กัมพูชาส่งออกเสื้อผ้าไปยัง EAEU ลดลงอย่างมากในปี 2020

การส่งออกเสื้อผ้าของกัมพูชาไปยัง EAEU (สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย) ลดลงกว่าร้อยละ 36.6 เมื่อเทียบเป็นรายปีในระหว่างปี 2019 ตามรายงานของ Fibre2Fashion Pvt Ltd. ผู้ดำเนินธุรกิจแบบ B2B ขับเคลื่อนตลาด โดย EAEU ประกอบด้วย 5 ประเทศ ได้แก่ รัสเซีย เบลารุส คาซัคสถาน อาร์เมเนีย และ คีร์กีซสถาน ซึ่งการลดลงของภาคการส่งออกไปยัง EAEU เกิดขึ้นระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนของปี 2020 โดยปริมาณการส่งออกเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นในเดือนกรกฎาคม Fibre2Fashion กล่าวว่าอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มถือเป็นหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมการส่งออกของกัมพูชา ซึ่งมีสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่งของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศ โดยในปี 2019 กัมพูชาส่งออกไปยัง EAEU เกือบ 180 ล้านดอลลาร์

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820107/garment-exports-to-eaeu-drop-significantly-in-2020/

กัมพูชาส่งออกข้าวสารลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

ปริมาณการส่งออกข้าวสารของกัมพูชาในช่วง 2 เดือนแรกของปี มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 64.53 ล้านดอลลาร์ รวม 76,222 ตัน ตามรายงานของสมาพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) โดยปริมาณลดลงร้อยละ 44.16 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 ซึ่งการลดลงส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการขาดตู้คอนเทนเนอร์และต้นทุนการขนส่งทางทะเลที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 500 จากปี 2019 เมื่อเทียบกับตัวเลขของเดือนมกราคม โดยการส่งออกข้าวสารในเดือนกุมภาพันธ์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย รายงานระบุเพิ่มเติมว่าการส่งออกข้าวสารในเดือนมกราคมมีจำนวน 34,273 ตัน ส่งไปยัง 28 ปลายทาง ในเดือนกุมภาพันธ์การส่งออกข้าวสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 สู่ 41,949 ตัน ส่งออกไปยัง 35 ประเทศ ซึ่งจีนรวมทั้งฮ่องกงและมาเก๊ายังคงเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกข้าวของกัมพูชา โดยตลาดดังกล่าวมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 49.37 ของการส่งออกข้าวทั้งหมด ตลาดที่ใหญ่ที่สุดอันดับถัดไปคือสหภาพยุโรปโดยมีส่วนแบ่งอยู่ที่ร้อยละ 24.91 คิดเป็น 18,996 ตัน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50820068/milled-rice-exports-decline-year-on-year/

ต่างประเทศ – อาเซียนจี้พม่าเปิดคุย-หยุดโหด

วันที่ 2 มี.ค. เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มประเทศอาเซียนมีแนวโน้มจะกดดันคณะรัฐประหารของเมียนมาให้หยุดปราบปรามผู้ประท้วงอย่างนองเลือด หลังจากการปราบปรามเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.พ. มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 18 ราย หลังจากสหประชาชาติประณาม อาเซียนถูกวิพากษ์วิจารณ์มาอย่างยาวนานกรณีนิ่งเฉยไม่ทำอะไรในยามเผชิญวิกฤต เพราะยึดติดกับหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของสมาชิก กระทั่งสิงคโปร์ ชาติที่ลงทุนใน เมียนมามากที่สุดเริ่มแสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการใช้กำลัง นายวิเวียน บาลากริชนัน รมว.การต่างประเทศสิงคโปร์กล่าวต่อรัฐสภาว่าการใช้กำลังอย่างรุนแรงต่อพลเรือนดังกล่าวน่าตกใจอย่างยิ่ง เราเรียกร้องให้ทหารเมียนมาอดทนอดกลั้นอย่างที่สุด ขณะเดียวกันกระตุ้นให้เมียนมาหวนสู่เส้นทางการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย สำหรับเวทีการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการวันที่ 2 มี.ค. แหล่งข่าวจากนักการทูตเผยว่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหลายคนมีแนวโน้มที่จะขอให้ทหารเมียนมาหยุดความรุนแรง หยุดทำร้ายประชาชน โดยอาเซียนจะขอให้กองทัพพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงพรรคสันนิบาตเพื่อประชาธิปไตยหรือเอ็นแอลดีของนางออง ซาน ซู จี ผู้นำเมียนมาด้วย

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6059441

กัมพูชา-เวียดนาม ตัวเลือกลงทุนแทนเมียนมา

ปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองที่ยืดเยื้อในเมียนมาขณะนี้ ทำให้บริษัทต่างชาติเริ่มคิดที่จะถอนการลงทุนออกจากประเทศนี้ ขณะที่มีบริษัทบางแห่งประกาศยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทท้องถิ่นที่มีสายสัมพันธ์กับกองทัพให้เห็นบ้างแล้ว และหันไปมองประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจมากกว่าอย่างกัมพูชาและเวียดนาม ข้อมูลจากสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน)ระบุว่า การลงทุนโดยตรงของต่างชาติ(เอฟดีไอ)ที่ไหลเข้าไปในกลุ่มประเทศ CLMV ขยายตัว 6.3% ในปี 2562 โดยเวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางอันดับ1 ในแง่ของมูลค่าการลงทุนที่ 16,100 ล้านดอลลาร์ และเมียนมา เคยเป็นประเทศที่มีอัตราการขยายตัวของเอฟดีไอสูงสุดที่ 55.9% แต่เมื่อกองทัพเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 1ก.พ.ที่ผ่านมา กระแสเอฟดีไอในเมียนมาก็ไม่เพิ่มขึ้นเลย

ทั้งนี้ ฟิลด์ พิคเกอริง หัวหน้าหน่วยงานด้านการลงทุนจากวัลเพส อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมน กล่าวว่าความไม่สงบเรียบร้อยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการเมียนมาอาจเลือกย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น และเข้าไปสร้างธุรกิจให้เติบโตในดินแดนอื่นภายในภูมิภาคอาเซียน เท่ากับว่าเป็นความสูญเสียของเมียนมาแต่เป็นการได้ประโยชน์ของประเทศอื่นๆในภูมิภาคแทน

ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/925213

เวียดนามเกินดุลการค้า 1.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 เดือนแรก

กรมศุลกากรเวียดนาม เผยว่าช่วงเดือนม.ค.-ก.พ. เวียดนามีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ 95.81 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.4% เมื่อเทียบเป็นรายปี แบ่งออกเป็นการส่งออก 48.55 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 23.2% ในขณะที่การนำเข้าประมาณ 47.26 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว บริษัทจากต่างประเทศมีมูลค่า 37.07 พันล้านเหรียญสหรัฐ (76.4% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม) ขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจในประเทศ มีมูลค่าการส่งออก 11.48 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกประเภทโทรศัพท์และชิ้นส่วน มีมูลค่ามากที่สุด 9.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 22.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี ตามมาด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ 6.9 พันล้านเหรียญ, เครื่องจักรและส่วนประกอบ, รองเท้า ไม้และผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากไม้ ซึ่งสินค้าข้างต้นรวมกันทั้งหมด คิดเป็นสัดส่วน 73% ของยอดส่งออกรวมของเวียดนาม นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ด้วยมูลค่า 14.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาสหภาพยุโรป อาเซียน เกาหลีใต้และญี่ปุ่น ตามลำดับ

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890438/viet-nam-racks-up-129-billion-in-trade-surplus-in-two-months.html

เวียดนามเผยยอดธุรกิจจัดตั้งใหม่ 18,000 แห่งในช่วง 2 เดือนแรก

กระทรวงวางแผนและการลงทุนเวียดนาม เผยว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 64 ยอดจดทะเบียนธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวนมากกว่า 18,000 ราย ลดลง 4% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว จำนวนพนักงานปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.7% อยู่ที่ 173,000 คน โดยในช่วงเวลาดังกล่าว มีการปรับเพิ่มของเงินทุน มูลค่าประมาณ 720.4 ล้านล้านดอง (32.24 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 12.4% และทุนจดทะเบียนเฉลี่ยต่อธุรกิจ อยู่ที่ 18.5 พันล้านด่อง เพิ่มขึ้น 46.4% ทั้งนี้ ในเดือนก.พ. ยอดจดทะเบียนของธุรกิจจัดตั้งใหม่ จำนวน 8,038 ราย ด้วยเงินทุนจดทะเบียนราว 179.74 ล้านล้านดอง ในแง่ของจำนวนธุรกิจใหม่ ปรับตัวลดลง 12.3% ในขณะที่เงินทุนจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 85.6% ประกอบกับพนักงานที่อยู่ในธุรกิจจัดตั้งใหม่ ลดลง 22.1% จำนวน 57,000 คน

ที่มา : https://vietnamnews.vn/economy/890441/more-than-18000-new-firms-set-up-in-first-two-months.html

สปป.ลาวเปิดตัวโครงการบรรเทาทุกข์ MSME มูลค่า 40 ล้านดอลลาร์พร้อมเงินกู้ยืมจากธนาคารโลก

เมื่อเร็ว ๆ นี้กระทรวงอุตสาหกรรมและการพาณิชย์สปป.ลาว ประกาศกู้เงินจำนวน 40 ล้านเหรียญสหรัฐจากธนาคารโลกเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็กขนาดกลางและขนาดย่อม (MSMEs) ในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เวียงแสม ศรีธิราช ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการของธนาคารโลกประจำสปป.ลาวกล่าวว่า“ ความคิดริเริ่มนี้จะเสริมสร้างความมั่นคงของธุรกิจขนาดเล็กซึ่งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสปป.ลาวอย่างมาก”เงินเหล่านี้จะปล่อยกู้ให้กับองค์กรที่มีพนักงานน้อยกว่า 100 คนผ่านวงเงินสินเชื่อที่ขยายโดยธนาคารต่างๆรวมถึงการสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับ MSME

ที่มา : https://www.microcapital.org/microcapital-brief-laos-launches-40m-msme-pandemic-relief-project-with-world-bank-loan-proceeds/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปในปี 2020

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชาและสหภาพยุโรปมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 3.863 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2020 ซึ่งลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ได้ถูกบันทึกไว้ในปี 2019 โดยมีปัจจัยสำคัญมาจากการระบาดของโควิด-19 และ Brexit ซึ่งกัมพูชาส่งออกสินค้าไปยังสหภาพยุโรป 3.203 พันล้านดอลลาร์ และได้ทำการนำเข้าสินค้าจากสหภาพยุโรปจำนวน 659 ล้านดอลลาร์ ข้อมูลจากกระทรวงพาณิชย์ โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2020 คณะกรรมาธิการยุโรปแนะนำให้สหภาพยุโรปถอดถอนสิทธิพิเศษทางการค้า (EBA) ที่ให้แก่กัมพูชาร้อยละ 20 ของข้อตกลงการค้าภายใต้สิทธิพิเศษ โดยอ้างว่ากัมพูชาละเมิดสิทธิมนุษยชนและแรงงาน รวมถึงเรื่องของประชาธิปไตยภายในกัมพูชาเป็นหลัก ซึ่งทางสหภาพยุโรปได้ถอดถอนสัตยาบันไปแล้วเมื่อวันที่ 12 สิงหาคมปีที่แล้ว โดยสหภาพยุโรปได้รับการจัดอันดับให้เป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับสองของกัมพูชาในปี 2019 โดยคิดเป็นร้อยละ 11.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819696/trade-with-eu-valued-at-3-8-billion-in-2020/

รัฐบาลจีนเตรียมการจัดหาวัคซีน Covid-19 ให้กับกัมพูชา

รัฐบาลจีนเตรียมการจัดหาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ภายในจีน เพิ่มอีก 400,000 โดส เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดภายในกัมพูชา โดยรัฐบาลจีนได้ตัดสินใจที่จะมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเป็นชุดที่ 2 จำนวน 400,000 โดส ให้แก่กัมพูชา กล่าวโดยเอกอัคราชทูตจีน ประจำประเทศกัมพูชา โดยวัคซีนซิโนฟาร์มที่ผลิตในจีนชุดแรก 600,000 โดส ได้ทำการจัดหาให้กับกัมพูชาแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวัคซีนสำหรับกระทรวงสาธารณสุข 300,000 โดสและส่วนที่เหลือสำหรับกระทรวงกลาโหมแห่งชาติ โดยกัมพูชาเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในพนมเปญเมื่อวันที่ 10 ก.พ. สามวันหลังจากได้รับวัคซีนซิโนฟาร์มที่บริจาคโดยจีน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วใน 25 จุดทั่วประเทศกัมพูชา โดยกลุ่มที่มีความสำคัญอันดับแรกสำหรับการได้รับวัคซีน ได้แก่ เจ้าหน้าที่อาวุโส เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หน่วยงานแนวหน้า นักข่าว กองกำลังติดอาวุธ คนเก็บขยะ และ อื่น ๆ ที่มีโอกาสสูงที่จะติดเชื้อได้รับวัคซีนก่อน

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50819603/china-to-provide-400000-more-doses-of-covid-19-vaccine-to-cambodia/

จีนออกใบอนุญาตให้เมียนมาส่งออกข้าวเพิ่มในปีนี้

จากการเปิดเผยของ นาย Muse U Min Thein รองประธานของ Muse Rice Wholesale Center กรมศุลกากรของจีนให้ได้ออกใบอนุญาตการส่งออกข้าวให้แก่ บริษัท ในเมียนมาเพิ่มเติมในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564 เพื่อส่งออกข้าวผ่านชายแดนมูเซ บริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกข้าวไปยังประเทศจีนเพิ่มขึ้นในปีนี้เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปริมาณข้าวที่อนุญาตสำหรับการส่งออกยังไม่ได้รับการยืนยัน ใบอนุญาตนำเข้าข้าวของจีนปี 63 หมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 63 การค้าข้าวถูกระงับ ขณะนี้ผู้ค้าข้าวเมียนมาสามารถส่งออกข้าวภายใต้ใบอนุญาตใหม่ได้แล้ว อย่างไรก็ตามการปิดธนาคารทำให้เกิดปัญหาการทำธุรกรรมหยุดชะงักลง ดังนั้นการซื้อขายจึงลดลงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมียนมาส่งข้าวและปลายข้าวไปยังต่างประเทศมากกว่า 720,000 ตันระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 63 ถึง 15 มกราคม 64 ของงบฯ ปัจจุบันโดยมีรายได้กว่า 275 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบต่อความพร้อมของชลประทานในการเกษตร ด้วยเหตุนี้สหพันธ์ข้าวแห่งเมียนมาร์ (MRF) จึงตั้งเป้าการส่งออกไว้ที่ 2 ล้านตันในปีงบประมาณปัจจุบันเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกข้าวในฤดูร้อนลดลง เมียนมามีรายได้กว่า 800 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากการส่งออกข้าวในช่วงปีงบประมาณ 63-64 ที่ผ่านมาโดยมีปริมาณกว่า 2.5 ล้านตัน

ที่มา : https://www.gnlm.com.mm/china-grant-licences-to-more-myanmar-companies-for-rice-export-this-year/