่าการส่งออกของกัมพูชาไปยังสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 3,818 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50689345/cambodia-us-trade-valued-at-5-8-billion