สปป.ลาวเล็งเห็นรายได้จากแร่ 463 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หวังผลักดันเพิ่มขึ้น

สปป.ลาวคาดว่าจะมีรายได้ 463 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้จากการขายแร่ทั้งในประเทศและเพื่อการส่งออก หลังจากมีรายได้ 1.464 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2564 แร่ธาตุที่ผลิตในช่วงเก้าเดือนแรกของปีมีมูลค่า 12.601 ล้านล้านกีบ (1.18 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ในขณะที่ตัวเลขตลอดทั้งปีจะสูงถึง 15.889 ล้านล้านกีบ ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2564 ถึงปี 2568 รัฐบาลสปป.ลาวคาดว่าจะผลิตผลิตภัณฑ์แร่มูลค่า 7.832 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 4% จากห้าปีที่ผ่านมา ในอนาคตรัฐบาลหวังที่จะเพิ่มความสามารถในการแปรรูปแร่ของประเทศเพิ่มอีกเพื่อลดจำนวนแร่ดิบที่ส่งออก หวังเพิ่มมูลค่าด้วยการส่งออกแร่แปรรูป

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/laos-to-see-mineral-earnings-of-usd-463-million-in-fourth-quarter/

ระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) อนาคตการเกษตรของสปป.ลาว

มองไปในอนาคตเกษตรกรรมลาวจะได้รับประโยชน์จากระบบการจัดการข้อมูลทรัพยากรที่ดิน (LRIMS) ซึ่งสามารถคาดการณ์โดยละเอียดของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยโปรแกรมไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เป็นความช่วยเหลือจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และ Global Environment Facility (GEF) ที่มุ่งหวังให้การเกษตรสปป.ลาวเติบโตไปได้ในอนาคตโดยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อเกษตรกรในการวางแผนอนาคตของการเพาะปลูก LRIMS ได้รับการพัฒนาโดยกรมการจัดการที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (DALaM) ของกระทรวงเกษตรและป่าไม้ เครื่องมือดังกล่าวเป็นแกนหลักของข้อมูลทางการเกษตรสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย รวมถึงการหาปริมาณของผลิตภาพที่ดิน และข้อมูลสำคัญหลายประการสำหรับการวางแผนการลงทุนทางการเกษตรและในชนบท

ที่มา : https://laotiantimes.com/2021/11/23/mapping-present-future-of-lao-agriculture-land-use-insights-with-lrims/

25 พ.ย. 64 พร้อมเปิดชายแดนเมียนมา-จีน (Kyinsankyawt)

วันที่ 22 พฤศจิกายน การค้าผ่านแดนจะเริ่มทดสอบโดยเริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น. ในช่วงบ่ายเป็นเวลาสามวัน หากการทดสอบเสร็จสิ้นลงแล้ว จะกลับมาเปิดดำเนินการในวันที่ 25 พ.ย. ตามที่กำหนดไว้ ซึ่งรถบรรทุกสินค้าประมาณ 10,000 คันซึ่งถูกจัดเก็บในคลังสินค้าในด่านมูเซ 105 ไมล์ จะถูกวิ่งเพื่อทำการทดสอบก่อนก่อน ตั้งแต่วันที่ 8 ก.ค. 2564 จีนได้ปิดชายแดน (Kyinsankyawt, Wamting) หลังแพร่ระบาดของ COVID-19 ในเมียนมา ส่งผลให้คนงานราว 400,000-600,000 คนต้องตกงาน นอกจากนี้ ผู้ค้าจากด่านชายแดนมูเซยังสูญเสียรายได้จากการปิดด่านในครั้งนี้ โดยเมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด และผลิตภัณฑ์ประมง เช่น ปู กุ้ง เป็นต้น นอกจากนี้ การส่งออกก๊าซธรรมชาติของเมียนมาไปยังจีนยังดำเนินการผ่านพรมแดนมูเซ-รุ่ยลีอีกด้วย ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบ CMP เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-kyinsankyawt-border-post-to-resume-operations-on-25-nov/#article-title

ข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีน-กัมพูชา มีผลบังคับ 1 ม.ค. 2022

ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ลงนามระหว่างจีนและกัมพูชาจะมีผลในวันที่ 1 มกราคม 2022 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยข้อตกลงซึ่งลงนามอย่างเป็นทางการไปเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2020 ที่ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ในการค้าสินค้าระหว่างจีนและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 90 สำหรับทั้งสองประเทศ ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในการลงทุนอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น ตามแผนริเริ่ม the Belt and Road Initiative, อีคอมเมิร์ซ และภาคเศรษฐกิจโดยรวม ตามกระทรวงพาณิชย์กล่าว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975664/china-cambodia-fta-to-take-effect-on-jan-1-2022/

AMRO คาดการณ์เศรษฐกิจกัมพูชาปีนี้โต 2.8%

สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคอาเซียน+3 (AMRO) ระบุว่า เศรษฐกิจของกัมพูชาจะกลับมาฟื้นตัวจากการหดตัวที่ร้อยละ 3.1 ในปีที่แล้ว หลังจากการรณรงค์ฉีดวัคซีนให้กับประชาชนภายในประเทศประสบความสำเร็จ ทำให้โรงงานต่างๆ สามารถกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้งและผ่อนคลายปัญหาคอขวดในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นส่วนช่วยเพิ่มปริมาณการส่งออกของกัมพูชา โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคาดว่าจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งในปีนี้ AMRO คาดว่ากัมพูชาจะเติบโตร้อยละ 2.8 นำโดยภาคการผลิตที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง โดยได้แรงหนุนจากความต้องการเสื้อผ้าที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกฟื้นตัว ซึ่งในปัจจุบันกัมพูชามีผู้ติดเชื้อจากโควิด-19 โดยเฉลี่ย 47 คนต่อวัน โดยประชากรกว่าร้อยละ 86 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อย่างครบถ้วนแล้ว รวมถึงรัฐบาลได้ขยายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้จาก 719 ล้านดอลลาร์เป็น 1.454 พันล้านดอลลาร์ เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้จ่ายมากภายในประเทศให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50975264/economy-to-grow-2-8-percent-this-year-amro-says/

สปป.ลาว จีน ตกลงส่งเสริมการพัฒนาควบคู่ไปกับทางรถไฟ

สปป.ลาวและจีนได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขยายความร่วมมือทางการค้าและการลงทุนเพิ่มเติมตามระเบียงเศรษฐกิจลาว-จีน ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของความปรารถนาของสองประเทศในเอเชียที่จะบรรลุเป้าหมายในการส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ทางรถไฟลาว-จีน ระยะทาง 426 กม. จีนตกลงที่จะช่วยลาวจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวในพื้นที่ใกล้ทางรถไฟ บรรดาผู้นำได้ทบทวนข้อตกลงความร่วมมือที่ลงนามโดยทั้งสองประเทศในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อตกลงที่จะร่วมกันส่งเสริมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน และข้อตกลงเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจลาว-จีนในช่วงปี 2019-2030

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_China_229.php

พื้นที่ปลูกแตงโมเขตซะไกง์ ลดฮวบเหลือ 200 ไร่

จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร การค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนถูกระงับส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกแตงโมลดลงกว่า 200 ไร่ ในเมืองช่องอู้ เขตซะไกง์ ก่อนหน้านี้ มีการพบแตงโมที่ทำการเพาะปลูกกว่า 10,000 เอเคอร์ในทุกฯ ปี ทำให้เกษตรกรบางรายหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น เช่น ถั่วลูกไก่ เพราะการปลูกแตงโมต้องใช้เงินลงทุนมาก อยู่ที่ประมาณ 5-6 ล้านจัตต่อเอเคอร์ โดยราคาแตงโมลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากจีนปิดชายแดนเมื่อเดือนกรกฎาคมเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 แตงโมส่วนใหญ่ถูกส่งไปยังจีน ส่งผลให้ราคาลดลงท่ามกลางผลผลิตที่ออกมาล้นตลาด ด้วยเหตุนี้ หากจีนขยายเวลาปิดประเทศเป็นเวลานาน เกษตรกรจะประสบความสูญเสียมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาในทุกๆ ปี เมียนมาส่งออกแตงโมกว่า 800,000 ตันต่อปีและกว่า 150,000 ตันไปถูกส่งออกไปยังจีน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-sown-acreage-drops-to-200-in-sagaing-region-due-to-market-obstacle/

‘BOI’หนุนเศรษฐกิจสีเขียว 9เดือนแรกเอกชนยื่นขอลงทุนพุ่ง 160%

นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่าเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ รัฐบาลจึงได้กำหนดให้โมเดลเศรษฐกิจ BCG หรือการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio – Circular – Green Economy) ในช่วง 9 เดือนแรก ปี 2564 (ม.ค. – ก.ย.) มีกิจการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 564 โครงการ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 74 และมีมูลค่าลงทุน 128,370 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงเดียวกันกับปีก่อน 160% และสูงกว่ามูลค่าการลงทุนในปี 2563 ทั้งปี (93,883 ล้านบาท) โดยโมเดลเศรษฐกิจ BCG คาดว่าในอีก 5 ปี ข้างหน้าอุตสาหกรรม BCG ของไทยจะมีมูลค่า 25% ของ GDP ที่มา: https://www.naewna.com/business/617429