“เมียนมา” เผยราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในย้างกุ้ง ดีดตัวขึ้นในสัปดาห์นี้

คณะกรรมการกำกับดูแลการนำเข้าและจัดจำหน่ายน้ำมันเพื่อการบริโภคของเมียนมา เปิดเผยว่าราคาขายส่งน้ำมันปาล์มในตลาดย้างกุ้ง ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นที่ 4,000 จ๊าดต่อ viss ในสัปดาห์นี้ (2 ก.ค.66) โดยราคาอ้างอิงของน้ำมันปาล์ม ณ วันที่ 19-25 มิ.ย.66 ได้ตั้งราคาอยู่ที่ 3,860 จ๊าดต่อ viss แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันปาล์มสูงขึ้นราว 150 จ๊าดต่อ viss เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ทำการติดตามราคา FOB ของประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด รวมถึงค่าขนส่ง ภาษีศุลกากรและอื่นๆ เป็นต้น ตลอดจนกำกับราคาน้ำมันปาล์มให้เป็นธรรมกับผู้บริโภค

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-wholesale-reference-price-in-yangon-region-rebounds-this-week/#article-title

“เมียนมา” เผาทำลายยาเสพติดล็อตใหญ่ 446 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ค้าผิดกฎหมายเฟื่องฟูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รัฐบาลทหารเมียนมาได้เผาทำลายยาเสพติดที่ยึดมาได้รวมมูลค่ามากกว่า 448 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติได้เตือนถึงการเพิ่มขึ้นของผลผลิตฝิ่น เฮโรอีนและเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) ในเมียนมา โดยการส่งออกจะขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ รายงานของ สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ระบุว่าการผลิตฝิ่นในเมียนมาเฟื่องฟูนับตั้งแต่เกิดการยึดอำนาจของกองทัพ ซึ่งการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นหนึ่งในสามของปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีความพยายามกำจัดให้ลดลง และภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ผู้คนหันมาทำการค้ายาเสพติดกันมากขึ้น ตลอดจนยังเตือนถึงการผลิตเมทแอมเฟตามีนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาลดลงและมีการลักลอบผ่านเส้นทางใหม่ๆ อีกด้วย

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/us-places-sanctions-on-myanmars-defence-ministry-banks/

เริ่ม 1 ส.ค.2566 ธุรกรรมทางการเงินของการนำเข้าที่ชายแดนเมียนมา-จีน ผ่านระบบธนาคาร

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ได้ออกกฎระเบียบและข้อบังคับที่ 10/2566 ลงวันที่ 13 มิ.ย. 2566 ว่าด้วยเรื่องการทำธุรกรรมทางการเงินสำหรับการนำเข้าที่ชายแดนเมียนมา-จีน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2566 โดบเบื้องแต้นเริ่มใช้ระบบการทำธุรกรรมผ่านธนาคารในวันที่ 1 พ.ย. 2565 ที่จุดผ่านแดนไทย-เมียนมา และระบบนี้จะเริ่มดำเนินการที่ชายแดนเมียนมา-จีน ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2566 ทั้งนี้ ผู้นำเข้าจะต้องใช้ระบบธนาคารด้วยสกุลเงิน ‘หยวน’ นอกจากนี้ บริษัทต่างๆ ต้องแสดงรายได้จากการส่งออกหรืองบกำไรขาดทุน หรือรายการเดินบัญชีธนาคาร

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/banking-transactions-for-imports-on-myanmar-china-border-to-commence-1-august/#article-title

“สหรัฐฯ” คว่ำบาตรกระทรวงกลาโหมและธนาคารเมียนมา

กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ระบุในถ้อยแถลงว่ากองทัพเมียนมาได้อาศัยทรัพยากรจากต่างประเทศ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานของรัสเซียหลังได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตร จึงหันไปซื้อและนำเข้าอาวุธ ชิ้นส่วนและยุทธภัณฑ์ต่างๆ เพื่อทำการผลิตอาวุธและสนับสนุนการปราบปรามอย่างโหดเหี้ยมของกองทัพเมียนมา โดยคาดว่าการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบ มีมูลค่าอย่างน้อย 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นับตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2564 ทั้งนี้ ธนาคารการค้าต่างประเทศของเมียนมา (MFTB) และธนาคารการลงทุนและการพาณิชย์เมียนมา (MICB) โดนคว่ำบาตรเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี โฆษกกองทัพของเมียนมาไม่ได้กังวลต่อการคว่ำบาตรครั้งใหม่ และมองว่าไม่เป็นปัญหาหากมีธนาคารของรัฐเมียนมาก่อตั้งใหม่

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/us-places-sanctions-on-myanmars-defence-ministry-banks/

“เมียนมา” เผยราคาเชื้อเพลิงในประเทศ พุ่ง 2,000 จ๊าดต่อลิตร

คณะกรรมการกำกับการนำเข้า การจัดเก็บและการจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของเมียนมา รายงานว่าราคาน้ำมันเตาในประเทศ (ดีเซลและออกเทน 92) ขยับเพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 2,000 จ๊าดต่อลิตร โดยราคาเชื้อเพลิงในประเทศถูกกำหนดมาจากราคาน้ำมันเบนซินอ้างอิงราคากลางของเอเชีย (MOPS) ซึ่งเป็นที่กำหนดราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลในเดือน สิ.ค. 65 พบว่าราคาน้ำมันออกเทน 92 พุ่งสูงขึ้นอยู่ที่ 2,605 จ๊าดต่อลิตร ราคาน้ำมันออกเทน 95 และดีเซล ขยับเพิ่มสูงขึ้นแตะ 2,670 จ๊าดต่อลิตร และ 3,245 จ๊าดต่อลิตร ตามลำดับ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

“เมียนมา” เผยเดือน พ.ค. ส่งออกน้ำผึ้งทะลุ 330 ตัน

ตามรายงานของ Livestock Breeding and Veterinary Department (LBVD) ระบุว่าในเดือน พ.ค. ของปีงบประมาณ 2566-2567 เมียนมาประสบความสำเร็จครั้งใหญ่จากการส่งออกน้ำผึ้งไปยังต่างประเทศกว่า 300 ตัน คิดเป็นมูลค่าราว 5 แสนดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจากการส่งออกน้ำผึ้งไปยังตลาดต่างประเทศนั้น ประเทศไทยนำเข้าน้ำผึ้งจากเมียนมา 140.7 ตัน, ญี่ปุ่น 176 ตัน และเกาหลีใต้ 20 ตัน ทั้งนี้ ธุรกิจการเลี้ยงผึ้งในเมียนมาส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในเขตสะกาย เขตมัณฑะเลย์ เขตมาเกวและรัฐฉาน โดยสามารถผลิตน้ำผึ้งได้หลายชนิด ได้แก่ น้ำผึ้งงา น้ำผึ้งพุทรา น้ำผึ้งไนเจอร์ น้ำผึ้งดอกทานตะวัน น้ำผึ้งลิ้นจี่ และน้ำผึ้งดอกไม้ นอกจากนี้ น้ำผึ้งของเมียนมายังเป็นยาแผนโบราณและทำรายได้ให้กับประเทศจากการส่งออกไปยังต่างประเทศ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmars-honey-exports-exceed-330-tonnes-in-may/#article-title

“เมียนมา” ทำรายได้จากการส่งออกถั่วพัลส์ ทะลุ 240 ล้านดอลลาร์

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา เปิดเผยว่าเมียนมาทำสถิติส่งออกถั่วพัลส์มากกว่า 310,000 ตัน และสร้างรายได้มากกว่า 240 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566-2567 โดยรายงานระบุว่า การขนส่งถั่วพัลส์ปริมาณข้างต้นแบ่งเป็นผ่านเส้นทางทางทะเลมากกว่า 280,816.8 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเส้นทางการค้าผ่านช่องทางอื่นๆ 29,756.2 ตัน ทั้งนี้ ตลาดอินเดียมีความต้องการถั่วเขียวผิวดำและถั่วแระเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อการบริโภคในประเทศ อีกทั้งจากการร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างเมียนมา-อินเดีย เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ทำให้อินเดียมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าถั่วเขียวผิวดำเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 250,000 ตัน และถั่วแระ 100,000 ตัน จากเมียนมา เป็นระยะเวลา 5 ปี ในปีงบประมาณ 2568-2569 โดยข้อตกลงดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อโควต้ารายปีที่กำหนดไว้ของอินเดีย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-earns-240-mln-in-export-of-pulses-within-two-months/#article-title

“ไทย” เดินหน้าเป็นเจ้าภาพอาเซียน จัดโต๊ะคุยรัฐบาลเมียนมา

นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ส่งคำเชิญไปยังนายปรัก สุคน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชา เพื่อเป็นหัวหอกในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการต่อสถานการณ์ในประเทศเมียนมา ในวันที่ 18-19 มิ.ย. ทั้งนี้ จากการแถลงข่าวของกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศของกัมพูชา เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ระบุว่ากระบวนการการเจรจาจะเป็นไปตามข้อเสนอแนะจากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 42 ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว และได้เน้นย้ำถึงบทบาทของฉันทามติ 5 ข้อ”ของอาเซียนที่ต้องปฏิบัติตามและมีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาที่เร่งด่วน คือ ต้องมีการยุติความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมาทันที โดยต้องเจรจาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/national-politics/thailand-host-asean-delegates-myanmar-discussion

“เมียนมา” เผยราคายางพารา ดีดทะลุ 1,400 จ๊าตต่อปอนด์

ราคายางพาราในรัฐมอญ (Mon State) ทะลุ 1,400 จ๊าตต่อปอนด์ ได้แรงหนุนจากแนวโน้มราคายางระหว่างประเทศที่พุ่งสูงขึ้น โดยในปัจจุบันราคายางพาราแบบแห้ง (Local 3) อยู่ที่ราว 1,405 จ๊าตต่อปอนด์ ในขณะที่ยางพาราแผ่นรมควันราคาประมาณ 1,425 จ๊าตต่อปอนด์ ทั้งนี้ สถานการณ์ราคายางพาราในเมียนมา ได้รับอิทธิผลมาจากอุปสงค์โลก ผลผลิตยางพาราในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลผลิตของตลาด ซึ่งปัจจัยข้างต้นมีส่วนสำคัญต่อรัฐมอญ เนื่องจากรัฐมอญเป็นศูนย์กลางการผลิตยางพาราที่สำคัญของเมียนมา นอกจากนี้ สมาคมผู้ปลูกและผลิตยางพาราของประเทศเมียนมา ได้ตั้งเป้ายอดการส่งออกยางพาราไว้ที่ 300,000 ตัน ในปีงบประมาณ 2566-2567

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rubber-price-rebounds-surpasses-k1400-per-pound/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาทองคำทะลุ 3.1 ล้านจ๊าตต่อ Tical

สมาคมผู้ค้าทองคำในย่างกุ้ง (YEGA) เปิดเผยว่าราคาทองคำทำสถิติพุ่งสูงสุด 3.1 ล้านจ๊าตต่อ Tical (0.578 ออนซ์ หรือ 0.016 กิโลกรัม) ในตลาดภายในประเทศ เนื่องมาจากทิศทางของราคาทองคำแท่งที่สูงขึ้นและการอ่อนค่าของค่าเงินจ๊าต เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ราคาทองคำตลาดโลก Gold Spot อยู่ที่ 1,962 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ และค่าเงินจ๊าตอ่อนค่าลง 2,970 ดอลลาร์สหรัฐในตลาดเกรย์ มาร์เก็ต (Grey Market)

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/gold-price-surpasses-k3-1-mln-per-tical-in-shady-dealings/#article-title