กัมพูชาเปิดตัวระบบใหม่ เสริมความร่วมมือด้านภาษีและศุลกากรภายในประเทศ

กรมสรรพสามิต (GDT) และ กรมศุลกากรและสรรพสามิต (GDCE) ได้เปิดตัวระบบข้อมูลอัตโนมัติระหว่างสองสถาบันอย่างเป็นทางการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) เป็นประธานในงานเปิดตัวที่จัดขึ้นในพนมเปญ นอกจากนี้ในการเข้าร่วมยังมีเจ้าหน้าที่อาวุโสจาก MEF, GDCE, GDT และสมาชิกของคณะทำงานด้านเทคนิค โดยการนำระบบส่งผ่านข้อมูลอัตโนมัติมาใช้แสดงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีใหม่ภายในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบัน ภายใต้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างหน่วยงานด้านภาษีทั้งสองแห่ง ให้สามารถแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญได้ทันที รวมถึงทะเบียนภาษีนิติบุคคล เอกสารนำเข้าและส่งออกของบริษัท บันทึกการขายและการซื้อตลอดจนเอกสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ในปรับปรุงการแบ่งปันข้อมูลและการอัปเดตการเติบโตให้แม่นยำยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับการปฏิรูปที่กำลังดำเนินอยู่ของรัฐบาล ผ่านโครงการปฏิรูปการจัดการด้านการเงินสาธารณะและกลยุทธ์การระดมรายได้ ประจำปี 2019-2023

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805140/system-will-strengthen-tax-and-customs-cooperation/

PPSEZ ส่งออกไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และอาเซียน เพิ่มขึ้นในปี 2020

การส่งออกจากเขตเศรษฐกิจพิเศษพนมเปญ (PPSEZ) ภายใต้ FTA อาเซียน – สหภาพยุโรป และโครงการ GSP / MFN (Generalized System of Preferences / Most-Favored Nation) ของสหรัฐฯ มีมูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ประมาณ 507 ล้านดอลลาร์ ในปี 2020 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 76 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2019 ตามรายงานของกระทรวงพาณิชย์ โดยสินค้าส่งออกส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า และสินค้าสำหรับการเดินทาง ไปยังสหรัฐฯ สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น คิดเป็นการส่งออกเสื้อผ้ารวม 20.34 ล้านดอลลาร์ สินค้าที่เกี่ยวกับการเดินทาง 4.637 ล้านดอลลาร์ และรองเท้าคิดเป็นมูลค่า 826,504 ดอลลาร์ ไปจนถึงหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ คิดเป็น 481.68 ล้านดอลลาร์ ซึ่งในปีนี้จะขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์ COVID-19 นั้นจะอยู่ในทิศทางใด

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50805264/ppsez-exports-to-us-eu-and-asean-up-substantially-in-2020/

พัฒนาการของไทย สู่ ‘ฮับ’ ยานยนต์ไฟฟ้าอาเซียน

ยานยนต์ไฟฟ้า ถูกหยิบยกมาพูดถึงกันอย่างจริงจังในประเทศไทยเมื่อ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งในฐานะ “อุตสาหกรรมใหม่” และในฐานะ “หนทางแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม” ของประเทศ หลายปีที่ผ่านมาดูเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนเช่นที่ผ่านมา ทั้งนี้ยานยนต์ไฟฟ้าในไทยไม่เฉพาะแต่เพียงรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยานยนต์ไฟฟ้าในไทย แตกแขนงออกไปในหลากหลายรูปแบบ ทั้งที่เป็นรถบัสโดยสาร รถตุ๊กตุ๊ก รถขนาดเล็ก 4 ที่นั่งสำหรับใช้งานในเมือง บริการเช่ารถไฟฟ้า แอพพลิเคชั่นสำหรับเช่ารถไฟฟ้า เรื่อยไปจนถึงเรือใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยว โดยทั้งหมดนั่นเริ่มต้นจากพื้นฐานของการเป็น “ฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดอันดับ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 4 ในเอเชีย เป็นรองเพียงแค่จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้เท่านั้น” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา
อุตสาหกรรมรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 ในเวลานี้ “โรดแม็ป” ของไทยในการส่งเสริมการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ตั้งเป้าหมายเอาไว้ที่ราวร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศในปีหนึ่งๆ หรือราว 750,000 คัน ต้องเป็นรถยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าภายในสิ้นทศวรรษนี้ จัดสรร “แรงจูงใจ” เชิงภาษีให้เพื่อดึงดูดบรรดาค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ให้เข้ามาร่วมอยู่ในโครงการนี้

ที่มา : https://www.matichonweekly.com/column/article_390875

Foxconn ย้ายฐานผลิตชิ้นส่วน iPad และ MacBook มา ‘เวียดนาม’ หวังเลี่ยงผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติใบอนุญาตให้หน่วยงานหนึ่งของบริษัท Foxconn Technology ผู้ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิปคอมพิวเตอร์ ตลอดจนชิ้นส่วนสมาร์ทโฟนสัญชาติไต้หวัน ดำเนินการสร้างโรงงานผลิตแล็ปท็อปและแท็บเล็ตมูลค่า 270 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แถลงการณ์ของรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ระบุว่า โรงงานแห่งใหม่นี้จะอยู่ภายใต้การพัฒนาของ Fukang Technology ในสังกัด Foxconn และตั้งอยู่ในจังหวัดบั๊กซาง ทางตอนเหนือของประเทศ โดยโรงงานแห่งนี้จะมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 8 ล้านเครื่องต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงปีที่ผ่านมา ทาง Foxconn ได้ย้ายโรงงานผลิตชิ้นส่วนของ iPad และ MacBook จากจีนมายังเวียดนาม ตามข้อเรียกร้องของ Apple Inc. ที่ต้องการกระจายโรงงานผลิตชิ้นส่วนของตน เพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน

ที่มา : https://thestandard.co/vietnam-gives-foxconn-unit-licence-for-270-million-plant-to-produce-laptops-tablets/

ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจเวียดนามโตเร็วที่สุด

ธนาคารโลก (WB) เผยเศรษฐกิจเวียดนามในไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 เติบโต 4.5% ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2.9% ต่อปี นับว่าเป็นประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก ซึ่งอุตสาหกรรมการผลิตและค้าปลีก ยังคงปรับตัวดีขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ด้วยอัตราการเติบโตที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนระบาด ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2563 เป็นอีกหนึ่งที่ผลการดำเนินงานอยู่ในทิศทางที่ดี สาเหตุมาจากอัตราการขยายตัวเป็นตัวเลขสองหลักของการนำเข้า (23.1%) และการส่งออก (17.8%) ในขณะที่การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่ไหลเข้าเวียดนามชะลอตัว อย่างไรก็ตาม เรื่องการอนุมัติและการเปิดตัววัคซีนป้องกันโควิด-19 ในช่วงปลายปี 2563 ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกดีขึ้นในปี 2564 โดยเฉพาะการท่องเที่ยวและสายการบิน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-one-of-fastest-growing-economies-wb/194979.vnp

ยอดขายรถยนต์เวียดนาม พุ่ง 45% ในเดือนสุดท้ายของปี 63

สมาคมผู้ผลิตรถยนต์เวียดนาม (VAMA) เผยว่า ยอดขายรถยนต์ของเวียดนามในเดือนธันวาคม 2563 พุ่ง 31.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ 45% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จำนวน 47,865 คัน โดยมีการจัดโปรโมชั่นครั้งใหญ่ในเดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว และนโยบายของรัฐบาลเกี่ยวกับการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ 50% ทำให้ลูกค้ารีบมาซื้อรถยนต์ก่อนที่จะถึงสิ้นปี ด้วยปัจจัยดังกล่าว ส่งผลให้ยอดขายรถยนต์ในเดือนธันวาคมสูงขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ยอดขายรถยนต์ในปี 2563 ลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ในขณะเดียวกัน ยอดขายรถยนต์ที่ผลิตในประเทศ ลดลง 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ทางสมาคม VAMA ระบุว่าในปี 2564 ถือเป็นปีที่ยากลำบากอีกครั้งสำหรับตลาดรถยนต์เวียดนาม โดยเฉพาะเมื่อเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่กระจายไปยังทั่วโลกและธุรกิจต่างๆ หันมาเข็มงวดในการใช้จ่าย

ที่มา : http://hanoitimes.vn/car-sales-in-vietnam-surge-45-in-2020-final-month-315948.html