เวียงจันทน์เร่งปรับปรุงถนนรองรับ “ASEAN Chairmanship 2024”

ทางการนครหลวงเวียงจันทน์กำลังพยายามเร่งการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมการเพื่อเป็นเจ้าภาพ “ASEAN Chairmanship 2024” โดยกรมได้ลงนามในสัญญา 12 ฉบับกับบริษัทภาคเอกชนในการก่อสร้างและซ่อมแซมถนนในนครหลวงเวียงจันทน์ จากข้อมูลของแผนกงานซ่อมแซมในเขตเมืองและชานเมือง โดยเฉพาะบริเวณใกล้กับโรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยวแล้วเสร็จประมาณร้อยละ 42 นอกจากนี้ นายกเทศมนตรีได้แนะนำให้กรมเร่งซ่อมแซมถนนและระบายน้ำอย่างเร่งด่วน ภายในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคมถึงกันยายนเพื่อปรับปรุงการจราจรบนท้องถนน ด้านกระทรวงโยธาธิการและขนส่งคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 11.26 ล้านดอลลาร์ ในการซ่อมแซมถนนและจัดการระบบน้ำท่วมในเวียงจันทน์ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียนประจำปี 2024

ที่มา : https://laotiantimes.com/2023/08/17/vientiane-speeds-up-revamp-of-roads-for-asean-chairmanship-2024/

7 เดือนแรกของปี กัมพูชารายงานการต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติแตะ 3 ล้านคน

ทางการกัมพูชารายงานถึงบริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมายังกัมพูชาพุ่งแตะ 3,037,344 คนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 308 จากจำนวน 743,459 คน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามการรายงานของกระทรวงการท่องเที่ยว โดยในรายงานระบุเสริมว่านักท่องเที่ยวจากประเทศไทยถือเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มสำคัญที่เดินทางมายังกัมพูชามากที่สุดในช่วงเดือน ม.ค.-ก.ค. ปีนี้ ตามมาด้วยเวียดนามและจีน ซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมายังกัมพูชาผ่านทางอากาศจำนวน 1,065,233 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 237 รวมถึงทางบกและทางน้ำจำนวน 1,972,111 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 362 โดยทางการคาดว่ากัมพูชาจะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างน้อย 5 ล้านคน ในสิ้นปีนี้ เพิ่มขึ้นจากการให้การต้อนรับในช่วงปีที่แล้วที่ 2.7 ล้านคน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501344304/cambodia-records-3-mln-intl-tourists-in-7-months/

การส่งออกเครื่องนุ่งห่ม ผ้าถัก และผ้าไม่ถักของกัมพูชาลดลงต่อเนื่อง

กัมพูชาส่งออกสินค้าเครื่องแต่งกาย อุปกรณ์เครื่องแต่งกาย สินค้ากลุ่มผ้าถักและไม่ถักหรือโครเชต์ มูลค่ารวม 4.5 พันล้านดอลลาร์ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ลดลงร้อยละ 20.6 จากมูลค่า 5.6 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเครื่องแต่งกายและอุปกรณ์เครื่องแต่งกายที่ถักและไม่ถัก (รหัสสินค้า HS-Code 61 และ 62) คิดเป็นร้อยละ 33 ของการส่งออกทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว ตามการรายงานข้อมูลของกรมศุลกากรทั่วไปของประเทศ และสรรพสามิต (GDCE) ซึ่งการส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาลดลงนับตั้งแต่ไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้ว ตามการระบุของ Kaing Monika รองเลขาธิการสมาคมสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย รองเท้า และสินค้าท่องเที่ยวในกัมพูชา (TAFTAC) โดยในช่วงต้นเดือนสิงหาคมปีนี้มีผู้ประกอบการในภาคส่วนดังกล่าว 1,077 แห่ง ซึ่งมีการจ้างงานเกือบในภาคอุตสาหกรรมกว่า 760,000 คน ขณะที่ในปีที่แล้วการส่งออกสินค้า ภายใต้รหัส 61 และ 62 มีมูลค่ารวมกว่า 9 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 จากมูลค่า 8 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2021

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501344357/cambodian-apparel-knitted-non-knitted-items-exports-fall/

จับตา SME เริ่มขาดสภาพคล่องสูงหลังแรงซื้อทั้งในและ ตปท.ดิ่งหนัก

นายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.มีความกังวลถึงความอยู่รอดของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ที่ขณะนี้กำลังประสบปัญหาสภาพคล่องมากขึ้นหลังจากต้องเผชิญกับต้นทุนการผลิต และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่รายได้กลับสวนทางลดต่ำลงเนื่องจากแรงซื้อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศปี 2566 ภาพรวมต่างชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ดังนั้นรัฐบาลใหม่จำเป็นจะต้องหามาตรการมาช่วยเหลือในการให้ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพยุงเศรษฐกิจเร่งด่วน โดยปัจจุบันภาคการผลิตและส่งออกของไทยถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยคิดเป็นสัดส่วนราว 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และธุรกิจส่วนใหญ่มี SMEs อยู่ในห่วงโซ่การผลิตจำนวนมากที่ต้องยอมรับว่าภาคส่งออกของไทยครึ่งปีแรกของปี 2566 หดตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและแม้แต่การค้าชายแดนเองก็ปรับตัวลดลงจึงกระทบต่อ SMEs ภาพรวมที่บางส่วนต้องปรับลดกำลังการผลิตลงตามคำสั่งซื้อที่ลดต่ำ และหากปัญหานี้ยังคงมีมากขึ้นอาจต้องปิดตัวลงซึ่ง ส.อ.ท.กำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิด

ที่มา : https://mgronline.com/business/detail/9660000074361

ไทย-ยูนนาน ลงนาม Mini FTA เดินหน้าร่วมมือการค้า-การลงทุน

กระทรวงพาณิชย์ ปรับนโยบายเจาะตลาดลงลึกไปยังเมืองรอง โดยเฉพาะมณฑลสำคัญของจีน ผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือทางการค้า หรือ Mini FTA (มินิ เอฟทีเอ) ล่าสุดไทยสามารถทำ Mini FTA ฉบับใหม่กับมณฑลยูนนาน เป็นฉบับที่ 8 ของไทย หวังเร่งส่งออกในปีนี้ ด้านนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) ได้นำคณะเดินทางเยือนนครคุณหมิง มณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2566 เพื่อขยายความร่วมมือเชิงลึกในทุกมิติ และเน้นย้ำสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นของทั้งสองประเทศ ผ่านการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Partnership) ที่ลงลึกสู่ตลาดเมืองสำคัญของประเทศคู่ค้า หรือ เรียกว่า “Mini FTA” โดยวันนี้ (17 ส.ค.) กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้ลงนามจัดทำ Mini FTA ไทย-ยูนนาน กับนายหลี่ เฉิน หยาง อธิบดีกรมพาณิชย์มณฑลยูนนาน เพื่อขยายความร่วมมือใหม่ๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น ด้านเกษตรและอาหาร ด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ด้านอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ด้านอุตสาหกรรมสีเขียว และด้านการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง ขณะที่ไทย ที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผลไม้พรีเมียม จะสามารถเข้าสู่ตลาดจีนได้เพิ่มขึ้น และยังมีโอกาสในการขยายตลาดในกลุ่มยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น ด้านนายภูสิตกล่าวเสริมว่าในปี 2565 การค้ารวมไทย-ยูนนาน มีมูลค่า 2,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อนละ 17.94 เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อนหน้า

ที่มา : https://tna.mcot.net/business-1224489#google_vignette

‘VinFast’ ผู้ผลิตรถยนต์ EV เวียดนาม หลังเปิดตัวในตลาดแนสแด็ก มูลค่าตลาดพุ่ง 85.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

วินฟาสต์ (VinFast) ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ของเวียดนาม เปิดตัวซื้อขายหลักทรัพย์เป็นวันแรกที่ตลาดหุ้นแนสแด็ก (Nasdaq) ของสหรัฐฯ โดยสัญลักษณ์หุ้นของบริษัท ‘VFS’ ปิดตัวที่ 37.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น ณ สิ้นช่วงการซื้อขายของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม เพิ่มขึ้น 68.4% จากราคาเริ่มต้นที่ 22 ดอลลาร์สหรัฐ ในเซสชั่นแรก ปริมาณการซื้อขาย อยู่ที่ 6.8 ล้านหุ้น ส่งผลให้มูลค่าบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ทะลุ 85,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังเปิดตัวซื้อขายหลักทรัพย์เป็นครั้งแรกในสหรัฐฯ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/1582519/vinfast-s-market-value-surpasses-85-5-billion-after-first-day-on-nasdaq.html

‘เวียดนาม-ไทย’ จับมือยกระดับการค้าพุ่ง 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและนายกสมาคมมิตรภาพไทย-เวียดนาม กล่าวในงาน “Thailand-Vietnam Business Forum 2023” เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2566 ว่าภาคเอกชนของทั้งสองประเทศมีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือทางการค้าและการลงทุน รวมถึงการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยทั้งสองประเทศเป็นพันธมิตรทางการค้า ‘ไม่ใช่คู่แข่ง’ และกล่าวเสริมว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ ได้ร่วมกันจัดตั้งคณะทำงาน โดยเฉพาะสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม ทั้งนี้ จากข้อมูลสถิติการค้าระหว่างประเทศ พบว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทยกับเวียดนามในปีที่แล้ว อยู่ที่ 21.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 8.74% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนี้ ไทยและเวียดนามตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการค้าทวิภาคี 25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2568

ที่มา : https://www.bangkokpost.com/business/general/2630199/thailand-vietnam-seek-to-boost-trade-to-25bn

‘เมียนมา’ ส่งออกข้าวพุ่ง หลังอินเดียห้ามส่งออก

นายเยมินอ่อง ประธานสมาพันธ์ผู้ค้าข้าวเมียนมา เปิดเผยว่าผลผลิตข้าวหรืออุปทานข้าวทั่วโลกที่ตึงตัว มีส่วนช่วยการส่งออกข้าวในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ฟื้นตัวดีขึ้น และจะผลักดันให้เป้าหมายการส่งออกข้าวของเมียนมาทะลุ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ เมียนมาส่งออกข้าวในเดือน เม.ย.-ก.ค. อยู่ที่ราว 320,000 ตัน ทำรายได้จากการส่งออกข้าว 138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากรัฐบาลให้ความสำคัญกับคุณภาพสูงของข้าว แต่เมื่อเดือนที่ผ่านมา อินเดียได้ระงับการส่งออกข้าว เพื่อควบคุมราคาข้าวในประเทศ ก่อนจะถึงการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในต้นปีหน้า ทำให้ราคาข้าวของคู่แข่งในภูมิภาค อาทิเช่น ข้าวไทยและเวียดนามปรับตัวสูงขึ้น และคาดว่าเมียนมาจะส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ที่มา : https://economictimes.indiatimes.com/small-biz/trade/exports/insights/myanmar-eyes-surge-in-rice-exports-after-india-curbs-supply/articleshow/102758953.cms

รถไฟ ‘สปป.ลาว-จีน’ ส่งอานิสงส์ถึงไทย ดันส่งออกทุเรียนไปยังจีนมากขึ้น

การส่งออกทุเรียนของไทยไปยังจีนผ่านทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน ขยายตัวร้อยละ 365 ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2023 เนื่องจากระยะเวลาขนส่งที่สั้นลงและมีข้อได้เปรียบภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรี ซึ่ง Auramon Supthaweethum อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า เส้นทางรถไฟช่วยลดเวลาขนส่งเหลือเพียงไม่ถึง 15 ชั่วโมง เมื่อเทียบกับทางถนนที่ใช้เวลาถึง 2 วัน นั่นจึงเป็นโอกาสของสินค้าไทยที่ไปตลาดจีน โดยการส่งออกผลไม้ของไทยไปยังจีนเพิ่มขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่ทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน เริ่มดำเนินการในเดือน ธ.ค. 2021 โดยการขนส่งผ่านจังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยอย่างหนองคาย ซึ่งมีพรมแดนติดกับ สปป.ลาว มีมูลค่าถึง 55 ล้านดอลลาร์ ในปี 2022 เพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับมูลค่า 2.55 ล้านดอลลาร์ ในปี 2021 ด้านอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศของไทย (DTN) ยังกล่าวด้วยว่า ผลไม้ไทยและการขนส่งอื่นๆ สามารถใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) เขตการค้าเสรีจีนและหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ทั้งนี้ การส่งออกของไทยไปยังจีนโดยทางรถไฟ สปป.ลาว-จีน มีมูลค่า 80.22 ล้านดอลลาร์ในช่วงเดือน ม.ค.-พ.ค. 2023 โดยร้อยละ 72 เป็นการส่งออกทุเรียนสด

ที่มา : https://english.news.cn/20230816/f02a7679d5aa4a56979b720370ac9d25/c.html

เติร์กเมนิสถานเตรียมเปิดเที่ยวบินตรงมายังกัมพูชา

กระทรวงการท่องเที่ยวกัมพูชา (MoT) รายงานว่า เติร์กเมนิสถานจะกลายเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศเอเชียกลาง ที่จะมีการเชื่อมโยงเที่ยวบินตรงมายังเสียมราฐประเทศกัมพูชา ซึ่งคำยืนยันเกิดขึ้นเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) กล่าวโดย Muhammetnyyaz Mashalov เอกอัครราชทูตเติร์กเมนิสถานประจำกัมพูชา ขณะที่เขาเข้าเยี่ยมคารวะ Thong Khon รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว ณ กรุงพนมเปญ ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีฯ ได้เน้นย้ำถึงปัจจัยด้านสันติภาพ ความมั่นคง และการพัฒนาในกัมพูชา โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปรับปรุงการบริการต้อนรับ และ ส่งเสริมการชำระเงินในระบบดิจิทัล สำหรับกัมพูชาคาดว่าจะให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 5 ล้านคน ภายในปีนี้ ขณะเดียวกันกัมพูชาและเติร์กเมนิสถานกำลังเร่งดำเนินการร่วมกันในการส่งเสริมศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวในสองประเทศและมุ่งประชาสัมพันธ์ให้กับผู้ประกอบการท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยวต่างชาติในต่างประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501343430/turkmenistan-mulls-direct-flights-to-cambodia/