เกาหลีใต้ยุติการหาทุนโครงการในเมียนมา ท่ามกลางวิกฤตในประเทศส่อเค้ารุนแรงขึ้น

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา The Korea Herald เผย วิกฤตการณ์ที่ยืดเยื้อในเมียนมารัฐบาลเกาหลีใต้ไตัดสินใจหยุดการจัดหาเงินทุนผ่านกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลี (EDCF) สำหรับโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่นั่นจนถึงปีหน้า EDCF เป็นกองทุนที่ดำเนินการโดยเกาหลีใต้เปิดตัวในปี 2530 เพื่อช่วยเหลือประเทศยากจนและด้อยพัฒนาโดยการขยายเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดย EDCF เสนอเงินกู้ 70,000 ล้านวอน (62.79 ล้านดอลลาร์) เพื่อสร้างสวนอุตสาหกรรมเกาหลี-เมียนมา ซึ่งมีกำหนดจะสร้างขึ้นในปี 2567 ขณะเดียวกันรัฐบาลทหารยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานอย่างไรภายหลังการการรัฐประหาร

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/exclusive-korea-stops-financing-infra-projects-in-myanmar-amid-deepening-crisis

ไทยพร้อมบังคับใช้ความตกลง ATISA เพิ่มโอกาสลงทุนบริการในอาเซียน

พาณิชย์ เผย ไทยเป็น 1 ใน 2 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่ได้ดำเนินการให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการฉบับใหม่ของอาเซียน หรือ ATISA แล้ว มีผลใช้บังคับ 5 เมษายนที่ผ่านมา ผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์ได้ทันที  โดยความตกลง ATISA เป็นความตกลงด้านการค้าบริการที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ทั้งผู้ให้บริการและนักลงทุนของไทยและสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมบรรยากาศการค้าบริการที่สามารถคาดการณ์ได้ จึงเป็นการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในอาเซียน ทั้งนี้ภายใต้ความตกลง ATISA ไทยมีโอกาสขยายการค้าและการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ เช่น บริการด้านสุขภาพ บริการด้านการท่องเที่ยวและที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง บริการด้านก่อสร้าง บริการด้านการจัดประชุม และการจัดนิทรรศการ หรือ MICE เป็นต้น

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9640000033580

‘IMF’ คง GDP เวียดนามปีนี้ โต 6.5%

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของเวียดนาม คาดว่าอยู่ที่ 6.5% ในปีนี้ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 6% จากนั้นจะฟื้นตัวเป็น 7.2% ในปีหน้า ซึ่งตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้เวียดนามเป็นประเทศเศรษฐกิจที่เติบโตได้เร็วเป็นอันดับที่ 2 ในกลุ่มเศรษฐกิจหลัก 5 ประเทศของอาเซียน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเวียดนามจะเติบโตในเชิงบวก อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 2.7% ในปีนี้ จากระดับ 3.3% ในปีที่แล้ว นอกจากนี้ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะเติบโตที่ 6% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการกระตุ้นทางการคลังเพิ่มเติมในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการใช้วัคซีนในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

ที่มา : http://hanoitimes.vn/imf-maintains-vietnam-gdp-growth-forecast-at-65-in-2021-316951.html

‘CPTPP’ ดันส่งออกเวียดนาม

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดขึ้นโดยสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม (VCCI) เมื่อวันที่ 7 เมษายนที่ผ่านมา เพื่อระดมความเห็นถึงผลลัพธ์ในช่วง 2 ปี ของการดำเนินการตามข้อตกลงความครอบคลุมและก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนการค้าภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก (CPTPP) หลังจากลงนามไปเมื่อเดือนมีนาคม 2561 ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วม 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ชิลี ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู สิงคโปร์และเวียดนาม ทั้งนี้ สมาชิกหอฯ แสดงความเห็นว่าข้อตกลงการค้าดังกล่าว ช่วยให้การส่งออกดีขึ้น มีมูลค่าถึง 34.3 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2562 และพุ่งขึ้นแตะ 34 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศสมาชิก คิดเป็นสัดส่วน 12.02% ของยอดการส่งออกทั้งหมดของเวียดนามในปี 2563 นอกจากนี้ รองเท้า เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ เป็นกลุ่มสินค้าเติบโตที่ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

  ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cptpp-gives-boost-to-vietnamese-exports/199810.vnp

ธุรกิจทอเสื่อเพิ่มรายได้เสริมให้ครอบครัวในเมืองตะด้าอู้

ชาวเมืองตะด้าอู้หารายได้เสริมจากธุรกิจทอเสื่อธินฟู่ ซึ่งชาวเมียนมาส่วนใหญ่นิยมใช้เสื่อทินฟู่เป็นเฟอร์นิเจอร์ในบ้าน วัตถุดิบหลักที่ใช้ผลิตจะใช้ต้นอ้อยดิบในการทอจากเมืองปันตานอว์ การทอสื่อหนึ่งผืนจะได้รับค่าแรง 2,500 จัต แม้ค่าจ้างจะน้อย แต่หญิงสาวในเมืองก็มีรายได้พิเศษเนื่องจากเป็นธุรกิจดั้งเดิมของท้องถิ่น ส่วนราคาขายจะอยู่ที่ราคา 15,000 จัตต่อผืน เสื่อธินฟู่มีหลายขนาด ขนาดใหญ่สุดคือ 7 ฟุต นอกจากนี้เสื่อที่ใช้ในการนั่งสมาธิยังขายได้ในราคาถึง 3,000 จัตต่อผืน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/mat-weaving-business-earns-extra-family-income-in-tada-u/

เกษตรกรเมืองยาง ปลื้ม ราคาผลผลิตฟักทองสีทองปีนี้ สร้างกำไรงาม

เกษตรกรเมืองยาง (Mongyang) ในรัฐฉาน (ตะวันออก) ปลื้มผลผลิตและราคาฟักทองพันธุ์สีทองพุ่งขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ผลผลิตสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังการปลูก 120 วันโดยพื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์สามารถให้ผลผลิตได้ประมาณ 2,000 ลูก ส่งผลให้แรงงานรายวันมีรายได้จากการเก็บผลผลิต 10,000 จัตต่อวัน  เมืองยางมีบทบาทในธุรกิจการเกษตร ซึ่งเกษตรกรปลูกหัวหอม พริก มันฝรั่ง มะเขือเทศ มะเขือยาว และถั่ว โดยเฉพาะในช่วงฤดูมรสุมตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน จากนั้นจึงจะเพาะปลูกฟักทองในฤดูหนาวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ซึ่งปีนี้ให้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจมาก

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/farmers-from-mongyang-happy-with-golden-pumpkin-yield-prices-this-year/

บริษัท จีนลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการพัฒนาการเกษตรในสปป.ลาว

Jiarun Agricultural Development Co. , Ltd. ของจีนและกระทรวงการวางแผนและการลงทุนสปป.ลาวได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยการศึกษาความเป็นไปได้ในการฟื้นฟูป่าและการพัฒนาการเกษตรเชิงนิเวศ ในภาคใต้ของสปป.ลาว บริษัท จะดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการฟื้นฟูป่าและพัฒนาการเกษตรเชิงนิเวศในพื้นที่ 5,000 เฮกตาร์ในเขตสนามไซของแขวงอัตตะปือห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 560 กม. โครงการนี้จะสร้างงานในท้องถิ่นกว่า 50,000 ตำแหน่งซึ่งจะส่งเสริมเศรษฐกิจในท้องถิ่นและมาตรฐานการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/asiapacific/2021-04/08/c_139866707.htm

สภานการณ์ส่งออกไตรมาสแรกของกัมพูชายังคงหดตัว

สถานการณ์การส่งออกของกัมพูชาอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างย่ำแย่ในไตรมาสแรกของปี โดยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงต้นทุนการขนส่งที่เพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 5 เท่า จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งกัมพูชาทำการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงสดรวม 978 ตัน ในไตรมาสแรกของปีนี้ตามรายงานของกระทรวงเกษตรป่าไม้และการประมง (MAFF) ในขณะเดียวกันการส่งออกผลิตภัณฑ์ประมงแปรรูปมีปริมาณอยู่ที่ 172 ตัน ณ ร้อยละ 8.60 ของเป้าหมายที่วางแผนไว้ โดยไทยและเวียดนามเป็นตลาดหลักสำหรับผลิตภัณฑ์ประมงของกัมพูชา ในขณะที่ข้าวสารของกัมพูชาถูกส่งไปยัง 41 ประเทศทั่วโลก ซึ่งจีนเป็นตลาดข้าวที่ใหญ่ที่สุดของกัมพูชาตามด้วย 19 ประเทศในยุโรปและ 3 ประเทศในอาเซียน (มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์) โดยตัวเลขจากสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มการส่งออกข้าวค่อยๆฟื้นตัว จากปริมาณการส่งออกข้าวในเดือนมีนาคมที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 84.66 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50835793/first-quarter-food-exports-suffering/