“เมียนมา” เผยราคาข้าวในประเทศขยับขึ้น

จากข้อมูลของศูนย์ค้าส่งข้าววาดัน ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 เปิดเผยว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ประมาณ 72,000 – 90,000 จั๊ตต่อกระสอบ ขึ้นอยู่กับพื้นที่การผลิต ได้แก่ Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และจากข้อมูลเมื่อวันที่ 3 เมษายน พบว่าราคาข้าวหอมปอว์ ซาน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นราว 75,000 – 93,000 จั๊ตต่อกระสอบ รวมถึงราคาข้าวพันธุ์ต่างๆ ขยับเพิ่มสูงขึ้น 1,000 – 3,000 จั๊ตต่อกระสอบภายในระยะเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-price-move-upwards-in-domestic-market/#article-title

“เมียนมา” เผยราคาน้ำมันปาล์มพุ่ง แม้นำเข้า 7.5 หมื่นตัน

ราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า (D/O) ยังคงอยู่ในระดับสูงขึ้น ถึงแม้ว่าจะนำเข้าน้ำมันจำนวนมาก ก่อนที่จะถึงเทศกาลสงกรานต์ (Thingyan) และจากรายงานของผู้ค้าน้ำมัน เปิดเผยว่าตั้งแต่ต้นปีจนถึงวันที่ 1 เมษายน เมืองติลาวาและย่างกุ้ง มีปริมาณการนำเข้าน้ำมันพืชจากต่างประเทศอยู่ที่ราว 3 หมื่นตัน ในขณะที่เรือขนส่งน้ำมัน 8 ลำที่บรรทุกน้ำมันพืช 35,000 ตัน และมีเรือขนส่งน้ำมัน 2 ลำที่บรรทุกน้ำมันปาล์ม 11,000 ตัน โดยราคาน้ำมันปาล์มตามใบส่งมอบสินค้า อยู่ที่ประมาณ 6,400-6,450 จั๊ต อย่างไรก็ดี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งตรวจสอบการจัดเก็บน้ำมันปาล์มหรือจัดจำหน่ายที่มีเจตนาปั่นราคาน้ำมัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/palm-oil-price-spikes-despite-arrival-of-around-75000-tonnes-of-imported-oil/

“เมียนมา” เผยสัปดาห์ที่ 2 ของ มี.ค. ส่งออกข้าว 3 หมื่นตัน มูลค่า 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ตามข้อมูลสถิติของกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่าสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวและข้าวหัก (Broken Rice) ไปยังตลาดต่างประเทศ ด้วยปริมาณมากกว่า 33,250 ตัน คิดเป็นมูลค่า 13.289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และตั้งแต่วันที่ 11-17 มี.ค. เมียนมาส่งออกข้าวทางเรือไปยังประเทศในเอเชีย 10,090 ตัน และส่งออกข้าวมากกว่า 9,000 ตันไปยังกลุ่มประเทศยุโรป ตลอดจนส่งออกข้าวไปยังฟิลิปปินส์ จีนและมาเลเซีย ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เมียนมาส่งออกข้าวหักไปยังช่องทางการค้าชายแดนและทางทะเล มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 4.673 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/over-30000-tonnes-of-rice-worth-us13-mln-exported-in-march-2nd-week/

“เมียนมา” ชี้ราคาข้าวในประเทศกลับมาฟื้นตัว

ศูนย์ค้าข้าววาดัน (Wahdan) เปิดเผยว่าราคาข้าวที่บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มสูงข้นอย่างมาก และจากข้อมูล ณ วันที่ 17 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน (Paw San) อยู่ที่ 70,000 – 85,000 วอนต่อกระสอบ อย่างไรก็ตามราคาข้าวขึ้นอยู่กับพื้นที่เพาะปลูกของแต่ละเมือง อาทิเช่น Shwebo, Myaungmya, Dedaye, Pyapon และ Pathein เป็นต้น และเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2566 ราคาข้าวหอม ปอว์ ซาน ขยับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 72,000 – 90,000 วอนต่อกระสอบ และราคาข้าวพันธุ์อื่นๆ เพิ่มขึ้น 500 – 4,500 วอนต่อกระสอบภายในช่วง 2 สัปดาห์ ในขณะเดียวกัน การสต็อกข้าวเก่ามีปริมาณลดลง ทำให้ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารสูงขึ้น

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/rice-prices-rebound-in-domestic-markets/#article-title

“เมียนมา” ประกาศจำกัดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา ประกาศว่าจะไม่อนุญาตให้ธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และไม่อนุญาตให้จัดเก็บสินค้าเข้าไปในคลังของกิจการได้ ในขณะที่กระบวนการออกใบอนุญาตนำเข้าเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว โดยสาเหตุดังกล่าว ทางหน่วยงานรัฐฯ อ้างถึงผลกระทบของความล่าช้าที่จะทำให้มีผลต่อคุณภาพของสินค้านำเข้าและต้องการที่จะควบคุมตลาดให้ดีขึ้น โดยกฎระเบียบหรือข้อจำกัดที่เกี่ยวกับการค้าและอื่นๆ ได้รับการผ่อนปรนจากรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่ถูกเข็มงวดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังเกิดรัฐประหาร อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดที่ดูเหมือนจะเป็นเพียงชั่วคราว เนื่องจากจะมีระยะเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น

ที่มา : https://www.thaipbsworld.com/import-sector-further-restricted-in-myanmar/

“เมียนมา” เผยแนวโน้มราคาข้าวโพดในประเทศปรับตัวลดลง

สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งภูมิภาคย่างกุ้ง เปิดเผยข้อมูล ณ สิ้นเดือน ม.ค. พบว่าราคาข้าวโพดอยู่ในระดับทรงตัวที่ 1,300 จัตต่อ viss และได้ปรับตัวลดลงเหลืออยู่ที่ 1,200 จัตต่อ viss ในเดือน ก.พ. ทั้งนี้ สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมาระบุว่าในปัจจุบัน เมียนมาส่งออกข้าวโพดไปยังจีนและไทยผ่านชายแดน และยังส่งออกไปทางเรือไปยังจีน อินเดีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ โดยประเทศไทยได้รับอนุญาตให้นำเข้าข้าวโพดจากเมียนมาภายใต้ภาษีศุลกากรเป็นศูนย์ (แบบ Form-D) ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. – 31 ส.ค. อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยได้กำหนดอัตราภาษีสูงสุดที่ 73% สำหรับในกรณีที่มีการนำเข้าข้าวโพดในช่วงฤดูข้าวโพดของไทย นอกจากนี้ อู มิน ข่าย ประธานสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพด เมียนมา กล่าวว่าทิศทางการส่งออกข้าวโพดไปยังต่างประเทศจะเกินกว่า 2 ล้านตัน ในปี 2566

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/corn-price-on-downward-trend-in-domestic-market/#article-title

เมียนมามุ่นมั่นส่งออกกาแฟเพิ่มเป็น 2 เท่าในปี 66

เมื่อวันพุธที่ 22 มีนาคม 2566  กระทรวงพาณิชย์ เผย ภายในปี 2566  เมียนมาตั้งเป้าส่งออกกาแฟเพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็นจำนวน 10,000 ตัน ซึ่งในปี 2565 ที่ผ่านเมียนมาส่งออกกาแฟ 5,800 ตัน โดยตลาดนำเข้าสำคัญได้แก่  เช่น จีน ไทย สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยียม และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกกาแฟของเมียนมา พบว่า มีประมาณ 50,000 เอเคอร์ แบ่งเป็น 38,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์อาราบิก้า และ 12,000 เอเคอร์เป็นกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ซึ่งไร่กาแฟส่วนใหญ่อยู่ในเขตมัณฑะเลย์ รัฐฉาน และรัฐกะเหรี่ยง ทั้งนี้ ผลผลิตกาแฟต่อปีของเมียนมาอยู่ที่ประมาณ 9,000 ตัน

ที่มา : https://english.news.cn/20230323/84c83a24e49a4f049de088aadea7879f/c.html

เมียนมา-จีน ร่วมหารือส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าชายแดน

เมื่อวันอังคารที่ 21 มีนาคม 2566 ณ กระทรวงพาณิชย์ในกรุงเนปยีดอ ของเมียนมา Mr. U Myint Thura อธิบดีกรมการค้า กระทรวงพาณิชย์ของเมียนมา และ Mr. Du Jianhui นายกเทศมนตรีเมืองล้านช้าง จากประเทศจีน ได้ร่วมหารือเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ การลงนามข้อตกลงว่าด้วยการค้าผ่านแดนระหว่างเมียนมาและจีน และการอำนวยความสะดวกในการนำค้าสินค้าจากประเทศที่ 3 ผ่านชายแดนเมียนมา-จีน และการส่งเสริมเพื่อยกระดับการค้าชายแดนให้มีความมั่นคงมากยิ่งขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-china-economic-trade-promotion-meeting-held/

ถั่วลิสงล้นตลาด กระทบราคาน้ำมันถั่วลิสง ดิ่งลงอย่างหนัก

ผู้ค้าในมัณฑะเลย์ เผย  ผลผลิตถั่วลิสงจำนวนมากที่ส่งไปขายยังตลาดมัณฑะเลย์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงเหลือ 12,000 จัตต่อ viss จากเดือนก่อน ที่ 14,000 จัตต่อ viss โดยราคาของผลผลิตถั่วเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ที่ 7,000-7,600 จัตต่อ viss แต่ราคาในสัปดาห์นี้ร่วงลงเหลือ 6,300-7,000 จัตต่อ viss เนื่องจากผลผลิตออกมาล้นตลาดจึงส่งผลให้ราคาน้ำมันถั่วลิสงลดลงไปด้วย จากสถานการณ์ดังกล่าวย่อมส่งผลดีต่อผู้บริโภคภายในประเทศ ทั้งนี้ การปลูกถั่วลิสงในเมียนมาส่วนใหญ่มีการเพาะปลูกในภูมิภาคมัณฑะเลย์ ภาคซะไกง์ ภาคมะกเว และเขตอิระวดี ซึ่งนอกเหนือจากการผลิตเพื่อการบริโภคในประเทศแล้ว เมียนมายังส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/abundant-supply-of-peanuts-slashes-peanut-oil-prices/

เดือนม.ค. 66 นทท.ต่างชาติเยือนเมียนมา พุ่ง 214%

กระทรวงโรงแรมและการท่องเที่ยวของเมียนมา เผย นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเมียนมาในเดือนมกราคม 2566 อยู่ที่ 35,722 คน เพิ่มขึ้นถึง 214% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศเพียง 11,372 คน ซึ่งก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในปี 2562 มีนักเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเมียนมามากกว่า 4.36 ล้านคน แต่ภายหลังจากการแพร่ระบาดพบว่านักท่องเที่ยวลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2565  มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 230,000 คน เท่านั้นที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในเมียนมา

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/international-tourist-arrivals-surge-by-214/