INFOGRAPHIC : เวียดนามเผย CPI เดือนก.ย.เพิ่มขึ้น 0.12%

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ได้เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว, ร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค. 62 และร้อยละ 2.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ทั้งนี้ 6 ใน 11 กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ การศึกษา (2.08%), ที่พักอาศัยและวัสดุก่อสร้าง (0.62%), เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า (0.1%), เครื่องดื่มและบุหรี่ (0.05%), ยาเวชภัณฑ์และบริการทางสุขภาพ (0.01%) และสินค้าและบริการอื่นๆ (0.02%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/september-cpi-up-012-percent/187813.vnp

กฟผ. เดินหน้า ตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้า ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางอาเซียน

ผู้สื่อข่าวประชาชาติธุรกิจรายงานว่า วันนี้ (29 กันยายน 2563) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการศึกษาการพัฒนาความพร้อมเพื่อรองรับตลาดซื้อขายไฟฟ้าในระดับขายส่งฉบับที่ 2 โดยในระยะแรก กฟผ. มีแผนจัดตั้งตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้า ประกอบด้วย ตลาดซื้อขายไฟฟ้าล่วงหน้าหนึ่งวัน (Day-Ahead Market) และตลาดซื้อขายไฟฟ้าระหว่างวัน (Intraday Market) โดย กฟผ. จะเป็นผู้จัดทำกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ให้คำปรึกษาในการพัฒนาระบบซื้อขาย เมื่อตลาดซื้อขายพลังงานไฟฟ้าทั้งสองมีเสถียรภาพและสภาพคล่องแล้ว อาจพิจารณาให้มีการซื้อขายในตลาดซื้อขายกำลังการผลิตไฟฟ้า (Capacity Market) “การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการนำผลการศึกษาที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ และกฟผ. ศึกษาร่วมกันในระยะเวลา 1 ปี มาพัฒนาต่อยอด โดยที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้ถ่ายทอดความรู้ด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ การส่งมอบ การชำระราคาหลักทรัพย์ และประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจการซื้อขายหลักทรัพย์ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้อง“

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-529078

เวียดนามเผยเกินดุลการค้าประมาณ 17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 9 เดือนของปีนี้

จากรายงานประจำเดือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่าตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ย. เวียดนามเกินดุลการค้าราว 16.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยภาคการลงทุนในประเทศมียอดขาดดุลการค้าถึง 10.52 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงเวลาข้างต้น ในขณะที่ ภาคการลงทุนจากต่างประเทศมียอดเกินดุลการค้า 27.51 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ภาคการลงทุนในประเทศยังคงเป็นแรงสนับสนุนทางการค้าที่โดดเด่นของเวียดนาม ด้วยมูลค่าการส่งออก 71.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.4 ของมูลค่าส่งออกรวม อย่างไรก็ตาม ในเดือน ก.ย. มูลค่าการส่งออกของเวียดนามอยู่ที่ประมาณ 27.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว ในขณะที่ มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ประมาณ 24 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว นอกจากนี้ ช่วง 9 เดือนของปีนี้ เวียดนามส่งออกสินค้า 30 รายการที่มีมูลค่ามากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อชิ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 93.1 ของมูลค่าการส่งออกรวม

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-trade-surplus-expands-to-nearly-us17-billion-in-9-month-314349.html

เวียดนามเผยเงินเฟ้อเดือนก.ย.ชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 5 ปี เหลือ 0.12%

จากรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) เปิดเผยว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือนก.ย. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้วและร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2562 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2559-2563 ทั้งนี้ กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ 6 ใน 11 รายการที่มีผลต่อเงินเฟ้อ ชี้ให้เห็นถึงราคาในกลุ่มการศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน CPI ในไตรมาสที่สาม ขยายตัวร้อยละ 3.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้ ราคาทองคำในประเทศยังคงมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 ที่ระบาดไปยังทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ราคาทองคำในเดือนก.ย.ลดลงร้อยละ 0.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของเดือนที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.37 เมื่อเทียบกับเดือนธ.ค.และร้อยละ 30.33 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-september-inflation-slows-to-5-year-low-at-012-314350.html

กองทุนลดความยากจน (PRF) เปิดตัวโครงการใหม่เพื่อปรับปรุงโภชนาการในภาคเหนือของสปป.ลาว

ชุมชนท้องถิ่นในแขวงทางตอนเหนือของสปป.ลาวจะได้รับประโยชน์จากโครงการนำร่องของกองทุนลดความยากจน (PRF) โครงการนี้จะให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคและคำแนะนำเพื่อให้ชุมชนสามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพสูงขึ้น เมื่อผลผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้นจะทำให้ความมั่นคงด้านโภชนาในพื้นดีขึ้น จากข้อมูลของกองทุนลดความยากจน PRF พบว่าอัตราการขาดสารอาหารยังคงอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 19 ในพื้นที่ทางเหนือขอวสปป.ลาว ผู้อำนวยการกองทุนลดความยากจน PRF กล่าวว่า “ปัญหาดังกล่าวต้องการนโยบายที่ชัดเจนในการประสานงานและจำเป็นต้องมีการเปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร” การจำกัดปัญหาดังกล่าวได้นั้นมีความสำคัญต่อการส่งเสริมทุนมนุษย์ในสปป.ลาวและทำให้ประชาชนมีชีวิตที่มีประสิทธิผลและมีชีวิตที่สมบูรณ์ตามที่พันธกิจของธนาคารโลกที่เป็นพันธมิตรที่สำคัญในการให้ความช่วยเหลือสปป.ลาวตลอดมา

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-09/29/c_139406890.htm

ข้อมูลด้านค่าครองชีพภายในประเทศกัมพูชาขัดกับความเชื่อมั่นในท้องถิ่น

แรงงานในพื้นที่กล่าวว่ากำลังประสบกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ต่างจากรายงานด้านราคาสินค้าจำพวกอาหาร ค่าขนส่ง และค่ารักษาพยาบาล ที่มีรายงานว่ายังคงมีเสถียรภาพ โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำประมาณร้อยละ 2 ต่อปีจนถึงปี 2022 เช่นเดียวกับรายงานราคาอาหารล่าสุดของ World Food Programme สรุปว่าตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2019 ถึงเดือนสิงหาคม 2020 ในกัมพูชาราคาอาหารยังคงค่อนข้างคงที่สำหรับสินค้าอาหารหลักส่วนใหญ่ ซึ่ง COVID-19 และผลจากการเลิกจ้างแรงงานในหลายภาคส่วนส่งผลทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลงร่วมด้วย โดยนักวิเคราะห์เศรษฐกิจกล่าวว่าระดับเงินเฟ้อควรอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 0 ถึง 5 และควรอยู่ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 3 ดังนั้นค่าครองชีพในกัมพูชายังคงอยู่ภายใต้การควบคุม

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767708/cost-of-living-data-goes-against-local-sentiment/

แบงค์ชาติกัมพูชาสนับสนุนการใช้สกุลเงินเรียลในระบบเศรษฐกิจภายในประเทศ

ผู้ว่าการธนาคารแห่งชาติกัมพูชากล่าวว่ากัมพูชาต้องการพัฒนาส่งเสริมสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจและการเงินต่อวิกฤตที่เกิดขึ้นรวมทั้งสนับสนุนการเติบโตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนและครอบคลุม โดยผู้ว่าการกล่าวสุนทรพจน์ในงานครบรอบ 40 ปีของการเปิดตัวสกุลเงินเรียลที่จัดขึ้นในพนมเปญ ซึ่งเขาเสริมว่าในสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอนสูงและการพัฒนาภาคเศรษฐกิจและการเงินของกัมพูชายังคงต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย โดยผู้ว่าอยากให้พิจารณาถึงความสำคัญของเงินเรียล (KHR) ในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายส่งเสริมให้ใช้สกุลเงินท้องถิ่นเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกในกลยุทธ์การพัฒนาภาคการเงิน เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ โดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) รวมถึงกระทรวงและสถาบันที่เกี่ยวข้องมามีส่วนร่วมในการปรับปรุงการใช้สกุลเงินเรียลอย่างต่อเนื่อง โดยความต้องการธนบัตรเพิ่มขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยร้อยละ 16 ต่อปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50767469/nbc-makes-argument-for-more-use-of-riels/