อะโวกาโด พันธุ์แฮสส์ (Hass) เริ่มออกขายอย่างคึกคักในตลาดของเมียนมา

นาย อู เมียว ยุน รองประธานสมาคมผู้ผลิตและผู้ส่งออกอะโวคาโดแห่งเมียนมา เผย ปัจจุบัน อะโวกาโด พันธุ์แฮสส์ (Hass) ได้วางจำหน่ายในตลาดภายในประเทศเป็นหลักและได้สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับผู้ค้าในท้องถิ่น โดยฤดูเก็บเกี่ยวของอะโวคาโดอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งราคาอยู่ระหว่าง 3,000 ถึง 7,000 จัตต่อกิโลกรัม ขึ้นอยู่กับคัดเกรด ส่วนใหญ่แล้วอะโวคาโด จะถูกส่งไปยังเมืองใหญ่ๆ อย่างย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ ส่วนที่เหลือจะถูกส่งไปยังตลาดมูเซ, ล่าเสี้ยว และโมนยวา ปัจจุบันผู้ค้าได้ขยายช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและโซเชียลมีเดียกันมากขึ้น

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/hass-avocado-sales-brisk-in-domestic-market/#article-title

7 เดือนของปีงบฯ 65-66 การค้าเมียนมา-จีน ทะลุ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

จากสถิติของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าระหว่างเมียนมากับจีนผ่านการค้าทางทะเล ทะลุ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรก (เม.ย.-ต.ค.) ของปีงบประมาณ 2565-2566 โดยเป็นการส่งออกมูลค่า 1.995 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และการนำเข้ามูลค่า 3.082 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมูลค่าการค้าระหว่างเมียนมากับจีน ในช่วงงบประมาณย่อยปี 2564-2565 อยู่ที่ 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปีงบประมาณ 2563-2564 อยู่ที่ 9.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปีงบประมาณ 2562-2563 อยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ตามลำดับ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญไปยังจีน ได้แก่ ข้าว ถั่วและพัลส์ ข้าวโพด ผักและผลไม้ สินค้าประมง ยาง พริก และสินค้าอาหารอื่น ๆ ส่วนการนำเข้าจากจีน ได้แก่ วัตถุดิบพลาสติก สินค้าอุปโภคบริโภค และเครื่องใช้ไฟฟ้า

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/sino-myanmar-bilateral-trade-totals-over-us5-bln-in-seven-months/

ปีงบฯ 65-66 ส่งออกเมียนมา พุ่งขึ้น 15%

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย การส่งออก ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 2 ธันวาคม ของปีงบประมาณ 2565-2566 เพิ่มสูงขึ้นเป็น 11,170 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 9,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นมาจากจีนผ่อนปรนกฎและข้อบังคับในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การส่งออกสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น และปัจจุบันอุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าแบบ CMP บูมขึ้นมาอีกครั้งหลังจากเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่แรงงงานในโรงงานมากขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร อยู่ที่ 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ปศุสัตว์ 18.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าประมง 491.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แร่ธาตุ 205 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ผลิตภัณฑ์จากป่า 97.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สินค้าเพื่อการผลิต 7.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และสินค้าอื่นๆ 320.35 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ภาคการส่งออกของประเทศต้องพึ่งพาภาคเกษตรกรรมและการผลิตมากขึ้น ดังนั้น กระทรวงพาณิชย์จึงให้ความสำคัญกับการลดการขาดดุลการค้า โดยเร่งส่งเสริมการส่งออก เพื่อลดการนำเข้าลง

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmars-exports-rise-15-per-cent-in-fy-2022-2023/

ตลาดแตงโมและแตงกวาหวานแถบชายแดนเมียนมา-จีน เริ่มกลับมาคึกคัก

ผู้ค้าชายแดน ในเขตการค้า 105 ไมล์ของด่านมูเซ เผย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ที่ได้มีการผ่อนคลายการล็อกดาวน์แถบชายแดนมูเซของเมียนมา-จีน การค้าแตงโมและแตงกวาหวานฟื้นตัวกลับมาคึกคักอีกครั้ง ประกอบกับผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพราะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยราคาของแตงโมอยู่ที่ลูกละ 1.8 หยวน และแตงกวาหวานมีราคาอยู่ที่ 3 ถึง 4 หยวน ในผ่านมา การส่งออกเมล่อนและแตงกวาถูกจำกัดเนื่องจากการการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน ซึ่งในปีงบประมาณ 2651-2562 เมียนมาส่งออกแตงโมมากถึง 800,000 ตัน และแตงกวาหวาน 0.15 ล้านตัน ต่อมาในปีงบประมาณ 2562-2563 มีการส่งออกแตงโมมากถึง 600,000 ตันและแตงกวาหวาน 0.14 ล้านตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/watermelon-and-sweet-cucumber-markets-rebound-at-myanmar-china-border/

เมียนมานำเข้าผลิตภัณฑ์ยาผ่านทางทะเล ทะลุ 500 ตัน มูลค่ากว่า 10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์ เผย ในช่วงวันที่ 19-25 พฤศจิกายน 2565 เมียนมานำเข้าผลิตภัณฑ์ยามากกว่า 500 ตัน คิดเป็นมูลค่า  10.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ผ่านการค้าทางทะเล โดยนำเข้าจากออสเตรเลีย บังคลาเทศ บราซิล ไซปรัส เอกวาดอร์ เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย สาธารณรัฐไอร์แลนด์ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เนเธอร์แลนด์ ปากีสถาน สเปน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ โปรตุเกส สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ส่วนการนำเข้าผ่านชายแดนจำนวน 120 ตัน คิดเป็นมูลค่า 1.371 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยนำเข้าจากไทย 100 ตันจาก และจากจีนอีก 15 ตัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/over-500-tonnes-of-pharmaceuticals-worth-us10-5-mln-imported-by-sea/#article-title

เดือน เม.ย.-ต.ค 65 เมียนมาส่งออกข้าวทะลุ 1.4 ล้านตัน

สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) เผย 8 เดือนที่ผ่านมา (เดือนเมษายน-เดือนตุลาคม 2565) ของปีงบประมาณ 2565-2566 เมียนมาส่งออกข้าวไปแล้วมากกว่ามากกว่า 1.4 ล้านตัน โดยมากจากบริษัทผู้ส่งออกมากกว่า 42 แห่ง ซึ่งเป็นการส่งออกทางทะเล 1.09 ล้านตัน และผ่านทางชายแดน 315,677 ตัน ซึ่งตลาดส่งออกข้าวและปลายข้าวที่สำคัญได้แก่ ประเทศในแอฟริกา และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนี้ยังส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านอบ่าง จีน และไทย โดยจีนยังคงเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา โดยนำเข้าข้าว 224,000 ตัน และปลายข้าว 237,000 ตัน ซึ่งราคาข้าวคุณภาพดีจะอยู่ที่ 60,000-90,000 จัตต่อกระสอบ และข้าวคุณภาพต่ำจะอยู่ที่ 35,500-45,000 จัตต่อถุงกระสอบ โดยราคาข้าวของเมียนมาค่อนข้างต่ำกว่าอัตราของไทยและเวียดนาม ด้าน MRF ตั้งเป้าส่งออกข้าวให้ได้ 2 ล้านตันในปีนี้ ที่ทั้งนี้ในช่วงงบประมาณย่อยที่ผ่านมา (เดือนตุลาคม 2564 – เดือนมีนาคม 2565) เมียนมาส่งออกข้าวและปลายข้าวมากกว่า 1.4 ล้านตัน ในขณะที่ ในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกข้าว 2 ล้านตัน นำรายได้เข้าประเทศกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/myanmar-conveys-over-1-4-mln-tonnes-of-rice-to-external-markets-in-apr-oct/#article-title

8 เดือนแรกของปี 65 ค้าชายแดนเมียวดีของเมียนมามีมูลค่ารวม 1.456 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กระทรวงพาณิชย์เมียนมา เผย มูลค่าการค้าชายแดนเมียวดีระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง 25 พฤศจิกายน 2565 แตะ 1.456 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงอย่างมากถึง 148.545 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าและความไม่แน่นอนทางการเมืองในพื้นที่ชายแดนส่งผลให้การส่งออกไปไทยลดลงอย่างมาก โดยสินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ สินค้าเกษตร (พริก หัวหอม ผงข้าว ขมิ้น ดอกลิลลี่แห้ง เมล็ดกาแฟ ถั่วเขียว ยาง อบเชย เปลือกถั่วแมคคาเดเมีย ลูกพลัม  และถั่วลิสง) สินค้าประมง (ปลากะตัก หอยกาบ ปลาตะลุมพุกฮิลซาปู กุ้ง และปลาอื่น ๆ) และสินค้าอุตสาหกรรมสำเร็จรูปประเภทตัดเย็บและบรรจุภัณฑ์ (เสื้อกันหนาวบุรุษ เสื้อเชิ้ตสตรี และเสื้อผ้าอื่น ๆ) ซึ่งความต้องการของไทยสำหรับของใช้และวัตถุดิบสำหรับปรุงอาหารในครัวเรือนจากเมียนมาเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหารและธุรกิจอาหาร เริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งหลังโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myawady-border-trade-totals-1-456-billion-in-about-eight-months/

เมียนมาส่งออกถั่วทะลุ 1 ล้านตันในช่วง 8 เดือนของปี 65

จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์เมียนมา  8 เดือนของปีงบประมาณ 2565-2566 (เดือนเมษายน-เดือนพฤษจิกายน 2565) เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 1.05 ล้านตัน เป็นการส่งออกทางทะเล 897,499 ตันผ่านเส้นทางทะเล และทางบก153,311 ตัน จากข้อมูลของสมาคมพ่อค้าถั่ว ถั่วพัลส์ และงาของเมียนมา พบว่า การส่งออกถั่วและงาของประเทศนั้นสูงเป็นอันดับ 2 ของโลกและสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยในปีงบประมาณ 2563-2564 เมียนมาส่งออกถั่วและถั่วพัลส์มากกว่า 249,245 ตัน มูลค่า 217 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถั่วเป็นพืชที่มีการเพาะปลูกมากเป็นอันดับ 2 ของเมียนมา รองจากข้าว และคิดเป็นร้อยละ 33 ของผลผลิตทางการเกษตรทั้งหมดของประเทศ ทั้งนี้ตลาดส่งออกหลัก คือ จีน อินเดีย และประเทศในแถบยุโรป

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/myanmar-brings-in-over-826-mln-from-pulses-exports-in-eight-months/

เดือนพ.ย.65 เกาหลีใต้ออกใบอนุญาตให้แรงงานเมียนมาเข้าประเทศกว่า 700 คน

สถานเอกอัครราชทูตเมียนมาในกรุงโซล เผย แรงงานเมียนมาทั้งหมด 720 คนได้รับคัดเลือกจากเกาหลีผ่านระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) ในเดือนพฤศจิกายน 2565  ซึง่แรงงานเหล่านี้เป็นแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อยู่แล้ว โดยจะเข้าไปทำงานในภาคการผลิต การก่อสร้าง เกษตรกรรมและปศุสัตว์ จากข้อมูลพบว่า ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2565 ถึงกลางปี 2566 คาดว่าจะมีแรงงานข้ามช่าติมากกว่า 37,000 คนเข้ารับการทดสอบคุณสมบัติ EPS-TOPIK (ระบบใบอนุญาตการจ้างงาน-การสอบวัดระดับความถนัดทางภาษาเกาหลี) ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติกว่า 50,000 คนทำงานอย่างถูกกฎหมายในเกาหลีใต้  ซึ่งบริษัทนายจ้างจะรับสมัครผู้ที่มีศักยภาพที่ผ่านการทดสอบ EPS-TOPIK เท่านั้น ในปัจจุบัน รัฐบาลเกาหลีใต้ต้องการแรงงานใหม่และแรงงานที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานของเกาหลีใต้ เผย ค่าแรงขั้นต่ำในเกาหลีใต้อยู่ที่ 9,000 วอนต่อชั่วโมงในปี 2565 เนื่องจากมีกฎหมายคุ้มครองการจ้างงานในเกาหลีใต้ ทำให้แรงานในประเทศต้องดิ้นรนหางานในประเทศเช่นกัน

ที่มา: https://www.gnlm.com.mm/roks-eps-legally-recruits-over-700-myanmar-workers-in-november/#article-title

 

เมียนมาเลื่อนชำระสินเชื่อฟื้นฟู COVID-19 ออกไปหนึ่งปี

รัฐบาลเมียนมาได้เลื่อนการจ่ายเงินสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19  ของเมียนมา ที่ครบกำหนดชำระในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2022 ออกไปอีกหนึ่งปี ซึ่งสินเชื่อนี้ปล่อยกู้ให้กับธุรกิจในภาคปศุสัตว์ เช่น และธุรกิจฟาร์มเลี้ยงปลาและกุ้ง รวมไปถึงธุรกิจของรัฐ สำหรับสินเชื่อนี้มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ระยะเวลาในการชำระคืน 1 ปี  โดยมีธุรกิจที่ได้รับสินเชื่อนี้ไปทั้งสิ้น 325 บริษัท มูลค่าเงินกู้รวมทั้ง7.6 พันล้านจัต ซึ่งการเลื่อนชำระเงินกู้ออกไปจะเป็นผลดีเพราะสามารถนำเงินไปหมุนเวียนในธุรกิจได้

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/loan-maturity-date-for-livestock-sector-extended-for-one-year/