รัฐบาลสปป.ลาวระบุถึงข้อจำกัดในการทำธุรกิจของญี่ปุ่นในสปป.ลาว

ตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนจากสปป.ลาวและญี่ปุ่นได้ร่วมประชุมประจำปีครั้งที่ 13 โดยมีวัตถุประสงค์หารือและแก้ปัญหากฎเกณฑ์การลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในสปป.ลาว โดยในที่ประชุมได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาการดำเนินธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นที่เผชิญในสปป.ลาว จุดมุ่งหมายในหัวข้อดังกล่าวเพื่อปรับปรุงบรรยากาศการลงทุนและดึงดูดนักลงทุนญี่ปุ่นมายังสปป.ลาวโดยหาวิธีแก้ไขปัญหาเฉพาะสำหรับแต่ละประเด็นที่แตกต่างกัน โดยก่อนหน้านี้ในการประชุมครั้งที่ 12 ช่วยให้เข้าใจปัญหาของญี่ปุ่นทำให้ได้รับการแก้ไขในหลายประเด็น โดยรัฐบาลได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศเพื่อเป็นตัวกลางในการเจรจาของบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทในสปป.ลาวและยังมีการกำหนดกฎเกณฑ์ด้านภาษีที่เป็นประโยชน์มากขึ้นแก่บริษัทญี่ปุ่น ซึ่งในการประชุมครั้งนี้เป้าหมายก็ยังคงเป็นการแก้ไขในประเด็นอื่นๆต่อไปเพื่อกระตุ้นการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในโครงการต่างๆมูลค่า 203 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการที่ญี่ปุ่นลงทุนมีส่วนทำให้เกิดการจ้างงานและการแบ่งปันเทคโนโลยีการผลิตและความรู้ด้านการจัดการทำให้เกิดการเติบโตของเศรษฐกิจสปป.ลาวและการพัฒนาประเทศในอนาคต

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Public.php

กัมพูชากำลังมองหาเที่ยวบินตรงไปยังญี่ปุ่น

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลญี่ปุ่นได้เรียกร้องให้มีการเพิ่มเที่ยวบินตรงระหว่างกัมพูชาและประเทศในเอเชียตะวันออก โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวเรียกร้องให้สายการบินในประเทศเพิ่มเที่ยวบินตรงที่เชื่อมต่อเมืองต่างๆในประเทศญี่ปุ่นกับกรุงพนมเปญและเสียมราฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์โบราณคดีอังกอร์ ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆของประเทศ โดยกล่าวในงาน Japan Travel Fair ครั้งที่ 3 ที่จัดขึ้นที่กรุงพนมเปญซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระชับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ซึ่งในช่วงเก้าเดือนแรกของปีกัมพูชาให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากญี่ปุ่นเกือบ 150,000 คน เพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วตามข้อมูลของกระทรวง โดยนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นชื่นชอบแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม พื้นที่สีเขียวและสังคมที่เป็นระเบียบ ซึ่งรัฐบาลได้ทำงานเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในมณฑลรวมถึงเสียมราฐ, แกบ และแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในจังหวัดมณฑลคีรี โดยในปี 2559 ออลนิปปอนแอร์เวย์ส (ANA) ในญี่ปุ่นเปิดตัวเที่ยวบินตรงระหว่างสนามบินนานาชาตินาริตะของโตเกียวและสนามบินนานาชาติพนมเปญถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นมายังกัมพูชา

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668681/cambodia-seeks-more-japan-direct-flights/

เขตอุตสาหกรรมปอยเปตในกัมพูชาได้เริ่มดำเนินการแล้ว

เขตเศรษฐกิจพิเศษปอยเปต (Poipet PPSEZ) ประกาศเริ่มดำเนินการอย่างเป็นทางการ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองปอยเปตในจังหวัดบันเตียเมียนเจยประมาณ 8 กิโลเมตร ติดกับประเทศไทยดำเนินการบริหารโดยพนมเปญ SEZ Plc. ซึ่งเลขาธิการสภาพัฒนากัมพูชา (CDC) กล่าวว่าการลงทุนของบริษัทหลายแห่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของภาคเอกชนในรัฐบาล โดยจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในกัมพูชาอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะสร้างงานให้กับคนในท้องถิ่นและเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมในปี 2558-2568 โดยผู้อำนวยการพนมเปญ SEZ Plc. กล่าวว่าด้วยทำเลที่ตั้งทางยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อทางภูมิศาสตร์และกำลังแรงงานจำนวนมากกำลังกลายเป็นฮอตสปอตระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอาเซียนโดยเฉพาะภายใต้กลยุทธ์ “Thailand-Plus-One” ซึ่งเป้าหมายของ PPSEZ คือพัฒนาภาคการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนรถยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, เสื้อผ้า, บรรจุภัณฑ์และพลาสติก ตามรายงานของ CDC กัมพูชามีเขตเศรษฐกิจพิเศษอยู่ 23 แห่ง ซึ่งรวมกันเป็นที่ตั้งของโรงงาน 490 แห่งและมีงาน 130,000 ตำแหน่ง

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668493/poipet-industrial-park-begins-operations/

โครงการจัดหาน้ำจืดมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ในมะริด

บริษัท Myeik Public Corporation ดำเนินโครงการจัดหาน้ำจืดมูลค่า 76 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเมืองมะริด เขตตะนาวศรี โดยร่วมมือกับบริษัท Bright Blue Water จากประเทศไทย วัตถุประสงค์หลักคือ เนื่องจากมะริดต้องพึ่งพาบ่อใต้ดินเป็นหลัก น้ำใต้ดินอาจแห้งในระยะยาว เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำ โดยได้เลือกแหล่งน้ำจืดสองแห่งจากแม่น้ำตะนาวศรี น้ำจะถูกส่งไปยังหมู่บ้าน Ingamaw ในเมืองมะริด ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตน้ำบริสุทธิ์ เมื่อโครงการประสบความสำเร็จสามารถส่งน้ำไปยังโรงงานแปรรูปปลา กุ้ง โรงงานน้ำแข็ง และเรือประมงกว่า 1,000 ลำในมะริด จากการคำนวณโครงการจะมีมูลค่า 2,300 ล้านบาท (ประมาณ 76 ล้านเหรียญสหรัฐ) โดยจะเริ่มภายในหนึ่งปี ตอนนี้ราคาน้ำจืดในเมืองมะริดต่อหน่วยคือ 1,300 จัต

ที่มา : https://elevenmyanmar.com/news/76-million-dollars-fresh-water-supply-project-under-way-in-myeik

รัฐบาลเมียนมาตั้งเป้าคุมการค้าผิดกฎหมาย

รัฐบาลจะเพิ่มการกำจัดการค้าที่ผิดกฎหมายโดยการวางกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ จากการเปิดเผยระหว่างการประชุมคณะกรรมการพัฒนาภาคเอกชนเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ที่ผ่านมา การค้าที่ผิดกฎหมายผ่านบริเวณชายแดนมีผลกระทบร้ายแรงต่อธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในท้องถิ่น และเพื่อจัดการกับปัญหารัฐบาลได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหา จากข้อมูลล่าสุดพบว่าเมียนมาอยู่ในอันดับต่ำสุดของดัชนีสภาพแวดล้อมการค้าโลกผิดกฎหมายในปี 61 จากข้อมูลการนำเข้าพบว่ามูลค่าการค้ารวมของสินค้าอุปโภคบริโภคหกรายการมีมูลค่า 2.37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากทั้งหมด 6.44 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ การค้าผิดกฎหมายส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการลักลอบขนของผ่านเส้นทางการค้าชายแดน ศุลกากรและหน่วยงานรัฐฯ ยึดสินค้าที่ลักลอบนำเข้าจากท่าเรือ สนามบิน และชายแดนมูลค่าเกือบ 34.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ (25.14 ล้านเหรียญสหรัฐ) ในปีที่แล้วคิดเป็นเพียง 0.4% ของการค้าที่ผิดกฎหมายตัวขับเคลื่อนหลักของการค้าที่ผิดกฎหมายคือ กำไรจากการเลี่ยงภาษี สาเหตุอีกประการหนึ่งคือข้อการจำกัดการนำเข้าสินค้า คณะกรรมการพัฒนาเอกชนได้จัดตั้งหน่วยงานพิเศษเพื่อควบคุมการนำเข้าที่ผิดกฎหมายในเก้ารัฐและภูมิภาค สามารถป้องกันการลักลอบขนสินค้า 1,065 มูลค่ามูลค่ารวม 15.645 พันล้านจัต จากกันยายน 61 ถึงตุลาคม 62

ที่มา : https://www.mmtimes.com/news/government-sets-sights-curbing-illegal-trade.html

รัฐบาลกัมพูชายืนยันอัดฉีดเงินเข้ากองทุนข้าวจำนวน 50 ล้านเหรียญ

สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) ร่วมกับโรงสีและผู้ส่งออกเรียกร้องให้รัฐบาลระดมทุนเพิ่มเติมอีก 50 ล้านเหรียญสหรัฐเพื่อช่วยเหลือภาคการผลิตข้าวและรักษาเสถียรภาพราคาพันธุ์พรีเมี่ยม โดย CRF ขอบคุณรัฐบาลผ่านกระทรวงเศรษฐกิจและการเงินสำหรับการจัดสรรเงินเพิ่มเติม 50 ล้านเหรียญสหรัฐแก่ธนาคารเพื่อการพัฒนาชนบท (RDB) เพื่อขยายสินเชื่อที่มีให้แก่ผู้ผลิตข้าวและผู้ส่งออกข้าว ซึ่งสิ่งนี้จะทำให้ราคาข้าวเปลือกมีเสถียรภาพและส่งออกมากขึ้น โดย CRF หวังว่าจะช่วยให้โรงสีข้าวและสมาชิกชุมชนเกษตรกรรมของ CRF เก็บรวบรวมข้าวจากเกษตรกรต่อไปโดยเฉพาะพันธุ์ Phka Rumdoul และ Phka Malis (ข้าวหอมพรีเมี่ยม) รวมทั้ง Sen Kro Ob และ Sen Pidor ซึ่งฤดูการเก็บเกี่ยวจะเริ่มขึ้นในสัปดาห์นี้จนถึงต้นปี 2563 โดยผู้ผลิตข้าวและสหกรณ์การเกษตรสามารถขอสินเชื่อโดยใช้สต็อกข้าวสารในปัจจุบันของพวกเขาเป็นหลักประกัน ซึ่งเมื่อสัปดาห์ก่อนฝ่ายบริหารทั่วไปของจีนด้านการควบคุมคุณภาพตรวจสอบและกักกัน (AQSIQ) อนุมัติการผู้ผลิตข้าวในประเทศกัมพูชาอีก 18 ราย ที่ต้องการเริ่มส่งออกไปยังประเทศจีน ขณะนี้มีผู้ผลิตข้าวท้องถิ่น 44 ราย ที่สามารถส่งออกข้าวไปยังตลาดจีนได้

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668176/govt-adds-50-million-to-rice-fund/

การก่อสร้างทางด่วนในกัมพูชาเป็นไปตามแผนที่วางไว้

การก่อสร้างทางพิเศษแห่งแรกของกัมพูชาที่เชื่อมต่อกรุงพนมเปญและสีหนุวิลล์บนชายฝั่งแล้วเสร็จไป 7% โดยถือเป็นช่วงเริ่มต้นของกระบวนการ ซึ่งบริษัทกำลังเร่งทำงานตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน โดยการก่อสร้างทางสัญจรเป็นไปตามกำหนดเวลาตามที่กระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกล่าวเมื่อเร็วๆนี้ ว่าทางด่วนสายนี้จะแล้วเสร็จในต้นปี 2566 ซึ่งในอีกสามเดือนข้างหน้าจะเริ่มสร้างถนนบางส่วนขึ้นจริง โดยการก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนมีนาคมปี 2562 ด้วยงบประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถนนถูกสร้างขึ้นโดย China Road and Bridge Corporation ผ่านทาง บริษัท ย่อยของ บริษัท PPSHV Expressway Co Ltd. ประเทศมาเลเซีย โดยวิศวกรรม Minconsult SDN BHD ให้คำแนะนำทางเทคนิค ซึ่งทางพิเศษจะเริ่มขึ้นในเขต Por Sen Chey ในกรุงพนมเปญมีสองเลนสำหรับแต่ละทิศทางความยาวอยู่ที่ 190 กิโลเมตร ซึ่งสั้นกว่าถนนในปัจจุบันที่ความยาว 240 กิโลเมตร ตามที่กระทรวงระบุไว้ โดยทางด่วนจะช่วยลดการจราจรจาก National Road 4 ซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรที่มีผู้สันจรมากที่สุดในประเทศซึ่งเชื่อมต่อเมืองหลวงกับท่าเรือน้ำลึกของสีหนุวิลล์ซึ่งเป็นประตูหลักสำหรับส่งออกและนำเข้า

ที่มา : https://www.khmertimeskh.com/50668279/expressway-construction-continuing-as-planned-ministry/

NA สนับสนุนวาระการพัฒนาประเทศ

 ในช่วง 20 วันที่ผ่านมา สภาแห่งชาติ (NA) ร่วมกับรัฐบาลสปป.ลาวในการพิจารณาและอนุมัติกฎหมายใหม่ 8 ฉบับและฉบับปรับปรุงใหม่ 10 ฉบับรวมถึงพิจารณาอนุมัติการดำเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแผนงบประมาณปี 62 และ 63 อีกด้วยนอกจากนี้ในที่ประชุม NA ได้ให้คำแนะนำและมาตรการต่าง ๆ แก่รัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไขรวมถึงแผนการพัฒนาประเทศ โดย NA จะตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายและการแก้ปัญหาและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บรายได้สัมปทานที่ดิน การพัฒนาทักษะการเข้าเมืองรวมถึงการสร้างงาน โดยขอให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายที่ได้รับการอนุมัติใหม่อย่างเข้มงวด ในภายภาคหน้าจะมีการตรวจสอบจากองค์กรอิสระร่วมกับ NA ถึงความคืบหน้าในการแก้ไข้ปัญหาต่างๆรวมถึงประเมินและติดตามผลของวาระพัฒนาประเทศต่อไปเพื่อให้แนวทางในการพัฒนาประเทศเป็นไปตามกรอบแผนงานที่วางไว้   

ที่มา : http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_NA_closes_265.php

สปป.ลาว – เวียดนามส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี

สปป.ลาวและเวียดนามได้หารือเกี่ยวกับแผนการความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้นและกระชับความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรมและท่องเที่ยว ต้อนรับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมกีฬาและการท่องเที่ยวเวียดนาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงแถลงข่าว วัฒนธรรม และท่องเที่ยวสปป.ลาว กล่าวว่าทั้งสองประเทศมุ่งเน้นที่การแลกเปลี่ยนบทเรียนและข้อมูลในด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ได้ขอให้เวียดนามให้ความช่วยเหลือป่าสงวนแห่งชาติหินหนามหน่อขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมทั้งการฝึกอบรมในเวียดนามเพื่อยกระดับทักษะของเจ้าหน้าที่สปป.ลาว เพิ่มการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว เรียนรู้บทเรียนโดยใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารล่าสุดและความร่วมมือในโครงการก่อสร้างโรงเรียนศิลปะแห่งชาติ ที่ผ่านมาทั้งสองประเทศยังได้แลกเปลี่ยนบทเรียนในด้านต่างๆ อีกทั้งได้มีการวางแผนที่จะทำโปรโมชั่นการท่องเที่ยวร่วมกัน ปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานแหล่งท่องเที่ยวเพื่อต้อนรับผู้มาเยือน ที่มา:http://www.vientianetimes.org.la/freeContent/FreeConten_Laos_Vietnam_265.php

การประชุมความร่วมมือทางการค้าระหว่างเวียดนาม กัมพูชา

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ณ กรุงพนมเปญ กัมพูชา สำหรับการประชุมส่งเสริมทางการค้า ร่วมหารือแสดงวิสัยทัศน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการค้า และการปกป้องผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของผู้ประกอบการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างผู้ประกอบการเวียดนามกับกัมพูชาให้มีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประเด็นที่น่าสนใจภายในกิจกรรมครั้งนี้ ได้แก่ โอกาสทางการดำเนินธุรกิจ สภาพแวดล้อมทั้งด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เงื่อนไขการเข้าร่วมเขตเศรษฐกิจพิเศษในกัมพูชา ทั้งนี้ จากตัวเลขสถิติทางการค้า ระบุว่าในปีที่แล้ว เวียดนามและกัมพูชา มียอดการค้าอยู่ที่ 4.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2560 และในปัจจุบัน เวียดนามมีโครงการลงทุนในกัมพูชา 214 โครงการ ด้วยมูลค่ากว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะเดียวกัน กัมพูชามีโครงการลงทุนในเวียดนาม 21 โครงการ ด้วยมูลค่ากว่า 64 ล้านเหรียญสหรัฐ และอยู่ในอันดับที่ 54 ของต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในเวียดนาม

ที่มา : https://en.vietnamplus.vn/vietnam–cambodia-business-cooperation-forum-to-boost-trade/164998.vnp