ส่งออกไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ลุ้นปีนี้ติดลบแค่ 8%

น.ส.กัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า การส่งออกเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 20,212 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.94% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน  ส่วนการนำเข้าในเดือนส.ค. 2563 มีมูลค่า 15,862 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ลดลง19.68 % ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 4,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ขณะที่ภาพรวม 8 เดือน (ม.ค.- ส.ค) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 153,374 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 7.75% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน   การส่งออกในเดือนส.ค. กลุ่มสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ลดลง 13.2% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน  โดยสินค้าที่ขยายตัวได้ดีอยู่ คือ น้ำมันปาล์ม สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง แต่สินค้ากลุ่มที่หดตัวคือ น้ำตาลทราย ยางพารา ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ข้าว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1.กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกที่ยังมีความอ่อนแอ 2.ค่าเงินบาทที่ยังคงอยู่ในระดับที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง 3.International logistics  พบว่าค่าระวางสูง 4.ปัญหาภัยแล้ง 5. ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าว นอกจากนี้ “ส่งออกไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว หลังมีการเปิดประเทศ  ซึ่งส่งออกเดือน ส.ค.ติดลบ 7.94% ถือว่ามีแนวโน้มติดลบน้อยลง แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาต้นทุนขนส่งและปริมาณตู้สินค้าที่ไม่เพียงพอกับความต้องการ เนื่องจากการส่งออกของจีนขยายตัว 11% จนอาจฉุดการฟื้นตัวส่งออกไทย”

ที่มา : https://www.posttoday.com/economy/news/634829

ธุรกิจไทยเข้าเจรจาซื้อโซลาร์ฟาร์มในเวียดนาม

บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เป็นผู้ให้บริการระบบสาธารณูปโภคและพลังงานชั้นนำในประเทศไทย เปิดเผยว่าบริษัทกำลังติดต่อผู้ประกอบการโซลาร์ฟาร์ม เพื่อเจรจาข้อตกลงซื้อโซลาร์ฟาร์มที่มีขนาดกำลังการผลิต 50-250 เมกะวัตต์ ทั้งนี้ ธุรกิจแห่งนี้ได้ให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำ โดยทางบริษัทกำลังวางแผนในระยะที่ 2 ของการพัฒนาแหล่งน้ำประปาในเมืองฮานอยและเกื๋อหล่อ การดำเนินงานดังกล่าว บริษัทไทยได้ทำการเข้าซื้อสินทรัพย์เมื่อปีที่แล้ว ทั้งนี้ เมื่อเดือนก.ค. ที่ผ่านมา บริษัท บีจี คอนเทนเนอร์ กล๊าส จำกัด (มหาชน) หรือ BGC เป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์แก้วรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยก็กำลังอยู่ในช่วงเจรจากับนักลงทุนเวียดนาม เพื่อเข้าซื้อโซลาร์ฟาร์ม ด้วยมูลค่ากว่า 1 พันล้านบาท หรือ 32 ล้านดอลลาร์ล้านบาท หรือ 32 ล้านดอลลาร่า 1 เพื่อเข้ากงาน บริการได้รับผลกระทบอย่างมาก ด้วยสหรัฐ และคาดว่าสรุปข้อตกลงในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ สำหรับโซลาร์ฟาร์มอย่างน้อย 2 แห่งที่มีกำลังการผลิตรวม 50-100 เมกะวัตต์ โดยมีงบประมาณอยู่ที่ 1-2 พันล้านบาท

ที่มา : https://vietnamtimes.org.vn/thailand-company-in-talks-to-purchase-vietnamese-solar-farms-24932.html

เวียดนามเผยตลาดแรงงานส่งสัญญาฟื้นตัวในไตรมาสที่ 3

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่ามีการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ เป็นผลมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยในไตรมาสที่ 3 พบว่าจำนวนการจ้างงานของคนอายุ 15 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 54.6 ล้านคน เพิ่มขึ้น 1.4 ล้านคนเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 แต่ว่าลดลงประมาณ 1.1 ล้านคนเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 อย่างไรก็ตาม รายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 237.7 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ตลาดแรงงานเริ่มมีสัญญาดีขึ้น หลังจากแตะในระดับต่ำที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 2 และจำนวนงานเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะสร้างงานเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ ภาคบริการได้รับผลกระทบอย่างมาก (68.9% ของจำนวนแรงงานที่ได้รับผลกระทบ) จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 รองลงมาภาคอุตสาหกรรม (66.4%) และภาคเกษตร ป่าไม้และประมง (27%) ตามลำดับ นาย Vu Thi Thuy ผู้อำนวยการฝ่ายสถิติประชากรและแรงงานของสำนักงาน GSO กล่าวว่าการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้คนกว่า 1.8 ล้านคนสูญเสียโอกาสที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงานของประเทศ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/labour-market-posts-signs-of-recovery-in-q3/188152.vnp

อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายนยังคงอยู่ในระดับสูง

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ลดลงในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ก็ยังอยู่ในระดับสูงตามรายงานของสำนักงานสถิติสปป.ลาว ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) อยู่ที่ 114.97 จุดในเดือนกันยายนส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 4.63 ลดลงจากร้อยละ 5.84 ในเดือนสิงหาคม ระดับอัตราเงินเฟ้อได้รับแรงหนุนจากราคาอาหารและสินค้านำเข้าอื่นๆ ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการที่สปป.ลาวนำเข้าอาหารจำนวนมากจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งอาหารทะเล อีกทั้งในช่วงฤดูฝนเกษตรกรไม่สามารถปลูกพืชให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดได้ ยังมีอีกปัจจัยที่เป็นแรงหนุนสำคัญคือความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินกีบ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้ค่าครองชีพในสปป.ลาวสูงขึ้น โดยมีเหตุมาจากการระบาดของ COVID -19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการไหลเข้าของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศรวมถึงการลงทุนจากต่างประเทศในสปป.ลาวซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของสกุลเงินต่างประเทศของสปป.ลาว จากข้อมูลของสำนักงานสถิติสปป.ลาวค่าเงินกีบลดลงร้อยละ 4.29 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐและร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับเงินบาท อย่างไรก็ตามรัฐบาลพยายามจำกัดราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นโดยผลักดันให้มีการผลิตในประเทศมากขึ้นเพื่อลดความจำเป็นในการนำเข้า

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Inflation_195.php

มูลค่าการค้าระหว่างกัมพูชากับไทยอยู่ที่ 5.07 พันล้านดอลลาร์

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 5,073 ล้านดอลลาร์ ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคมกัมพูชาส่งออกสินค้ามูลค่าราว 913 ล้านดอลลาร์ ไปยังประเทศไทยลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีถึงร้อยละ 40 ตามตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ไทย ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากไทยสูงถึง 4,161 ล้านดอลลาร์ ลดลงร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยในปีที่แล้วการค้าทวิภาคีระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.28 คิดเป็น 9,418 ล้านดอลลาร์ ซึ่งกัมพูชาส่งออกไปยังไทย 2,272 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 195

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770207/cambodia-thailand-trade-breech-5-07-billion-in-first-eight-months-registering-a-16-percent-decrease/

รัฐบาลกัมพูชามองหามาตรการผ่อนคลายด้านการลงทุนภายในประเทศ

รัฐบาลกัมพูชากำลังทำงานอย่างหนักเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและส่งเสริมการค้าภายนอกให้ทันกับสภาพแวดล้อมการค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยโฆษกกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน (MEF) กล่าวว่าในช่วงเวลาของการแพร่ระบาดของไวรัสทั่วโลก ทั้งประกอบไปด้วยสงครามการค้าที่กำลังดำเนินอยู่ระหว่างประเทศมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนธุรกิจการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากับกระแสโลกและใช้ช่วงโอกาสให้เป็นประโยชน์จากสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในช่วงของความตึงเครียดทางด้านการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ โดย MEF ได้จัดทำแผนพัฒนา 5 ปี (พ.ศ. 2020-2025) สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ในการปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมให้เป็นอุตสาหกรรมที่มีความมั่นคง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50770066/government-looks-at-easing-investment-procedures/

World Bank ชี้ ธุรกิจครอบครัวเมียนมายังน่าเป็นห่วง

จากรายงานของธนาคารโลกกว่าร้อยละ 85 ของธุรกิจครอบครัวและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในเมียนมายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวในช่วงหลายเดือนจนถึงเดือนมิถุนายนเนื่องจากพิษของ COVID-19 ข้อมูลดังกล่าวถูกรวบรวมจาก COVID-19 Monitoring Platform โดยธนาคารโลกของเมียนมาในเดือนมีนาคมและพฤษภาคมซึ่งได้สำรวจธุรกิจประมาณ 500 แห่งจาก 12 ภาคส่วนใน 6 พื้นที่ ได้แก่ เขตย่างกุ้งเ ขตมัณฑะเลย์ และรัฐชิน ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต บริการ และภาคอื่น ๆ เช่น เกษตรกรรมและการค้า จากการสำรวจร้อยละ 85 มองว่าธุรกิจยังไม่ฟื้นตัว ในความเป็นจริงความเสียหายได้เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม โดยร้อยละ 81 เห็นว่ารุนแรงกว่าเมื่อเทียบกับร้อยละ 69 ในเดือนมีนาคม ซึ่งธุรกิจในย่างกุ้งจะได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ รัฐบาลได้รวบรวมกองทุน COVID-19 มูลค่า 1 แสนล้านจัต เพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำระยะเวลา 12 เดือนให้กับธุรกิจ SMEs จำนวน 3,000 ถึง 4000 รายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองทุนเงินกู้นี้มาจาก Japan International Cooperation Agency (JICA) จำนวนเงิน 15,000 ล้านเยน (190 พันล้านจัต) ภายใต้โครงการเงินกู้ฉุกเฉินสองขั้นตอนกับ Myanma Economic Bank ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐ ขณะนี้กองทุนเงินกู้ชุดที่สามได้รับการอนุมัติและจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น รัฐชิน รัฐกะฉิ่น รัฐฉาน รัฐคายาห์ และเขตทานินธารี เงินกู้จำนวน 500 ล้านจัตจะถูกจัดสรรให้กับธุรกิจในพื้นที่เหล่านี้โดยจะปล่อยกู้ผ่านธนาคารเอกชน 11 แห่งซึ่งกู้ยืมจาก Myanma Economic Bank ในระยะเวลาเงินกู้ 5 ปีและอัตราดอกเบี้ยกำหนดโดยธนาคารกลางเมียนมา

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/no-recovery-sight-myanmar-family-businesses-world-bank.html