เวียดนามเผย 4 เดือนแรก ยอดส่งออกไม้ พุ่ง 50.5%

กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท เผยว่ายอดการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ทำมาจากไม้ แตะ 4.99 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 50.5 เมื่อเทียบเป็นรายปี สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เป็นผู้นำเข้าไม้รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม คิดรวมกันเป็นสัดส่วน 87.1% ของยอดการส่งออกรวม นอกจากนี้ ในปัจจุบัน เวียดนามมีจำนวนผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านการผลิตและแปรรูปไม้ประมาณ 12,000 แห่ง ด้วยจำนวนพนักงานราว 500,000 คน และจำนวนเงินทุนทางด้านการผลิต 320 ล้านล้านดอง (14 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งมีมูลค่าสินทรัพย์ถาวรมากกว่า 120 ล้านล้านดอง และรายได้สุทธิเกือบ 360 ล้านล้านดอง

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/wood-exports-post-505percent-surge-in-four-months/202061.vnp

“เวียดนาม-ญี่ปุ่น” จับมือร่วมส่งเสริมการดำเนินงาน ภายใต้ข้อตกลง CPTPP

เวียดนามและญี่ปุ่นได้ตกลงที่จะส่งเสริมความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) ซึ่งได้บรรลุฉันทานมติมาจากการเจราทางโทรศัพท์ระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการฟื้นฟูเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคมที่ผ่านมา อีกทั้ง เวียดนามยอมรับที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนชาวญี่ปุ่นที่ต้องการลงทุนในเวียดนาม และการเคลื่อนไหวดังกล่าวนั้น ช่วยให้เวียดนามกลายเป็นจุดเชื่อมโยงที่สำคัญในห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจญี่ปุ่น โดยเฉพาะสาขาผลิตยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ เสื้อผ้าและสิ่งทอ สิ่งเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อความสัมพันธ์แบบทวิภาคีทั้งทางเศรษฐกิจและการค้า

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-japan-to-work-closely-for-effective-implementation-of-cptpp/202091.vnp

โอกาสการส่งออกข้าวของเวียดนามในตลาดฟิลิปปินส์

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม ระบุว่าฟิลิปปินส์ปรับลดอัตราภาษีนำเข้าข้าว ช่วยเปิดโอกาสแก่ธุรกิจเวียดนามคงอุปทานให้มีเสถียรภาพและปกป้องตลาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ภาวะการแข่งขันทางด้านราคาที่รุนแรงของผู้ส่งออกแบบดั้งเดิม ได้แก่ ไทยและอินเดีย ทำให้ทางกระทรวงฯ ได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการในประเทศเร่งร่วมมือกับครัวเรือนเกษตร เพื่อลดต้นทุนและยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน ในขณะเดียวกัน ผู้ส่งออกควรศึกษาและปฏิบัติตามกฎระเบียนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังต้องมั่นติดตามตลาดอยู่เสมอ เนื่องจากการปรับลดอัตราภาษีของฟิลิปปินส์สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา และจัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงทางธุรกิจ

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/opportunities-for-vietnam-to-maintain-stable-rice-export-to-philippines/201927.vnp

เวียดนามโดนตัดสิทธิ GSP ของข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย

กระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของเวียดนาม (Vietrade) เมื่อวันที่ 12 ต.ค. เผยว่าเวียดนามถูกลบออกจากรายชื่อประเทศที่มีสิทธิทางด้านภาษีจากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ภายใต้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) การเคลื่อนไหวดังกล่าว มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อผู้ส่งออกเวียดนามไปยังกลุ่มประเทศ EAEU อาทิ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนียและคีร์กีซสถาน โดยเฉพาะรัสเซีย เนื่องจากเป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ เวียดนามเป็น 1 ใน 75 ประเทศกำลังพัฒนาที่ถูกลบออกจากรายชื่อ ถึงแม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 แต่ยอดการค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศ EAEU เพิ่มขึ้น 6.5% เป็นมูลค่า 5.2 พันล้านเหรียญสหรัฐในปีที่แล้ว

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-removed-from-list-of-beneficiaries-of-eaeu-tariff-preferences-under-gsp/201933.vnp

‘ผู้เชี่ยวชาญ’ ชี้ ความตกลงการค้าเสรีของเวียดนาม ผลักดันการส่งออกและนำเข้า

ผู้เชี่ยวชาญ เผยไตรมาสแรก ยอดการส่งออกและนำเข้าของเวียดนาม เพิ่มขึ้น 24% เมื่อเทียบเป็นรายปี ได้รับแรงหนุนมาจากข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) หากแบ่งออกเป็นการส่งออก เพิ่มขึ้น 22% และการนำเข้า 26.3% ทำให้เวียดนามเกินดุลการค้าราว 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าประเทศกลับมาฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งทั้งด้านการผลิตและการค้าในประเทศ ถึงแม้จะเผชิญโควิด-19 ระบาด ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. Pham Tat Thang อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า กล่าวว่าหลังจากข้อตกลงการค้าเสรีเวียดนาม-สหภาพยุโรป (EVFTA) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ยอดการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศ เพิ่มขึ้น 18% ในเดือนมกราคมจนถึงมีนาคม ปีนี้ ในขณะที่การส่งออกไปยังประเทศสมาชิกในข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแปซิฟิก (CPTPP) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงเวลาเดียวกัน

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/expert-vietnams-ftas-driving-up-exportsimports/201562.vnp

เอสแอนด์พี ปรับขึ้นอันดับความน่าเชื่อถือของเวียดนามเป็น ‘บวก’

บริษัท S&P Global Ratings (S&P) ได้ปรับคงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศเวียดนามเป็น “บวก” กระทรวงการคลัง เผยว่าเวียดนามเป็นประเทศเดียวกันในโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น จากทั้งบริษัท Moody, S&P และ Fitch ทั้งนี้ S&P ยืนยันว่าเวียดนามประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจและการปฏิรูปทางด้านนโยบายอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 เวียดนามคงจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประมาณ 1-2 ปีข้างหน้า เนื่องจากมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ตลอดจนการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การส่งออกที่มั่งคง ความต้องการในประเทศที่แข็งแกร่งและผลกระทบภายนอกเชิงบวก

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/sp-global-ratings-raises-vietnams-outlook-to-positive/201858.vnp

สรุป ‘เศรษฐกิจไทย’ ไตรมาส1/64 GDP ขยับเป็น -2.6 จากเดิม -6.1

ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 64 และแนวโน้มปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5-2.5 โดยได้แรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกและการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้เมื่อดูค่า GDP ประเทศภายในภูมิภาคอาเซียนพบว่า GDP เติบโตที่สุดในอาเซียนคือ เวียดนามขยายตัวร้อยละ 4..5 โดยปัจจัยสำคัญคือนโยบายของการป้องกัน และควบคุมโรคระบาดภายในประเทศทำให้เศรษฐกิจกลับมาอยู่ในสภาวะปกติได้เร็วจึงทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นได้อีกครั้งภายหลังต้องหยุดชะงักไปจากการระบาดโควิด-19

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/939207

สำนักวิจัย ชี้ GDP เวียดนาม โต 7% ปี 64

สํานักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (AMRO) เผยว่าเวียดนามมีอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 7% ในปี 2564 สะท้อนมาจากการฟื้นตัวของการส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศกลับมาฟื้นตัวและการไหลเข้าของเงินทุน ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ คาดว่าจะขยายตัวไปอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากการบริโภคในประเทศเพิ่มขึ้นตามการผ่อนคลายของการเร่งเบิกจ่ายการลงทุนภาครัฐฯ ประกอบกับรัฐบาลให้ความสำคัญกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ

 ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/vietnams-gdp-growth-to-expand-by-7-in-2021-amro-report-859391.vov

เวียดนามเผยสถานประกอบการซบหนัก เหตุโควิด-19

สำนักงานสถิติแห่งชาติเวียดนาม (GSO) ระบุว่ามีสถานประกอบการหยุดกิจการ 40,323 แห่งในไตรมาสแรก เพิ่มขึ้น 15.5% เมื่อเทียบกับปีก่อน ในทางตรงข้ามแล้วนั้น ธุรกิจจดทะเบียนรายใหม่ 29,300 แห่ง ลดลง 1.4% นักเศรษฐศาสตร์มองว่าตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความกังวล เนื่องจากนับเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาที่จำนวนธุรกิจถอนตัวออกจากตลาดได้แซงหน้าจำนวนธุรกิจจดทะเบียนใหม่ ทั้งนี้ ตามรายงานของอาหารค้าและอุตสาหกรรมเวียดนาม เผยว่าการระบาดของไวรัส ก่อให้เกิดผลกระทบในเชิงลบหลายประการ โดยธุรกิจส่วนใหญ่ 87.2% ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งด้านการเข้าถึงลูกค้า กระแสเงินสดและพนักงาน ตลอดจนประชากรในวัยทำงานกว่า 1.1 ล้านคนต้องตกงานในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้น 12,100 คน เมื่อเทียบกับปีก่อน

ที่มา : https://english.vov.vn/en/economy/covid-19-causes-alarming-withdrawal-rate-from-local-market-859312.vov

เวียดนามเผยไตรมาส 2 ยอดส่งออกอาหารทะเล พุ่ง 10%

สมาคมผู้ส่งออกและผู้ผลิตอาหารทะเลเวียดนาม (VASEP) ระบุว่าในไตรมาสที่ 2 มูลค่าการส่งออกอาหารทะเล คาดว่าจะถึง 2.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี ด้วยความคล่องตัวในการสำรวจและกระจายตลาด ทำให้ธุรกิจสามารถที่จะขยายการส่งออกได้ นอกจากนั้นแล้ว คาดว่าในไตรมาสที่ 2 ยอดการส่งออกกุ้งอยู่ที่ 980 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมถึงปลาสวายและผลิตภัณฑ์ทางทะเล ยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 7% และ 9.6% เป็นมูลค่า 712 และ 816 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ทั้งนี้ เลขาธิการทั่วไปของสมาคม VASEP กล่าวว่าความตกลงการค้าเสรีสหภาพยุโรป-เวียดนาม ช่วยกระตุ้นการส่งออกอาหารทะเลไปยังสหภาพยุโรปอย่างมาก ในขณะที่ ความตกลงการค้าเสรีสหราชอาณาจักร-เวียดนาม จะเปิดโอกาสในการส่งออกให้กับธุรกิจอาหารทะเลของเวียดนาม

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/951729/seafood-exports-to-go-up-by-10-in-q2.html