เบี้ยประกันภัยรวมในกัมพูชาโตกว่าร้อยละ 10.2 ในปี 2021

มูลค่าเบี้ยประกันภัยรวมในกัมพูชาเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 10.2 ในปี 2021 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตามรายงานเสถียรภาพทางการเงินล่าสุดที่ออกโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) บ่งชี้ถึงการให้ความสำคัญของการประกันภัยเพื่อป้องกันความเสี่ยงในชีวิตและเหตุการณ์ไม่คาดฝันของชาวกัมพูชา โดยในรายงานระบุเพิ่มเติมว่าเบี้ยประกันรวมเพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 1.2 ล้านล้านเรียลในปีที่แล้ว ซึ่งเบี้ยประกันชีวิตมีมูลค่ารวมมากที่สุดที่คิดเป็นมูลค่า 693.7 พันล้านเรียล เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 แม้จะมีการเติบโตของเบี้ยประกันขั้นต้น แต่การมีส่วนร่วมของภาคการประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของประเทศยังคงต่ำ ด้าน Huy Vatharo ประธานสมาคมประกันภัยแห่งกัมพูชา (IAC) กล่าวว่าภาคส่วนนี้มีมูลค่ารวมกันคิดเป็นเพียงร้อยละ 1.1 ของ GDP ในปี 2021 ซึ่งยังคงห่างไกลจากเป้าหมายในปี 2030

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501098523/gross-insurance-premiums-grow-by-10-2-in-2021/

ปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบของกัมพูชายังคงอยู่ในระดับสูง ณ ปัจจุบัน

แม้จะมีความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) ในการส่งเสริมการใช้สกุลเงินเรียล (KHR) แต่ระดับของปริมาณเงินดอลลาร์ในระบบเศรษฐกิจกัมพูชายังคงสูงถึงร้อยละ 80 ตามรายงานล่าสุดที่เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเงินประจำปี 2021 ในกรณีนี้หากค่าเงินดอลลาร์ยังคงอยู่ในระดับสูง จะส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยในประเทศ ซึ่งหากระบบเศรษฐกิจของกัมพูชาหันมาใช้เงินเรียลมากขึ้นจะช่วยให้ NBC สามารถใช้นโยบายทางด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อผลกระทบทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ปริมาณการให้กู้ยืมของธนาคารส่วนใหญ่ยังคงเป็นสกุลเงินดอลลาร์เกือบร้อยละ 88.6 ของการปล่อยสินเชื่อโดยรวมในปี 2021 คิดเป็นสกุลเงินเรียลอยู่ที่ประมาณร้อยละ 11.4 ในทำนองเดียวกัน เงินฝากกับธนาคารจำนวนมากก็ยังคงอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์เช่นเดียวกันคิดเป็นกว่าร้อยละ 91.4 ของเงินฝากทั้งหมดในปี 2021 โดยนโยบายของ NBC กำหนดให้ธนาคารต้องให้กู้ยืมอย่างน้อยร้อยละ 10 เป็นสกุลเงินเรียล เพื่อเป็นการกระตุ้นการใช้เงินเรียลให้มากขึ้น

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501098527/dollarisation-level-rules-over-80/

นายกฯ ปลื้ม Fitch Ratings คงอันดับความน่าเชื่อถือไทย คาด ศก.โต 4.5%

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยินดีที่ ฟิทช์ (Fitch) ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือ (Sovereign Credit Rating) ของประเทศไทยที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือ (Outlook) อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) อย่างต่อเนื่อง เชื่อมั่นการทำงานของรัฐบาลมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม อีกทั้งรัฐบาลมีการออกมาตรการทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชนจากโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงมาตรการเปิดประเทศที่ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวฟื้นตัว เกิดทิศทางเชิงบวกในภาคเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนยิ่งขึ้น โดย Fitch คาดการณ์ว่า ภาคการคลังสาธารณะ (Public Finance) ในปี 2565 ประเทศไทยจะขาดดุลงบประมาณลดลง สัดส่วนหนี้ภาครัฐบาล (General Government Debt) ต่อ GDP จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 55.4 ต่อ GDP เศรษฐกิจจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.5 จากการฟื้นตัวภายในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นจาก 6.5 ล้านคนในปี 2565 เป็น 22 ล้านคนในปี 2566 ในส่วนของภาคการเงินต่างประเทศ (External Finance) ประเทศไทยยังแข็งแกร่ง มีทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับสูงและเพียงพอต่อการใช้จ่าย ทั้งนี้ Fitch คาดว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะขาดดุลร้อยละ 1.8 ต่อ GDP ลดลงจากร้อยละ 2.1 ต่อ GDP ในปี 2564 และจะกลับมาเกินดุลที่ร้อยละ 1.0 ต่อ GDP ในปี 2566 และร้อยละ 2.8 ต่อ GDP ในปี 2567 จากภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น

ที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9650000059384

รมว.คลัง กล่าวสปป.ลาวหนี้เพิ่มแต่ยังไม่มีการผิดนัดชำระหนี้

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลเปิดเผยว่า จำนวนการชำระหนี้ประจำปีเพิ่มขึ้นจาก 1.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2561 เป็น 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปีนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บุญชม อุบลปะสุทธิ์ ชี้แจงสาเหตุหลักของหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นของประเทศ และแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ รัฐมนตรีให้ความมั่นใจกับ NA ว่ารัฐบาลจะไม่ยอมให้ประเทศล้มเหลวในการผิดนัด “หนี้จำนวนมหาศาลสะสมจากการกู้ยืมจำนวนมากเพื่อการพัฒนาประเทศระหว่างปี 2010 และ 2016” รัฐมนตรีกล่าวในการประชุมสามัญครั้งที่ 3 ของสภานิติบัญญัติครั้งที่ 9 ของ NA ตลอด 47 ปีที่ผ่านมา สปป.ลาวได้กู้ยืมเงินประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อลงทุนในการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อการส่งออก เงินกู้เหล่านี้มีความจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศของเราในช่วงอกีทั้งรัฐบาลได้ให้คำมั่นว่าจะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออุดช่องโหว่ที่อาจเกิดการรั่วไหลทางการเงิน

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten118_Debts.php

กัมพูชาเปิดพรมแดนแห่งใหม่ระหว่างเวียดนาม

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ประกาศจัดตั้งจุดผ่านแดนแห่งใหม่ไปยังเวียดนามในจังหวัดตบยองขุม โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการค้าและการเดินทางระหว่างประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามในช่วง มกราคม-พฤษภาคม ปีนี้ มูลค่า 1,079 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบเป็นรายปี ทำให้เวียดนามถือเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองสำหรับสินค้าของกัมพูชารองจากสหรัฐฯ ตามข้อมูลจากกรมศุลกากร และสรรพสามิต ในขณะเดียวกันกัมพูชานำเข้าสินค้าจากเวียดนามมูลค่า 1,710 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501097768/cambodia-to-get-new-border-crossing-to-vietnam-pm/

คาดปี 2022 การค้า กัมพูชา-เวียดนาม มูลค่าแตะหมื่นล้านดอลลาร์

คาดการค้าระหว่างกัมพูชากับเวียดนามพุ่งแตะ 10,000 ล้านดอลลาร์ ภายในสิ้นปี 2022 เนื่องจากการค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ที่มีมูลค่ามากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวนำเสนอโดยนายกรัฐมนตรีฮุน เซน ในพิธีรำลึกครบรอบ 45 ปี การล่มสลายของเขมรแดง ด้าน Lim Heng รองประธานหอการค้ากัมพูชา (CCC) กล่าวว่าปริมาณการค้าระหว่างกัมพูชากับเวียดนามเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา งา ข้าวโพด ถั่วเหลือง และเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเวียดนามเป็นหนึ่งในตลาดหลักของกัมพูชาในภูมิภาคนี้ โดยทั้งสองประเทศให้คำมั่นที่จะเพิ่มการค้าทวิภาคีให้มีมูลค่ามากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ ในแง่ของการลงทุนสภาเพื่อการพัฒนากัมพูชา (CDC) ระบุว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในกัมพูชามีมูลค่ารวม 39,000 ล้านดอลลาร์ โดยนักลงทุนเวียดนามคิดเป็นมูลค่า 2.5 พันล้านดอลลาร์ หรือร้อยละ 6.3 รองลงมาคือจีน ด้วยเงิน 17.3 พันล้านดอลลาร์ และเกาหลี 4.1 พันล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/501098201/cambodia-vietnam-trade-expected-to-reach-more-than-10-billion-by-end-of-2022/

กระแสน้ำกระทบราคาสินค้าประมงเมียนมาผันผวน

ราคาสินค้าประมงในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงมักมีความผันผวน เช่น ราคาค่อนข้างถูกในช่วงน้ำหลากหรือน้ำท่วม และจะเพิ่มขึ้นในช่วงน้ำลง ซึ่งเป็นช่วงที่กุ้งและปลาจับมีให้จับค่อนข้างน้อย สินค้าประมงที่จับได้จะถูกส่งไปศูนย์ค้าส่งในย่างกุ้ง ซึ่งในช่วงน้ำท่วม ราคากุ้งหนึ่งตัวจะอยู่ประมาณ 5,000-6,000 จัต ในขณะที่ช่วงที่น้ำขึ้นน้ำลงราคาจะอยู่ประมาณ 9,000-10,000 จัต ทั้งนี้ราคาสินค้าประมงที่ลดลงทำให้ราคาไก่ในตลาดลดลงด้วย เนื่องจากราคาสินค้าประมงขึ้นอยู่กับน้ำขึ้นน้ำลง ทำให้ประชาชนต้องซื้อกักตุนไว้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/fishery-product-prices-fluctuate-based-on-flood-tide-and-neap-tide/#article-title

อาเซียน-อินเดีย ชูความตกลงAITIGAเพิ่มการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 35 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย และการประชุมผ่านระบบทางไกล ที่ประชุมได้เร่งรัดให้ประเทศสมาชิกดำเนินกระบวนการภายในเพื่อรับรองเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย (ASEAN-India Trade in Goods Agreement : AITIGA) พร้อมทั้งเห็นชอบข้อเสนอต่อที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ในการรับรองขอบเขตการทบทวนความตกลง AITIGA และจัดตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee: JC) เพื่อกำกับดูแลการทบทวนความตกลงดังกล่าว

ที่มา : https://www.innnews.co.th/news/economy/news_360270/

“เวียดนาม” ส่งเสริมนิคมอุตสาหกรรมเชิงเศรษฐกิจนิเวศ

จากการสัมมนาล่าสุดที่จัดขึ้นในนิคมอุตสาหกรรม Nam Cau Kien ในจังหวัดไฮฟอง ระบุว่าถือเป็นครั้งแรกที่ตั้งเป้าส่งเสริมกิจกรรมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้แทนในแต่ละอุตสาหกรรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของอุทยานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและสิทธิพิเศษต่างๆ เพื่อส่งเสริมการพัฒนารูปแบบเศรษฐกิจหมุนเวียดนามและผลประโยชน์อื่นๆ จากการเข้าร่วมอุทยานแห่งนี้

ทั้งนี้ คุณ Vuong Thi Minh Hieu ตัวแทนจากกระทรวงการวางแผนและการลงทุน กล่าวว่าเวียดนามจะสนับสนุนการพัฒนาอุทยานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่ยั่งยืนและตอบสนองกับยุทธศาสตร์แห่งชาติสีเขียวในปี 2564-2573 โดยมีเป้าหมายปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam-encourages-development-of-ecoindustrial-parks/231444.vnp

“เวียดนาม” จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ กระตุ้นการส่งออกไปยังตลาดสปป.ลาว ไทยและกัมพูชา

สำนักงานส่งเสริมการค้าเวียดนาม (Vietrade) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. ผู้เข้าอบรมประกอบด้วยผู้ส่งออกที่สนใจทำตลาดในสปป.ลาวและไทย สำหรับการประชุมดังกล่าวใช้รูปแบบไฮบริคที่จัดขึ้นแบบเสมือนจริงผ่านทาง Zoom ในขณะที่มีอีกงานที่คล้ายคลึงกันที่จะจัดขึ้นในวันถัดไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเวียดนามที่ส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังกัมพูชา ทั้งนี้ ตามข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า เปิดเผยว่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ เวียดนามและสปป.ลาว มีมูลค่าการค้ารวมกันทั้งหมด 708.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของเวียดนามไปยังตลาดสปป.ลาว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า, ยานยนต์และชิ้นส่วน, เครื่องจักร, ปุ๋ย, พลาสติกและผัก

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังอยู่ใน 10 ประเทศคู่ค้าสำคัญของเวียดนามมานับหลายปี โดยข้อมูลจากศูนย์การค้าระหว่างประเทศ (ITC) ชี้ให้เห็นว่ามูลค่ารวมของประเทศไทยกับเวียดนาม เพิ่มขึ้น 7 เท่าจากในปี 2547 อยู่ที่ 2.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 16.58 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 ด้วยการเติบโตเฉลี่ยราว 11% ต่อปี

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/consultation-workshops-aim-to-boost-exports-to-laos-thailand-cambodia/231367.vnp