สรท.คาดส่งออกปี 65 ขยายตัว 5% จากปีนี้คาดโตได้ราว 12%

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก คาดการณ์ภาวะการส่งออกของไทยในปี 65 จะมีอัตราการขยายตัวที่ระดับ 5% ส่วนในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 12% เนื่องจากฐานที่ต่ำในปี 63 จากผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 “จากการประเมินแล้วมั่นใจว่าปีนี้อยู่ในกระเป๋าแล้วอย่างน้อย 12% ส่วนในปีหน้าได้นำข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มาประเมินแล้วคาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 5%”

ที่มา : https://www.infoquest.co.th/2021/141392

‘เวียดนาม’ ชี้การส่งออก กุญแจสำคัญเร่งผลักดันเศรษฐกิจโต

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 63 อยู่ที่ 2.9% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เริ่มดำเนินนโยบายโด่ย​ เหม่ย “Doi Moi” แต่นับว่ายังเป็นสถานการณ์ที่ดีเมื่อเทียบกับภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังเผชิญกับภาวะถดถอยรุนแรง หดตัว 4% ทั้งนี้ ในช่วง Q3/63 – Q2/64 ภาวะเศรษฐกิจเวียดนามมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด ด้วยอัตราการเติบโตที่ 5.6% ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ การระบาดของเชื้อโรค ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อเศรษฐกิจ หดตัวที่ 6.2% อีกทั้ง ปัจจัยที่ทำให้เป็นแรงผลักดันการเติบโตทางเศรษฐกิจ พบว่าเมื่อแยกตัวชี้วัดของอุปสงค์ในประเทศจะเห็นได้ว่าในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ชี้ว่าการบริโภตหดตัวอย่างมาก การลงทุนหยุดชะงัก ในขณะที่การส่งออกสินค้าและบริการกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อัตราการขยายตัวที่ 24%ดถอยรุนแรงภาวะเแต่เริ่มดำเนินการน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1070812/exports-of-goods-an-important-momentum-for-growth.html

‘ภาคการผลิตเวียดนาม’ กลับมาเติบโต เหตุสถานการณ์โควิดดีขึ้น

ตามรายงานของ IHS Markit ได้เปิดเผยว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขดีขึ้นและการผ่อนคลายข้อจำกัดจากเชื้อไวรัส ทำให้ภาคการผลิตของเวียดนามกลับมาเติบโตอีกครั้งในเดือน ต.ค. สะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิต ยอดคำสั่งซื้อใหม่และกิจกรรมการจัดซื้อ ในขณะที่ความเชื่อมั่นทางธุรกิจพุ่งอย่างก้าวกระโดด อย่างไรก็ดี ตัวเลขการจ้างงานยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากพื้นที่อาศัยของคนงานอยู่ท่ามกลางการระบาดของเชื้อโรค ทั้งนี้ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของเวียดนาม ในเดือน ต.ค. กลับมาอยู่เหนือกว่าระดับไม่เปลี่ยนแปลง/เท่าเดิม (50.0) มาอยู่ที่ระดับ 52.1 จุด จาก 40.2 จุดในเดือน ก.ย. ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงสัญญาการฟื้นตัวของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในทุกภาคส่วนและสิ้นสุดการลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ตลอดจนการผ่อนคลายข้อจำกัดของโควิด-19 ส่งผลให้ธุรกิจเริ่มกลับมาดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน ต.ค.

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/vietnams-manufacturing-sector-returns-to-growth-as-pandemic-situation-improves/

ราคามันฝรั่งในเขตสะกายพุ่งขึ้นถึง 1,000 จัต

ราคามันฝรั่งในเขตสะกายเพิ่มขึ้น 1,000 จัตต่อ viss (viss เท่ากับ 1.6 กิโลกรัม) ในปีนี้ ซึ่งราคาอยู่ในช่วงขาขึ้นและแตะระดับสูงถึง 1,500 จัตต่อ viss ดีดตัวจาก 500-600 จัตในปีที่แล้วขึ้นอยู่กับขนาด ทั้งนี้กรมวิชาการเกษตรภาคสะกายมุ่งไปที่การขยายพื้นที่เพาะปลูก พืชผลทางการเกษตร และแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นหลัก โดยราคามันฝรั่งจะพุ่งขึ้นในฤดูมรสุม และในปีนี้ราคามันฝรั่งยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้ มาตรการที่เข้มงวดในการควบคุม COVID-19 ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในประเทศผันผวน ซึ่งปีที่แล้วเกิดน้ำท่วมและผลผลิตที่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากส่งผลให้ราคาลดลง อย่างไรก็ตาม มันฝรั่งอาหารถือเป็นอาหารหลักยังมีความต้องการสูงในปีนี้ ท่ามกลางผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ในเมียนมามีพื้นที่เพาะปลูกมันฝรั่งกว่า 90,000 เอเคอร์ทั่วประเทศ มีผลผลิตประมาณ 600,000 ตันต่อปี โดยมีเป็นการบริโภคในประเทศประมาณ 350,000 ตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/potato-prices-up-by-k1000-in-sagaing-region/#article-title

จีนไฟเขียวนำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมา

ประเทศจีน ไฟเขียวอนุญาตให้นำเข้าพืชอุตสาหกรรมจากเมียนมาได้แก่ อ้อย ยางพารา ทรากาคานกัม (tragacanth gum) และฝ้าย ผ่านมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ใกล้กับชายแดนชินฉ่วยฮ่อ (Chinshwehaw) ในรัฐฉาน แต่ทั้งนี้ต้องรออนุมัติจากกระทรวงพาณิชย์เมียนมาเสียก่อน ซึ่งก่อนหน้าจีนปิดด่านชายแดนทั้งหมดเนื่องจากการระบาดของ COVID-19 โดยปกติแล้ว เมียนมาส่งออกสินค้าเกษตร ได้แก่ ข้าว ถั่วและข้าวโพด อ้อย และพริก ส่วนการนำเข้าจะเป็น วัตถุดิบอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่ม CMP (Cut Make Pack) เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค จากข้อมูลพบว่า มูลค่าการนำเข้าผ่านชายแดนชินฉ่วยฮ่อ อยู่ที่ 461.378 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2563-2564 ซึ่งลดลง 541.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากปีงบประมาณ 2562-2563

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-greenlights-import-of-myanmar-industrial-crops/#article-title

ในช่วง 10 เดือนแรก กัมพูชาส่งออกสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 47

กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF) กัมพูชา รายงานถึงตัวเลขการส่งออกของสินค้าเกษตรที่มีปริมาณการส่งออกรวมอยู่ที่ 4,221,153 ตัน ในจำนวนนี้ไม่รวมข้าวสารและข้าวเปลือก ซึ่งคิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของก่อน โดยสินค้าเกษตรสำคัญของกัมพูชาที่ทำการส่งออก ได้แก่ มันสำปะหลัง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ข้าวโพด กล้วยสด ส้มโอ มะม่วง พริกไทย พริก และอื่นๆ ขณะที่การส่งออกข้าวโพด ยาสูบ และผักรวมลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนผลิตภัณฑ์จากมะม่วง (สด แยม น้ำเชื่อม) เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ถั่ว ถั่วเหลือง และพริกไทย ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วระหว่างร้อยละ 120-400 ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคมถึงตุลาคม กัมพูชาส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเกือบ 84 ชนิด ยกเว้นข้าวสารและข้าวเปลือก ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยสร้างรายได้ประมาณ 2.833 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963305/cambodias-agricultural-exports-up-over-47-percent-in-first-10-months/

ไตรมาส 3 กัมพูชาส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 52

กระทรวงพาณิชย์กัมพูชา รายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าของกัมพูชาไปยังจีน มีมูลค่ารวมมากกว่า 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 52.74 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกัมพูชานำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ารวม 6.8 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.32 ทำให้มูลค่าการค้าทวิภาคีระหว่างจีนและกัมพูชาอยู่ที่ 7.9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.36 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่างกัน โดยรัฐบาลกัมพูชาได้ให้สัตยาบันไปเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งสินค้าของกัมพูชาส่วนใหญ่ที่ถูกส่งออกไปยังจีนผ่าน FTA เป็นสินค้าเกษตร อาทิเช่น ข้าวสาร มันสำปะหลัง มะม่วง และกล้วย ในขณะที่การนำเข้าของกัมพูชาส่วนใหญ่จะเป็นวัตถุดิบสำหรับห่วงโซ่การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ ฯลฯ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50963082/q3-exports-to-china-see-52-increase-in-value/

สปป.ลาวเตรียมเปิดประเทศอีกครั้ง

ในการปราศรัยเปิดรัฐสภาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีพันธ์คำ วิภาวัน กล่าวกับสมาชิกว่าลาวจำเป็นต้องพิจารณาขั้นตอนในการเปิดประเทศอีกครั้ง จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการจัดการกับการระบาดของ Covid-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดใหญ่ รวมถึงการเริ่มให้บริการทางรถไฟลาว-จีน การจะเปิดประเทศได้อีกครั้งนั้น รัฐบาลคาดว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องฉีดวัคซีนอย่างน้อยร้อยละ 70 ของประชากรผู้ใหญ่ภายในสิ้นปี 2564 เป้าหมายดังกล่าวเป็นไปเพื่อการกลับมาฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกครั้งอีกทั้งหากยังคงปิดประเทศอาส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับผละทบอบ่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา สิ่งหนึ่งที่เป็นความกังวลของรัฐบาลคือการระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงอีกครั้งดังนั้นมาตรการเปิดประเทศ รัฐบาลให้คำมั่นที่จะเข้มงวดและรัดกุมกับแนวทางในการดูแลสาธารณสุขควลคู่ไปกับการเปิดประเทศ

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Prepare_214.php