ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของกัมพูชายังคงมีแนวโน้มคงที่ในปี 2563

ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งถือเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจหลักของประเทศในแง่ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ คาดว่าจะยังคงมีความมั่นคงและเป็นหนึ่งในไม่กี่ภาคส่วนที่นักธุรกิจภายในมองว่าเป็นแนวโน้มที่ดีสำหรับนักลงทุน โดยผู้อำนวยการฝ่าย CBRE กัมพูชากล่าวว่าตลาดแสดงสัญญาณการฟื้นตัวในปีนี้แม้จะมีความเสี่ยงและความวุ่นวายต่างๆเกิดขึ้น ซึ่งการพัฒนาที่อยู่อาศัยราคาปะหยัดและการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่มีคุณภาพสูงขึ้นน่าจะเป็นจุดสนใจสำหรับปี 2563 ตามรายงานของ CBRE ในไตรมาสที่สามของปี 2562 กรุงพนมเปญรายงานว่ามีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ 9 โครงการ คิดเป็น 5,140 ยูนิต โดยการเปิดตัวโครงการใหม่จะมุ่งเน้นไปที่อำเภอ Chamkarmon และ Chroy Changvar ซึ่งคิดเป็น 44% และ 40% ของหน่วยที่เปิดตัวใหม่ตามลำดับ ส่วนใหญ่ของการเปิดตัวใหม่อยู่ในตำแหน่งช่วงกลางซึ่งประกอบด้วยประมาณร้อยละ 52 (ประมาณ 2,700 หน่วย) ของการเปิดตัวทั้งหมด

ที่มา :https://www.khmertimeskh.com/50679140/real-estate-market-stable-for-2020

ปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด สร้างสถิติยอดการส่งออกสูงสุดเป็นปีที่ 2 ติดต่อกัน

ในปี 2562 เวียดนามส่งออกปูนซีเมนต์และปูนเม็ดประมาณ 34 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ามากกว่า 1.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า ระบุว่าภาคอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ของเวียดนามสร้างสถิติเป็นผู้ส่งออกมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้ตัวเลขส่งออกซีเมนต์สูงสุดติดต่อกันเป็นปีที่สอง สำหรับการจำหน่ายปูนซีเมนต์และปูนเม็ดอยู่ที่ 98-99 ล้านตันและการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 67 ล้านตัน นอกจากนี้ สมาคมปูนซีเมนต์เวียดนามคาดว่าความต้องการปูนซีเมนต์จะเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4-5 ในปี 2563 ด้วยปริมาณราว 101-103 ล้านตัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/cement-clinker-exports-set-record-for-second-consecutive-year/167085.vnp

เม็ดเงิน FDI ไหลเข้าไปยังโครงการสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนามอย่างมาก

จากข้อมูลของสมาคมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม (VITAS) เปิดเผยว่าในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 มีเม็ดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) จำนวนมากไหลเข้าไปในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของเวียดนาม โดยประเทศที่มีเงินลงทุนจากต่างประเทศไหลเข้าในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอมากที่สุดของเวียดนาม คือ ฮ่องกง (447 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) รองลงมาสิงคโปร์ จีน เกาหลีใต้และสาธารณรัฐเซเชลส์ ตามลำดับ นอกจากกลุ่มประเทศข้างต้นแล้ว อุตสาหกรรมสิ่งทอเวียดนามมีเงินทุนจดทะเบียนรวมราว 61 ล้านดอลลาร์สหรัฐที่มาจากนักลงทุนชาวญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งเม็ดเงินทุน FDI ได้ไหลเข้ามาในโครงการวัสดุต่างๆ ได้แก่ โครงการสิ่งทอ,ย้อมผ้า,ตัดเย็บเสื้อผ้า,เส้นใยและผลิตเส้นใย เป็นต้น

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/strong-fdi-inflows-poured-into-textile-and-fiber-projects-408588.vov

ธนบัตรแบบใหม่จะไม่ส่งผลต่อภาวะเงินเฟ้อ

การเปิดตัวธนบัตร 1000 จัตรุ่นใหม่ที่มีภาพเหมือนของนายพลอองซาน ไปเมื่อวันที่ 7 ม.ค.นั้นคาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อกล่าวว่าเพื่อตอบสนองต่อความกังวลของตลาด จากความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการธนาคาร เมื่อธนาคารกลางปล่อยธนบัตรใหม่เข้าสู่เศรษฐกิจซึ่งจะเป็นการดึงธนบัตรแบบเก่าในจำนวนเท่ากันเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเงินเฟ้อ  ปัจจุบันไม่มีประเทศใดในโลกพิมพ์สัญลักษณ์พิเศษที่ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ในสกุลเงินของประเทศ ซึ่งเป็นความคิดที่ดีที่จะมีผู้ที่แสดงความจงรักภักดีต่อประเทศ Yoma Bank มองว่าแม้จะมีธนบัตรใหม่แต่ผู้คนควรเปลี่ยนความคิดโดยควรเป็นสังคมไร้เงินสด ซึ่งมีข้อดี เช่น ความสะดวกสบาย และลดต้นทุน

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/new-bank-notes-will-not-affect-inflation-expert-says.html

เมียนมา-ไทยเซ็น MOU โอนเงินข้ามแดน

ธนาคารพาณิชย์จาก 2 ประเทศ คือธนาคาร Ayeyarwady (AYA Bank) ของเมียนมาและธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ของไทยได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อร่วมมือกันในการพัฒนาการชำระเงินและบริการโอนเงินระหว่างสองประเทศ เมื่อเดือนตุลาคม 62 ที่ผ่านมาคาดเริ่มใช้งานได้เร็วๆ นี้ ที่ผ่านมาการชำระเงินผ่านธนาคารจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐซึ่งส่งผลเสียจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ MOU นี้สามารถทำให้การชำระเงินเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น แม้ว่าจะมีแรงงานอพยพชาวเมียนมาจำนวนมากในไทยการโอนเงินจะเกิดขึ้นผ่านระบบ Hundi ซึ่งเป็นระบบการชำระเงินนอกระบบ  ใน 4 ประเทศที่มีพรมแดนติดกับเมียนมา ไทยเป็นคู่ค้าที่ใหญ่เป็นอันดับสอง ปริมาณการค้าที่ชายแดนไทย – เมียนมาประกอบด้วย ท่าขี้เหล็ก เมียวดี เกาะสอง มะริด ทิกิ และเมาะตุง ในปีงบประมาณ 61-62 มีมูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/myanmar-thailand-agree-cross-border-transfers.html

อัตราแลกเปลี่ยน Kip ผันผวนเนื่องจากการเติบโตของการนำเข้า

อัตราการแลกเปลี่ยนกีบต่อดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทมีความผันผวนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาโดยมีปัจจัยมาจากความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคที่นำเข้าเพิ่มขึ้นรวมถึงกระบวนการชำระเงินในต่างประเทศสำหรับโครงการลงทุนที่ดำเนินการในสปป.ลาวซึ่งขัดขวางการไหลเข้าของสกุลเงินต่างประเทศ 2 ปัจจัยดังกล่าวทำให้ค่าเงินกีบอ่อนค่าลงโดยตั้งแต่ มกราคม-ธันวาคม 62 ค่าเงินอ่อนค่าเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ธนาคารกลางสปป.ลาวกำหนดไว้ที่ 2% แต่ผลที่ออกมาค่าเงินกีบกับอ่อนค่าเพิ่มขึ้นถึง 3%(เฉลี่ยทั้งปี) จากกรณีดังกล่าวMr. Sonexay Siphandone นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวกล่าวว่า“ จำเป็นต้องมีการประสานงานภายในรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการลดปริมาณการนำเข้าและเพิ่มการส่งออกเพื่อสร้างดุลการค้าที่ขาดดุล” นอกจากนี้ธนาคารกลางจะยังคงทำงานร่วมกับกระทรวงการวางแผนและการลงทุนหาวิธีแก้ไขกระบวนการชำระเงินในต่างประเทศสำหรับโครงการลงทุนในสปป.ลาวซึ่งเป็นปัญหาต่อการไหลเข้าของสกุลเงินต่างประเทศ

ที่มา : http://annx.asianews.network/content/kip-exchange-rate-fluctuating-due-growth-imports-111708

รัฐบาลจะออกกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่กำลังเติบโต

รัฐบาลได้ประกาศใช้กฎหมายภายใต้พระราชกฤษฎีกาใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การบริหารจัดการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าการขายและการประกอบรถยนต์ในลาวมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยการดำเนินธุรกิจดังกล่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบการ 3 ใบจากกระทรวงพาณิชย์บริษัทที่ได้รับใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกรถยนต์อาจดำเนินการเฉพาะในลักษณะขายส่งในขณะที่บริษัทที่มีใบอนุญาตประกอบธุรกิจขายยานยนต์สามารถดำเนินธุรกิจได้ทั้งธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกและบริษัทที่มีใบอนุญาตประกอบรถยนต์ได้รับอนุญาตให้นำเข้าชิ้นส่วนและประกอบและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปให้กับลูกค้าในแบบขายส่งเท่านั้นหนึ่งในข้อกำหนดหลักที่ บริษัทต้องปฏิบัติคือธุรกิจที่ต้องการขอใบอนุญาตนำเข้าและส่งออกยานพาหนะจะต้องมีทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 4 พันล้านกีบสำหรับรถยนต์สามล้อและ 5 พันล้านกีบสำหรับยานพาหนะสี่ล้อกฎหมายใหม่จะทำให้การจัดการในธุรกิจยานพาหนะมีประสิทธิภาพมากขึ้นจำกัดบริษัทที่ขายรถยนต์คุณภาพต่ำเนื่องจากจะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมต่อไปนอกจากนี้มีการส่งเสริมด้านสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทที่จะมีการลงทุนอีกด้วย

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Govt06.php

อัตราการเติบโตที่มั่นคงของท่าเรือขนส่งกัมพูชา

ท่าเรือขนส่งภายในประเทศกัมพูชามีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งทั้งด้านการขนส่งตู้สินค้าและการระวางในปี 2562 เนื่องจากรัฐบาลได้ขยายกำลังการผลิตเพื่อเพิ่มการนำเข้าและส่งออกสินค้า โดยจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ถูกจัดการใน Sihanoukville Autonomous Port (SAP) ท่าเรือน้ำลึกแห่งเดียวของประเทศ เพิ่มขึ้น 17% เป็น 633,099 TEUs (หน่วยเทียบเท่า 20 ฟุต) จากปี 2018 จนถึง 2019 ตามรายงานของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ซึ่ง Phnom Penh Autonomous Port (PPAP) มีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งถึง 29% โดยมีจำนวนตู้คอนเทนนอร์อยู่ที่ 275,000 TEUs ในช่วงเวลาเดียวกันกับ SAP ซึ่งน้ำหนักระวางของ SAP มีการจัดการที่ 6.533 ล้านตันและ PPAP จัดการได้ 3.810 ล้านตัน ทำให้มีการเติบโตที่โดดเด่นถึง 22% ในการเติบโตรวมกันในช่วงระยะเวลา 1 ปี โดยในปี 2562 มีการจัดการระวางน้ำหนักรวมผ่านทาง PPAP จำนวน 1.740 ล้านตัน มาจากการนำเข้าน้ำมัน และ 2.070 ล้านตัน มาจากสินค้าและผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ซึ่งรายรับรวมในช่วงระยะเวลาของ SAP มีการรายงานอยู่ที่ 80.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 17% และรายรับของ PPAP เพิ่มขึ้น 35% สู่ 30.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677964/solid-growth-in-nations-ports

การจดทะเบียนยานพาหนะในกัมพูชาเพิ่มขึ้น 13% ในหนึ่งปี

การจดทะเบียนของยานพาหนะเพิ่มขึ้น 13% ในหนึ่งปีเนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและรายได้ที่เพิ่มขึ้นตามรายงานประจำปีของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง ซึ่งรายงานของกระทรวงฯ ระบุจำนวนรถที่จดทะเบียนใหม่ในปีนี้ที่ 640,183 คัน โดยรวมประกอบไปด้วยรถบรรทุก 15,956 คัน รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 92,958 คัน และมอเตอร์ไซค์ 531,269 คัน ซึ่งตั้งแต่ปี 1990 จนถึงปัจจุบันมีการจดทะเบียนในกัมพูชามากกว่า 5 ล้านรายการ โดยเพิ่มขึ้นมากกว่า 300,000 ถึง 400,000 คันต่อปี ซึ่งเป็นรถมอเตอร์ไซด์ร่วม 40% โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวว่าเพื่อให้บริการแก่ประชาชนต่อไปรัฐบาลจะออกพระราชกฤษฎีกาหมายเลข 73 ซึ่งอนุญาตให้เจ้าของปัจจุบันเก็บป้ายทะเบียนรถเก่าไว้เมื่อขายรถยนต์แล้วสามารถใช้หมายเลขทะเบียนเหล่านั้นกับรถใหม่ของพวกเขา โดยในอดีตรถยนต์และรถจักรยานยนต์มีสัดส่วนเพียง 33% ของรายได้ทั้งหมดจากกรมศุลกากรและสรรพสามิต แต่ปีนี้ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 52% เป็นเพราะชาวกัมพูชาสามารถซื้อรถยนต์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ จากการที่เศรษฐกิจภายในประเทศที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50677837/registered-vehicles-increase-13-percent-in-one-year

“สมคิด”สั่ง”กฟผ.” ศึกษาลดค่าไฟอุ้มผู้มีรายได้น้อย-ไมโครเอสเอ็มอี

“สมคิด” รุดมอบนโยบาย “กฟผ.” เร่งดันศก.ฐานรากให้ศึกษาโครงสร้างค่าไฟเฉพาะอุ้มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการรายเล็กเพื่อลดต้นทุน ลุยโรงไฟฟ้าชุมชน และรุกธุรกิจรับยานยนต์ไฟฟ้า(อีวี) เร่งรัดลงทุนรับบาทแข็ง “สนธิรัตน์” รับเล็งหารือทุกส่วนปรับโครงสร้างค่าไฟ พร้อมถกรับมือน้ำมันพรุ่งนี้(10 ม.ค.)โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ว่า ได้มอบหมายให้ กฟผ. ดูแลค่าไฟฟ้าโดยเฉพาะในช่วงความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ให้มีเพียงพอซึ่งก็อุ่นใจได้ว่าจะไม่เกิดปัญหาเพราะได้ร่วมมือกับกระทรวงพลังงานดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันต้องการให้ดูแลค่าไฟฟ้าให้ต่ำท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่ดีนักสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการรายเล็ก (ไมโครเอสเอ็มอี) เพื่อลดค่าครองชีพ ทั้งนี้ กฟผ. เองมีวิสัยทัศน์ที่จะก้าวไปสุ่ธุรกิจแห่งอนาคต มุ่งเน้นนวัตกรรมที่จะขยายธุรกิจได้มากขึ้น โดย กฟผ. ได้มองถึงอนาคตในการทำธุรกิจในประเทศกลุ่ม CLMV ที่ขณะนี้ กฟผ. มีความแข็งแรงมากและด้วยธุรกิจไฟฟ้าที่เข้มแข็งสามารถประยุกต์เทคโนโลยีไปสู่ผู้บริโภค ทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9630000002627