โรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง อ่วม โควิดฯ พ่นพิษ ปิดให้บริการเป็นเวลา 9 เดือน

Shangri-La Group ได้ประกาศในวันนี้ (13 มกราคม) ว่าจะปิดทำการโรงแรมซูเล แชงกริลา ย่างกุ้ง ชั่วคราวเป็นเวลาเก้าเดือนนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 64 เป็นต้นไป โดยช่วงการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมาโรงแรมได้ลดต้นทุนเพื่อลดผลกระทบอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนรวมถึงการตัดสินใจในการปรับปรุงปรับการทำงานของพนักงานเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมากล่าว อย่างไรก็ตามบริษัทได้ตัดสินใจปิดโรงแรมเนื่องจากธุรกิจตกต่ำอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน โดยเปิดโรงแรมอีกครั้งในเวลา 9 เดือนเมื่อธุรกิจเริ่มฟื้นตัว แขกและลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียมจากการยกเลิกทั้งหมด ทั้งนี้ในช่วงปิดโรงแรมพนักงานส่วนใหญ่ยังคงได้รับเงินเดือนค่าจ้างแม้จะไม่ได้เข้ามาทำงาน โรงแรมให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 และเดิมชื่อ Traders Hotel เป็นอาคารสูงที่สุดในเมียนมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2542 โรงแรมมี 466 ห้องได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นโรงแรมซูเลแชงกรีลาย่างกุ้งในปี พ.ศ. 2557 โดย Shangri-La Hotels and Resorts  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเครือ Shangri-La ซึ่งดำเนินธุรกิจโรงแรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้แบรนด์ Shangri-La, Kerry, Jen และ Traders กลุ่ม Shangri-La ก่อตั้งโดยรชาวฮ่องกงคือ Mr. Robert Kuok ในปี พ ศ. 2514

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/sule-shangri-la-hotel-yangon-close-nine-months.html

Covid-19 ยังคงส่งผลกระทบต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของสปป.ลาว

การให้เช่าและการขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วสปป.ลาวโดยเฉพาะในเวียงจันทน์ยังคงเผชิญกับความท้าทายเนื่องจากผลกระทบอย่างต่อเนื่อง Covid-19 กลุ่มเป้าหมายของผู้เช่าและผู้ซื้อคอนโดมิเนียมและอพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวต่างชาติจากประเทศจีนและประเทศอื่น ๆ หลังจากการเปิดตัวโครงการลงทุนขนาดใหญ่โดยนักลงทุนชาวจีนมีการขยายตัวของการก่อสร้างอาคารอพาร์ตเมนต์ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก่อนการระบาดของ Covid-19 กรรมการผู้จัดการ RentsBuy.com กล่าวว่าการเช่าและการขายอพาร์ทเมนต์และคอนโดมิเนียมในเวียงจันทน์ยังคงประสบปัญหาหลังจากการออกจากชาวต่างชาติ อย่างไรก็ตามโครงการที่ดินและบ้านจัดสรรยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากราคาไม่แพงและเสริมว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นจากจังหวัดต่างๆที่ต้องการย้ายไปเวียงจันทน์ ทั้งนี้ผู้ซื้อส่วนใหญ่ที่ต้องการซื้อที่ดินหรือโครงการบ้านจัดสรรสามารถชำระเงินรายเดือนให้กับเจ้าของบ้านหรือผู้พัฒนาโครงการได้ภายในระยะเวลาหนึ่งของการลงนามในข้อตกลง  ก่อนเกิดวิกฤต Covid-19 สปป.ลาวได้เห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและการลงทุนจากต่างประเทศใน 12 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ขณะนี้ภาคธุรกิจหวังว่าการมาของวัคซีน Covid-19 จะช่วยยุติการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจและเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลกจะฟื้นตัว

ที่มา : https://www.phnompenhpost.com/business/covid-19-continues-impact-lao-real-estate-businesses

เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญหกประการที่กล่าวถึงใน XI Party Congress

นายกรัฐมนตรีทองลุน สีสุลิ ระบุเป้าหมาย 6 เป้าหมายภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 สำหรับปี 2564-2568 เป้าหมายแต่ละอย่างมีวัตถุประสงค์ในการสนับสนุนการพัฒนาภาคเศรษฐกิจในแต่ละด้านของประเทศเพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในสปป.ลาว โดยเฉพาะเป้าหมายด้านคุณภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืน รายงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่ารัฐบาลจะมีแผนการต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 9 ดังนี้ การจัดเก็บรายได้และค่าใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ  การปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ  การลงทุนพัฒนารัฐวิสาหกิจการส่งเสริม SME รวมถึงการจัดหาการลงทุนในประเทศและต่างประเทศ ถึงแม้เป้าหมายสูงสุดของแผนพัฒนาคือการเติบโตของ GDP ถึงกระนั้นรัฐบาลก็จะยังให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพควบคู่ไปกับการเติบโตเพื่อการขยายและมั่นคงอย่างยั่งยืนของสปป.ลาว

ที่มา : https://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Six9.php

อินทนิลคอฟฟี่เตรียมขยายสาขาร้านกาแฟในกัมพูชา

หลังจากที่อินทนิลได้เปิดร้านแฟล็กชิปสโตร์ ณ กรุงพนมเปญ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2018 โดยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากชาวกัมพูชา ซึ่งกำลังพยายามที่จะเพิ่มสาขามากถึง 100 สาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว เฉพาะที่เป็นแฟรนไชส์ของบริษัทบางจากคอร์ปอเรชั่น (BCP) ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินการด้านพลังงานรายใหญ่ โดยกล่าวว่ามีแผนที่จะเพิ่มสาขาอินทนิลในต่างประเทศเพื่อขยายธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมันหลังจากการระบาดของโรคสงบลง ซึ่งการขยายสาขาที่ล่าช้าเนื่องจากการระบาดตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว โดย RCG Retail Group (กัมพูชา) เป็นผู้ให้สิทธิในการเปิดสาขาในกัมพูชาและสปป.ลาว ก่อนหน้านี้ BCP ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสาขาเกือบ 100 แห่งใน สปป.ลาวและกัมพูชารวมถึงร้านกาแฟอีกกว่า 1,000 แห่ง ในประเทศไทยภายในปี

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803172/inthanin-coffee-looks-to-add-more-coffee-outlets-in-cambodia/

การค้าทวิภาคีระหว่างกัมพูชากับไทยลดลงในช่วง ม.ค. – พ.ย. 2020

การค้าข้ามพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยลดลงร้อยละ 22 ในเดือน ม.ค. – พ.ย. เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันตั้งแต่ต้นปี (YTD) ของปี 2019 โดยการค้าทวิภาคีในช่วงเวลาดังกล่าวมีมูลค่าอยู่ที่ 6.6 พันล้านดอลลาร์ ลดลงจาก 8.6 พันล้านดอลลาร์ ตามสถิติของสถานทูตกัมพูชาประจำปี 2019 ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปไทยมีมูลค่าอยู่ที่ 1.1 พันล้านดอลลาร์ ในช่วงเวลาดังกล่าวลดลงร้อยละ 52 YTD จาก 2.2 พันล้านดอลลาร์ในปี 2019 ส่วนการนำเข้าจากไทยมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 6.3 พันล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 12 YTD จาก 5.6 พันล้านดอลลาร์ ที่บันทึกไว้ในเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายนในปี 2019 ทำให้กัมพูชาขาดดุลการค้ากับไทย 4.5 พันล้านดอลลาร์ ในเดือนพฤศจิกายน โดยการค้าข้ามพรมแดนแต่เพียงช่องทางเดียวของไทยกับกัมพูชามีมูลค่าสูงถึง 572 ล้านดอลลาร์ ซึ่งการส่งออกของกัมพูชาไปไทยในเดือนพฤศจิกายนมีมูลค่ารวมอยู่ที่ 59 ล้านดอลลาร์ลดลงร้อยละ 56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ทำไว้ได้ที่ 135 ล้านดอลลาร์ ส่วนการนำเข้าจากไทยในเดือนพฤศจิกายนสูงถึง 513 ล้านดอลลาร์แต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่ลดลงอยู่ที่ร้อยละ 28

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50803109/cambodia-thailand-2020-trade-down-jan-nov/

พาณิชย์ปรับแผนหนุนเกษตรกร-เอสเอ็มอีใช้เอฟทีเอควบคู่ค้าขายออนไลน์

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ปรับกลยุทธ์การทำงาน ปี 2564 แก้เกมโควิด-19 ระบาดระลอกใหม่ โดยให้เน้นการใช้เทคโนโลยีออนไลน์สำหรับกิจกรรมฝึกอบรมเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อติดอาวุธให้กับกลุ่มเกษตรกรเอสเอ็มอี สหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชน พร้อมใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถจับคู่ธุรกิจเพิ่มยอดขาย และบุกตลาดต่างประเทศได้จริง โดยอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เสริมว่า สำหรับโครงการสำคัญที่กรม จะดำเนินการ ในปี 2564 และจะเพิ่มการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ในการจับคู่ธุรกิจ ตามนโยบายของ รมช.พาณิชย์ ได้แก่ โครงการจัดทัพโคนมไทย บุกตลาดต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ เน้นขยายตลาดส่งออกไปอาเซียนและจีน โครงการจับมือผู้ประกอบการใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ เพิ่มการส่งออกต่างประเทศด้วยเอฟทีเอ ร่วมกับ ศอ.บต. โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรไทยให้สามารถเพิ่มการส่งออกโดยใช้ประโยชน์จากเอฟทีเอร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าสหกรณ์ไทยสู่โลกการค้าเสรี และโครงการยกระดับผู้ประกอบการไทยผ่านโลกการค้าเสรี ร่วมกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ทั้งนี้ ปัจจุบันไทยมีความตกลงเอฟทีเอ จำนวน 14 ฉบับ รวมอาร์เซ็ป กับ 18 ประเทศ ได้แก่ สมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เปรู ชิลี และฮ่องกง โดยในปี 2562 การค้าของไทยกับประเทศคู่เอฟทีเอ 18 ประเทศ มีมูลค่ารวม 302,991 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือกว่า 2 ใน 3 สัดส่วน 63% ของมูลค่าการค้าไทย กับโลก

ที่มา : https://www.khaosod.co.th/economics/news_5726321

ITD งานเข้าเมียนมายกเลิกสัญญาทวาย

บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) แจ้งว่าตามที่บริษัท และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนภายใต้บริษัทที่จดทะเบียนในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Project Companies) รวม 5 บริษัท ได้รับสัมปทานโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายระยะแรก โดยได้ลงนามสัญญาสัมปทานกับคณะกรรมการบริหารงานพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Dawei Special Economic Zone Management Committee :DSEZ MC) เพื่อดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่รวม 27 ตารางกิโลเมตร พร้อมระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่างๆ ที่จำเป็นต่อนิคมอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จำนวน 6 ฉบับ และเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559 อีก 1 ฉบับ รวมสัญญาสัมปทานจำนวน 7 ฉบับ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา Project Companies ทั้ง 5 บริษัท ได้รับหนังสือแจ้งการบอกเลิกสัญญาสัมปทานรวม 7 ฉบับ จาก DSEZ MC เนื่องจาก DSEZ MC อ้างว่า Project Companies ผิดนัดไม่ชำระค่าสิทธิตามสัญญาสัมปทาน และไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขบังคับก่อนบางประการในการเริ่มดำเนินการตามสัญญาสัมปทานได้

ที่มา : https://www.thansettakij.com/content/464152

เวียดนามตั้งเป้าเศรษฐกิจโตเฉลี่ย 7% ในปี 64-73

เวียดนามตั้งเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เติบโตราว 7% ในอีก 10 ปีข้างหน้า นับว่าเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูง ที่มีอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในโลก นาย Tran Hong Quang ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์เวียดนาม กล่าวถึงการร่างยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศสำหรับในปี 2564-2573 จากการประชุมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยในปี 2573 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อหัว จะเพิ่มขึ้น 4,700-5,000 เหรียญสหรัฐ จากปัจจุบันอยู่ที่ 3,521 เหรียญสหรัฐ และตั้งเป้าว่าจะเป็นประเทศพัฒนาแล้วที่มีระดับรายได้สูงในปี 2588 ทั้งนี้ ภายใต้ร่างยุทธศาสตร์นั้น รัฐบาลได้นิยามถึง 3 สิ่งที่จะผลักดันการเติบโตของเวียดนามในอีก 10 ปีข้างหน้า ได้แก่ กรอบเชิงสถาบัน ทรัพยากรมนุษย์และโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) กำหนดหลักเกณฑ์แก่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ต้องมีมูลค่าการผลิตเพิ่มต่อหัวที่ 1,000-2,500 เหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการผลิตทั้งหมดทั่วโลก

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-aims-for-average-annual-growth-of-7-in-2021-30-315839.html

ภาคอสังหาฯ มีสัดส่วน 7.6% ของเศรษฐกิจเวียดนาม

สมาคมอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติเวียดนาม (VNREA) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7.62% ของ GDP เวียดนามในปี 2562 ในแง่ของสินทรัพย์อสังหาริมทรัพย์นั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 20.8% ของสินทรัพย์รวมของเศรษฐกิจเวียดนามในปี 2563 ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ทั้งประเทศ 986.82 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2563 ทั้งนี้ ตามงานวิจัย ซึ่งเป็นการศึกษาค้นคว้าอิสระ ชี้ให้เห็นว่าภาคอสังหาริมทรัพย์มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะกระจายไปอยู่ในการก่อสร้าง อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร การเงินและการธนาคาร อย่างไรก็ตาม นาย Vo Tri Thanh นักเศรษฐศาสตร์และสมาชิกสภาที่ปรึกษาด้านนโยบายการเงินของธนาคารกลางเวียดนาม กล่าวว่าควรจะจัดลำดับความสำคัญของนโยบายในการพัฒนาภาคอสังหาริมทรัพย์อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สมาคมดังกล่าว มีแผนที่จะส่งงานวิจัยและข้อเสนอแนะไปยังรัฐบาล คณะกรรมการธิการ สมัชชาแห่งชาติ กระทรวงก่อสร้าง กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดนโยบายระยะยาวต่อภาคอสังหาริมทรัพย์

ที่มา : http://hanoitimes.vn/real-estate-accounts-for-76-of-vietnam-economy-315846.html

ธนาคารเพื่อการพัฒนาปล่อยเงินสนับสนุนให้กับภาคการเกษตรของกัมพูชา

ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบทเพื่อการเกษตร (ARDB) กล่าวว่าสถาบันการเงินได้ปล่อยวงเงินกู้รวม 245 ล้านดอลลาร์ ให้กับ ผู้ผลิตและส่งออกข้าว ภาคปศุสัตว์ และ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคเกษตรกรรม โดย ARDB ได้เพิ่มกองทุนพิเศษอีก 50 ล้านดอลลาร์ สำหรับภาคธุรกิจ SMEs ซึ่งกระจายไปยังธุรกิจมากถึง 600 แห่ง เพื่อมุ่งเน้นเฉพาะด้านการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร การแปรรูปอาหาร ธุรกิจเกษตรพืชผล รวมทั้งผัก ปศุสัตว์และธุรกิจสัตว์น้ำ รวมถึงองค์กรใด ๆ ที่ใช้วัตถุดิบจากภาคการเกษตร โดยธนาคารได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 6 สู่ร้อยละ 5 สำหรับเงินทุนหมุนเวียน และร้อยละ 6.5 สู่ร้อยละ 5.5 สำหรับเงินลงทุน นอกจากนี้ระยะเวลาการชำระหนี้ได้เลื่อนขึ้นเป็นระยะเวลา 7 ปี ซึ่งธุรกิจ SMEs สามารถกู้ได้มากถึง 300,000 ดอลลาร์ นอกจากนี้ธนาคารจะจัดฝึกอบรมให้กับธุรกิจ SMEs เกี่ยวกับแผนธุรกิจ งบการเงิน ธรรมาภิบาล แผนการตลาด การจัดการทางการเงิน และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสนับสนุนทางเทคนิคร่วมด้วย

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50802809%20/development-bank-delivers-245mn-to-agri-sector-producers-exporters-smes