เมียนมาเตรียมแผนรองรับ COVID-19 สำหรับภาคเกษตร

กระทรวงเกษตรปศุสัตว์และชลประทาน (MOALI) ของเมียนมาจัดทำแผนแม่บทความมั่นคงด้านอาหารเพื่อรองรับภาคการเกษตรและปศุสัตว์จากปัญหา COVID-19  ภายหลังจากการประชุมตามแผนรับมือเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของ COVID-19 ที่มีต่อประชากรในชนบทรวมทั้งเกษตรกร นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาที่ยั่งยืนของเมียนมา ภายใต้แผน MOALI จะมุ่งเน้นไปที่การผลิตพืชผลและปศุสัตว์ให้เพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศส่วนที่เหลือจะถูกส่งออกไปยังต่างประเทศ ทั้งนี้ภายใต้ CERP รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินไปแล้วร้อยละ 75 ของเงินจำนวน 9 หมื่นล้านจัต เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากการระบาดครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปลายเดือนมีนาคม 63

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-draws-plan-cushion-agri-sector-covid-19.html

ปีงบฯ 62-63 มูลค่า FDI เมียนมาเกินเป้าหมาย

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเมียนมาเกินเป้าหมายที่ 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ วันที่ 7 กันยายน ของปีงบประมาณ -62-63 โดยมีการลงทุนจากต่างประเทศทั้งหมด 234 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 62  ถึง 7 กันยายน 63 ซึ่งจะรวมถึงการขยายธุรกิจเดิมและการลงทุนภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษ คณะกรรมการการลงทุนเมียนมาวางแผนที่จะจัดการประชุมครั้งสุดท้ายก่อนสิ้นปีงบประมาณซึ่งจะมีการทบทวนการลงทุนขั้นสุดท้ายสำหรับปีนี้ ซึ่งหากมีการลงทุนทั้งหมดจะมีมูลค่าทั้งหมด 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปีงบประมาณ 62-63 เกินเป้าหมาย 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปีนี้ เมียนมายังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศเพิ่มอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลงทุนทั้งหมดที่คาดว่าจะได้รับการอนุมัติก่อนสิ้นเดือนนี้

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/foreign-direct-investments-fiscal-2019-20-exceed-target.html

เมียนมาเตรียมสร้างท่าเรือเพื่อพัฒนาการขนส่งทางน้ำ

กระทรวงคมนาคมและการสื่อสารกำลังวางแผนที่จะพัฒนาท่าเรือภายในประเทศหลายแห่งที่แม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำชิดวิน เพื่อปรับปรุงการขนส่งทางบกและการขนส่งทางแม่น้ำ ท่าเรือแห่งใหม่นี้จะได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือหลักเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการขนส่งทางน้ำและโลจิสติกส์ นอกจากนี้ยังยกระดับการค้ากับอินเดีย จีน และไทยและสอดคล้องกับแผนพัฒนาแห่งชาติของเมียนมาและแผนแม่บทโลจิสติกส์ ท่าเรือทั้ง 5 แห่งอยู่ใน จังหวัดปะโคะกู เขตมะกเว เมืองบะมอฝั่งแม่น้ำอิรวดี รวมถึงเมืองกะเล่วะและเมืองโมนยวาริมแม่น้ำชิดวิน (Chindwin) โดยมีมูลค่ารวม 182 ล้านดอลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีการเปิดประมูลและคาดว่าจะเริ่มได้ในปีงบประมาณที่จะถึงนี้  ท่าเรือทั้ง 5 แห่งซึ่งเมื่อพัฒนาแล้วคาดว่าจะยกระดับเศรษฐกิจภายในประเทศผ่านการขนถ่ายสินค้าและการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสในการทำงานให้กับคนในท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเขตเศรษฐกิจและเขตอุตสาหกรรมในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยลดราคาสินค้าเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ลดลง ประหยัดเวลาการเดินเรือด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกในการขนถ่ายที่รวดเร็ว ลดการสูญเสียและความเสียหายต่อสินค้าและการขนถ่ายสินค้าที่ปลอดภัยและมีความเชื่อถือมากขึ้น

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/myanmar-build-inland-ports-improve-river-transportation.html

ภาคก่อสร้างเมียนมาหวั่นผลกระทบจากการ Work from Home

บริษัทรับเหมาก่อสร้างต่างกังวลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทำงานจากที่บ้าน (WFH) ผลมาการระบาดของ COVID-19  โครงการ WFH ถูกนำมาใช้ร้อยละ 50 สำหรับพนักงานถูกนำมาใช้ในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 63 ในช่วงการระบาดครั้งแรกของ COVID-19 แต่ถูกยกเลิกไปในเดือนมิถุนายนเมื่อจำนวนผู้ป่วยลดลง ขณะนี้อาจถูกนำกลับมาใช้เมื่อมีการระบาดอีกครั้ง แม้ว่าการ WFH สามารถนำมาใช้ในภาคธุรกิจที่ไม่ให้พนักงานมาทำงานที่สำนักงานได้ แต่เป็นการยากสำหรับภาคการก่อสร้างที่จะลดจำนวนคนงานในสถานที่ทำงาน  ขณะเดียวกันกำลังปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินงานถูกระงับ ซึ่งภาคการก่อสร้างเป็นแหล่งที่ให้โอกาสในการทำงานมากที่สุดในตอนนี้  ปัจจุบันการก่อสร้างเเริ่มฟื้นตัวหลังจากหยุดชะงักระหว่างเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 63 ซึ่งในช่วงดังกล่าวเอกชนรายย่อยบางรายเลิกกิจการเนื่องจากปัญหาการหมุนเวียนของกระแสเงินสด

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/construction-sector-myanmar-worried-over-work-home-order.html

เมียนมาห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเวลาเคอร์ฟิว

Myanmar Container Truck Association (MCTA) ออกประกาศให้รถบรรทุกทุกคันทั่วประเทศห้ามวิ่งรถในช่วงเวลาเคอร์ฟิวที่รัฐบาลกำหนดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระหว่างเวลา 12.00 น. ถึง 04.00 น. ในย่างกุ้งมีรถบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์วิ่งต่อวันประมาณ 3,000 คัน แต่จำนวนลดลงเหลือประมาณ 1,000 คันเนื่องจากการระบาดของ COVID-19

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/container-trucks-warned-avoid-driving-during-curfew-hours.html

ส่งออกข้าวโพดไปไทยหยุดชะงัก

ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 63 เมียนมาหยุดการส่งออกข้าวโพดจากชายแดนเมียวดี  เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 63 โดยได้รับการยกเว้นภาษีเป็นไปตามข้อกำหนดข้าวโพดของไทย แต่เวลานี้ตรงกับเวลาที่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าวโพดในไทย เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของเกษตรกรไทยจึงเพิ่มภาษีการส่งออกข้าวโพดของเมียนมา

ที่มา: https://elevenmyanmar.com/news/corn-export-to-thailand-halts

JICA ปล่อยเงินกู้ให้เมียนมา 280 ล้านดอลลาร์เพื่อสู้กับวิกฤติ COVID-19

รัฐบาลเมียนมาและองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) ได้ลงนามในสัญญาเงินกู้มูลค่า 30 พันล้านเยน (280 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในเนปยีดอเมื่อวันอังคารที่ 1 กันยายน 2563 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 (CERP) และนโยบายที่เกี่ยวข้องสำหรับการลงทุนและการส่งเสริมการค้ารวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน ซึ่งตามแผน CERP คาดว่าจะมีการกู้เงินมาเพื่อใช้ตามแผนมูลค่ารวม 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ครั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่สองของ JICA ซึ่งในเดือนมิถุนายน 63 ที่ผ่านมาได้เปิดตัวโครงการจัดหาเงินทุนสำหรับ SME มูลค่า 5,000 ล้านเยน เมื่อสัปดาห์ที่แล้วสหภาพยุโรปและเมียนมาได้ลงนามข้อตกลงด้านการเงินเพื่อสนับสนุนภาคการเกษตรและโภชนาการ  โดยจะลงทุน 180 พันล้านจัตในอีก 5 ปีข้างหน้าเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรปศุสัตว์และการชลประทาน

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/jica-gives-myanmar-280m-loan-budget-support.html

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้า GDP โต 6% ในปีงบประมาณ 63-64

รัฐสภาได้อนุมัติกฎหมายการวางแผนแห่งชาติสำหรับปีงบประมาณ 63-64 ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตในอัตราร้อยละ 6 จากการคาดการณ์ของปีงบประมาณ 62-63 จะขยายตัวร้อยละ 7แต่เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 คาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 4.3 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการระบาดของ COVID-19 ธนาคารโลกคาดการณ์ว่า GDP ของเมียนมาจะเติบโตร้อยละ 7.2 ในปี 63-64 ขณะที่ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 6 ภาคการผลิตไฟฟ้าคาดว่าจะเติบโตมากที่สุดร้อยละ 12.7 ในปีงบประมาณหน้า ส่วนที่สามารถเห็นการเติบโตได้คือการสื่อสาร การธนาคารและการเงินการ ขนส่ง และการก่อสร้าง ด้านการค้าคาดว่าจะเติบโตขึ้นด้วยการส่งออกรวม 16.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐและการนำเข้าจะสูงถึง 18.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐทำให้ขาดดุลการค้า 34,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/govt-targets-6-gdp-growth-2020-21.html

การพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมของเกาหลีเริ่มธันวาคม 63

จากข้อมูลของ Korea Land and Housing Corporation จากเกาหลีใต้โครงการ Construction of the Korea-Myanmar Industrial Complex (KMIC) คาดว่าจะสร้างด้วยการลงทุนมูลค่า 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ สามารถสร้างงานให้ชาวเมียนมามากกว่าครึ่งล้านคนเพื่อสนับสนุนการพัฒนาของเมียนมา KMIC เป็นโครงการระดับรัฐบาลซึ่งเป็นโครงการแรกระหว่างสองประเทศ ภายใต้การร่วมทุนระหว่าง Korea Land and Housing Corp, Global SAE-A Co Ltd และกระทรวงการก่อสร้างจะได้รับการพัฒนาบนพื้นที่ 556 เอเคอร์ในหมู่บ้านญองเนาบีน ในเมืองแลกูของย่างกุ้ง Korea Land & Housing Corporation จะถือหุ้นร้อยละ 40 ในโครงการในขณะที่ Global SAE-A Co จะถือหุ้นร้อยละ 20 เฟสแรกจะดำเนินการบนพื้นที่ 315 เอเคอร์ โดยเกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับอาหารและเครื่องดื่ม การผลิตแบบสั่งตัด (CMP) โลจิสติกส์และคลังสินค้า เฟสที่สองจะมีพื้นที่ 240 เอเคอร์ เน้นใช้ผลิตวัสดุก่อสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ โดยเขตอุตสาหกรรมทั้งหมดจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2565 ในขณะเดียวกันกระทรวงการก่อสร้างจะพัฒนาถนนวงแหวนรอบนอกและจัดหาไฟฟ้าและน้ำเข้าเพื่อให้ถึงเขตอุตสาหกรรมด้วยเงินกู้ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกองทุนความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งได้รับเงินทุนแล้ว 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ KMIC จะร่วมมือกับสถาบันของรัฐบาลเกาหลีเพื่อสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ด้วยบริการให้คำปรึกษาและการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และจะร่วมมือกับรัฐบาลเมียนมาเพื่อดำเนินการศูนย์บริการแบบครบวงจรสำหรับนักลงทุนอีกด้วย ขณะเดียวกันกำลังเร่งดำเนินการก่อสร้างสะพานดาหลาในย่างกุ้งเพื่อให้แล้วเสร็จภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้แม้จะจะมีการระบาดของ COVID-19 ก็ตาม สะพานแห่งนี้หรือที่เรียกว่าสะพานมิตรภาพเมียนมา – เกาหลีคาดว่าจะมีมูลค่า 168 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (257 พันล้านจัต) จะเชื่อมระหว่างเมืองดาลาข้ามแม่น้ำย่างกุ้งไปยังตัวเมืองย่างกุ้งเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคม 62 และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 65

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/development-korean-industrial-project-begin-december.html

ตลาดอัญมณีโม่โกะกลับมาเปิดอีกครั้งหลังปิดนาน 2 เดือน

Mogok Htar Pwe ตลาดขนาดเล็กแบบดั้งเดิมที่ค้าขายอัญมณีของชาวโม่โกะ (Mogok) ได้กลับมาเปิดตามปกติตั้งแต่เดือนมิถุนายน 63 หลังจากถูกปิดเป็นเวลาสองเดือนเนื่องจากการระบาดของ Covid-19 ซึ่งได้รับการอนุญาตของเทศบาล โดยจะมีการวางสบู่ล้างมือ อ่างสำหรับล้างมือและตรวจสอบว่าผู้สวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ ตลาดอัญมณีถูกระงับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 63 และเปิดทำการอีกครั้งในวันที่ 1 มิถุนายน 63 จะเปิดทำการตั้งแต่เวลา 12.30-16.00 น. ชาวบ้านได้รับผลกระทบในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาเนื่องจากทั้งเมืองต้องพึ่งพาธุรกิจนี้ ซึ่งกฎหมายการขุดอัญมณีขนาดเล็กและการยังชีพซึ่งได้รับการอนุมัติที่รัฐบาลมัณฑะเลย์ในช่วงต้นเดือนนี้ยังมีความสำคัญสำหรับผู้ค้าอัญมณีจากโม่โกะและโอกาสในการทำงานสำหรับคนในท้องถิ่นซึ่งรัฐบาลภูมิภาคจะได้มีสิทธิ์ในการจัดการเอง

ที่มา: https://www.mmtimes.com/news/mogok-traditional-gem-markets-resume-normal-operation.html