‘เวียดนาม-ญี่ปุ่น’ มูลค่าการค้าแตะ 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปี 64

จากข้อมูลทางสถิติของกรมศุลกากรเวียดนาม เปิดเผยว่ามูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น อยู่ที่ราว 42.7 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว แบ่งออกเป็นการส่งออก มีมูลค่า 20.13 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 4.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในขณะเดียวกันการนำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น มีมูลค่า 22.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 11.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี ส่งผลให้เวียดนามขาดดุลการค้ากว่า 2.52 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเป็นสินค้าสำคัญสูงสุด ด้วยมูลค่าการนำเข้าราว 6.22 พันล้านเหรียญสหรัญ คิดเป็น 27.5% ของมูลค่าการนำเข้ารวมจากตลาดญี่ปุ่น รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ และผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า ในขณะเดียวกัน สินค้าส่งออกสำคัญของเวียดนามไปยังตลาดญี่ปุ่น มีจำนวน 3 รายการ ได้แก่ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3.23 พันล้านเหรียญสหรัฐ) รองลงมาเครื่องจักร อะไหล่ (2.56 พันล้านเหรียญสหรัฐ) อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าสินค้าเวียดนาม โดยเฉพาะสินค้าเกษตร กำลังกลายเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นมากขึ้น

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnam-japan-trade-turnover-hits-us427-billion-in-2021-post919292.vov

‘อาลีบาบา’ เผยโอกาสในการส่งออกสดใสของผู้ประกอบการ SMEs เวียดนาม

Alibaba.com แพลตฟอร์ม B2B เปิดเผยรายงานในหัวข้อ “การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในเวียดนาม ปี 2565” โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่อยู่ในภาคการส่งออก แสดงให้เห็นถึงโอกาสการส่งออกที่สดใสของผู้ประกอบการ SMEs เวียดนามที่ควรมุ่งการขยายธุรกิจบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของอาลีบาบา อาทิเช่น ผลผลิตเกษตร ผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลส่วนบุคคล ที่อยู่อาศัยและสวน เป็นต้น ทั้งนี้ หากแบ่งผลิตภัณฑ์ หมวดผลผลิตเกษตร พบว่าน้ำมันสำหรับประกอบอาหารเป็นสินค้าที่มีความสำคัญสูงสุด เนื่องจากผู้บริโภคกว่า 300 คนเฉลี่ยต่อวัน โดยอินเดีย เลบานอน อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน เป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด ในขณะที่ หมวดผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลส่วนบุคคล พบว่าการต่อผมและวิกถือมีสัดส่วนการบริโภคมากที่สุด ด้วยจำนวนผู้ใช้เฉลี่ยมากกว่า 3,500 รายต่อวัน อีกทั้ง หมวดที่อยู่อาศัยและการทำสวน พบว่าอุปกรณ์ครัวและเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เป็นสินค้าขายดีที่สุดและยังเป็นสินค้าสำคัญที่ตอบสนองความต้องการของตลาดสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ บราซิลและรัสเซีย

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/alibaba-unveils-promising-export-opportunities-for-vietnamese-smes-post919238.vov

จีนเริ่มสั่งซื้อพริกจากเมียนมา ในราคา 8,000 จัตต่อ viss

สมาคมพัฒนาตลาดและพัฒนาเทคโนโลยีพริกของเมียนมา เผย จากความต้องการพริกแห้งของจีนอย่างต่อเนื่อง ได้สั่งซื้อพริกแห้งจากเมียนมาในราคา 8,000 จัตต่อ viss (1 viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ซึ่งปัจจุบันมีการเก็บเกี่ยวพริกขี้หนูสดในเขตมาเกว อิยาวดี และมัณฑะเลย์ และราคาเริ่มลดฮวบลงเหลืออยู่ที่ 2,000 จัตต่อ viss ขณะที่ปีที่แล้ว ราคาพริกขี้หนูสดอยู่ที่ 4,000 จัตต่อ viss ปีนี้ผลผลิตลดลงเนื่องจากผลกระทบจากสภาพอากาศ นอกจากนี้ จำนวนพื้นที่ในการเพาะปลูกยังลดลงอีกด้วย โดยปกติพริกขี้หนูสดพริกของเมียนมาถูกส่งไปออกยังไทยและจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การปิดด่าน Muse ด่านสำคัญระหว่างเมียนมาและจีนตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค.64 เป็นต้นมา ส่งผลให้การส่งออกต้องหยุดชะงักลง

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/dried-chilli-pepper-valued-at-k8000-per-viss-on-china-demand/#article-title

รัฐบาลสปป.ลาวห้ามนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด

รัฐบาลได้สั่งห้ามการนำเข้าผลผลิตทางการเกษตร ปศุสัตว์ และปลาบางประเภท โดยมีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการเพาะปลูกพืชผลและสัตว์เหล่านี้ในสปป.ลาวเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากขึ้น ทั้งนี้สินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอาจนำเข้าต่อไปได้ เช่น สเปิร์มของสัตว์เพื่อการเพาะพันธุ์ เมล็ดข้าว วัคซีนและอุปกรณ์สำหรับสัตว์ ยาสำหรับสัตว์ และอาหารสัตว์ แต่ต้องปฏิบัติตามกฎ ต้องมีการใช้งานเฉพาะและไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตในประเทศ และรวมถึงเนื้อวัว เนื้อแกะ และเนื้อนกกระจอกเทศระดับพรีเมียมที่เสิร์ฟในร้านอาหารและโรงแรมขนาดใหญ่ สปป.ลาวเผชิญกับการขาดดุลการค้ามาอย่างต่อเนื่อง การริเริ่มแนวทางดังกล่าวรัฐบาลสปป.ลาวพยายามลดความพึ่งพาจากต่างประเทศในอีกส่วนหนึ่งเป็นการสร้างความมั่นคงด้านอาหารในอนาคตให้แก่สปป.ลาวอีกด้วย

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt13.php

กัมพูชา-อินโดนีเซีย ลงนาม MoU กระตุ้นภาคการท่องเที่ยวระหว่างกัน

ในระหว่างการประชุม ASEAN Tourism Forum 2022 ที่สีหนุวิลล์ Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา และ Sandiaga Salahudin Uno รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและนวัตกรรมของอินโดนีเซีย ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) เกี่ยวกับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างทั้งสองประเทศ ในการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยเร็วที่สุด ซึ่งในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ยังเน้นที่ 1.การส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยการจัดงานแสดงการท่องเที่ยวระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ 2.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวางแผนและจัดการสถานที่ท่องเที่ยว 3.ส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว 4.ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ 5.ส่งเสริมความร่วมมือในการจัดงานท่องเที่ยว งานประชุม และในด้านอื่นๆ และ 6. ส่งเสริมการเชื่อมต่อเที่ยวบินตรงระหว่างสองประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501009619/cambodia-indonesia-sign-mou-to-boost-tourism-connect-direct-flights-between-the-two-countries/

คาด FTA ผลักมูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชาและเกาหลีใต้เพิ่มสูงขึ้น

คาดการณ์ปริมาณการค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและเกาหลีปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น หลังทั้งสองประเทศบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่ในปีนี้ โดยตัวเลขจากสมาคมการค้าระหว่างประเทศของเกาหลีแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่า 341 ล้านดอลลาร์ ไปยังเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในทางกลับกันกัมพูชาได้ทำการนำเข้าสินค้ามูลค่า 623 ล้านดอลลาร์ จากเกาหลีใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่าการค้าทวิภาคีอยู่ที่ 965 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 โดยกัมพูชาส่งออกรองเท้าและเครื่องแต่งกาย รวมถึงสินค้าเพื่อการเดินทาง เครื่องดื่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยาง ยา และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเป็นสำคัญ ส่วนสินค้าที่กัมพูชาได้ทำการนำเข้าจากเกาหลีใต้ได้แก่ยานพาหนะ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ในครัว เครื่องดื่ม ยา และผลิตภัณฑ์พลาสติกสำเร็จรูปจากเกาหลีใต้ เป็นสำคัญ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501009466/fta-provides-impetus-for-trade-between-cambodia-and-korea/

FTA ดันไทยส่งออกโปรตีนจากพืชพุ่ง 64% แนะผู้ประกอบการเกาะเทรนด์รักสุขภาพขยายตลาด

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสินค้าอาหารกลุ่มโปรตีนจากพืช (plant-based products) โดยผ่านกรรมวิธีแปรรูปให้มีลักษณะแบบเดียวกับเนื้อสัตว์ ถือเป็นสินค้าที่น่าจับตามอง เนื่องจากได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นจากกระแสการดูแลสุขภาพของผู้บริโภค โดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) คาดการณ์ว่า ในปี 2565 ตลาดสินค้าโปรตีนจากพืชจะขยายตัวสูงกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ประเทศผู้ส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป สำหรับไทยส่งออกสินค้าอาหารกลุ่มโปรตีนจากพืชอันดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย สำหรับในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ย. 2564 ไทยส่งออกสินค้าโปรตีนจากพืช มูลค่า 2.57 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไปหลายประเทศเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เช่น อาเซียน ตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย (+43%) อาทิ เมียนมา (+82%) สิงคโปร์ (+195%) และสปป.ลาว (+969%) จีน (+27%) และออสเตรเลีย (+502%) นอกจากนี้ ไทยยังส่งออกสินค้าโปรตีนจากพืชไปตลาดคู่ FTA มูลค่า 1.65 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นสัดส่วน 64% ของการส่งออกสินค้าโปรตีนจากพืชทั้งหมด ย้ำคู่ค้าส่วนใหญ่ยกเว้นภาษีนำเข้าให้ไทยแล้ว มั่นใจ FTA และ RCEP ช่วยเพิ่มโอกาสส่งออก แนะผู้ประกอบการเกาะติดพฤติกรรมผู้บริโภคและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ตลาด

ที่มา : https://www.ryt9.com/s/beco/3290309