สปป.ลาวจะเพิ่มการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังประเทศจีน

รัฐบาลสปป.ลาวได้ร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ และผู้ประกอบการในการปรับปรุงคุณภาพของสินค้าเกษตรเพื่อเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศจีน ซึ่งกระทรวงเกษตรและป่าไม้สปป.ลาวรายงานว่าประเทศมีรายรับ 560 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 62 จากการส่งออกสินค้าเกษตรโดย 80% ของสินค้าถูกขายไปยังประเทศจีน ซึ่งได้รับประโยชน์จากโควต้าข้าว 50,000 ตันและวัว 500,000 ตัวต่อปี นอกจากนี้กระทรวงได้เจรจาต่อรองโอกาสทางการตลาดและควบคุมสภาวะสุขอนามัยสำหรับพืชส่งออกและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องไปยังประเทศจีน ขณะนี้กระทรวงกำลังประสานงานกับกรมศุลกากรของจีนเพื่อร่างเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับการส่งออกใบยาสูบแห้ง เสาวรสและส้ม ทั้งสองฝ่ายยังเตรียมเอกสารเกี่ยวกับการเปิดตลาดสำหรับทุเรียน ลำไย แก้วมังกร ขนุนและลูกเดือย ขณะนี้ 3 บริษัทดำเนินการเสร็จสิ้นไปกว่า 90 % ของศูนย์กักกันปศุสัตว์ที่สามารถประมวลผลสัตว์ 228,000 ตัวต่อปีเพื่อการส่งออกและรอทีมเทคนิคจากจีนเพื่อตรวจสอบและยืนยันสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานอย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มการส่งออกสินค้า จะประสานงานกับกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติและผู้ประกอบการเพื่อร่วมมือกับจีนในการเจรจารายการสินค้าเกษตร และกระทรวงจะร่วมมือกับจีนในการตรวจสอบด่านชายแดนระหว่างประเทศและระดับท้องถิ่นระหว่างสองประเทศ เพื่อให้แน่ใจในการส่งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งผัก ผลไม้สด

ที่มา : http://www.xinhuanet.com/english/2020-07/15/c_139214642.htm

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้คำแนะนำแก่รัฐบาลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

นายกรัฐมนตรีสปป.ลาวให้แนะนำให้หน่วยงานภาครัฐดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ภายใต้สโลแกน  ‘Leaving No One Behind’ เพื่อยกระดับประเทศออกจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด โดยเมื่อวันพุธที่ผ่านมาได้มีการหารือในที่ประชุมของคณะกรรมการระดับชาติเพื่อดำเนินงานด้าน SDGs ตั้งแต่ปี 60-63  ได้กล่าวย้ำถึงความสำคัญของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนในปี 73 และร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบันตั้งเป้าหมาย SDGs 17 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยื่น SDGs 18  ชีวิตปลอดภัยจาก UXO ที่ประชุมจะพิจารณาและหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าและประเด็นในการดำเนินงาน SDGs ระหว่างปี 60-63 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ซึ่งในระหว่างการประชุมได้มีการเปิดตัว SDGs Mobile Application ใหม่ซึ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลและรวบรวมข้อมูลจากทุกภาคส่วนของสังคมที่ทำงานเพื่อ SDGsในสปป.ลาว

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_PM136.php

เอฟทีเอดันยอดส่งออกมะม่วงเข้าตลาดอาเซียน 5 เดือนแรก 2563 ทะลุ 143%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า มะม่วงสดของไทยเป็นหนึ่งในสินค้าดาวเด่นมาแรง ทำยอดส่งออกขยายตัวได้ดี แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 โดยในช่วง 5 เดือนแรก (ม.ค. – พ.ค. 2563) ไทยส่งออกมะม่วงสดปริมาณกว่า 5.7 หมื่นตัน คิดเป็นมูลค่า 41 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2562 โดยส่งออกไปตลาดอาเซียนขยายตัวโดดเด่นสุด มีสัดส่วนอยู่ที่ 37.5% ของการส่งออกทั้งหมด มูลค่า 15.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 143% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ตลาดส่งออกหลัก เช่น มาเลเซีย เวียดนาม และ สปป.ลาว เป็นต้น และยังมีจีนที่นิยมมะม่วงสดจากไทยเพิ่มขึ้น มีมูลค่าส่งออกถึง 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 71% และฮ่องกง ขยายตัวถึง 196% ทั้งนี้ ไทยเป็นแหล่งปลูกมะม่วงพันธุ์ดี มีคุณภาพ และรสชาติดี จึงเป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศ ประกอบกับแนวโน้มความต้องการมะม่วงสดมากขึ้น ซึ่งถือเป็นโอกาสที่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยจะขยายตลาดการส่งออกได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในตลาดที่ไทยมีความตกลงการค้าเสรี (15 ประเทศ) นอกจากนี้ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการรักษามาตรฐานสินค้าและพัฒนาคุณภาพการผลิตอย่างสม่ำเสมอ ตั้งแต่การเพาะปลูก การบรรจุหีบห่อ การมีใบรับรองสุขอนามัยพืช รวมทั้งระมัดระวังการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลง เนื่องจากปัจจุบันหลายประเทศเข้มงวดและผู้บริโภคนิยมผลไม้ปลอดสารพิษหรือเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น

ที่มา : https://www.prachachat.net/economy/news-491759

เวียดนามเผยครึ่งแรกของปี 63 ผลผลิตประมงสูงถึง 3.86 ล้านตัน

กรมประมง เปิดเผยว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 ผลผลิตประมงของเวียดนามเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ด้วยปริมาณ 3.86 ล้านตัน ถึงแม้ว่าจะเผชิญกับการระบาดของไวรัส COVID-19 ในทิศทางเชิงลบต่อการผลิตและการส่งออก ข้อมูลข้างต้นนั้นได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ก.ค. โดยทำการตรวจสอบกิจกรรมทางการประมงและดำเนินงานที่สำคัญหลายด้านในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ ทั้งนี้ ผลผลิตที่ได้จากการใช้ประโยชน์จากแหล่งประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ด้วยปริมาณ 1.88 ล้านตัน ในขณะที่ ผลผลิตการทำฟาร์มเพาะเลี้ยงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ด้วยปริมาณ 1.97 ล้านตัน นอกจากนี้ กรมประมงจะทำการตรวจสอบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดและจะแจ้งข้อมูลทางด้านทรัพยากรน้ำ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์จากแหล่งประมงอย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา : https://english.vov.vn/economy/fisheries-output-reaches-386-million-tonnes-in-first-half-416124.vov

“เวียดนาม-สหรัฐฯ” เสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน

กระทรวงการคลังเวียดนาม (MoF) ได้ลงนามเมื่อวันที่ 6 พ.ค. ในกรอบเสริมความแข็งแกร่งด้านความร่วมมือของโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินกับกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยให้เวียดนามตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว ซึ่งกระทรวบความร่วมมือจะประกอบไปด้วย 5 สาขาสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีสภาพคล่องสูงขึ้น ตามมาด้วยการสร้างเครื่องมือทางการเงินที่สามารถแก้ไขปัญหาต่อการลงทุนภาคเอกชนและโครงสร้างพื้นฐาน, ส่งเสริมนวัตกรรมและความยั่งยืนผ่านเครื่องมือทางการเงิน, การเสริมสร้างศักยภาพและโครงการช่วยเหลือเทคนิคทางการเงิน และการวิเคราะห์ภาระหนี้สินและประเด็นอื่นๆจากมุมมองของภาครัฐ ทั้งนี้ เวียดนามต้องการเงินทุนจำนวนมากในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ขณะที่ ผลการศึกษาของกระทรวงวางแผนและการลงทุน ระบุว่าเวียดนามต้องใช้เงินลงทุนประมาณ 195,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับโครงสร้างพื้นฐานในปี 2560-2563 โดยเฉพาะด้านพลังงาน การขนส่งทางถนน ทางอากาศและการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น “การดำเนินการตามกรอบความร่วมมือกับสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือทวีภาคี”

ที่มา : http://hanoitimes.vn/vietnam-us-cooperate-to-strengthen-infrastructure-finance-300081.html

การเติบโตของเมียนมาที่ลดลงกว่าที่คาดไว้ในในปีนี้

เศรษฐกิจเมียนมามีแนวโน้มขยายตัวเพียง 4.3% ในปีงบประมาณ 2562-2563 เมื่อเทียบกับการคาดการณ์ของรัฐบาลที่ 7 ผลมาจากการระบาดของ COVID-19 การขยายตัวทางเศรษฐกิจชดเชยการเติบโตของจีดีพีที่ 6% ในช่วงหกเดือนแรกของปีงบประมาณซึ่งส่งผลให้ผลผลิตรวมมีเพียง 74.5 ล้านล้านจัตระหว่างตุลาคม 2562 ถึงมีนาคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 63% จากเดิมที่ 119 ล้านล้านจัตในช่วงเวลาดังกล่าว ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นาย U Set Aung รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการวางแผนกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมรายงานจากกองทุนของรัฐและเงินกู้ระหว่างประเทศจำนวน 2.8 ล้านล้านจัตถูกนำไปใช้ในการดำเนินการตามแผนบรรเทาเศรษฐกิจ COVID-19 ในปีงบประมาณ 2562-2563 เงินทุนดังกล่าวถูกนำไปใช้ในการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพ เงินสดและอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนและสนับสนุนภาคเกษตรและปศุสัตว์

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/steeper-growth-decline-expected-myanmar-year-govt.html

รัฐบาลคาดว่าเงินจัตเสื่อมค่าจากอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้นในเมียนมา

คาดเงินจัตของเมียนมาจะอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในปีงบประมาณ 2563-2564 นายหม่องหม่องวินรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรมกล่าวในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร (Pyithu Hluttaw) ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยการขาดดุลงบประมาณและเงินเฟ้อที่สูงขึ้น อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะเฉลี่ยร้อยละ 7.9 ในปีงบประมาณ 2563-2564 เทียบกับ 6.7% ในปีงบประมาณ 2562-2563 วันที่ 24 มิถุนายน 2563 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงของธนาคารกลางคือ 1,391.4 จัตต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ตามได้รับการปรับลดมาอยู่ที่ 1,520 จัตต่อดอลลาร์สำหรับหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรสำหรับปีถัดไป จากผลกระทบจาก COVID-19 ดังนั้นรายได้ของรัฐบาลคาดว่าจะลดลงเนื่องจากรายได้จากภาษีที่ลดลงและรายได้จากการส่งออกที่สำคัญ เช่น น้ำมันและก๊าซ การขาดดุลทางการคลังคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 6.8 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณที่จะมาถึงเมื่อเทียบกับ 6.7 ล้านล้านจัตในปีงบประมาณ 2562-2563 ซึ่งขาดดุลต่อ GDP จะอยู่อยู่ที่ 5.4% ของปีหน้า

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/govt-expects-kyat-depreciation-higher-exchange-rate-myanmar.html

ADB เสนอเงินสนับสนุนให้กัมพูชา 1.5 พันล้านดอลลาร์ สำหรับการพัฒนาประเทศ

ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) กำลังเสนอที่จะให้เงินทุนใหม่จำนวน 1.5211 พันล้านดอลลาร์สำหรับการดำเนินงานและแผนธุรกิจของประเทศกัมพูชา (COBP) 2021-2023 โดย COBP ที่เสนอมีโครงการพัฒนาทั้งหมด 21 โครงการ ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งรวมถึงการให้สินเชื่อตามสัญญา 1,257.7 ล้านดอลลาร์, เงินทุน 70.4 ล้านดอลลาร์ และเงินอุดหนุนโครงการ 193.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของกัมพูชาหลังการระบาดของ COVID-19 ตามรายงานของธนาคารโลกในปี 2020 ปัจจุบันกัมพูชามีเงินกู้ยืมจาก ADB ประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.6 พันล้านดอลลาร์ในอีก 3 ปีข้างหน้า โดยเงื่อนไขการกู้ยืมเงินเป็นสัญญาสัมปทานที่มีระยะเวลา 24 ปี รวมระยะเวลาผ่อนผัน 8 ปี โดยมีการคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ซึ่งเงินทุนสนุบสนุนจะนำเข้าสู่สามส่วนสำคัญของความช่วยเหลือ ประการแรกคือการตอบสนองด้านสุขภาพภายในประเทศ ส่วนที่สองการช่วยเหลือทางสังคมผ่านโปรแกรม ID Poor และส่วนที่สามความช่วยเหลือทางด้านการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (MSME) ผ่านการปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำและเข้าถึงได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744668/exclusive-adb-may-offer-more-than-1-5b-in-new-funding/

เศรษฐกิจภาพรวมของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งปีแรก

ธนาคารแห่งชาติกัมพูชา (NBC) กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของกัมพูชาซบเซาในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 เนื่องจากผลกระทบของการระบาด COVID-19 โดยคาดการณ์ว่า GDP ของประเทศจะหดตัวมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.9 ในปีนี้ ซึ่งผู้ว่าการ NBC กล่าวว่าเสาหลักของเศรษฐกิจกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยว หรือภาคการผลิตภายในประเทศได้รับผลกระทบอยู่บ้างบางส่วน อย่างไรก็ตามภาคเกษตรกลับเติบโตเล็กน้อยใน ขณะที่ภาคการเงินก็ยังคงดำเนินธุรกิจอยู่ในทิศทางที่มีกำไร ซึ่งในรายงานครึ่งปีแรกของปี 2020 ที่เผยแพร่โดย NBC กล่าวว่าภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยภาคการผลิตหดตัวร้อยละ 11 เมื่อเทียบปีต่อปีเนื่องจากการหยุดชะงักของอุปทานด้านวัตถุดิบขั้นพื้นฐานที่เข้มงวดขึ้น อุตสาหกรรมการผลิตเพื่อการส่งออกลดลงร้อยละ 12.5 ​​และเสื้อผ้าสำเร็จรูปลดลงร้อยละ 10 แต่การผลิตสำหรับตลาดในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 ซึ่งเป็นผลมาจากการบริโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผลผลิตภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบเป็นรายปีเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกที่ขยายตัวและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ลดลง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50744787/cambodias-economy-stagnant-in-first-half/

เวียดนามเผยยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ดิ่งลงไตรมาสสองของปี 2563

สมาคมผู้ผลิตรถจักรยานยนต์เวียดนาม (VAMM) เปิดเผยตัวเลขยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ อยู่ที่ราว 518,000 คัน ลดลงร้อยละ 31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และร้อยละ 30.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยฮอนด้ายังคงครองส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดร้อยละ 80 ถึงแม้ว่าในไตรมาสที่สองจะลดลงร้อยละ 32 จากปีที่แล้ว ทั้งนี้ ผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ของประเทศ มียอดจำหน่ายเพียง 61,700 คัน ในเดือนเม.ย. ลดลงร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว  นอกจากนี้ ตลาดรถจักรยานยนต์ในประเทศเข้าสู่จุดอิ่มตัวเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา และผลกระทบจากการระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบให้ธุรกิจและผู้ผลิตประสบปัญหามากมาย อีกทั้ง ผู้บริโภคหันมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้เชี่ยวชาญมองว่าตลาดรถจักรยานยนต์เข้าสู่ยุคอิ่มตัวและแบ่งสัดส่วนการตลาดให้กับยานยนต์ประเภทอื่นๆ เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าหรือระบบขนส่งสาธารณะ

ที่มา : https://english.thesaigontimes.vn/77601/motorbike-sales-plunge-in-q2.html